โลโซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Loso)
โลโซ
จากซ้ายไปขวา: รัฐ, เสก, ใหญ่
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงร็อกแอนด์โรล
ฮาร์ดร็อก
ออลเทอร์นาทิฟร็อก
กรันจ์
ช่วงปีพ.ศ. 2539 - 2545,
พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงมอร์ มิวสิก (พ.ศ. 2539 - 2545)
Luster Entertainment (พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)
สมาชิกเสกสรรค์ ศุขพิมาย (เสก) (พ.ศ. 2539 - 2545, พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
กิตติศักดิ์ โคตรคำ (ใหญ่) (พ.ศ. 2539 - 2545, พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)
ณัฐพล สุนทรานู (กลาง) (พ.ศ. 2542 - 2545, พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)
อดีตสมาชิกอภิรัฐ สุขจิตร (รัฐ) (พ.ศ. 2539 - 2542)

โลโซ (อังกฤษ: Loso) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติไทย เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักดนตรีอาชีพที่เคยเล่นดนตรีตามต่างจังหวัด แล้วเดินทางเข้ามาแสวงโชคในกรุงเทพมหานคร จนได้เป็นศิลปินโดยเซ็นสัญญากับค่ายมอร์ มิวสิก ในเครือของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกผลงานเพลงอัลบั้มชุดต่างๆ จนได้รับกระแสตอบรับที่ดีและประสบความสำเร็จมากที่สุดวงหนึ่งของประเทศไทย วงโลโซนำโดย เสกสรรค์ ศุขพิมาย ทำหน้าที่นักร้องนำ มือกีตาร์ และแต่งคำร้องทำนองเพลงของวงทั้งหมด

ประวัติ[แก้]

จุดเริ่มต้นของวงและก่อตั้งวง (พ.ศ 2536 - 2539)[แก้]

จุดเริ่มต้นของวงโลโซเริ่มเกิดขึ้นจาก เสกสรรค์ ศุขพิมาย (เสก) โดยเสกได้เข้าสู่เส้นทางดนตรีอาชีพโดยการตระเวนเล่นดนตรีอาชีพตามผับในหลายจังหวัด และได้ไปเรียนงานช่างไฟฟ้าที่วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา เมื่อปี 2536 เสกเล่นดนตรีประจำอยู่ที่ จ.นครสวรรค์ เสกเล่นอยู่กับวงบั๊ดดี้ ที่ร้านสี่แคว ต่อมาเขาได้ย้ายไปเล่นกับวงไดมอนด์ ที่ร้านพาราไดซ์ จ.นครสวรรค์ แทนมือกีตาร์คนเดิมที่ลาออกไป วงดังกล่าวมีมือกลองคือ กิตติศักดิ์ โคตรคำ (ใหญ่) ซึ่งนั่นเป็นการพบกันของแรกของเสกและใหญ่

วงไดมอนด์เล่นอยู่ที่ จ.นครสวรรค์ จนถึงต้นปี 2537 ก็ย้ายขึ้นไปเล่นที่ มดยิ้มผับ จ.ลำปาง แต่เล่นได้เพียงสองเดือนวงไดมอนด์ก็แยกทางกัน เสกและใหญ่จึงตั้งวงชื่อ ไคลแม็กซ์ เล่นที่ผับมดยิ้มต่อเนื่องถึงกลางปี 2537 ก่อนจะยุบวงไปเพราะรู้สึกอิ่มตัวกับการเล่นดนตรีในต่างจังหวัด ทั้งคู่ตัดสินใจเดินทางเข้า กทม. เพื่อแสวงหาความก้าวหน้าในอาชีพนักดนตรีอีกขั้นหนึ่ง การเดินทางมาครั้งนั้น เสกกับใหญ่ได้ชักชวน อภิรัฐ สุขจิตต์ (รัฐ) นักดนตรีมือเบสรุ่นพี่ซึ่งชอบคอกันและเล่นดนตรีอยู่อีกผับหนึ่งลงมาด้วยการลงมาหางานที่กรุงเทพฯ สำหรับนักดนตรีต่างจังหวัดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หลังใช้เวลาอยู่ 2-3 เดือน สุดท้ายต่างคนต่างต้องแยกย้ายกันไปก่อน เสกไปเล่นกับวงดนตรีชื่อ แคนนอน พี่รัฐย้ายไปเล่นที่จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนใหญ่ไปเล่นกับวงชื่อ โอเปร่า ซึ่งในเวลาต่อมาใหญ่ก็ได้ดึงเสกเข้ามาเป็นมือกีต้าร์แทนคนเก่าที่ลาออกไป

เสกนั่นเริ่มฝึกฝนการเขียนเพลงเองมาตั้งแต่สมัยที่อยู่ลำปาง เมื่องานเล่นดนตรีใน กทม.เริ่มเข้าที่เข้าทาง เสกจึงได้ทุ่มเทเวลาเขียนเพลงอย่างต่อเนื่อง จนย่างเข้ากลางปี 2538 ทั้งคู่ก็เริ่มต้นทำเดโมสำหรับวงใหม่ที่กำลังจะตั้งขึ้น โดยช่วงแรกนั้นมือเบสที่มาช่วยเล่นเบสเพื่อทำเดโมคือ Mr.Mark Desara วิศวกรหนุ่มชาวเดนมาร์กที่พักอาศัยอยู่อพาร์ตเม้นต์เดียวกัน หลังสังเกตเห็นเสกกับใหญ่ซ้อมดนตรีที่ห้องซ้อมใต้อพาร์ทเมนต์แค่สองคน มาร์คเลยเข้ามาแนะนำตัวแล้วบอกว่าตัวเขาเองเคยเล่นดนตรีสมัยอยู่ที่เดนมาร์ก ถ้าอยากให้เขาแจมเบสด้วยก็ยินดี เพราะซาวน์ดนตรีจะได้ครบ เสกกับใหญ่เห็นว่าน่าจะสนุกดีก็เลยชวนมาร์คเข้ามาช่วยซ้อมเดโมด้วย หลังทำเดโมไปได้ 2-3 เพลง เสกจึงติดต่อชวนรัฐมาร่วมวง รัฐตอบตกลง และลาออกจากผับที่ปราจีนบุรีกลับเข้ากรุงเทพฯ

สำหรับชื่อวงใหม่นั้น เสกได้แนวคิดมาจากเนื้อหาของเพลงของวงที่สื่อสารด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา เข้าถึงง่าย ถ่ายทอดผ่านเสียงร้องและดนตรีที่มีเอกลักษณ์ ไม่ซับซ้อนแต่หนักแน่นมีพลัง รวมถึงภาพลักษณ์ของสมาชิกในวงที่เป็นคนเรียบง่ายติดดินไม่ใช่ไฮโซ ที่สุดชื่อใหม่ของวง โลโซ จึงลงตัวและเหมาะสมที่สุด ภายหลังจากทำเดโม่จนครบอัลบั้มแล้ว จึงได้ไปนำเสนอค่ายเพลงต่างๆหลายค่าย แต่ถูกปฏิเสธไม่ได้รับเลือกเป็นศิลปินเพียงเพราะรูปลักษณ์ภายนอกของสมาชิกวง เนื่องจากในยุคนั้นศิลปินนักร้องที่โด่งดัง จะต้องมีหน้าตาที่ดีหรือเป็นนักแสดงมาก่อน

ประสบความสำเร็จ (พ.ศ 2539 - 2541)[แก้]

วันหนึ่ง ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง ต้องการจะทำวงดนตรีจึงได้ชักชวนวงโลโซมาเป็นวงแบ็คอัพ และได้ออกอัลบั้มเพลงชุด เด็กหลังห้อง เมื่อต้นปี พ.ศ. 2539 ภายหลังจากนั้นแท่ง ศักดิ์สิทธิ์ ได้แนะนำเสกให้นำอัลบั้มเพลง Demo ไปเสนอกับค่ายมอร์ มิวสิก ของอัสนี โชติกุล ในเครือของแกรมมี่ ซึ่งเพิ่งเปิดมาใหม่ อัลบั้มเพลง Demo ดังกล่าวประสบความสำเร็จประกอบกับช่วงดนตรีที่เปลี่ยนไปสู่ยุคของดนตรีร็อคที่เน้นความสามารถมากกว่าหน้าตา ทำให้โลโซได้เป็นศิลปินในที่สุด งานบันทึกเสียงใช้เวลาประมาณ 20 วันในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ห้องบันทึกเสียงบัตเตอร์ฟลายและได้ออกอัลบั้มชุดแรกของวงโลโซ ใช้ชื่อชุดว่า Lo Society ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2539 โดยมีพิเชษฐ์ เครือวัลย์เป็นโปรดิวเซอร์ร่วมกับวง ซึ่งอัลบั้มนี้มีแนวเพลงที่มีความเป็นร็อคแบบกรันจ์ มีเพลงในอัลบั้มอย่างเพลง ฉันหรือเธอ (ที่เปลี่ยนไป), ไม่ต้องห่วงฉัน, เราและนาย, ไม่ตายหรอกเธอ, อยากบอกว่าเสียใจ, คุณเธอ อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมายและได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากแฟนเพลงชาวไทย ซึ่งในยุคสมัยนั้นกระแสของเพลงอัลเทอร์เนทีฟในไทยยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก วงโลโซถือเป็นวงร็อคที่สามารถต่อสู้กับศิลปินอัลเทอร์เนทีฟชื่อดังจากค่ายเพลงอื่น จนสามารถดึงกระแสความนิยมมายังค่ายมอร์ มิวสิค และแกรมมี่ได้ ถึงแม้ว่าวงจะมีเครื่องดนตรีเพียงแค่สามชิ้น แต่ซาวด์ดนตรีที่ออกมานั้นแน่นจับใจ เพลงทั้งหมดของวงแต่งคำร้องและทำนองเองโดยเสก และบันทึกเสียงเพลงในวงเอง ทำให้ชื่อของเสกสรรค์ ศุขพิมาย และวงโลโซเป็นที่จดจำของแฟนเพลงชาวไทย และได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินร็อคระดับแนวหน้าของประเทศไทยในขณะนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 วงโลโซก็ได้มีผลงานอัลบั้มพิเศษในชื่อ LOSO Special จักรยานสีแดง ซึ่งเป็นอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง จักรยานสีแดง ที่ได้ซูเปอร์สตาร์สุดฮอตในยุคนั้นอย่าง มอส ปฏิภาณ และ ทาทา ยัง เป็นคู่พระนางในเรื่อง มีเพลงอย่าง จักรยานสีแดง ซึ่งเป็นเพลงสุดฮิตทั่วบ้านทั่วเมืองเลยทีเดียว ในอัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากทั้ง ๆ ที่อัลบั้มนี้มีเพลงเพียง 5 เพลงเท่านั้น

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2541 วงโลโซก็ได้ออกอัลบั้มเพลงชุดที่ 2 ในชื่อ Loso Entertainment อัลบั้มชุดนี้ได้นำพาวงโลโซทะยานมาถึงจุดประสบความสำเร็จสูงสุดวงร็อคเบอร์หนึ่งของประเทศไทย การันตีจากยอดขายอัลบั้มที่สูงเกิน 2 ล้านชุด เป็นยอดขายที่สูงที่สุดของศิลปินร็อคในแกรมมี่ เพลงในอัลบั้มนี้มีความเป็นร็อคแอนด์โรลมากขึ้นกว่าอัลบั้มชุดที่แล้วที่เป็นเพลงแนวกรันจ์ร็อค มีเพลงเปิดอัลบั้มอย่างเพลง อยากเห็นหน้าคุณ เพลงมันส์สนุกพูดถึงคนที่มีอาการตกหลุมรักอย่างสุด ๆ แล้วอยากจะเห็นหน้าคนที่รักนั้นทั้งวันทั้งคืน มีเพลงช้าอย่างเพลง อะไรก็ยอม ซึ่งเป็นเพลงช้าที่บาดใจทั้งคำร้องและทำนองซึ่งเสกแต่งขึ้น ทำให้กวาดความนิยมของแฟนเพลงชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นเพลงที่ขึ้นชาร์ตอันดับที่หนึ่งในหลายคลื่นวิทยุทั่วประเทศเป็นเวลานาน แล้วมีเพลง ซมซาน เพลงร็อคกวน ๆ ที่สร้างกระแสไปทั่วประเทศ ได้รับความนิยมไปทั่วทุกกลุ่มผู้ฟัง ทำให้เพลงนี้ถือเป็นเพลงร็อคระดับตำนานของประเทศที่ไม่มีใครไม่รู้จัก นอกจากนี้ยังมีเพลง เลิกแล้วต่อกัน, แม่

ยุคหลัง (พ.ศ 2542 - 2544)[แก้]

ในปี พ.ศ. 2542 รัฐได้ออกจากวงโลโซไปเนื่องจากเหตุผลส่วนตัว ทำให้วงโลโซต้องหยุดการทัวร์คอนเสิร์ตและพักวงไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนจะมาทำอัลบั้มชุดที่ 3 ของวงต่อ ชื่อชุดว่า Rock & Roll โดยที่มีนักดนตรีในห้องบันทึกเสียงเพียงแค่ 2 คนคือ เสกและใหญ่ เพลงในอัลบั้มได้ดึงเอาความเป็นอเมริกันร็อกเข้ามาเพิ่มสีสันทางอารมณ์ดนตรีเข้าไป แต่ยังคงความเป็นร็อกไทยแบบโลโซเหมือนเดิม อัลบั้มนี้ได้ชักชวน ณัฐพล สุนทรานู (กลาง) เพื่อนนักดนตรีด้วยกันและอดีตมือเบสสมาชิกวงเฌอ เข้ามาร่วมงานกับวงโลโซในฐานะนักดนตรีแบ็คอัพชั่วคราว และร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับวงแทนรัฐไปก่อน มีเพลงเปิดอัลบั้มอย่างเพลง ร็อคแอนด์โรล เพลงที่บ่งบอกความเป็นร็อคแอนด์โรลของวง มีเพลงช้าอย่าง ใจสั่งมา ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงและได้เสียงตอบรับมากที่สุดเพลงหนึ่งของวงโลโซ เพลง ท้าวสุรนารี เพลงที่กล่าวถึงวีรกรรมอันแสนกล้าหาญของท้าวสุรนารี วีรสตรีแห่งเมืองโคราชและเป็นเพลงเดียวของโลโซที่มีการใช้คอรัสหญิงในเพลงซึ่งศิลปินที่มาร่วมร้องคอรัสก็คือคุณปาน ธนพร แวกประยูร นอกจากนี้มีเพลงที่เป็นที่รู้จักอย่างเพลง สาหัส , เพื่อนใจ , เจ็บใจ , คืนจันทร์ อัลบั้มชุดนี้ยังคงประสบความสำเร็จด้วยยอดขายเกินหนึ่งล้านชุด เหมือนอัลบั้มชุดก่อนหน้า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกในวงก็ตาม และทำให้โลโซมีงานทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศมากขึ้น

ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 วงโลโซได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 ชื่อว่า Losoland ซึ่งความหมายในอัลบั้มนี้สื่อถึงการยกระดับของวงโลโซจาก Lo Society ซึ่งหมายถึง สังคมชั้นต่ำ ซึ่งสังคมชั้นต่ำนี้ได้ยกระดับตัวเองเป็นเมืองชั้นต่ำที่ยิ่งใหญ่ขี้นและมีความเป็นร็อคแอนด์โรลมากขึ้น มีเพลงเปิดอัลบั้มอย่างเพลง เข้ามาเลย ซึ่งเป็นเพลงที่บ่งบอกความเป็นวงโลโซ และยังมีเพลงดังอย่างเพลง มอไซต์รับจ้าง เพลงจังหวะโจ๊ะ ๆ สนุกแบบจิ๊กโก๋ พูดถึงอาชีพที่ติดดินอย่าง มอ'ไซค์รับจ้าง เป็นเพลงที่สร้างชื่อให้กับวงเพลงหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเพลง คนบ้า, รอยยิ้มนักสู้, หมาเห่าเครื่องบิน และเพลง อย่าเห็นแก่ตัว เพลงในท้ายอัลบั้มที่มีเนื้อหาเพลงเสียดสีสังคม ถือเป็นเพลงที่มีความยาวมากที่สุดถึง 12:01 นาที เป็นต้น อัลบั้มชุดนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายซึ่งขายได้เพียง 7 แสนชุดเท่านั้น เนื่องจากพิษภัยของเทปผีซีดีเถื่อนที่ระบาดไปทั่วประเทศ ซึ่งศิลปินในยุคนั้นต้องประสบปัญหานี้รวมไปถึงวงโลโซด้วย แต่โลโซก็ยังคงประสบความสำเร็จทางด้านฐานแฟนเพลงที่ยังแน่นอยู่

และวงโลโซได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 ในอีก 6 เดือนต่อมาชื่อชุดว่า ปกแดง เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 ตามคำแนะนำของไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งชื่อและปกของอัลบั้มชุดนี้เป็นการแสดงในเชิงสัญลักษณ์สื่อถึงการต่อต้านเทปผีซีดีเถื่อนในเมืองไทย และอัลบั้มปกแดงนี้ถือเป็นการแก้ตัวจากอัลบั้มชุดที่แล้ว มีเพลงเปิดอัลบั้มอย่างเพลง พันธ์ทิพย์ เพลงที่เสกแต่งขึ้นเพื่อประชดประชัน และเสียดสีห้างสรรพสินค้าชื่อดังอย่างพันธุ์ทิพย์ ซึ่งเป็นห้างที่มีการจำหน่ายเทปผีซีดีเถื่อนในเมืองไทยในเวลานั้น นอกจากนี้ยังมีเพลงดังอย่างเพลง 5 นาที, ฝนตกที่หน้าต่าง, เคยรักฉันบ้างไหม อัลบั้มชุดปกแดงได้เพิ่มความแปลกใหม่ให้งานตัวเองด้วยการนำเอาเครื่องสี เครื่องเป่าเปียโนมาใช้ในเพลงกับการใช้เอฟเฟคกีตาร์ที่มากขึ้น รวมถึงวิธีการร้องที่ใส่ลูกเล่นมากขึ้นและวิธีการมิกซ์ที่แตกต่างไปจากงานชุดก่อน ๆ อัลบั้มปกแดงถือเป็นอัลบั้มชุดแรกในประเทศไทยที่ลดราคาซีดีเหลือเพียง 155 บาท (ต่างจากอัลบั้มอื่นทั่วไปที่ขายอยู่ในราคา 290 บาท) ซึ่งอัลบั้มชุดนี้โลโซได้กลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งด้วยยอดขายกว่า 9 แสนกว่าชุด / ก็อบปี้[1] และอัลบั้มชุดนี้รัฐได้กลับมาเป็นสมาชิกวงโลโซอีกครั้ง หลังหายหน้าจากวงไปเกือบ 3 ปี แทนกลางซึ่งออกจากวงไปแล้ว และอีก 3 เดือนต่อมาโลโซได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ของวงชื่อว่า โลโซเพื่อเพื่อน เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ณ เวลโลโดรม ศูนย์กีฬาหัวหมาก ซึ่งเป็นการแสดงคอนเสิร์ตครั้งเดียว และรอบเดียวของวงโลโซ มีแฟนเพลงโลโซและขาร็อคมากมายจากทั่วประเทศมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

แยกย้าย (พ.ศ. 2545 - 2562)[แก้]

หลังจากคอนเสิร์ตใหญ่ผ่านพ้นไป โลโซได้ทัวร์คอนเสิร์ตต่อจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 โลโซก็ได้หยุดทัวร์คอนเสิร์ต และในปี พ.ศ. 2546 เสกได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ได้ยุบวงโลโซ และสมาชิกในวงก็แยกย้ายกันไปแล้ว เนื่องจากถึงจุดอิ่มตัวของวงและขอพักวงการเพื่อไปเรียนต่อยังประเทศอังกฤษเพื่อเรียนภาษาและดนตรีเพื่มเติม พร้อมกับฝากผลงานอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของเขา ชื่อชุดว่า 7 สิงหา หลังจากเสกเรียนจบ เขาก็กลับเข้าสู่วงการดนตรีต่อโดยเขาได้ร่วมทำเพลงและออกอัลบั้มพิเศษคู่กับเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย นักร้องซุปเปอร์สตาร์ของเมืองไทย ชื่อชุดว่า เบิร์ด - เสก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 20 ปี ของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งอัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จมากมียอดจำหน่ายสูงสุดแห่งปีคือ 2 ล้านชุด หลังจากนั้นเสกก็ออกอัลบั้มเป็นของตนเองต่อไปในฐานะศิลปินเดี่ยว รับทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศ และเขายังเป็นที่รู้จักและยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

  • กิตติศักดิ์ โคตรคำ (ใหญ่) ได้ร่วมก่อตั้งและเป็นสมาชิกของวงฟาเรนไฮธ์ ร่วมกับรัฐ โลโซ และเชษฐ์ วายน็อตเซเว่น นอกจากนี้ยังรับหน้าที่แบ็คอัพมือกลองให้กับ อัสนี-วสันต์ จนถึงปัจจุบัน(ซึ่งก่อนหน้านั้นช่วงที่อยู่โลโซ ใหญ่ก็เคยทำหน้าที่มือกลองแบ็คอัพในคอนเสิร์ตอัสนี วสันต์ เหมือนข้าวเย็น ปี พ.ศ. 2541) และทำงานเบื้องหลังบันทึกเสียงกลองให้กับเพลงของศิลปินชื่อดังหลายวง เช่น Taxi, Hangman, Drama stream, วงพาย, ฯลฯ หลังจากโลโซได้แยกย้ายกันไป ใหญ่ก็ไม่หันกลับมาติดต่อสัมพันธ์และร่วมงานกับเสกเลยเป็นเวลาถึง 17 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2562 ใหญ่ได้กลับมาคืนความสัมพันธ์ที่ดีกับเสกอีกครั้งหลังจากที่เสกรักษาอาการไบโพล่าร์[2]
  • อภิรัฐ สุขจิตร์ (รัฐ) ไปร่วมก่อตั้งและเป็นสมาชิกของวงฟาเรนไฮธ์เช่นเดียวกับใหญ่ และออกจากวงไปในช่วงอัลบั้ม "เอ็กตร้า ฟาเรนไฮธ์" ต่อมาได้กลับมาเล่นดนตรีร่วมงานกับเสกเป็นระยะ อาทิ ช่วงปี พ.ศ. 2549 รับหน้าที่เป็นมือเบสแบ็คอัพให้ในอัลบั้มเดี่ยวของเสก ชื่ออัลบั้ม "แบล็กแอนด์ไวต์" และร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับเสกช่วงระยะหนึ่ง ปี พ.ศ. 2557 รัฐได้เป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ต 40 ปี เสก โลโซ แต่รู้สึกเหมือน 14 ปัจจุบันรัฐได้ยุติการเล่นดนตรีแล้วเนื่องจากปัญหาสุขภาพ
  • ณัฐพล สุนทรานู (กลาง) หลังจากออกจากวงตั้งแต่อัลบั้มโลโซแลนด์ไป 4 ปีกลางได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของวง "พลพรรครักเอย" โดยมี "ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง" เป็นนักร้องนำ โดยทำหน้าที่เล่นเบส แล้วหลังจากนั้นก็หันหลังให้กับวงการดนตรี ไปทำงานเบื้องหลังโดยทำหน้าที่เป็นซาวน์เอนจิเนียร์ให้กับทีมทำเพลงอื่นๆ และประกอบธุรกิจส่วนตัว

กลับมารวมวงอีกครั้งและปัจจุบัน (พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)[แก้]

วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เฟซบุ๊คของ เสก โลโซ ได้โพสต์รูปภาพสมาชิกของโลโซยุคบุกเบิกคือ เสก ใหญ่ และรัฐ ถือเป็นการกลับมาพบกันอีกครั้งของสมาชิกโลโซทั้งสามคน ในรอบ 17 ปีหลังจากที่ยุบวงไป สร้างความยินดีให้กับแฟนเพลงโลโซเป็นอย่างมาก ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2563 ได้มีการจัดพิธีมงคลสมรสของเสก โลโซ และภรรยา กานต์ วิภากร โดยสมาชิกโลโซได้แก่ ใหญ่ รัฐ และกลาง ได้มาร่วมงานในครั้งนั้น และได้มีการแสดงดนตรีของสมาชิกวงโลโซทุกคนในงานนั้นด้วย

วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โลโซได้จัดคอนเสิร์ต ขาใหญ่ Festival "LOSO Reunion Live Streaming Concert" (By Kimleng Audio) เป็นการแสดงคอนเสิร์ตอย่างเป็นทางการครั้งแรกของวงโลโซ ในรอบ 20 ปี และเป็นครั้งแรกของโลโซที่ได้จัดคอนเสิร์ตแบบ Live Steaming ผ่านทาง Facebook Group (Private) แต่ยังเปิดให้ผู้ชมสามารถซื้อบัตรไปรับชมหน้าเวทีการแสดงได้แต่จำกัดจำนวนเพียง 20 ที่นั่งเท่านั้น เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19

ปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นมา วงโลโซได้กลับมารับงานคอนเสิร์ตทั่วประเทศอย่างเป็นทางการอีกครั้งใน 20 ปีของวงหลังจากที่แยกย้ายไป โดยมีสมาชิกวง ได้แก่ เสก, ใหญ่ และ กลาง โดยรับงานคอนเสิร์ตควบคู่กับงานคอนเสิร์ตเดี่ยวของเสกไปด้วย ส่วน รัฐ ไม่สามารถมาร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับวงโลโซได้อีก เนื่องด้วยปัญหาสุขภาพ

สมาชิก[แก้]

สมาชิกปัจจุบัน
  • เสกสรรค์ ศุขพิมาย (เสก) - นักร้องนำ, กีต้าร์, แต่งคำร้อง-ทำนองเพลง, เปียโน (2539 - 2545 , 2546 - ปัจจุบัน)
  • กิตติศักดิ์ โครตคำ (ใหญ่) - กลองชุด, ร้องประสาน (2539 - 2545 , 2564 - ปัจจุบัน)
  • ณัฐพล สุนทรานู (กลาง) - เบส (2542 - 2544, 2564 - ปัจจุบัน)
อดีตสมาชิก
  • อภิรัฐ สุขจิตร (รัฐ) - เบส, ร้องประสาน, กีต้าร์ (2539 - 2542)

ผลงานเพลง[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม[แก้]

ชื่ออัลบั้ม รายชื่อเพลง สมาชิกวง
  1. คุณเธอ
  2. I Wanna Love You
  3. อยากบอกว่าเสียใจ
  4. ฉันหรือเธอ (ที่เปลี่ยนไป)
  5. อยากลอง
  6. ไม่ต้องห่วงฉัน
  7. คุณหรือใคร?
  8. ดาว
  9. เราและนาย
  10. ขับรถให้มันตามกฎ
  11. คน (2)
  12. ไม่ต้องห่วงฉัน (โดด Version)
  13. ไม่ตายหรอกเธอ
  14. ฉันหรือเธอ (ที่เปลี่ยนไป) (Acoustic Version)
  1. เสกสรรค์ ศุขพิมาย (ร้องนำ, กีต้าร์)
  2. กิตติศักดิ์ โคตรคำ (กลอง, ร้องนำ)
  3. อภิรัฐ สุขจิตร์ (เบส)
  1. อยากเห็นหน้าคุณ
  2. คนไม่ดี
  3. อะไรก็ยอม
  4. ซมซาน
  5. เงิน
  6. เลิกแล้วต่อกัน
  7. ด้วยตัวเราเอง
  8. สบายอยู่แล้ว
  9. รักเมืองไทย
  10. แม่
  11. หนีเมือง หนีเธอ
  1. เสกสรรค์ ศุขพิมาย (ร้องนำ, กีต้าร์)
  2. กิตติศักดิ์ โคตรคำ (กลอง)
  3. อภิรัฐ สุขจิตร์ (เบส)
  1. Rock & Roll
  2. ไปเลย
  3. ใจสั่งมา
  4. สาหัส
  5. ครึ่งทาง
  6. ท้าวสุรนารี
  7. ดีไหมเอ่ย?
  8. เพื่อนใจ
  9. เจ็บใจ
  10. คืนจันทร์
  11. เส้นทางชีวิต
  12. ประเสริฐ
  1. เสกสรรค์ ศุขพิมาย (ร้องนำ, กีต้าร์, เบส)
  2. กิตติศักดิ์ โคตรคำ (กลอง, ร้องประสาน)
  3. ณัฐพล สุนทรานู (เบส)
  1. เข้ามาเลย
  2. ไม่ว่าง
  3. หมาเห่าเครื่องบิน
  4. ให้รู้ว่ายังรักกัน
  5. คนบ้า
  6. มอ'ไซค์รับจ้าง
  7. อิสระเสรี
  8. Baby i love you
  9. หมูในอวย
  10. รอยยิ้มนักสู้
  11. อย่าเห็นแก่ตัว
  1. เสกสรรค์ ศุขพิมาย (ร้องนำ, กีต้าร์, เบส)
  2. กิตติศักดิ์ โคตรคำ (กลอง, ร้องประสาน)
  3. ณัฐพล สุนทรานู (เบส, ร้องประสาน)
  1. พันธ์ทิพย์ (เสก)
  2. 5 นาที (เสก)
  3. เคยรักฉันบ้างไหม (เสก)
  4. ฝนตกที่หน้าต่าง (เสก)
  5. ไม่คิดนอกใจ (เสก)
  6. เธอชอบนาย (รัฐ,ใหญ่,เสก)
  7. อยากเปลี่ยนใจเธอ (เสก)
  8. ทุกลมหายใจ (เสก)
  9. ลาจากเธอ (เสก)
  10. โชคดี (รัฐ,ใหญ่,เสก)
  1. เสกสรรค์ ศุขพิมาย (ร้องนำ, กีต้าร์)
  2. กิตติศักดิ์ โคตรคำ (กลอง, ร้องนำ)
  3. อภิรัฐ สุขจิตร์ (เบส, ร้องนำ)

EP / มินิอัลบั้ม[แก้]

ชื่ออัลบั้ม รายชื่อเพลง สมาชิกวง
  1. จักรยานสีแดง
  2. โลกใบใหม่
  3. แทบขาดใจ
  4. เคยบอกว่ารักกัน
  5. เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
  1. เสกสรรค์ ศุขพิมาย (ร้องนำ, กีต้าร์)
  2. กิตติศักดิ์ โคตรคำ (กลอง)
  3. อภิรัฐ สุขจิตร์ (เบส)

อัลบั้มรวมเพลง[แก้]

  • Best of Loso (ธันวาคม พ.ศ. 2541)

รวมเพลงโลโซตั้งแต่อัลบั้ม Lo-Society จนถึง เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

  • Super Star Project LOSO Vol.1 - 3 (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)

รวมเพลงโลโซตั้งแต่อัลบั้ม Lo-Society จนถึง ร็อกแอนด์โรล

  • LOSO Best of Collection (30 เมษายน พ.ศ. 2556)

รวมเพลงโลโซตั้งแต่อัลบั้ม Lo-Society จนถึงปกแดง และผลงานเดี่ยวของเสก

  • 20 TH ANNIVERSARY LOSO (มิถุนายน พ.ศ. 2559)

รวมเพลงโลโซตั้งแต่อัลบั้ม Lo-Society จนถึงปกแดง และผลงานเดี่ยวของเสก

  • BEST OF LOSO (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)

รวมเพลงโลโซตั้งแต่อัลบั้ม Lo-Society จนถึงปกแดง และผลงานเดี่ยวของเสก โดยวางจำหน่ายในรูปแบบ USB

  • 100 HITS (25 เมษายน พ.ศ. 2566)

รวมเพลงโลโซตั้งแต่อัลบั้ม Lo-Society จนถึงปกแดง และผลงานเดี่ยวและชิงเกิ้ลของเสก โดยวางจำหน่ายในรูปแบบ USB

อัลบั้มที่โลโซร่วมแบ็คอัพ[แก้]

อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่น[แก้]

  • อัลบั้ม Grammy Best Of The Year 1996 (ธันวาคม พ.ศ. 2539)
  • อัลบั้ม Grammy Karaoke Hot Vote Vol.25-26,28 (พ.ศ. 2539)
  • อัลบั้ม hot vote Vol.16 (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Grammy Best Of Acoustic 1 (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Nice (มีนาคม พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม More Music Karaoke (พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Grammy Best Of Acoustic 2 (20 มีนาคม พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Grammy Rock ชุด 1 (พฤษภาคม พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Live Concert Rock On Earth Project ชุด 1-2 (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Grammy 1983-1997 IMAGINE (มิถุนายน พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Hot Vote Vol.18 (18 กันยายน พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Jam Mo Lo Yee MORE MUSIC (พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Grammy Best Of The Year 1997 (ธันวาคม พ.ศ. 2540)
  • อัลบั้ม Big 2 (พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Love Series เมื่อเขาร้องไห้ (5 มีนาคม พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Love Series เพราะรักนี้มีมือที่สาม (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Love Serie ผู้ชายร้องไห้ (กรกฏาคม พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Number One Rock (30 กรกฏาคม พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Number One Acoustic (30 กรกฏาคม พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม จิ๊กโก๋อกหัก (20 สิงหาคม พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Grammy Acoustic Series Vol.2 (27 สิงหาคม พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Love Series เมื่อเรารักกัน (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Champ Of Rock (Hard Rock) (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Champ Of Male Rock (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Champ Of Male Acoustic (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม Grammy Best Of The Year 1998 (ธันวาคม พ.ศ. 2541)
  • อัลบั้ม อัสนี-วสันต์ โชติกุล ชุด บางอ้อ & โลโซ ชุด เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (พ.ศ. 2541) ร่วมกับ อัสนี-วสันต์
  • อัลบั้ม The Legend Of Rock 1995 - 1997 Vol.6 (18 มีนาคม พ.ศ. 2542)
  • อัลบั้ม The Legend Of Rock 1997 Vol.7 (18 มีนาคม พ.ศ. 2542)
  • อัลบั้ม Yes Vol.6 (2 เมษายน พ.ศ. 2542)
  • อัลบั้ม Grammy The Rock (29 เมษายน พ.ศ. 2542)
  • อัลบั้ม Soft Rock Vol.1 (10 สิงหาคม พ.ศ. 2542)
  • อัลบั้ม Soft Rock Vol.2 (28 ตุลาคม พ.ศ. 2542)
  • อัลบั้ม รวมฮิต ติดดิน Vol.1 (23 มีนาคม พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม Yes Vol.10 (4 เมษายน พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม Grammy Rock Vol.2 (4 เมษายน พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม Easy Time Vol.10 (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม รวมฮิต ติดดิน 2 (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม Romantic Rock Songs (22 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม X-Tra Hot (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม The Rock Overhits Overload (26 ตุลาคม พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม FLOWERS 1 Red Rose คือ...รักแท้ (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม FLOWERS 4 Tulip คิดถึงเธอเหลือเกิน (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม FLOWERS 8 Iris ผู้ชายอกหัก (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม Grammy Top ten 7 (เมษายน พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม Heart Rock (27 เมษายน พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม X-Tra Best Male (24 สิงหาคม พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม Grammy Top ten 13 (กันยายน พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม TCS The Rock Romantic Rock (14 กันยายน พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม TCS The Rock Hardcore (14 กันยายน พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม Grammy Top ten 14 (ตุลาคม พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม Grammy Top ten 15 (พฤศจิกายน พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม Grammy Best Of The Year 2001 (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม Rock of the year 2001 (14 ธันวาคม พ.ศ. 2544)
  • อัลบั้ม Elements Of Rock ดิน น้ำ ลม ไฟ (26 มีนาคม พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม Sweet @ Heart (30 เมษายน พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม สามหัวใจ (28 มิถุนายน พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม เพลงฝนพรำ (28 มิถุนายน พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม เพลงประกอบภาพยนตร์ 15 ค่ำเดือน 11 (11 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม หัวใจเล่าเรื่อง (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม ครอบครัวโอเกะ ชุด 2 (พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม จิ๊กโก๋ ปาร์ตี้ (พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม Maximum Hitz (3 ธันวาคม พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม Maximum Love (3 ธันวาคม พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม คุณพ่อ ดารา-โอเกะ (พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม 7 Days festival วันพุธ (พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม Music Box Vol.2 (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
  • อัลบั้ม Music Box Vol.3 (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
  • อัลบั้ม รักยิ่งใหญ่จากชายปอนปอน (11 มีนาคม พ.ศ. 2546)
  • อัลบั้ม เสียเธอ ไม่เสียใจ (25 มีนาคม พ.ศ. 2546)
  • อัลบั้ม Music Box Vol.8 (29 เมษายน พ.ศ. 2546)
  • อัลบั้ม Music Box Vol.11 (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2546)
  • อัลบั้ม Music Box Vol.12 (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2546)
  • อัลบั้ม Music Box Vol.13 (24 มิถุนายน พ.ศ. 2546)
  • อัลบั้ม ผู้ชายร้องไห้ (2 มีนาคม พ.ศ. 2547)
  • อัลบั้ม ร็อกหัวใจไทย (23 มีนาคม พ.ศ. 2547)
  • อัลบั้ม Forever Rock (พ.ศ. 2547)
  • อัลบั้ม เล่าเรื่อง...เพลงหนาว (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547)
  • อัลบั้ม Double Rock Double Hits ป้าง + โลโซ (22 มีนาคม พ.ศ. 2548)
  • อัลบั้ม The Greatest Love of Rock (21 กรกฏาคม พ.ศ. 2548)
  • อัลบั้ม เพลงรักจากพระจันทร์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2548)
  • อัลบั้ม คืนเหงา (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
  • อัลบั้ม Rock OKe (มิถุนายน พ.ศ. 2549)
  • อัลบั้ม Bedtime Story Music Box Collection (28 ตุลาคม พ.ศ. 2551)
  • อัลบั้ม Music Box ปลายฝนต้นหนาว (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)
  • อัลบั้ม ร้องเพราะ Miss U (12 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
  • อัลบั้ม 25 Years Grammy Songs Hit Rhythm (12 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
  • อัลบั้ม Always 1993-1997 (9 เมษายน พ.ศ. 2552)
  • อัลบั้ม Greenwave Hurt Songs (23 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
  • อัลบั้ม 50 Best Music Video (พ.ศ. 2552)
  • อัลบั้ม LOVE YOU MORE (13 ตุลาคม พ.ศ. 2552)
  • อัลบั้ม GMM GRAMMY RETRO PARTY ชุด 2 (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
  • อัลบั้ม Rock for Love (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
  • อัลบั้ม NOW & THEN (29 มิถุนายน พ.ศ. 2553)
  • อัลบั้ม Retro romance ชุด 2 (31 สิงหาคม พ.ศ. 2553)
  • อัลบั้ม Rock For Love Vol.2 (23 กันยายน พ.ศ. 2553)
  • อัลบั้ม Chill On The Rock (9 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
  • อัลบั้ม เพลงเหงา หนาวใจ ใครสักคน (16 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
  • อัลบั้ม GMM GRAMMY Pretty Guitar V.3 (31 มกราคม พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม Always In Love (พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม Hurt Feeling (มิถุนายน พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม Better Day Vol.2 (30 มิถุนายน พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม Rainy Day (กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม I Love You Mom (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม Love At First Sight (สิงหาคม พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม Big Fun (กันยายน พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม Rock Heroes (29 กันยายน พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม Best Songs On Film (ตุลาคม พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม Listen To Your Heart Vol.2 (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)
  • อัลบั้ม Good Time (22 มีนาคม พ.ศ. 2555)
  • อัลบั้ม Best Rock Male (21 มิถุนายน พ.ศ. 2555)
  • อัลบั้ม 50 Best Artists (สิงหาคม พ.ศ. 2555)
  • อัลบั้ม Wonderful Moment (27 กันยายน พ.ศ. 2555)
  • อัลบั้ม 30th Anniversary ชุด 2 (25 มกราคม พ.ศ. 2556)
  • อัลบั้ม Love Memory (มกราคม พ.ศ. 2556)
  • อัลบั้ม 100 Love Songs (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)
  • อัลบั้ม Chill Time (มีนาคม พ.ศ. 2556)
  • อัลบั้ม Slow Rock Slow Love (28 มีนาคม พ.ศ. 2556)
  • อัลบั้ม Bedtime Story (19 กันยายน พ.ศ. 2556)
  • อัลบั้ม ร็อก อกหัก (ตุลาคม พ.ศ. 2556)
  • อัลบั้ม Hot & Hit (ธันวาคม พ.ศ. 2556)
  • อัลบั้ม Tales of Love (มกราคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม 30th Anniversary: Male Greatest Hits (มกราคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม 7 in Rock (มีนาคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม Sad Story 3 (13 มีนาคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม 30th Anniversary The Greatest Memory (มีนาคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม ร็อคไทย ใจติดดิน (เมษายน พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม Anniversary The Greatest Rock (พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม Everyday Is Rock (มิถุนายน พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม Rainning Melody (กรกฏาคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม 30th Anniversary Hit Memory (กรกฏาคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม Rock บาดลึก (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม Best Rock Bands (กันยายน พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม Anniversary The Greatest Rock Bands (กันยายน พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม Rock Collection Vol.2 (30 ตุลาคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม 30th Anniversary The Best Classic Rock (ธันวาคม พ.ศ. 2557)
  • อัลบั้ม Rock For Life Hits (มกราคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม The Legend of Rock (มกราคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม The Legend of Rock Heroes (25 มกราคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม More Rock (25 มกราคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม MP3 Yes! (มีนาคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม โจ๊ะกำลัง (26 มีนาคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม The Legend Of Hits Forever (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม The Legend of Hurt Memory (10 มิถุนายน พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม The Legend of Love Memory (29 มิถุนายน พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม The Legend of Rock Memory (9 กรกฏาคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม Easy Time Vol.2 (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม The Legend Of Romantic Love Songs (8 สิงหาคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม จิ๊กโก๋อกหัก (27 สิงหาคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม จิ๊กโก๋ โรแมนติก (กันยายน พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม The Legend of Sad Songs (8 ตุลาคม พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม Stronger Together (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม More Hits (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม มันส์ Rock มาก (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558)
  • อัลบั้ม ฟังแล้วเจ็บ (มกราคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม Big Fun มันเฟร่อ (18 มกราคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม 5 Rock Legend (26 มกราคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม Greatest Memories Male Artists (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม Love Once More (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม บนเส้นทางกลับบ้าน (25 มีนาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม เพลงดังกลางวงเล่า (25 มีนาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม 7 In Rock - 7 Thai Rock (4 เมษายน พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม รักเราไม่เก่าเลย (18 เมษายน พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม แรงบันดาลใจ ไฟลุกโชน (23 เมษายน พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม ทำเนียบร็อก ยุค 90 (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม ไม่ต้องห่วงฉัน (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม ร็อคตัวพ่อ (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม เพลงนี้ของพี่เค้า (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม เพลงสามัญประจำตัว (11 มิถุนายน พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม รวมเพลงฮิต ร็อกติดดิน (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม คิดถึงแฟนเก่า (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม รวมฮิตเพลงคิดถึงบ้าน (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม เสียเธอ ไม่เสียใจ (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม เพลงร็อก พลังรัก (23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม ฟ้าหลังฝน คนสู้ชีวิต (15 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม ร็อกหัวแถว (5 กันยายน พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม เพื่อรัก เพื่อชีวิต 1 (15 กันยายน พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม Alternative Hit 90 s (22 กันยายน พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม ร็อกหัวแถว 2 (6 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม ของขวัญวันสุขใจ (6 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม รวมเพลงฮิต ร็อกติดดิน 2 (7 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม รวมฮิต ร็อกบ้านๆ (7 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม ร็อกหัวกะทิ (7 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม ฮิตวันนั้น ยันวันนี้ (7 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม รวมเพลงแกรมมี่ฮิตตลอดกาล (7 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม รวมเพลงฮิตที่คิดถึง (9 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม รวมฮิต เพลงของคนเจียมตัว (9 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม Rock Memory 80 s (15 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • อัลบั้ม 33rd Anniversary ชุด 2 (19 มกราคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม Rock Never Die (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม Acoustic Hits 90 s (20 กุมภาพันธ์ 2560)
  • อัลบั้ม เพลงดังกลางวงเล่า ชุด 3 (4 มีนาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม ตำนานไทยร็อค ชุด 2 (4 มีนาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม Rock Acoustic 90 s (16 มีนาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม รวมเพลงสามช่า มหาโจ๊ะ (8 เมษายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม ใจพังกลางวงเล่า (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม รวมเพลงแกรมมี่ฮิตตลอดกาล 2 (2 มิถุนายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม เพลงสามัญประจำตัว 2 (19 มิถุนายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม รวมเพลงฮิต ร็อกติดดิน 3 (20 มิถุนายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม Original Hits เพลงฮิตที่ใครใครก็ Cover (30 มิถุนายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม ลูกผู้ชาย ปากหนัก (แต่ใจรักจริง) (1 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม ทำเนียบร็อก ยุค 90 ชุด 2 (24 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม เพื่อรัก เพื่อชีวิต ฮิตติดหู (31 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม ตะวันแดงสาดแสงจันทร์ (5 กันยายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม ร็อกหัวกะทิ ชุด 2 (22 กันยายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม วิถีคนเจ็บ (25 กันยายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม เพลงนี้ของพี่เค้า 2 (26 กันยายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม Rock Thai ใจติดดิน (30 กันยายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม ร็อกติดดิน ฮิตติดผับ (10 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม ร็อกมหาชน คนติดดิน (19 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม เพลงดังกลางวงเล่า ชุด 4 (25 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม รวมเพลงฮิต ใจ...กลางเมือง (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม เพลงเก๋าเก๋ายุค 90 (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม เพลงฮิต ติดเบาะ ชุด 3 (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
  • อัลบั้ม More Hits Alternative 90 s (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม 7 in Rock 7 Thai Rock 2 (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม 35th Anniversary Hits Vol.2 (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม เพลงดังกลางวงเล่า ชุด 5 (6 มีนาคม พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม ร็อกติดดิน ฮิตติดผับ ชุด 2 (18 เมษายน พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม ตะวันแดง สาดแสงจันทร์ ชุด 2 (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม รวมฮิตน้ำตาขาร็อก 2 (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม ร็อกมหาชน คนติดดิน ชุด 2 (14 มิถุนายน พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม ร็อกหัวกะทิ ชุด 3 (26 มิถุนายน พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม ร็อกตัวพ่อ ชุด 3 (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม ความเชื่อ ล้มได้แต่ไม่เลิก 2 (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม Rock Thai ใจติดดิน 2 (14 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม เพื่อรัก เพื่อชีวิต 3 (21 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม ทำเนียบร็อก ยุค 90 s ชุด 3 (18 กันยายน พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม รวมเพลงแกรมมี่ฮิตตลอดกาล 4 (18 กันยายน พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม Season Change รวมเพลงรัก ฮิตทุกฤดูกาล (25 กันยายน พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม รวมฮิตสัญชาติไทย หัวใจร็อก (30 ตุลาคม พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม ร็อกเดียวใจเดียว (18 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
  • อัลบั้ม ชายคาพักใจ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม 80 เพลงโดน วงดัง (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ร็อกไทยใจซื่อ (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม 36th Anniversary Forever Hits (5 มีนาคม พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม รวมฮิตโจ๊ะไม่เกรงใจ (27 มีนาคม พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ร็อคฮิตเกรด A (23 เมษายน พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ร็อกติดดินฮิตโดนใจ (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ร็อก.รัก.ร้าว (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ร็อกไทย หัวใจเซอร์ (11 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ร็อกฮิตที่คิดถึง (25 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ฮิตมหาชน คนติดดิน (14 สิงหาคม พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม รวมเพลง ร็อกฮิตมหาชน (27 สิงหาคม พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม Rock Cassette (17 กันยายน พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ร็อกนิยม (24 กันยายน พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม 5 ขุนพลพันธุ์ร็อก (3 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ฮิตมหาชน คน 3 ช่า (22 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ร็อกเน้นเน้น (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม Rock Collection V2 (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ร็อกติดดิน ฮิตวงเล่า (24 ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • อัลบั้ม ROCK HURT ROCK HITS (16 มกราคม พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม รวมฮิต ร็อกไทยในความทรงจำ (21 มกราคม พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม ฮิตย้อนยุค สุดโดนใจ (28 มกราคม พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม ฮิตจัง ฟังเพลิน (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม เพลงดังวันวาน (4 มีนาคม พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม รวมเพลงฮิต วงเล่า ชาวร็อก (8 เมษายน พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม รวมเพลง รัก...ติดดิน ฮิตกินใจ (30 มิถุนายน พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม The Cassette Hits (21 กันยายน พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม ร็อกฮิตที่คิดถึง 2 (1 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม ALWAYS ฮิตตลอดกาล (22 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
  • อัลบั้ม The Cassette Hits Vol.2 (12 มกราคม พ.ศ. 2564)
  • อัลบั้ม รวมฮิต แสงจันทร์ ตะวันแดง ชุด 2 (19 มกราคม พ.ศ. 2564)
  • อัลบั้ม All Time Hits Vol.1 (19 มกราคม พ.ศ. 2564)
  • อัลบั้ม Rock Memory ชุด 1 (19 มกราคม พ.ศ. 2564)
  • อัลบั้ม Energy Hits เพลงดังฟังแล้วตื่น (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)
  • อัลบั้ม ฮิต...ติดดิน (15 มิถุนายน พ.ศ. 2564)
  • อัลบั้ม Energy Hits 2 (6 กันยายน พ.ศ. 2564)
  • อัลบั้ม Always (22 กันยายน พ.ศ. 2564)
  • อัลบั้ม ฮิต...ติดดิน Vol.2 (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564)
  • อัลบั้ม Rock Hit Memory (23 มีนาคม พ.ศ. 2565)
  • อัลบั้ม เพลงแกรมมี่ หวานที่สุด (30 มิถุนายน พ.ศ. 2565)
  • อัลบั้ม Mega Dance 90's (27 มีนาคม พ.ศ. 2566)
  • อัลบั้ม 40th GMM Grammy Anniversary Hits : ROCK ON TOP 1983-2002 (29 เมษายน พ.ศ. 2566)
  • อัลบั้ม รวมท็อปฮิตเพลงดังตะวันแดง (24 กันยายน พ.ศ. 2566)
  • อัลบั้ม All Time Rock 40th GMM Grammy Anniversary Hits (21 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
  • อัลบั้ม All Time Love (5 มีนาคม พ.ศ. 2567)

คอนเสิร์ต[แก้]

คอนเสิร์ตใหญ่[แก้]

ชื่อคอนเสิร์ต วันที่แสดง สถานที่ สมาชิก นักดนตรีรับเชิญ รายชื่อเพลง
โลโซ เพื่อเพื่อน (Loso For Friend) 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เวโลโดรม ศูนย์กีฬาหัวหมาก
  • เสกสรรค์ ศุขพิมาย (ร้องนำ, กีต้าร์)
  • กิตติศักดิ์ โคตรคำ (กลองชุด, ร้อง)
  • อภิรัฐ สุขจิตร์ (เบส, ร้อง)
  • วง บูโดกัน (เล่นเปิดคอนเสิร์ต)
  • ณัฐพล อ่วมอิ่ม (เปียโน เพลง ใจสั่งมา)
  • เศกพล อุ่นสำราญ (แซกโซโฟน เพลง คืนจันทร์)
  • Strings section (เพลงไม่ตายหรอกเธอ, คืนจันทร์, เคยรักฉันบ้างไหม) ประกอบด้วย
    1. ธันวิน ใจเพียร (ไวโอลีน)
    2. จุฑามณี อุไรศรี (ไวโอลีน)
    3. ไพโรจน์ องคสิงห์ (ไวโอลีน)
    4. เบญจวรรณ พะพลทับ (ไวโอลีน)
    5. สมเกียรติ ศรีคำ (ไวโอลีน)
    6. จริยา เกียรติเฉลิมพล (ไวโอลีน)
    7. ปนัดดา เพิ่มพาณิชย์ (เชลโล่)
    8. อุทัยศรี ศรีณรงค์ (เชลโล่)
  • คณะเต้น D : Dance Troupe (เพลง มอ'ไซต์รับจ้าง)

Overture เข้ามาเลย

  1. พันธ์ทิพย์
  2. 5 นาที
  3. ฝนตกที่หน้าต่าง
  4. คนบ้า
  5. สาหัส
  6. ฉันหรือเธอ (ที่เปลี่ยนไป)
  7. จักรยานสีแดง
  8. อยากเปลี่ยนใจเธอ
  9. เราและนาย
  10. แม่
  11. มอ'ไซต์รับจ้าง
  12. ซมซาน
  13. ตังเก (ต้นฉบับ : พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ) (ถูกตัดออกจากบันทึกการแสดงสด)
  14. คืนจันทร์
  15. ไม่ตายหรอกเธอ
  16. คุณหรือใคร
  17. เธอชอบนาย
  18. i wanna love you
    Drum Solo
    Bass Solo
  19. ใจสั่งมา
  20. เคยรักฉันบ้างไหม
  21. พันธ์ทิพย์ (Punk)
  22. คุณเธอ
  23. อยากเห็นหน้าคุณ
    --Encore--
  24. ไม่ต้องห่วงฉัน
  25. อะไรก็ยอม
ขาใหญ่ Festival "LOSO Reunion Live Streaming Concert" (By Kimleng Audio) 18 ธันวาคม พ.ศ. 2564 Live Streaming
  • อภิรัฐ สุขจิตร์ (กีต้าร์โปร่ง, ร้อง) เราและนาย, ซมซาน, ไม่ตายหรอกเธอ

  1. เข้ามาเลย
  2. อยากเห็นหน้าคุณ
  3. เพื่อนใจ
  4. คนบ้า
  5. สาหัส
  6. ฉันหรือเธอ (ที่เปลี่ยนไป)
  7. จักรยานสีแดง
  8. ฝนตกที่หน้าต่าง
  9. เงิน
  10. 5 นาที
  11. มอ'ไซต์รับจ้าง
  12. เลิกแล้วต่อกัน
  13. ซมซาน
  14. ตังเก
    Drum Solo
    Bass Solo
  15. คืนจันทร์
  16. แม่
  17. คุณหรือใคร
  18. ใจสั่งมา
  19. เคยรักฉันบ้างไหม
  20. พันธ์ทิพย์ (Punk)
  21. Medley
    - คุณเธอ
    - I Wanna Love You
    - ไม่ต้องห่วงฉัน(โดด)
  22. เราและนาย
  23. ซมซาน
  24. อะไรก็ยอม
    --Encore--
  25. ไม่ตายหรอกเธอ (แสดงหลังจากจบคอนเสิร์ตแล้ว จึงไม่มีการบันทึกเพลงนี้ในคอนเสิร์ต)

คอนเสิร์ตพิเศษ[แก้]

  • คอนเสิร์ต Speak Softly Love LOSO Reunion (Zaplive Movieconcert) การแสดงดนตรีในวิถีภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย อรุณศักดิ์ อ่องลออ (ฉายครั้งแรกวันที่ 27 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ผ่านแอปพลิเคชัน Zaplive)
  • คอนเสิร์ต 800,000 Festival Concert (live in 101) Ep1# Loso’s Day VV.I.P & LIVE STREAMING CONCERT LOSO - แปดแสนสตูดิโอ จ.ร้อยเอ็ด (วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)
  • คอนเสิร์ต LOSO Acoustic Camp Live Streaming Concert (ฺBy Musicband) - นาหญ้าฟาร์ม จ.ลำปาง (วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565)
  • คอนเสิร์ต LOSO คือเพื่อนกัน เพื่อนตาย ตลอดไป - BCC Hall เซ็นทรัล ลาดพร้าว (วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567)

คอนเสิร์ตร่วมกับศิลปินคนอื่น[แก้]

  • คอนเสิร์ต Happy New Year 1997 - MCC Hall (ชั้น 4 เดอะมอลล์ บางกะปิ) (1 มกราคม พ.ศ. 2540)
  • คอนเสิร์ต Earth Day ครั้งที่ 7 Rock on earth project - สนามกีฬากองทัพบก (20 เมษายน พ.ศ. 2540)
  • คอนเสิร์ต HOT WAVE ROCK MARATHON 002 (เมษายน พ.ศ. 2540)
  • คอนเสิร์ต Earth Day Concert ครั้งที่ 8 (เมษายน พ.ศ. 2541)
  • คอนเสิร์ต พลังแห่งแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช (ชุดการแสดง ประเทศไทยไชโย) - ลานพระราชวังดุสิต (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542)
  • คอนเสิร์ต วันคุ้มครองโลก ครั้งที่ 11 Rock On Earth 2001 - อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก (22 เมษายน พ.ศ. 2544)
  • คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2002 - พัทยา (22 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2545)
  • คอนเสิร์ต เปิดลมหนาว - ตลาดเจอาร์มาร์เก็ต(ข้างไทวัสดุ สระบุรี) (21 ตุลาคม พ.ศ. 2565)
  • คอนเสิร์ต ห้วยไร่ อีหลีน่า Festival No.1 - ห้วยไร่อีหลีน่า อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร (15 มกราคม พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต Rock On The Beach Rasada Music Festival 2023 - หาดสิเหร่ เกาะสิเหร่ ตำบลรัษฎา เมืองภูเก็ต (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต SEK LOSO & Friends concert Live for Turkey and Syria - ที่โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง สาขาเลียบทางด่วนรามอินทรา กรุงเทพ (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต Pazan Music Festival ตอน ริมเล - ที่ลานมหาราช ปากน้ำปราณ (24 มิถุนายน พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต สุพรรณติวัล 2 - เขากำแพง อู๋ทอง สุพรรณบุรี (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต Farm Festival On The Hill ครั้งที่ 10 - สิงห์ปาร์ด เชียงราย (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
  • คอนเสิร์ต Belief Fest - เขากะลา จ.นครสวรรค์ (13 มกราคม พ.ศ. 2567)
  • คอนเสิร์ต ห้วยไร่ อีหลีน่า Festival No.2 - ห้วยไร่อีหลีน่า อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร (14 มกราคม พ.ศ. 2567)

รางวัล[แก้]

  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2541 ศิลปินคู่หรือกลุ่มยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม ”โลโซ เอนเทอร์เทนเมนท์”
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2544 ศิลปินคู่หรือศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม, ศิลปินกลุ่มร็อคยอดเยี่ยม, อัลบั้มร็อคยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม ”โลโซ แลนด์”
  • The Guitar Mag Awards 2024 ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2567 รางวัล Lifetime Achievement พิเศษ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]