ข้ามไปเนื้อหา

ลานา เดล เรย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Lana Del Rey)
ลานา เดล เรย์
ผู้หญิงกำลังจับไมโครโฟนและมืออีกข้างอยู่ที่หู พร้อมกับขมวดคิ้ว
เดล เรย์ ในงานแกรมมีมิวเซียมในปี ค.ศ. 2019
เกิดอีลิซาเบธ วูลริดจ์ แกรนต์
(Elizabeth Woolridge Grant)

(1985-06-21) มิถุนายน 21, 1985 (39 ปี)
สหรัฐ นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ชื่ออื่น
  • ลานา เดล เรย์ (Lana Del Ray)
  • ลานา เรย์ เดล มาร์ (Lana Rey Del Mar)
  • สปาร์เคิลจัมพ์โรปควีน (Sparkle Jump Rope Queen)
  • เมย์ ไจเลอร์ (May Jailer)
  • ลิซซี่ แกรนต์ (Lizzy Grant)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮม (ศิลปศาสตรบัณฑิต)
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
ปีปฏิบัติงาน2005–ปัจจุบัน
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
ค่ายเพลง
เว็บไซต์lanadelrey.com
ลายมือชื่อ

อีลิซาเบธ​ วูลริดจ์ แกรนต์ (อังกฤษ: Elizabeth Woolridge Grant) หรือที่รู้จักในชื่อ ลานา เดล เรย์ (อังกฤษ: Lana Del Rey) (เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1985 ) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน โดยผลงานดนตรีของเธอมีความโดดเด่นในด้านคุณภาพระดับเพลงประกอบภาพยนตร์ที่แสดงออกมาในแง่ของความรักที่โศกสลด เสน่หาเย้ายวน และความเศร้าหมอง พร้อมกับการอ้างอิงถึงวัฒนธรรมประชานิยมร่วมสมัยของอเมริกาอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 - คริสต์ทศวรรษ 1960[1] เดล เรย์เคยได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย อาทิ บริตอะวอดส์ 2 รางวัล, รางวัลบิลบอร์ดวีเมนอินมิวสิก 2 รางวัล, เอ็มทีวียุโรปมิวสิกอะวอดส์ 2 รางวัล และแซทัลไลต์อะวอดส์ 1 รางวัล รวมถึงการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี 6 ครั้ง และรางวัลลูกโลกทองคำ 1 ครั้ง นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากนิตยสารวาไรอิตี ในการประกาศรางวัลฮิตเมกเกอร์อะวอดส์เพื่อเชิดชูเธอว่าเป็น "หนึ่งในนักร้องและนักแต่งเพลงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษ 21" ใน ค.ศ. 2023 นิตยสารโรลลิงสโตนจัดให้เธออยู่ในรายชื่อนักร้องที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล และนิตยสารโรลลิงสโตนยูเค ขนานนามเธอว่าเป็นนักแต่งเพลงชาวอเมริกันที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษ 21[2][3] และเธอก็ยังถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ของนิตยสารไทม์ ประจำปี ค.ศ. 2012 อีกเช่นเดียวกัน[4]

เดล เรย์เติบโตในตอนเหนือของรัฐนิวยอร์ก และย้ายมายังเมืองนิวยอร์กซิตี้ใน ค.ศ. 2005 เพื่อเริ่มต้นเส้นทางอาชีพทางด้านดนตรี หลังจากที่เธอได้ปล่อยผลงานเพลงออกมามากมาย รวมทั้งอัลบั้มแรกในชื่อเดียวกับตนเอง จุดเปลี่ยนของเธอได้เกิดขึ้นใน ค.ศ. 2011 เมื่อซิงเกิล "วิดิโอเกมส์" ประสบความสำเร็จได้ในระดับไวรอล และในปลายปีเดียวกันนั้นเธอก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงโพลีดอร์และอินเตอร์สโคป [5] อัลบั้มบอร์นทูดาย (2012) อัลบั้มเปิดตัวของเธอที่ทำภายใต้สังกัดเพลงนั้นประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของคำวิจารณ์และยอดขาย ซึ่งมีเพลงที่กลายเป็นกระแสหลังจากการเปิดตัวไปสักพักแล้วอย่าง "ซัมเมอร์ไทม์แซดเนส" อัลบั้มบอร์นทูดาย กลายเป็นอัลบัมแรกจากหกอัลบั้มของเธอที่ขึ้นอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักร และติดอันดับสูงสุดในตารางจัดอันดับอัลบั้มเพลงหลายประเทศทั่วโลก อัลบั้มที่สามของเดล เรย์ คืออัลตราไวโอเลนซ์ (2014) เป็นอัลบั้มที่มีการนำเสียงกีตาร์มาใช้ในดนตรีประกอบมากขึ้น และเปิดตัวอันดับหนึ่งบนตารางจัดอันดับบิลบอร์ด200ของสหรัฐอเมริกา อัลบั้มที่สี่และห้าอย่างฮันนีมูน (2015) และลัสต์ฟอร์ไลฟ์ (2017) นั้นเป็นการหวนคืนสู่แนวเพลงดั้งเดิมที่เคยเป็นที่นิยมจากอัลบั้มเก่า ๆ ของเธอ อัลบั้มที่หกนอร์แมนฟักกิงร็อกเวลล์! (2019) นั้นมีกลิ่นอายของแนวเพลงซอฟท์ร็อก เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จทางด้านคำวิจารณ์เป็นอย่างสูงและได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาอัลบั้มแห่งปีในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 62 และนิตยสารโรลลิงสโตนได้ยกให้อัลบั้มนี้เป็นหนึ่งใน 500 อัลบั้มที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล[6][7] เดล เรย์ได้ปล่อยสองอัลบั้มใน ค.ศ. 2021 คือ เคมเทรลส์โอเวอร์เดอะคันทรีคลับ และบลูแบนิสเตอส์ เดล เรย์มีผลงานร่วมกับเทย์เลอร์ สวิฟต์ในเพลง "สโนว์ออนเดอะบีช" จากอัลบั้มที่สิบของสวิฟต์ มิดไนส์ (2022) เพลงนี้เปิดตัวอับดับสี่บนตารางจัดอันดับบิลบอร์ดฮอต100 ซึ่งเป็นอันดับสูงที่สุดที่เธอเคยทำได้บนตารางจัดอันดับดังกล่าว และใน ค.ศ. 2023 เธอได้ปล่อยอัลบั้มที่เก้าในชื่อดิดยูโนว์แดตแธรซ์อะทันเนิลอันเดอร์โอเชียนบูลวาร์ด เปิดตัวอัลบั้มด้วยซิงเกิลโปรโมตอย่าง "เอแอนด์ดับเบิลยู" และซิงเกิลชื่อเดียวกับอัลบั้ม[8] และภายหลังในปีเดียวกัน เธอได้ปล่อยเพลง "เซย์เยสทูเฮฟเวน" ที่สามารถทำผลงาน 20 อันดับแรกบนตารางจัดอันดับเพลงบิลบอร์ดโกลบอล200

นอกจากนี้ เดล เรย์ก็มีผลงานร้องเพลงประกอบสำหรับสื่อวิดีทัศน์ทั้งภาพยนตร์และภาพยนตร์เพลงขนาดสั้น ใน ค.ศ. 2013 เธอได้ประพันธ์ และแสดงในภาพยนตร์เพลงขนาดสั้นที่ได้รับคำวิจารณ์ชื่นชมเรื่อง ทรอปิโก และผลงานเพลง "ยังแอนด์บิวติฟูล" สำหรับประกอบภาพยนตร์เรื่องเดอะ เกรท แกตสบี้ รักเธอสุดที่รัก ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมอย่างสูงจากนักวิจารณ์และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี และรางวัลคริติกส์ชอยส์อะวอดส์ ต่อมาในปี ค.ศ. 2014 เธอได้บันทึกเสียงร้องให้กับเพลง "วันซ์อะพอนอะดรีม" สำหรับภาพยนตร์ผจญภัยแฟนตาซีเรื่องมาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ และ "บิ๊กอายส์" เพลงธีมประกอบภาพยนตร์อัตชีวประวัติเรื่องติสท์ลวงตา และได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ[9][10] เดล เรย์ยังมีผลงานการบันทึกเสียงร่วมในเพลง "โดนต์คอลมีแองเจิล" ประกอบภาพยนตร์ต่อสู้ตลกเรื่องนางฟ้าชาร์ลี (2019) เดล เรย์มีผลงานรวมบทกวีและภาพถ่ายในชื่อไวโอเลตเบนต์แบ็กวาดส์โอเวอร์เดอะกราส (2020)

ชีวิตช่วงแรกและการศึกษา

[แก้]

อีลิซาเบธ​ วูลริดจ์ แกรนต์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1985[11] ที่เขตแมนแฮตตันในนครนิวยอร์ก[12] เป็นบุตรของนายโรเบิร์ต อิงแลนด์ แกรนต์ จูเนียร์ นักเขียนโฆษณาของบริษัทเกรย์กรุป และนางแพตริเซีย แอน "แพต" (สกุลเดิม ฮิลล์) นักบริหารบัญชีของบริษัทเดียวกันกับพ่อของเธอ[13][14][15] เธอมีน้องสาวชื่อแคโรไลน์ "ชัก" แกรนต์[16] และน้องชายชื่อชาร์ลี แกรนต์[17][18] เธอเติบโตมาในครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และมีเชื้อสายสกอตแลนด์[19][20] เมื่อเธออายุได้ 1 ปี ครอบครัวของเธอย้ายไปยังหมู่บ้านเลกแพลซิดในรัฐนิวยอร์ก[21] ที่เลกแพลซิดพ่อของเธอได้ทำงานที่บริษัทเฟอร์นิเจอร์ก่อนที่จะผันตัวมาเป็นนักธุรกิจบนโดเมนเพื่อการลงทุน[22] ส่วนแม่ของเธอทำงานเป็นครูสอนหนังสือ[23] เธอเข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์แอกเนสในระดับชั้นประถมศึกษา[24] และเคยเข้าร่วมคณะนักร้องประสานเสียงในโบสถ์ โดยเธอได้ร้องในตำแหน่งต้นเสียง[25][26]

เธอได้ศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนที่แม่ของเธอสอนอยู่เป็นเวลาหนึ่งปี[27] เมื่อเธออายุได้ 14[28] หรือ 15 ปี[29] พ่อแม่ได้ส่งเธอไปเรียนต่อที่โรงเรียนเคนต์[30] เพื่อเข้ารับการบำบัดอาการติดแอลกอฮอล์ ดังที่เธอเคยเปิดเผยในการสัมภาษณ์ว่า "นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันถึงถูกส่งไปยังโรงเรียนประจำตั้งแต่อายุ 14 ปี - เพื่อเข้ารับการบำบัด"[31] ลุงของเธอซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รับสมัครของโรงเรียน เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เธอในการเข้าเรียนที่นี่[32] ตามคำบอกเล่าของเธอ เธอมีปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงแทบจะตลอดช่วงเวลาวัยรุ่นของเธอ[33][34] เธอกล่าวว่าเธอครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องความตายตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก และมันก็มีบทบาทสำคัญต่อความรู้สึกวิตกกังวลและความแปลกแยกในตัวของเธอ

ในตอนที่ฉันยังเด็กอยู่มาก ๆ ฉันรู้สึกจุกกับความเป็นจริงที่ว่าแม่ของฉัน พ่อของฉัน และทุกคนที่ฉันรู้จักจะต้องตายลงสักวัน รวมทั้งตัวฉันเองด้วย ฉันพบกับวิกฤตการณ์ทางปรัชญา ฉันแทบไม่อยากจะเชื่อว่าพวกเราทุกคนต้องตาย และด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง การรับรู้นี้ได้บดบังประสบการณ์ชีวิตของฉัน ฉันรู้สึกไม่มีความสุขอยู่พักหนึ่ง ฉันได้เข้าไปพัวพันกับปัญหาหลาย ๆ อย่าง ฉันเคยดื่มหนักมาก ๆ และนั่นก็เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากในชีวิตของฉัน[35]

หลังจากจบการศึกษาที่โรงเรียนเคนต์ เธออาศัยอยู่ที่ลองไอส์แลนด์กับลุงและป้าเป็นเวลาหนึ่งปี และทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟไปด้วย[36] ในช่วงเวลานี้ลุงของเธอได้สอนวิธีเล่นกีตาร์ให้แก่เธอ และเธอ "ตระหนัก (ว่าเธอ) อาจจะสามารถเขียนเพลงได้เป็นล้านเพลงจากคอร์ดหกคอร์ดนี้"[37] หลังจากนั้นไม่นานเธอก็เริ่มแต่งเพลงและแสดงตามไนต์คลับทั่วเมืองโดยใช้ชื่อต่าง ๆ เช่น "สปาร์เคิลจัมพ์โรปควีน" และ "ลิซซี่แกรนต์แอนด์เดอะฟีนอเมนา"[38] "ฉันร้องเพลงอยู่เสมอ แต่ก็ไม่ได้วางแผนที่จะทำมันอย่างจริงจังสักเท่าไร" เธอกล่าว "ตอนที่ฉันไปนิวยอร์กซิตีตอนอายุสิบแปด ฉันเริ่มเล่นในคลับที่บรุกลิน—ฉันมีเพื่อนที่ดีและแฟนคลับที่ศรัทธาในตัวฉันตอนที่ยังเป็นนักร้องใต้ดิน พวกเราต่างก็เล่นดนตรีเพื่อกันและกัน—และมันก็แค่นั้น"[39]

ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 2004 ตอนที่เธออายุ 19 ปี เดล เรย์ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮมในเดอะบร็องซ์ นครนิวยอร์ก วิชาเอกที่เธอเลือกเรียนคือปรัชญา โดยมุ่งเน้นในเรื่องเกี่ยวกับอภิปรัชญา[12] เธอกล่าวว่าที่เธอเลือกศึกษาเรื่องนี้เพราะ "มันเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างพระเจ้ากับวิทยาศาสตร์... ฉันสนใจในพระเจ้าและวิธีที่เทคโนโลยีสามารถช่วยให้เรามีโอกาสใกล้ชิดกับการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับว่าเรามาจากที่ไหนและทำไม"


ผลงานเพลง

สตูดิโออัลบั้ม

[แก้]

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]

คอนเสิร์ตทัวร์

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. Stephen Thomas Erlewine. "Lana Del Rey | Biography & History". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2016. สืบค้นเมื่อ June 29, 2016.
  2. Ewens, Hannah (March 8, 2023). "Lana Del Rey: she does it for the girls". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ May 20, 2023.
  3. "The 200 Greatest Singers of All Time". Rolling Stone. 1 January 2023. สืบค้นเมื่อ 17 February 2023.
  4. "The 2012 TIME 100 Poll". Time. March 29, 2012. สืบค้นเมื่อ May 20, 2023.
  5. Harris, Paul (January 21, 2012). "Lana Del Rey: The strange story of the star who rewrote her past". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2016. สืบค้นเมื่อ June 29, 2016.
  6. Spanos, Brittany (July 31, 2019). "Lana Del Rey Announces 'Norman F-cking Rockwell' Release Date – Rolling Stone". rollingstone.com (ภาษาอังกฤษ). Norman Fucking Rockwell will be out on August 30th.
  7. Schewitz, Brett (January 25, 2021). "Rolling Stone 500 Greatest Albums Of All Time". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ May 20, 2023.
  8. Madarang, Charisma (2023-11-14). "Lana Del Rey's 'Tunnel Under Ocean Blvd' Will Be Transformed Into a Speakeasy". Rolling Stone (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-11-25.
  9. Kreps, Daniel (December 13, 2014). "Coldplay, Lorde, Lana Del Rey Make Best Original Song Oscar Shortlist". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ May 20, 2023.
  10. "Oscar Nominations 2015: Full List". Variety. January 15, 2015. สืบค้นเมื่อ May 20, 2023.
  11. * Hiatt, Brian (July 18, 2014). "Lana Del Rey – The Saddest, Baddest Diva in Rock". Rolling Stone. No. 1212. p. 44. Del Rey is four days away from her 29th birthday (for reasons she can't explain, she's usually reported to be a year younger), but looks, at the moment, like a college junior home for the summer.;
  12. 12.0 12.1 Sowray, Bibby (February 10, 2012). "Lana Del Rey Biography, Quotes and Facts". Vogue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2012. สืบค้นเมื่อ June 20, 2012.
  13. Jackson, Ron (April 2008). "The Domain Giant You Didn't Know: Rob Grant's Roundabout Route to Real Estate Riches (Online and Off!)". DN Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2012. สืบค้นเมื่อ January 1, 2013.
  14. "Robert England Grant Jr. Marries Patricia Ann Hill". The New York Times. June 13, 1982. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2015. สืบค้นเมื่อ December 4, 2014.
  15. Bock, Melvin Lynn; E. Dale Hooper; Carole J. Skelly (1998). Joseph and Mary Dale and their descendants. Windmill Publications. p. 113.
  16. Zupkus, Lauren (October 8, 2014). "Meet Chuck Grant, Lana Del Rey's Equally Gorgeous And Talented Sister". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2014. สืบค้นเมื่อ October 26, 2017.
  17. Rüth, Steffen (June 5, 2014). "Lana Del Rey". Grazia (ภาษาเยอรมัน). Hamburg, Germany: G+J/Klambt-Style-Verlag GmbH & Co. KG (24/2012): 36. ISSN 2192-3965.
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nylon
  19. "Lana Del Rey – Celtic Life International". Celticlifeintl.com. August 22, 2014. สืบค้นเมื่อ October 8, 2020.
  20. "Celebrities who are practicing Catholics or were raised in the church". Newsday. April 10, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2016. สืบค้นเมื่อ April 10, 2017.
  21. Dombal, Ryan (August 30, 2011). "Rising: Lana Del Rey". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2012. สืบค้นเมื่อ January 25, 2012.
  22. Hiatt, Brian (January 9, 2014). "Lana Del Rey: Vamp of Constant Sorrow". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2015. สืบค้นเมื่อ July 31, 2014.
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ KentFA-Sydney
  24. Giannini, Melissa (November 28, 2013). "National Anthem". Nylon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2013. สืบค้นเมื่อ June 8, 2014.
  25. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nylon3
  26. Welch, Andy (November 29, 2011). "Lana Del Rey Interview". Clash. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2013. สืบค้นเมื่อ February 24, 2013.
  27. Tranter, Kirsten (May 10, 2014). "Lolita in the 'hood". Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2015. สืบค้นเมื่อ March 7, 2015.
  28. Heaf, Jonathan (2012-10-01). "Woman Of The Year: Lana Del Rey". British GQ (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-10-17.
  29. Banning, Lisa (June 19, 2013). "Paradise Lost: An interview with Lana Del Rey". Electronic Beats. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 5, 2013. สืบค้นเมื่อ October 2, 2013.
  30. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :22
  31. Fennessey, Sean (October 6, 2011). "Ice Breaker: Lana Del Rey". GQ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2015. สืบค้นเมื่อ March 7, 2015.
  32. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ friends2
  33. McCormick, Neil (January 24, 2012). "Lana Del Rey interview: new album Born to Die is 'a beautiful thing'". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2013. สืบค้นเมื่อ September 26, 2019.
  34. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ kent2
  35. Savage, Mark (January 27, 2012). "Love, the law, and Lana Del Rey". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2012. สืบค้นเมื่อ January 1, 2022.
  36. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bbclovelaw2
  37. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ vbio2
  38. 40.0 40.1 "Lana Del Rey". bandsintown.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2016. สืบค้นเมื่อ April 17, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]