ลานา เดล เรย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลานา เดล เรย์
Lana Del Rey @ Grammy Museum 10 13 2019 (49311023203).jpg
เดล เรย์ ในงานแกรมมีมิวเซียมในปี ค.ศ. 2019
เกิดอีลิซาเบธ วูลริดจ์ แกรนต์
(Elizabeth Woolridge Grant)

(1985-06-21) มิถุนายน 21, 1985 (37 ปี)
สหรัฐ นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮม
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • โปรดิวซ์เซอร์เพลง
  • นักกวี
  • นางแบบ
  • ผู้กำกับมิวสิกวิดิโอ
ญาติชัก แกรนต์ (น้องสาว)
อาชีพทางดนตรี
รู้จักในชื่อ
  • เมย์ ไจเลอร์ (May Jailer)
  • ลิซซี่ แกรนต์ (Lizzy Grant)
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • เสียงร้อง
  • กีตาร์
ช่วงปี2005–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
เว็บไซต์lanadelrey.com
ลายมือชื่อ
LanaDelReySignature.png

สำหรับอัลบั้มเพลงในชื่อเดียวกันนี้ ดูที่ ลานาเดลเรย์ (อัลบั้ม)

อีลิซาเบธ​ วูลริดจ์ แกรนต์ (อังกฤษ: Elizabeth Woolridge Grant) เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1985[2] หรือเป็นที่รู้จักในชื่อทางอาชีพว่า ลานา เดล เรย์ (อังกฤษ: Lana Del Rey) เธอเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และโปรดิวซ์เซอร์เพลงชาวอเมริกัน งานดนตรีของเดล เรย์ได้รับการกล่าวถึงจากนักวิจารณ์ในการนำเนื้อหาภาพยนตร์มาปรับใช้ มีบทเพลงที่ลุ่มหลงไปด้วยเรื่องความรักที่โศกสลด เสน่หาเย้ายวนใจ และภาวะซึมเศร้า และการอ้างอิงถึงวัฒนธรรมสมัยนิยม (pop culture) ของอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960[3][4]

เดล เรย์เติบโตในตอนเหนือของรัฐนิวยอร์ก และย้ายมาที่นิวยอร์กซิตี้ในปี ค.ศ. 2005 เพื่อเริ่มต้นอาชีพทางด้านดนตรี และหลังจากนั้นก็ได้ปล่อยผลงานเพลงตามมามากมาย อาทิ สตูดิโออัลบั้มเปิดตัว และยังมีอัลบั้มที่ไม่ได้วางจำหน่ายอย่าง Sirens เดล เรย์เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นหลังจากซิงเกิล "Video Games" ในปี ค.ศ. 2011 นั้นประสบความสำเร็จเป็นไวรอล[5] ในปลายปีเดียวกันนั้นเธอก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงอินเตอร์สโคปและโพลีดอร์ Born to Die สตูอัลบั้มเปิดตัวของเธอที่มาจากค่ายเพลงในปี ค.ศ. 2012 นั้นได้รับความสำเร็จในระดับสากล และส่งผลให้เธอมีซิงเกิลแรกที่สามารถเข้าสิบอันดับแรกของชาร์ตบิลบอร์ดฮอต100ได้ คือเพลง "Summertime Sadness" ฉบับรีมิกซ์ โดยเซดริค เจอร์เวียส[6] เดล เรย์มีอัลบั้มเปิดตัวอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด200 อย่าง Ultraviolence (2014) และLust for Life (2017) พร้อมด้วยอัลบั้มที่เปิดตัวในสิบอันดับแรกของชาร์ตอย่าง Paradise (2012) และHoneymoon (2015) เธอเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยมจากสองอัลบั้มคือ Paradise และLust for Life

เดล เรย์ได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์หลากหลายผลงาน โดยผลงานที่มีความโดดเด่น ได้แก่ เพลง"Young and Beautiful" จากภาพยนตร์เรื่อง The Great Gatsby (2013) และเพลงธีมประกอบภาพยนตร์เรื่อง Big Eyes (2014) ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีและรางวัลลูกโลกทองคำ ตามลำดับ นอกจากนี้เธอยังมีผลงานการแสดงในภาพยนตร์เพลง เรื่อง Tropico (2013) และในภาพยนตร์สั้นประกอบผลงานเพลงของเธอ ได้แก่ Ride (2012) National Anthem (2012) และ Freak (2015) โดยเธอเป็นผู้ประพันธ์งานทั้งหมดด้วยตนเอง

เธอได้ถูกขนานนามจากสื่อว่าเธอคือ “ราชินีแห่งอินดี้ป็อป” เดล เรย์มียอดขายอัลบั้มทั่วโลกรวมกันมากกว่า 15 ล้านหน่วยในปี ค.ศ. 2018[7][8] ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ปีค.ศ. 2018 ช่องยูทูปอย่างเป็นทางการของเธอมียอดเข้าชมรวมกันมากว่า 3.1 พันล้านครั้ง โดยมี 11 วิดิโอที่มียอดเข้าชมเกินกว่า 100 ล้านครั้งบนวีโว[9]


ชีวิตช่วงแรก[แก้]

ลานา เดล เรย์ หรือ อีลิซาเบท วูลริดจ์ แกรนต์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ที่ นครนิวยอร์ก[2][10] เป็นบุตรของนักโฆษณาบริษัทโฆษณา Grey Group ที่ผันตัวมาเป็นนักธุรกิจ โรเบิร์ต อิงแลนด์ แกรนต์ จูเนียร์ และ อดีตนักบริหารบัญชีในบริษัทเดียวกันกับบิดาของเธอ ที่ปัจจุบันเป็นอาจารย์ระดับมัธยม แพตทริเซีย แอน "แพต" (นามสกุลเดิม ฮิลล์)[11][12][13][14] เธอมีน้องสาวชื่อ แคโรไลน์ แกรนต์ อายุน้อยกว่าเธอสามปี[15] และน้องชายชื่อ ชาร์ลี อายุน้อยกว่าเธอแปดปี[16] ปู่ของเธอ โรเบิร์ต อิงแลนด์ แกรนต์ ผู้พ่อ เป็นนักวณิชธนกิจของบริษัท Kidder, Peabody & Co. รองประธานบริษัทและผู้ร่วมลงทุนของบริษัท Schering-Plough และบริษัท Textron[17] นอกจากนี้เธอยังมีเชื้อสายสกอตแลนด์อีกด้วย[15]

เดล เรย์เติบโตในชนบท ที่Lake Placid ในรัฐนิวยอร์ก[18] เธอเรียนจบระดับประถมจากโรงเรียนคาทอลิก[19] และเข้าศึกษาต่อหนึ่งปี ที่โรงเรียนมัธยมที่แม่ของเธอสอนอยู่[11] เธอเริ่มร้องเพลงในคณะนักร้องประสานเสียงคริสตจักรตั้งแต่เด็ก ในตำแหน่งนักร้องต้นเสียง[19][20] ตอนเธออายุ 15 ปี[10][21][11] พ่อและแม่ของเดล เรย์ได้ส่งเธอไปที่โรงเรียนประจำเคนท์ ในรัฐคอนเนตทิคัต[21] เพื่อรักษาปัญหาการติดแอลกอฮอล์ของเธอ[22] โดยลุงของเดล เรย์เป็นเจ้าหน้าที่รับสมัครที่โรงเรียนแห่งนี้ และเป็นผู้ดูแลทางการเงินให้แก่เธอ[23][24][25][26]

หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยม เธอได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่เจเนเซโอ แต่เธอปฏิเสธที่จะเข้ารับการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยเธอได้ใช้เวลาช่วงหนึ่งปีเดียวกันนี้ที่เขตลองไอแลนด์แทนกับลุงและป้าของเธอ ในขณะเดียวกันก็ทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟไปด้วย[24] ในช่วงเวลานี้ลุงของเดล เรย์ได้สอนวิธีการเล่นกีต้าร์ให้แก่เธอ และเธอ "ตระหนัก(ว่าเธอ)อาจจะสามารถเขียนเพลงเป็นล้านเพลงจากคอร์ดหกคอร์ดนี้"[27] หลังจากนั้นไม่นานเธอก็ได้เริ่มประพันธ์เพลงและเปิดการแสดงตามไนต์คลับ รอบ ๆ เมือง ภายใต้ชื่อการแสดงที่หลากหลาย เช่น "Sparkle Jump Rope Queen" และ "Lizzy Grant and the Phenomena"[27] เป็นต้น "ฉันร้องเพลงอยู่เสมอ แต่ก็ไม่ได้วางแผนที่จะไล่ตามมันอย่างจริงจังสักเท่าไร" เดล เรย์กล่าว "ช่วงที่ฉันอยู่ที่นครนิวยอร์ก ตอนอายุ 18 ปี ฉันเริ่มร้องเพลงที่คลับในบรุกลิน—ฉันมีเพื่อน ๆ ที่ดี และเหล่าแฟน ๆ ที่ศรัทธาในตัวฉัน ตอนที่ฉันยังเป็นนักร้องใต้ดิน พวกเราต่างก็เล่นดนตรีเพื่อกันและกัน—และมันก็แค่นั้น"[10]

ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงต่อมา ตอนเธออายุ 19 ปี เธอเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮมในนครนิวยอร์ก วิชาเอกปรัชญา[10] เดล เรย์กล่าวว่าที่เธอได้เลือกศึกษาในวิชานี้ด้วยเหตุผลว่า "สะพานที่เชื่อมช่องว่างระหว่างพระเจ้าและวิทยาศาสตร์ ... ฉันมีความสนใจในพระเจ้า และวิทยาการทางเทคโนโลยีที่ทำให้เราเข้าใกล้ในการตามหาว่าเรามาจากที่ไหน และทำไม"[10][24][28][29][30] ตามคำบอกเล่าของเดล เรย์ เธอมีปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ทั้งที่โรงเรียนประจำ[11][23] และมหาวิทยาลัย[31][32] เธออาศัยอยู่ในเดอะบร็องซ์ช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮม ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาในปีค.ศ. 2008 เธอได้ย้ายไปอยู่ที่นอร์ธเบอร์เกน รัฐนิวเจอร์ซีย์[33] นอกจากนี้เธอยังเคยอาศัยที่บรุกลินเป็นเวลาสี่ปีด้วย[21]

ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย เดล เรย์ ได้เป็นอาสาสมัครเพื่อเยาวชนไร้ที่อยู่ และได้เข้าร่วมการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติด รวมทั้งการช่วยทาสีและสร้างบ้านในเขตพื้นที่อาศัยสำหรับชาวอินเดียในรัฐยูทาห์[19] เธอกล่าวถึงการเดินทางในครั้งนั้นว่าเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจที่จะก้าวมาเป็นนักแต่งเพลง: "ฉันจำได้ดี เมื่อตอนที่ฉันตัดสินใจว่าฉันต้องการจะเป็นนักร้อง ฉันยังอยู่ในมหาวิทยาลัย(และ)พวกเราได้ไปที่เขตพื้นที่อาศัยสำหรับชาวอินเดีย วันนั้นเป็นวันที่ฉันตระหนักได้ว่าฉันมีเพียงแค่สองตัวเลือกเท่านั้น ไม่ทำดนตรีก็เป็นอาสาสมัคร ฉันเลือกอย่างแรกค่ะ ถ้าหากมันไปได้ไม่สวย ฉันคงอาจจะทำงานเพื่อสังคมในเมืองเล็ก ๆ สักเมืองค่ะ" [34]

อัลบั้มเพลง[แก้]

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

คอนเสิร์ต[แก้]

  • Born to Die Tour (2011–2012)[35]
  • Paradise Tour (2013–2014)[35]
  • The Endless Summer Tour (2015)
  • Festival Tour (2016)
  • LA to the Moon Tour (2018)
  • Festival Tour (2019)
  • The Norman Fucking Rockwell! Tour (2019)


อ้างอิง[แก้]

  1. Williams, Mike (21 July 2017). "Lana Del Rey: Music and witchcraft – read the exclusive NME interview". NME (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 December 2018.
  2. 2.0 2.1 Hiatt, Brian (July 18, 2014). "Lana Del Rey – The Saddest, Baddest Diva in Rock". Rolling Stone (1212): 44. Del Rey is four days away from her 29th birthday (for reasons she can't explain, she's usually reported to be a year younger), but looks, at the moment, like a college junior home for the summer.; Jackson, Ron (July 4, 2008). "July 4, 2008 Post". Domain Name Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2014. สืบค้นเมื่อ July 18, 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help); "Girl, Interrupted: Lizzy Grant Becomes Lana Del Rey". Blurt. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2014. สืบค้นเมื่อ July 18, 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. Stephen Thomas Erlewine. "Lana Del Rey | Biography & History". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2016. สืบค้นเมื่อ June 29, 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. "A Tragedy Wanting to Happen: Death and Lana Del Rey". PopMatters.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2016. สืบค้นเมื่อ June 29, 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  5. Harris, Paul (January 21, 2012). "Lana Del Rey: The strange story of the star who rewrote her past". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2016. สืบค้นเมื่อ June 29, 2016. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  6. "Why Did Lana Del Rey Make a 30-Minute Video About God, and What Does It Mean for Me?". December 6, 2013. สืบค้นเมื่อ December 4, 2017.
  7. Teo, Lydia (May 24, 2017). "12 Buys Inspired By The Queen Of Indie Pop, Lana Del Rey".
  8. "CSPC: Lana Del Rey Popularity Analysis". ChartMasters. August 24, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 8 June 2018.
  9. https://www.youtube.com/user/LanaDelRey/about
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Sowray, Bibby (February 10, 2012). "Lana Del Rey Biography, Quotes and Facts". Vogue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ June 20, 2012.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Tranter, Kirsten (May 10, 2014). "Lolita in the 'hood". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ March 7, 2015. ...led to her parents sending her to Kent, a private boarding school in Connecticut; her uncle had recently taken up a position there as admissions officer, and he helped to arrange financial aid. — ¶17
    I was lonely", she says, but "I had this teacher who was my only friend in school. His name was Gene. He read us Leaves of Grass and we read Lolita in class, and it changed my world, which was a really solitary world. I didn't have a connection to anyone in class and when I found these writers, I knew they were my people. Gene was just a few years older than her, fresh from Georgetown University. "He would sign me out and we would listen to Tupac and stuff in his car", she remembers, "and he would teach me about old movies like Citizen Kane. He taught me everything". — ¶18
  12. Jackson, Ron (April 2008). "The Domain Giant You Didn't Know: Rob Grant's Roundabout Route to Real Estate Riches (Online and Off!)". DN Journal. สืบค้นเมื่อ January 1, 2013.
  13. "Robert England Grant Jr. Marries Patricia Ann Hill". The New York Times. New York. June 13, 1982. สืบค้นเมื่อ December 4, 2014.
  14. Bock, Melvin Lynn; E. Dale Hooper; Carole J. Skelly (1998). Joseph and Mary Dale and their descendants. Windmill Publications. p. 113. Robert England Grant, Jr.; Robert was born 16 June 1953. On 12 June 1982 he married Patricia Ann Hill. They live in New York City and have two children: Elizabeth Woolridge Grant; Elizabeth was born 21 June 1985...
  15. 15.0 15.1 Zupkus, Lauren (October 8, 2014). "Meet Chuck Grant, Lana Del Rey's Equally Gorgeous And Talented Sister". The Huffington Post. AOL. สืบค้นเมื่อ October 21, 2014.
  16. R?th, Steffen (June 5, 2014). "Lana Del Rey". Grazia (ภาษาเยอรมัน). Hamburg, Germany: G+J/Klambt-Style-Verlag GmbH & Co. KG (24/2012): 36. ISSN 2192-3965.
  17. "Obituaries: Mr. Robert England Grant, Sr". Lake Placid News. October 31, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-09. สืบค้นเมื่อ March 7, 2015.
  18. Dombal, Ryan (August 30, 2011). "Rising: Lana Del Rey". Pitchfork Media. สืบค้นเมื่อ January 25, 2012.
  19. 19.0 19.1 19.2 "National Anthem". Nylon. November 28, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-24. สืบค้นเมื่อ June 8, 2014.
  20. "Lana Del Rey Interview". Clash. Clash Music. November 29, 2011. สืบค้นเมื่อ February 24, 2013.
  21. 21.0 21.1 21.2 Banning, Lisa (June 19, 2013). "Paradise Lost: An interview with Lana Del Rey". Electronic Beats. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-22. สืบค้นเมื่อ October 2, 2013.
    • a "Yeah, I grew up in Lake Placid, New York until I was fifteen, and then I went to boarding school for three years in Connecticut. Then I moved to the Bronx when I was almost eighteen".
  22. "Lana Del Rey Goes Nude in GQ's Men of the Year Issue". The Blemish. สืบค้นเมื่อ September 22, 2014.
  23. 23.0 23.1 Hiatt, Brian (January 9, 2014). "Lana Del Rey: Vamp of Constant Sorrow". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ July 31, 2014. Losing patience with her partying, they sent her away to Connecticut's Kent School. The move failed to curtail her drinking, and she was miserable. Her father's apparent success aside, she says she was on financial aid. "I was very quiet", she says, "just figuring things out. I didn't relate well with what was going on culturally". She wasn't into mean girls, "The ways people treated other people, I thought was kind of cruel. The high-school mentality I didn't really understand. I wasn't really, like, snarky or bitchy".— ¶31
  24. 24.0 24.1 24.2 Hiatt, Brian (January 9, 2014). "Dark places: summertime sadness with Lana Del Ray". Irish Independent. สืบค้นเมื่อ March 7, 2015. Losing patience with her partying, they sent her away to Connecticut's Kent School. The move failed to curtail her drinking, and she was miserable. Her father's apparent success aside, she says she was on financial aid. — ¶31
  25. Zadeh, Joe (December 6, 2014). "American Dreamer: Lana Del Rey Interviewed". Clash (magazine). สืบค้นเมื่อ March 8, 2015. “When I was 15, I had this teacher called Gene Campbell, who is still my good friend,” begins Lana. “In boarding school, to become a teacher you don’t have to have a Masters. I was 15 and he was 22, out of Georgetown. He was young, and at school you were allowed to take trips out at the weekends. On our driving trips around the Connecticut counties, he introduced me to Nabokov, (Allen) Ginsberg, (Walt) Whitman, and even Tupac and Biggie. He was my gateway to inspirational culture. Those inspirations I got when I was 15 are still my only inspirations.
  26. "Lana Del Rey: Happiness is a process". Cover Media/Yahoo. July 4, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ March 8, 2015. I remember when I was 15 or 16 years and my parents sent me to Kent School, a private boarding school in Connecticut so I could fight my addiction to alcohol. I had a very young teacher, Gene Campbell, who introduced me to hip hop…That kind of set things in motion for me...
  27. 27.0 27.1 Savage, Mark (January 27, 2012). "Love, the law, and Lana Del Rey". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ June 20, 2012.
  28. Smart, Gordon. "Lana Del Rey: I've ended up good friends with lots of fans ...we got out to dinner". The Sun. London. สืบค้นเมื่อ October 17, 2012.
  29. Hopper, Jessica. "Deconstructing Lana Del Rey". Spin. สืบค้นเมื่อ October 17, 2012.
  30. Flint, Hannah (January 31, 2013). "'Live fast and freely': Lana Del Rey shares her views on life and spirituality in Manga-inspired cover shoot". Daily Mail. London. สืบค้นเมื่อ February 3, 2013.
  31. Fennessey, Sean (October 6, 2011). "Ice Breaker: Lana Del Rey". GQ. สืบค้นเมื่อ March 7, 2015. I didn't live at school, I lived where I could and studied what I enjoyed studying. I took what I wanted from that education but was making my first record at the same time. I don't know anyone from school. I was just leading a different life. I was really interested in writing and other things...I loved my teachers. I feel like kids can be hard to get along with sometimes and I don't know anyone from my school I've been to.— ¶11-12
  32. Simpson, Leah (January 29, 2012). "Lana Del Rey hoped music industry would make her more friends". Digital Spy. Digital Spy Ltd. สืบค้นเมื่อ January 20, 2012.
  33. Studeman, Kristen Tice (2014-12-03). "Lana Del Rey on Higher Powers, 24-Hour Diners, and Lil Kim". Style.com. สืบค้นเมื่อ 2015-08-15.
  34. Hug, Dominik (July 16, 2016). "Exklusiv-Interview mit Superstar Lana Del Rey". Blick (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.
  35. 35.0 35.1 "Lana Del Rey". bandsintown.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2016. สืบค้นเมื่อ April 17, 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]