การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน
การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน (อังกฤษ: Köppen climate classification) เป็นหนึ่งในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด วลาดีเมียร์ เคิพเพิน เป็นผู้เผยแพร่ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้เป็นคนแรกใน พ.ศ. 2427 และการแก้ไขเล็กน้อยโดยเคิพเพินเองตามมาใน พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2479 ภายหลังนักกาลวิทยาชาวเยอรมันนามว่า รูด็อล์ฟ ไกเกอร์ ร่วมมือกับเคิพเพินเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้ บางครั้งจึงอาจเรียกระบบนี้ว่า การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินและไกเกอร์ (Köppen–Geiger climate classification system)
ชั้นที่ 1 | ชั้นที่ 2 | ชั้นที่ 3 |
---|---|---|
ภูมิอากาศเขตร้อน (A) |
f (ป่าฝน, ป่าดิบชื้น) | |
m (มรสุม) | ||
s (สะวันนา, แห้งแล้งในฤดูร้อน) | ||
w (สะวันนา, อบอุ่นชื้นในฤดูร้อน) | ||
ภูมิอากาศเขตแห้งแล้ง (B) |
S (ทุ่งหญ้าสเตปป์, ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย) | |
W (ทะเลทราย) | ||
h (ร้อน) | ||
k (อบอุ่น) | ||
ภูมิอากาศเขตอบอุ่น (C) |
f (ไม่มีฤดูแล้ง) | |
s (แห้งแล้งในฤดูร้อน) | ||
w (แห้งแล้งในฤดูหนาว) | ||
a (อบอุ่นชื้น) | ||
b (อบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร) | ||
c (หนาวภาคพื้นสมุทร) | ||
ภูมิอากาศเขตหนาว (D) |
f (ไม่มีฤดูแล้ง) | |
s (แห้งแล้งในฤดูร้อน) | ||
w (แห้งแล้งในฤดูหนาว) | ||
a (อบอุ่นชื้น) | ||
b (อบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร) | ||
c (หนาวภาคพื้นสมุทร) | ||
d (หนาว) | ||
ภูมิอากาศเขตขั้วโลก (E) |
T (ทุนดรา) | |
F (ทุ่งน้ำแข็ง) | ||
H (สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,500 เมตร) |
การแบ่งเขตภูมิอากาศ
[แก้]การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินนั้นแบ่งเขตภูมิอากาศเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 6 กลุ่ม (อันประกอบด้วยกลุ่ม A, B, C, D,E และH) แต่ละกลุ่มใหญ่จะมีประเภทของเขตภูมิอากาศแบบต่าง ๆ อยู่ โดยแต่ละประเภทจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์อักษรภาษาอังกฤษตั้งแต่ 2 ถึง 4 ตัวอักษร
กลุ่ม A (ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น)
[แก้]ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมีลักษณะพิเศษคืออุญหภูมิที่ค่อนข้างสูงบริเวณระดับน้ำทะเล ตลอดเวลา 12 เดือนใน 1 ปี จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) หรือสูงกว่านี้ ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสามารถแบ่งได้เป็นเขตภูมิอากาศย่อย ๆ ดังนี้
- ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Af) ตลอด 12 เดือนมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 60 mm (2.4 in) สามารถพบภูมิอากาศแบบนี้ได้บริเวณละติจูด 5–10 องศาเหนือหรือใต้เส้นศูนย์สูตร ในบางพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกอาจพบภูมิอากาศแบบนี้ได้ไกลถึง 25 องศาจากเส้นศูนย์สูตร
- ตัวอย่างเมือง
- ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am)
- ตัวอย่างเมือง
- ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)
- ตัวอย่างเมือง
กลุ่ม B (ภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง)
[แก้]ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งเป็นบริเวณที่มีการระเหยของน้ำสูง ไม่มีปริมาณฝนเหลือพอที่จะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ปรากฏทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แบ่งเป็นภูมิอากาศย่อยดังนี้[2]
- ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW) ปริมาณฝนตลอดปีน้อยกว่า 250 มิลลิเมตร (10 นิ้ว) ส่วนมากพบอยู่ตอนในของภาคพื้นทวีปทั้งบริเวณอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น ทำให้แบ่งภูมิอากาศย่อยได้ ดังนี้
- ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย (BS) มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าสั้น ๆ ปริมาณฝนอยู่ระหว่าง 250–750 มิลลิเมตร (10–30 นิ้ว) พบอยู่รอบทะเลทรายบริเวณอากาศร้อนและทะเลทรายบริเวณอากาศอบอุ่น ทำให้แบ่งภูมิอากาศย่อยได้ ดังนี้
กลุ่ม C (ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นแถบละติจูดกลาง)
[แก้]- ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Csa/Csb)
- ตัวอย่างเมือง
- เบรุต, ประเทศเลบานอน (Csa)
- ลอสแอนเจลิส, สหรัฐอเมริกา (Csa)
- คอร์รามาบัด, ประเทศอิหร่าน (Csa)
- เซบิยา, ประเทศสเปน (Csa)
- ซานเตียโก, ประเทศชิลี (Csb)
- เอสซาอูรา, ประเทศโมร็อกโก (Csb)
- โปร์ตู, ประเทศโปรตุเกส (Csb)
- ซานฟรานซิสโก, สหรัฐอเมริกา (Csb)
- เคปทาวน์, ประเทศแอฟริกาใต้ (Csb)
- ซีแอตเทิล, สหรัฐอเมริกา (Csb)
- ตัวอย่างเมือง
- ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa, Cwa)
- ตัวอย่างเมือง
- ฮ่องกง (Cwa)
- ฮานอย, ประเทศเวียดนาม (Cwa)
- กอร์โดบา, ประเทศอาร์เจนตินา (Cwa)
- แรชต์, กิราน, ประเทศอิหร่าน (Cfa)
- แจ็กสันวิลล์, รัฐฟลอริดา, สหรัฐอเมริกา (Cfa)
- ตัวอย่างเมือง
- ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร (Cfb, Cfc, Cwb, Cwc)
กลุ่ม D (ภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป)
[แก้]กลุ่ม E (ภูมิอากาศแบบขั้วโลก)
[แก้]แผนที่เพิ่มเติม
[แก้]-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปเอเชีย
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปแอฟริกา
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในภูมิภาคโอเชียเนีย
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในประเทศบราซิล
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปยุโรป
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในประเทศรัสเซีย
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในตะวันออกกลาง
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปอเมริกาใต้
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปอเมริกาเหนือ
-
แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในเอเชียใต้ การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน[1]
เขตภูมิอากาศ | ภูมิอากาศ | อุณหภูมิ | |||
---|---|---|---|---|---|
ภูมิอากาศเขตร้อน (A) |
Af | ภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน | เฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18°C | ||
Am | ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน | เฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18°C | |||
As | ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา แห้งแล้งในฤดูร้อน | เฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18°C | |||
Aw | ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา อบอุ่นชื้นในฤดูร้อน | เฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18°C | |||
ภูมิอากาศเขตแห้งแล้ง (B) |
BS | ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย | BSh | ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน | เฉลี่ยรายปีสูงกว่า 18°C |
BSk | ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น | เฉลี่ยรายปีต่ำกว่า 18°C | |||
BW | ภูมิอากาศแบบทะเลทราย | BWh | ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน | เฉลี่ยรายปีสูงกว่า 18°C | |
BWk | ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตอบอุ่น | เฉลี่ยรายปีต่ำกว่า 18°C | |||
ภูมิอากาศเขตอบอุ่น (C) |
Cf | ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้ง | Cfa | ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งอบอุ่นชื้น | เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C |
Cfb | ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |||
Cfc | ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งหนาวภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C | |||
Cs | ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน | Csa | ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่นชื้น | เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |
Csb | ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |||
Cw | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาว | Cwa | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวอบอุ่นชื้น | เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |
Cwb | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |||
Cwc | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวหนาวภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C | |||
ภูมิอากาศเขตหนาว (D) |
Df | ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้ง | Dfa | ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งอบอุ่นชื้น | เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C |
Dfb | ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |||
Dfc | ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งหนาวภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C | |||
Dfd | ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งหนาว | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า -38°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C | |||
Ds | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อน | Dsa | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อนอบอุ่นชื้น | เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |
Dsb | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อนอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |||
Dsc | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อนหนาวภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C | |||
Dsd | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อนหนาว | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า -38°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C | |||
Dw | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาว | Dwa | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวอบอุ่นชื้น | เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |
Dwb | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C | |||
Dwc | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวหนาวภาคพื้นสมุทร | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C | |||
Dwd | ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวหนาว | เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า -38°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C | |||
ภูมิอากาศเขตขั้วโลก (E) |
EF | ภูมิอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง | เฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ระหว่าง 0°C ถึง 10°C | ||
ET1 | ภูมิอากาศแบบทุนดรา | เฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ระหว่าง 0°C ถึง 10°C | |||
1.^ ถ้าในแผนที่มีตัว H แสดงว่าเป็นภูมิอากาศแบบทุนดราที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,500 เมตร |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Peel, M. C. and Finlayson, B. L. and McMahon, T. A. (2007). "Updated world map of the Köppen–Geiger climate classification". Hydrol. Earth Syst. Sci. 11: 1633–1644. doi:10.5194/hess-11-1633-2007. ISSN 1027-5606.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) (direct: Final Revised Paper) - ↑ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา. 2557. ภูมิศาสตร์กายภาพ. ด่านสุทธาการพิมพ์.
- ↑ อักษรเจริญทัศน์. ม.ป.ป. World Atlas 1 Geographical Resources of the World. อักษรเจริญทัศน์.