แร็พเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Raptor)
บทความนี้เกี่ยวกับนักร้อง สำหรับไดโนเสาร์ ดูที่ เวโลซีแรปเตอร์
แร็พเตอร์
Raptor
แร็พเตอร์ (ซ้าย: จอนนี่, ขวา: หลุยส์) ในคอนเสิร์ต GRAMMY X RS : 90's Versary เมื่อ พ.ศ. 2566
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงป๊อป, แดนซ์, ฮิปฮอป, อาร์แอนด์บี, แร็ปร็อก
อาชีพนักร้อง, นักแสดง
ช่วงปีพ.ศ. 2537 - 2541
พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอาร์เอส
สมาชิกจอนนี่ อันวา
หลุยส์ สก๊อต

แร็พเตอร์ / Raptor นักร้องฮิพฮอฟแดนซ์ดูโอในตำนานยุค 90s ของวงการเพลงไทย เปิดตัวอัลบั้มแรกกลางปี 1994 (2537) ภายใต้สังกัด RS Promotion 1992 (RS) โดยมี เสือ ธนพล อินทฤทธิ์ เป็นโปรดิวเซอร์ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดในการสร้างนักร้องลูกครึ่งวัยเด็กเพื่อบุกตลาดพรีทีนของบริษัท ประกอบไปด้วยสมาชิก 2 คน คือ จอนนี่ อันวา และ หลุยส์ สก็อต ขณะนั้นมีอายุเพียง 10-11 ปี

สมาชิก[แก้]

  • Joni Anwar (จอนนี่ อันวา) เกิดเมื่อ 30 สิงหาคม 2524 ลูกครึ่ง อินโดนีเซีย-สก็อต เข้าวงการเมื่ออายุ 10 ขวบโดยโฆษณา บ้านกฤษฎานคร, ภาพยนตร์ โตแล้วต้องโต๋
  • Louis Scott (หลุยส์ สก็อต) เกิดเมื่อ 4 มีนาคม 2525 ลูกครึ่ง ไทย-สก็อต เข้าวงการเมื่ออายุ 7 ขวบโดยเริ่มจากการถ่ายโฆษณา และร่วมแสดงในแสดงภาพยนตร์ โตแล้วต้องโต๋, ภายหลังได้รับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง เด็กเดน (2548)

ประวัติ[แก้]

จอนนี่ อันวา และ หลุยส์ สก๊อต เข้ามาเทรนเป็นศิลปินฝึกหัดในค่าย RS ในวัยเพียง 10-11 ปี ตลอดเวลาทำงานเพลงในวงการนาม Raptor มีผลงาน สตูดิโออัลบั้ม ออกมาทั้งหมด 4 อัลบั้ม ( 3 อัลบั้มแรกถูกดูแลและโปรดิวซ์โดย เสือ ธนพล อินทฤทธิ์ ศิลปิน โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลงชื่อดังในค่าย) จุดเด่นของวงคือ คาแรคเตอร์เด็กฝรั่งที่แตกต่างจากศิลปินในยุคนั้น ทั้ง 2 คนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก โดยเฉพาะจอนนี่ที่แทบจะไม่ใช้ภาษาไทยเลย และเป็นศิลปินที่อายุน้อยที่สุดในวงการขณะนั้น แนวเพลง hiphop pop dance ผู้นำแฟชั่น กีฬา x tream กีฬาผาดโผด และเป็นที่มาของการนำ โรลเลอร์เบลด ขึ้นไปใช้แสดงบนเวทีคอนเสิร์ตหลายครั้ง ประกอบกับเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ของ จอนนี่ อันวา การร้องประสานและเอนเตอร์เทนของ หลุยส์ สก๊อต คอนเซ็ปต์อัลบั้ม ตัวเพลง ดนตรี และโคโรกราฟ ท่าเต้นที่แข็งแรง ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมาก นอกจากนั้น MV หรือ มิวสิควิดิโอ ต่างๆของวงนี้ยังเป็นที่จดจำและได้รับความนิยมพูดถึงเช่นกัน

RAPTOR มีคอนเสิร์ตใหญ่ของตัวเองครั้งแรกตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี - จอนนี่ หลุยส์ ปรากฏตัวด้วยชุดมนุษย์หิน ฟลิ้นสโตน ในคอนเสิร์ตประจำปี ของ RS ที่ชื่อว่า RS Meeting Concert ตอน บุกเกาะอลเวงร้องเพลงหน้าบาน ปี 2537 ร่วมกับ เสือ ธนพล ( มีลิฟท์ - ออย เป็นแขกรับเชิญเพื่อเปิดตัวศิลปินหน้าใหม่ครั้งแรก) และ เคยปรากฏตัว 10 วินาที ในท้ายภาพยนตร์ของค่ายที่ขึ้นทำเนียบรายได้สูงสุดตอนนั้น อย่าง โลกทั้งใบให้นายคนเดียว

ปี 2537 / 1994 อัลบั้มชุดแรกของ Raptor ออกวางจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม โดยคอนเซ็ปต์ของอัลบั้มออกมาในรูปแบบใกล้เคียงกับวง Kris Kross ของสหรัฐอเมริกา โดยชื่อ "แร็พเตอร์" ได้มาจากไดโนเสาร์พันธุ์เวโลซีแรปเตอร์ ในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง Jurassic Park ที่กำกับโดยสตีเวน สปีลเบิร์ก จากฉากที่ไดโนเสาร์พันธุ์นี้วิ่งไล่เด็ก ๆ ในเรื่อง [1] เพลงในอัลบั้มชุดแรกส่วนใหญ่จะเป็นการนำเพลงฮิตของศิลปินรุ่นพี่ที่ได้รับความนิยมมาเรียบเรียงและทำดนตรีใหม่โดยเพิ่มท่อนแร็พเข้าไป เช่น เพลง ซูเปอร์ฮีโร่ มาจากเพลง บอดี้การ์ด ของ สมชาย เข็มกลัด หรือ เพลง ลื่นมากเชื่อยาก มาจากเพลง ลื่น ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง นอกจากนี้ยังมีเพลงช้าที่แต่งใหม่มาอีก 2 เพลงคือ "คิดถึงเธอ" และ "คำว่าเพื่อน" ซึ่งบทเพลงเหล่านี้ได้กลายเป็นเหมือนภาพจำที่คนจะนึกถึงเมื่อพูดถึงแร็พเตอร์ในวัยเด็ก ในช่วงปีนี้ได้มีผลงานเพลงพิเศษ "อย่าคิดว่าเธอไม่มีใคร" ร่วมกับศิลปินกลุ่มแดนซ์ รุ่นพี่ HiJack

ปี 2539 / 1996 เป็นปีที่แร็พเตอร์ทำงานเพลงมากที่สุด ถึง 3 อัลบั้ม ในปีเดียว เริ่มต้นด้วย อัลบั้ม Superteensโปรเจกต์พิเศษรวมกับศิลปินรุ่นพี่ชื่อดังในค่าย ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง , เต๋า สมชาย , หนุ่ม ศรราม , บอยสเก๊าส์ , แซ้งค์ ปฏิวัติ , เจมส์เรืองศักดิ์ , ลิฟท์ออย และ นุ๊ก สุทธิดา เพลงของแร๊พเตอร์ "มากคนมากความ" เพลงเร็วที่ทั้งจอนนี่และหลุยส์ แต่งท่อนแร๊พภาษาอังกฤษเอง

อัลบั้มชุดที่ 2 Waab Boys โดยอัลบั้มชุดนี้ถือว่าเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จที่สุดของแร็พเตอร์ ด้วยแนวเพลง เสื้อผ้าสีสันสะดุดตา แว่นตา สีผม ยอดขายเกิน 1 ล้านตลับ รางวัลมิวสิกวิดิโอยอดเยี่ยม เพลง ไม่แคร์ จาก MTV Asia Awards 1996

ถัดมาไม่นานในปีเดียวกัน แทนการเปลี่ยนปกฉลองล้านตลับ Raptor ออกอัลบั้มที่ 3 Day Shock ต่อทันที ด้านเสื้อผ้าและแฟชั่นยังล้ำสมัยต่อเนื่องจากอัลบั้มชุดที่แล้ว ในอัลบั้มนี้ได้นำเพลงสากลในอดีตกลับมาทำดนตรีใหม่ มีเพลงไทยที่แต่งขึ้นมาใหม่คือเพลง "แรงบันดาลใจ" เป็นเพลงที่ โก้ Mr. Saxman มาเป่าแซกโซโฟนให้ และมีท่อนฮุคภาษาอังกฤษผสมอยู่ในเนื้อเพลง + มีเพลง " อย่าพูดเลย ( underground version)" บรรจุอยู่ด้วย

ปี 2540 / 1997 ปลายปี แร็พเตอร์ ได้ออกอัลบั้มโปรเจกต์พิเศษอีกครั้ง หลังจาก Superteens คือ The Next ร่วมกับศิลปินทีนไอดอลอื่นในค่ายอีก 6 คน ซึ่งเป็นโปรเจกต์ร่วมกับทาง PepsiCo. ไทย สอดคล้องกับแคมเปญ "Pepsi Generation Next" ซึ่งเป็น 1 ในอัลบั้มสุดยอดทั้งกระแสและยอดขายเกิน 1 ล้านตลับ มีทัวร์คอนเสิร์ตใหญ่ที่กรุงเทพถึง 2 ครั้ง และออกทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศ ซึ่งสำหรับแร็พเตอร์แล้ว ในอัลบั้มนี้ได้มีเพลงในตำนานของวัยรุ่นยุค 90s อย่างเพลง "เกรงใจ" กับท่าเต้นที่ถูกเรียกว่า "ท่าโหนรถเมล์" ยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 20 ปี

ปี 2541 / 1998 แม้ว่ากำลังอยู่ในช่วงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่ทั้งคู่ได้ตัดสินใจยุติวงแร็พเตอร์ ด้วยเหตุผลทางด้านการศึกษา โดยมีอัลบั้มส่งท้าย Goodbye แนวดนตรีมีกลิ่น R&B คอรัสเป็นคนผิวสี และอัลบั้มรวมเพลง The Memory เพิ่มเพลง ความทรงจำ ออกมาเป็นการอำลาอย่างถาวรตอนนั้นในนามศิลปินดูโอ้ ท่ามกลางความใจหายของแฟนเพลง

ปี 2554 / 2011 หลังจากอัลบั้มชุด The Memory ออกวางจำหน่าย และ คอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้ายที่ MBK Hall นานถึง 13 ปี ทั้งคู่ได้กลับมาทำงานร่วมกันรวมถึงประกาศจัดคอนเสิร์ตอีกครั้ง ใช้ชื่อว่า "RAPTOR 2011 The Concert" โดยจัดงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ณ โรงภาพยนตร์กรุงศรี ไอแม็กซ์ เธียเตอร์ พารากอนซีนีเพล็กซ์ และทำการแสดง 2 รอบ (เพิ่มรอบการแสดง จากเดิมที่วางไว้ 1 รอบเท่านั้น ) ในวันที่ 1-2 ตุลาคม ปีเดียวกัน ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน - คอนเสิร์ตครั้งนี้สร้างปรากฏการณ์กระแสบัตรขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว เรียกร้องให้มีการเพิ่มรอบ กลายเป็นคอนเสิร์ต talk of the town ที่มีบรรดาคนดัง เซเลบบริตี้ ศิลปิน นักแสดง นางแบบ ทั่วทุกวงการตบเท้าเข้าชมคอนเสิร์ตครั้งนี้อย่างมากมาย และกลายเป็นตัวจุดกระแสศิลปินยุค 90s ให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

ปี 2555 / 2012 ช่วงต้นปี ทาง RS ประกาศจัดคอนเสิร์ตใหญ่ของ Raptor อีกครั้ง ในชื่อ " Raptor 2012 Encore Concert" ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เพราะทนกระแสเรียกร้องและผลตอบรับจากคอนเสิร์ตครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และทันที่ที่เปิดขายบัตร บัตรถูกขายหมดในเวลาเพียง 30 นาที ทำให้มีการเพิ่มรอบการแสดงในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน อีก 1 รอบ เป็น 2 รอบการแสดง[2]

ปี 2556 / 2013 แร็พเตอร์เป็นอีกหนึ่งศิลปินในคอนเสิร์ตอาร์เอสมีตติ้ง RS Meeting Concert Return 2013ร่วมกับศิลปินอาร์เอสเช่น บาซู, เจมส์, บอยสเก๊าท์, ลิฟท์-ออย, ทัช และ อนัน อันวา[3]

ปี 2559 / 2016 วันที่ 6 มีนาคม Raptor มีคอนเสิร์ตใหญ่กับโปรเจกต์พิเศษที่เคยทำกับในอดีตคือ the next แต่ครั้งนี้มีการรวมศิลปินอีกโปรเจกต์นึงเข้ามาร่วมด้วยคือ the x venture ใช้ชื่อว่า "the next venture" คอนเสิร์ต ครั้งนี้ได้ชื่อว่าเป็นบัตรคอนเสิร์ตที่ราคาสูงที่สุดเท่าที่ RS เคยจัดมา คือบัตรที่แพงที่สุด ราคาสูงถึง 8,000 บาท

ปี 2562 /2019 Raptor กลับมาจัดคอนเสิร์ตใหญ่อีกครั้ง ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของ Raptor ใช้ชื่อคอนเสิร์ต Raptor Evolution 25 ปี ไม่มีเกรงใจ วันที่ 7 กันยายน 2562 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เมื่อบัตรถูก sold out ในเวลา 20 นาทีเท่านั้น ทำให้มีการเปิดรอบการแสดงเพิ่มในรอบ 14:00 / 19:00 ครั้งนี้มีแขกรับเชิญคือ กอล์ฟฟักกลิ้ง ฮีโร่ ,โต้ง ทูพี ,โดม ปกรณ์ ลัม และนุ่น รมิดา[4]

อัลบั้มชุดแรก แร็พเตอร์ (อัลบั้ม) (2537)[แก้]

อัลบั้มชุดแรกของวงแร็พเตอร์ ใช้ชื่อ แร็พเตอร์ (อัลบั้ม) ชื่อเดียวกับวง ( มี 2 ปกอัลบั้ม ) ออกวางจำหน่ายเมื่อเดือน สิงหาคม ปี 2537 โดยได้ เสือ - ธนพล อินทฤทธิ์ มาเป็นโปรดิวเซอร์ ทำเพลงและแต่งท่อนแร๊พให้ คอนเซ็ปต์ของอัลบั้มออกมาในรูปแบบของเด็กลูกครึ่งสองคน ร้องเพลงแร็พ,ป๊อป,แดนซ์,ฮิปฮอป,แร็ปร็อก แต่งตัวฮิป-ฮอป ใกล้เคียงกับวงฮิปฮ็อปสัญชาติอเมริกัน คริสครอส (ภาษาอังกฤษ : Kris Kross) โดยอัลบั้มนี้จะเป็นการนำเพลงฮิตของศิลปินในช่วงยุคนั้นมาทำใหม่ อาทิ เพลง ซูเปอร์ฮีโร่ มาจากเพลง บอดี้การ์ด ของ สมชาย เข็มกลัด (เต๋า) , เพลง ลื่นมากเชื่อยาก มาจากเพลง ลื่น ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง นอกจากนี้ยังมีเพลงช้าที่ได้รับความนิยมได้แก่เพลง "คิดถึงเธอ" และ "คำว่าเพื่อน" ผลจากความนิยมทำให้อัลบั้มแรกของวง มีการเปลี่ยนปกอัลบั้มเพื่อวางจำหน่ายใหม่อีกด้วย

อัลบั้มชุดที่สอง Waab Boys และชุดที่สาม Day Shock (2539)[แก้]

อัลบั้มที่ 2 - Waab Boys อัลบั้มชุดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จที่สุดของแร็พเตอร์ โปรดิวเซอร์คือ เสือ ธนพล อินทฤทธิ์ เช่นเดิม ด้วยแนวเพลงที่โตขึ้นอย่างมาก ซาวน์ดนตรีทันสมัยและแปลกไปจากชุดก่อน มีความเป็น Pop Dance,RapRock ชัดเจนและ Performance ที่แข็งแกร่งมากขึ้น แม้แต่ปกเทปยังถูกออกแบบด้วยภาพลักษณ์ใหม่ทันสมัยสะดุดตา ทำให้อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จด้วยยอดขายทะลุเกิน 1 ล้านตลับได้ไม่ยากนัก มี Pookie ปริศนา พรายแสง มาช่วยเป็น Vocal Harmony ให้ เพลงและมิวสิควิดิโอที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ "อย่าพูดเลย" "รู้สึกอย่างไร"และ"ไม่แคร์" MV เพลง ไม่แคร์ ได้รับรางวัลระดับ Asia ในงาน MTV asia awards 1996 (2539) สาขา มิวสิควิดิโอยอดเยี่ยม

หลังความสำเร็จอย่างรวดเร็วของอัลบั้ม Waab boys ทำให้เกิด DayshocK- อัลบั้มชุดที่ 3 (มี 2 ปกอัลบั้ม) ตามมาทันทีในปีเดียวกัน (แทนการเปลี่ยนปกฉลองยอดขายตามการตลาดของค่ายตอนนั้น ) โดยมี เสือ ธนพล เป็น Producer ให้เป็นชุดสุดท้าย อัลบั้มนี้ได้นำเอาเพลงสากลในอดีตกลับมาทำดนตรีใหม่ ซื่งก็ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องไม่ต่างจากอัลบั้มที่2 ทั้งที่ห่างจากอัลบั้มที่ 2 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อัลบั้มนี้มีเพลงไทยที่มีเนื้อร้องภาษาอังกฤษ ถูกแต่งขึ้นมาใหม่ 1 เพลง เป็นเพลงพิเศษคือเพลง "แรงบันดาลใจ" (Inspiration) ผลงานในอัลบั้มนี้ได้รับกระแสตอบรับอย่างมากอีกเช่นเคย จึงฉลองยอดขายด้วยการเปลี่ยนปกอีกครั้ง และ เพิ่มเพลง อย่าพูดเลย (Underground Version)

อัลบั้ม The Next (2540)[แก้]

ปึถัดมา RS ร่วมกับทางแบรนด์ใหญ่ผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลม PEPSI ไทย สร้างแคมเปญ "Pepsi Generation Next" ต่อยอดทั้งผลิตภัณฑ์น้ำอัดลมเข้ากับความโด่งดังของศิลปินทีนไอดอล 8 คนในขณะนั้น ออกมาเป็นอัลบั้ม project พิเศษ " The Next " จุดเด่นของอัลบั้มนี้คือ คาแรคเตอร์ที่แตกต่างของศิลปินทั้ง 8 ถูกผนวกเข้ากับธีมสีน้ำเงินตามสีแบรนด์สปอนเซอร์อัลบั้ม เพลงธีมอย่าง Love of generation next เนื้อเพลงถูกร้อยเรียงแต่งขึ้นจากตัวเพลงที่นิยมของศิลปินทุกคน อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง การันตีด้วยยอดขายเกิน 1 ล้านตลับ มีการจัดทัวร์คอนเสิร์ตไปตามหลายจังหวัดใหญ่ทั่วประเทศ รวมทั้งคอนเสิร์ตใหญ่ 2 ครั้งที่กรุงเทพ โดยแร็พเตอร์มีเพลงที่เป็นที่รู้จักจากอัลบั้มนี้ คือเพลงช้า "คำเดียว" และเพลงเร็ว "เกรงใจ" มีท่าเต้นที่ได้โด่งดังจนได้รับการขนานนามว่า "ท่าโหนรถเมล์"

อัลบั้มที 4 Goodbye และ ยุติวง (2541)[แก้]

อัลบั้มชุดที่ 4 (มี 2 ปกอัลบั้ม) ผสมผสานทั้งเพลงสากล และเพลงไทย มีเพลงซาโยนาระ กู๊ดบาย แต่งขึ้นมาเพื่อบอกว่าเป็นสตูดิโออัลบั้มชุดสุดท้ายของแร็พเตอร์ หลังประสบความสำเร็จอย่างสูงต่อเนื่องมาตลอด 4 ปี แต่ทั้งคู่ก็ได้ตัดสินใจยุติวงในปี 2541 ด้วยเหตุผลทางการศึกษา

ในปีเดียวกันนี้ แร็พเตอร์ได้ปล่อยอัลบั้มรวมเพลง The Memory ออกมาเป็นการอำลา มีเพลงพิเศษเพลงสุดท้ายที่ถูกทำขึ้นมาบรรจุอยู่ด้วยคือเพลง "ความทรงจำ" รวมถึงมีคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้ายกับแฟนเพลงที่ MBK Hall

คอนเสิร์ต RAPTOR 2011 The Concert (2554)[แก้]

หลังจากสตูดิโออัลบั้ม Raptor Goodbye อัลบั้มรวมเพลง The Memory และคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้ายของ Raptor ที่ MBK hall ผ่านไป 13 ปี ทั้งคู่ได้กลับมาประกาศจัดคอนเสิร์ต "RAPTOR 2011 The Concert" โดยจัดงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ณ โรงภาพยนตร์กรุงศรี ไอแม็กซ์ เธียเตอร์ พารากอนซีนีเพล็กซ์ และทำการแสดงในวันที่ 1-2 ตุลาคม ปีเดียวกัน ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน[5]

คอนเสิร์ตอาร์เอสมีตติ้ง RS Meeting Concert Return 2013 (2556)[แก้]

และในปี 2556 แร็พเตอร์เป็นอีกหนึ่งศิลปินในคอนเสิร์ตอาร์เอสมีตติ้ง RS Meeting Concert Return 2013 ร่วมกับศิลปินอาร์เอสเช่น บาซู, เจมส์, บอยสเก๊าท์, ลิฟท์-ออย, ทัช และ อนัน อันวา[6]

คอนเสิร์ตเดอะเนกซ์ เวนเจอร์ The Next Venture Concert 2016 (2559)[แก้]

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม 2559 แร็พเตอร์มีคอนเสิร์ต The Next Venture Concert 2016 ร่วมกับ โดม ปกรณ์ ลัม เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ ลิฟท์ สุพจน์ จันทร์เจริญ ออย ธนา สุทธิกมล และ วอย เกรียงไกร อังคุณไชย เป็นการกลับมาพบกันครั้งในรอบ 19 ปี ของศิลปินทั้ง 7 คน ขาดเพียง เจอาร์ พร้อมศิลปินจาก The X venture อีกโปรเจกพิเศษในปีถัดมาจาก The Next ของทางเป๊บซี่และอาร์เอสคือ แนนซี่ ราฟฟี่ เอิร์น-จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตร และโมเม นภัสสร ขึ้นทำการแสดงด้วย ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี[7]

สตูดิโออัลบั้ม และ อัลบั้มรวมเพลง[แก้]

  1. Raptor (พ.ศ. 2537 / 2 ปกอัลบั้ม)
  2. Waab Boys (พ.ศ. 2539)
  3. Day Shock (พ.ศ. 2539 / 2 ปกอัลบั้ม)
  4. Goodbye (พ.ศ. 2541 / 2 ปกอัลบั้ม)
  5. The Memory (พ.ศ. 2541)

อัลบั้มพิเศษ (ร่วมกับศิลปินอื่นๆ)[แก้]

  • เพลงพิเศษ "อย่าคิดว่าเธอไม่มีใคร" ร่วมร้องกับ ไฮแจ็ค (อยู่ในอัลบั้ม 'ไฮแจ็ค รวมฮิตแบบเจ็บๆ')
  • RS Super Teens (2539)
  • The Next (2540-2541)

คอนเสิร์ต[แก้]

  • Raptor Concert ตอน จอนนี่แอนด์หลุยส์ตะลุยไฮแจ็ค 24 ก.ย. 37 MBK Hall
  • อาร์เอส.มีตติ้ง คอนเสิร์ต ตอน บุกเกาะอลเวงร้องเพลงหน้าบาน 22 ต.ค. 37 MBK Hall
  • อาร์เอส.เฟรชชี่แจม คอนเสิร์ต 11 พ.ย. 38 สนามกีฬากองทัพบก
  • Super Teens Super Concert 17 ก.พ. 39 อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก
  • Pepsi-Teenology Concert Waab-Z 6 เม.ย. 39 อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก
  • Waab Boys Waab คอนเสิร์ต 25 พ.ค. 39 ไอซ์แลนด์ ฮอลล์ แฟชั่นไอซ์แลนด์
  • ย๊ากส์ คอนเสิร์ต 21 ก.ย. 39 ไอซ์แลนด์ ฮอลล์ แฟชั่นไอซ์แลนด์
  • Joni and Louis Let’s Shock Concert 12 ต.ค. 39 MBK Hall
  • อาร์เอส.มีตติ้ง คอนเสิร์ต ตอน ตามระเบียบ…เต้น 1 ก.พ. 40 MBK Hall
  • Pepsi The Next Generation Concert 17-18 ม.ค. 41 MBK Hall
  • Munchos Dance Concert Raptor OH Yes! 4 ก.ค. 41 MBK Hall
  • Goodbye Concert Sayonara Raptor 5 ก.ย. 41 MBK Hall
  • RAPTOR 2011 The Concert 1-2 ต.ค. 54 รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน
  • RAPTOR 2012 Encore Concert 21 เม.ย. 55 อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RS Meeting Concert Return 2013 18-19 พ.ค. 56 อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
  • The Next Venture Concert 2016 6 มีนาคม 2559 อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RAPTOR Evolution Concert 25 ปี ไม่มีเกรงใจ 7 กันยายน 2562 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RS Meeting Concert 2022: Dance Marathon ปลายปี...ถึงทีเต้น (17 ธันวาคม 2565) อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RS HITS JOURNEY CONCERT 2023 #ต้นปีถึงทีฮิต (27 พฤษภาคม 2566) อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
  • GRAMMY X RS : 90's Versary Concert (29–30 กรกฎาคม 2566) อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RS Meeting Concert 2024: Dance Marathon 2 ยกกำลังเต้น (17 กุมภาพันธ์ 2567) อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี

รายชื่อเพลง[แก้]

ลำดับ ชื่อเพลง
1 ซูเปอร์ฮีโร่
(ดัดแปลงจากเพลง บอดี้การ์ด ของ เต๋า สมชาย)
2 ต้องยกให้
(ดัดแปลงจากเพลง แจ๋วจริง ของ เจี๊ยบ พิสุทธิ์)
3 ห้ามจัง
4 คิดถึงเธอ
5 อย่างนี้น่ะใช่
(ดัดแปลงจากเพลง ไชน่าเกิร์ล ของ ต่อ-ต๋อง วงทู)
6 ช่วบด้วย
(ดัดแปลงจากเพลง ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย ของ วงเอาท์ไซเดอร์)
7 ลื่นมากเชื่อยาก
(ดัดแปลงจากเพลง ลื่น ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง)
8 ลุยสิ
(ดัดแปลงจากเพลง ปอด ปอด ของ บอยสเก๊าท์ )
9 อย่าพูดว่าเลิก
(ดัดแปลงจากเพลง เล่นเจ็บเจ็บ ของ ไฮแจ็ค)
10 คำว่าเพื่อน
ลำดับ รายชื่อเพลง
1 ไม่แคร์
2 รู้สึกอย่างไร
3 อย่าพูดเลย
4 HOLIDAY
5 ปลอบเพื่อน
6 ไล่ไม่เลิก
7 SIGNAL
8 อย่าพูดเลย (MIXED VERSION)
9 รักกันนี่นา
10 จำฉันได้ไหม
11 คนน่ารัก
12 BABY
ลำดับที่ ชื่อเพลง เวลา
1 อย่าพูดเลย (Underground Version)
(เฉพาะอัลบั้มเปลี่ยนปก)
3.21
2 แรงบันดาลใจ 5.48
3 I'll Never Dance Again 3.28
4 Johnny Can't Read 4.15
5 Just Don't Want To Be Lonely 3.55
6 Let's Live For Today 3.55
7 Oh, My Love 3.36
8 The Twelfth Of Never 3.22
9 I Was Made For Dancing 4.35
10 แรงบันดาลใจ (Friends Version) 4.15

รายชื่อเพลง

  1. Goodbye - 01 - Sayonara Goodbye
  2. Goodbye - 02 - ใช่เลย (Oh Yes)
  3. Goodbye - 03 - In My Heart
  4. Goodbye - 04 - I Don't Like To Sleep Alone
  5. Goodbye - 05 - ประหลาดใจ
  6. Goodbye - 06 - รู้ตัวบ้างไหม
  7. Goodbye - 07 - Sayonara Goodbye (Acoustic)
  8. Goodbye - 08 - Go-Go-Go
  9. Goodbye - 09 - Don't You Just Know It
  10. Goodbye - 10 - Runaway
  11. Goodbye - 11 - In The Flesh
  12. Goodbye - 12 - Sayonara Goodbye (ดนตรีฝึกร้อง)

รายชื่อเพลง

  • 1. Raptor - 01 ความทรงจำ (3:36)
  • 2. Raptor - 02 คิดถึงเธอ (3:54)
  • 3. Raptor - 03 คำว่าเพื่อน (4:58)
  • 4. Raptor - 04 เกรงใจ (4:14)
  • 5. Raptor - 05 In My Heart (4:23)
  • 6. Raptor - 06 อย่าพูดเลย (3:31)
  • 7. Raptor - 08 ซูเปอร์ฮีโร่ (3:17)
  • 8. Raptor - 09 รู้ตัวบ้างไหม (4:46)
  • 9. Raptor - 10 คำเดียว (3:38)
  • 10. Raptor - 11 ใช่เลย(Oh Yes !) (3:29)
  • 11. Raptor - 12 Let's Live For Today (3:54)
  • 12. Raptor - 13 แรงบันดาลใจ (5:49)
  • 13. Raptor - 14 Sayonara Goodbye (4:20)

อัลบั้มพิเศษ (ร่วมกับศิลปินอื่นๆ) The Next (2540-2541) ยอดขายกว่าล้านตลับ
รายชื่อเพลง

  • 1. The Next - Love of Generation Next (5:07)
  • 2. โดม ปกรณ์ ลัม - อย่าให้ใจกันเลย (Featuring ลิฟท์ & ออย) (4:14)
  • 3. แร็พเตอร์ - เกรงใจ (4:16)
  • 4. J.R. Voy - หลบหน่อย (พระเอกมา) (3:44)
  • 5. เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ - ยอม (Featuring ลิฟท์ & ออย) (4:07)
  • 6. The Next -06- ปี๊นๆ (ลิฟท์ , ออย) (3:43)
  • 7. J.R. Voy - รักเธอทุกวัน (3:38)
  • 8. ลิฟท์ & ออย - นาทีที่สวยงาม (3:51)
  • 9. โดม ปกรณ์ ลัม - ทำไม่ได้นะ (4:05)
  • 10. แร็พเตอร์ - คำเดียว (3:41)
  • 11. เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ - อยู่นี่ไง (4:37)
  • 12. The Next - Party (4:08)

อ้างอิง[แก้]

  1. เปริมี่1 (September 11, 2012). "## หลายเรื่องที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับ RS Promotion ##". พันทิปดอตคอม. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
  2. RAPTOR 2011 The Concert
  3. - RS Meeting Concert Return 2013 Shadow
  4. สมศักดิ์ศรี 25 ปี'แร็พเตอร์'จัดเต็มแบบไม่มีเกรงใจ
  5. RAPTOR 2011 The Concert
  6. - RS Meeting Concert Return 2013 Shadow
  7. RS คอนเฟิร์ม "The next venture concert" มันส์แน่!

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]