ภาษาซาร์ดิเนีย
ภาษาซาร์ดิเนีย | |
---|---|
sardu | |
ออกเสียง | [ˈsaɾdu] |
ประเทศที่มีการพูด | อิตาลี |
ภูมิภาค | แคว้นซาร์ดิเนีย |
ชาติพันธุ์ | ชาวซาร์ดิเนีย |
จำนวนผู้พูด | 1,000,000[1]–1,350,000[2] (2559) |
ตระกูลภาษา | |
ภาษาถิ่น | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | แคว้นซาร์ดิเนีย[3][4] (อิตาลี) |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | อิตาลี |
ผู้วางระเบียบ | • อักขรวิธีแบบโลกูโดโร[5][6] • อักขรวิธีแบบคัมปีดาโน[7][8] • ประมวล ภาษาซาร์ดิเนียร่วม[9][10] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | sc |
ISO 639-2 | srd |
ISO 639-3 | srd – รหัสรวม Sardinian รหัสเอกเทศ: sro – ภาษาซาร์ดิเนียถิ่นคัมปีดาโนsrc – ภาษาซาร์ดิเนียถิ่นโลกูโดโร |
Linguasphere | 51-AAA-s |
แผนที่ภาษาของแคว้นซาร์ดิเนีย พื้นที่สีเหลืองคือภาษาซาร์ดิเนียถิ่นโลกูโดโร ส่วนพื้นที่สีส้มคือภาษาซาร์ดิเนียถิ่นคัมปีดาโน | |
ภาษาซาร์ดิเนีย (อังกฤษ: Sardinian; ซาร์ดิเนีย: sardu) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ภาษาหนึ่งที่ชาวซาร์ดิเนียใช้พูดบนเกาะซาร์ดิเนียในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก
นักภาษาศาสตร์ภาษากลุ่มโรมานซ์หลายคนเห็นว่าภาษาซาร์ดิเนีย (และภาษาอิตาลี) เป็นภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาละตินมากที่สุดในบรรดาภาษาที่สืบเชื้อสายมาจากภาษาละติน[11][12] อย่างไรก็ตาม ภาษานี้ยังได้รับอิทธิพลจากภาษาพื้นเดิม (substratum) ก่อนภาษาละตินอย่างภาษาซาร์ดิเนียดั้งเดิมและภาษาพิวนิก[13] รวมทั้งจากภาษาเหนือกว่า (superstratum) อย่างภาษากรีกไบแซนไทน์ ภาษากาตาลา ภาษาสเปน และภาษาอิตาลี องค์ประกอบจากภาษาเหล่านี้เป็นผลมาจากประวัติศาสตร์การเมืองของเกาะซาร์ดิเนีย กล่าวคือ เกาะนี้อยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์อยู่ช่วงหนึ่งก่อนสมัยกลาง ต่อมาหลังจากพ้นสมัยแห่งการปกครองตนเองก็ตกอยู่ในเขตอิทธิพลของอาณาจักรจากคาบสมุทรไอบีเรียในสมัยกลางตอนปลาย และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาก็อยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี
ใน พ.ศ. 2540 ภาษาซาร์ดิเนียและภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้พูดบนเกาะซาร์ดิเนียได้รับการรับรองจากกฎหมายระดับแคว้นว่าเป็นภาษาทางการของแคว้นซาร์ดิเนีย[3] และใน พ.ศ. 2542 ภาษาซาร์ดิเนียและภาษาชนกลุ่มน้อยทางประวัติศาสตร์ (อิตาลี: minoranze linguistiche storiche) อีกสิบเอ็ดภาษาได้รับการยอมรับในทำนองเดียวกันจากกฎหมายระดับประเทศ (กล่าวคือ กฎหมายเลขที่ 482/1999)[14] ในบรรดาภาษาเหล่านี้ ภาษาซาร์ดิเนียมีความโดดเด่นเนื่องจากมีจำนวนผู้พูดมากที่สุด[15][16][17][18]
อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้พูดภาษาซาร์ดิเนียเป็นภาษาแม่ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการคุกคามความมีชีวิตชีวาของประชาคมผู้พูดภาษาซาร์ดิเนีย[19] แม้จะมีการประมาณใน พ.ศ. 2550 ว่าประชากรซาร์ดิเนียร้อยละ 68.4 สามารถพูดสื่อสารเป็นภาษาซาร์ดิเนียได้ดี[20] แต่ผู้พูดเหล่านั้นส่วนใหญ่มีอายุพ้นวัยเกษียณแล้ว มีรายงานว่ามีผู้พูดวัยเด็กเพียงร้อยละ 13 ที่รู้ภาษาซาร์ดิเนียถึงระดับดังกล่าว[21][22] โดยภาษาซาร์ดิเนียได้กลายเป็นภาษามรดก[23][24] ยูเนสโกได้จัดให้ภาษาซาร์ดิเนียอยู่ในกลุ่มภาษาใกล้สูญอย่างแน่นอน (definitely endangered)[25]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ti Alkire; Carol Rosen (2010). Romance languages : a Historical Introduction. New York: Cambridge University Press. p. 3.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ AA. VV. Calendario Atlante De Agostini 2017, Novara, Istituto Geografico De Agostini, 2016, p. 230
- ↑ 3.0 3.1 "Legge Regionale 15 ottobre 1997, n. 26". Regione autonoma della Sardegna – Regione Autònoma de Sardigna. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
- ↑ "Legge Regionale 3 Luglio 2018, n. 22". Regione autonoma della Sardegna – Regione Autònoma de Sardigna.
- ↑ Massimo Pittau (2005). Grammatica del sardo illustre. Sassari: Carlo Delfino Editore.
- ↑ Francesco Corda (1994). Grammatica moderna del sardo logudorese : con una proposta ortografica, elementi di metrica e un glossario. Cagliari: Edizioni della Torre.
- ↑ Antonio Lepori (1979). Prontuario di grammatica sarda : variante campidanese. Cagliari: Litografia C.U.E.C.
- ↑ "Arrègulas po ortografia, fonètica, morfologia e fueddàriu de sa norma campidanesa de sa lìngua sarda" (PDF). Quartu S. Elena: Alfa Editrice. 2009.
- ↑ Bartolomeo Porcheddu (2012). Grammàtica de sa limba sarda comuna. Ossi: LogoSardigna.
- ↑ "Limba Sarda Comuna. Normas linguìsticas de referèntzia a caràtere isperimentale pro sa limba sarda iscrita de s'Amministratzione regionale" (PDF). Regione Autonoma della Sardegna. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
- ↑ L'Aventure des langues en Occident, Henriette Walter, Le Livre de poche, Paris, 1994, p. 174
- ↑ "Romance languages". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
...if the Romance languages are compared with Latin, it is seen that by most measures Sardinian and Italian are least differentiated..
- ↑ Mele, Antonio. Termini prelatini della lingua sarda tuttora vivi nell'uso. Edizioni Ilienses, Olzai
- ↑ "Legge 482". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-12. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
- ↑ <<Nel 1948 la Sardegna diventa, anche per le sue peculiarità linguistiche, Regione Autonoma a statuto speciale. Tuttavia a livello politico, ufficiale, non cambia molto per la minoranza linguistica sarda, che, con circa 1,2 milioni di parlanti, è la più numerosa tra tutte le comunità alloglotte esistenti sul territorio italiano...>>. De Concini, Wolftraud (2003). Gli altri d'Italia : minoranze linguistiche allo specchio, Pergine Valsugana : Comune, p.196.
- ↑ "Lingue di Minoranza e Scuola, Sardo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2016-07-16.
- ↑ "Inchiesta ISTAT 2000, pg.105-107" (PDF).
- ↑ "What Languages are Spoken in Italy?".
- ↑ Lubello, Sergio (2016). Manuale Di Linguistica Italiana, De Gruyter, Manuals of Romance linguistics, p.499
- ↑ "Oppo, Anna. Le lingue dei sardi, p. 7" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
- ↑ La Nuova Sardegna, 04/11/10, Per salvare i segni dell'identità – di Paolo Coretti
- ↑ Piras, Luciano (2019-02-05). "Silanus diventa la capitale dei vocabolari dialettali". La Nuova Sardegna (ภาษาอิตาลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
- ↑ "La situazione sociolinguistica della Sardegna settentrionale di Mauro Maxia". สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
- ↑ "Sardinian language use survey, 1995". Euromosaic. To access the data, click on List by languages, Sardinian, then scroll to "Sardinian language use survey".
- ↑ "Atlas of the World's Languages in Danger", UNESCO