คริสต์ทศวรรษ 1950

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริสต์สหัสวรรษ: 2
คริสต์ศตวรรษ:
คริสต์ทศวรรษ:
คริสต์ศักราช:

เหตุการณ์[แก้]

ค.ศ. 1950[แก้]

  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเข้าพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  • ประเทศเกาหลีเหนือเข้ายึดครองกรุงโซลของเกาหลีใต้และกองทัพสหรัฐอเมริกายกพลขึ้นบก ณ เมืองอินชอน ประเทศเกาหลี

ค.ศ. 1951[แก้]

  • เกิดเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน : ทหารเรือกลุ่มหนึ่งจู่โจมจับตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม จากเรือแมนฮัตตันไปไว้ที่เรือหลวงศรีอยุธยา ต่อมามีการต่อสู้กันของทั้งฝ่ายกบฏและรัฐบาล มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
  • เกิดการรัฐประหารตนเอง โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และหันไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 แทน

ค.ศ. 1953[แก้]

  • สงครามเกาหลียุติลง สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ ลงนามในข้อตกลงสงบศึก

ค.ศ. 1955[แก้]

  • มีการประหารชีวิตนักโทษในคดีลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศรินที่เรือนจำกลางบางขวาง
  • มีพิธีเปิดการแพร่ภาพและเสียงสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทยที่วังบางขุนพรหม ซึ่งบริหารโดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยใช้ชื่อสถานีว่าสถานีวิทยุโทรทัศน์ "ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม" โดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) มาเป็นประธานในพิธี

ค.ศ. 1957[แก้]

  • รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 : จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม และแต่งตั้งพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 เพื่อเตรียมการเลือกตั้งครั้งใหม่

ค.ศ. 1958[แก้]

  • เกิดเหตุโศกนาฏกรรมมิวนิก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 23 คน ซึ่ง 8 ใน 23 ของผู้เสียชีวิต เป็นนักเตะของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
  • รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501 : พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหารอำนาจของ พล.ท.ถนอม กิตติขจร โดยตกลงไว้ล่วงหน้าก่อน