โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา
โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา | |
---|---|
โปสเตอร์เปิดตัวภาพยนตร์ | |
ญี่ปุ่น | ジョゼと虎と魚たち |
เฮปเบิร์น | Joze to Tora to Sakanatachi |
กำกับ | โคตาโร ทามูระ |
บทภาพยนตร์ | ซายากะ คูวามูระ |
สร้างจาก | โจเซ โตะ โทระ โตะ ซากานาทาจิ โดย เซโกะ ทานาเบะ |
อำนวยการสร้าง |
|
นักแสดงนำ |
|
กำกับภาพ | สึโยชิ คันบายาชิ |
ตัดต่อ | คูมิโกะ ซากาโมโตะ |
ดนตรีประกอบ | อีวาน คอล |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | |
วันฉาย | 30 ตุลาคม ค.ศ. 2020 (ปูซาน) 25 ธันวาคม ค.ศ. 2020 (ญี่ปุ่น) |
ความยาว | 98 นาที[2] |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ญี่ปุ่น |
โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา (ญี่ปุ่น: ジョゼと虎と魚たち; อังกฤษ: Josee, the Tiger and the Fish) เป็นภาพยนตร์ดรามาแอนิเมชันแนวภาพยนตร์รักตลกจากประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 2020 ซึ่งสร้างจากเรื่องสั้นในชื่อเดียวกันโดยเซโกะ ทานาเบะ ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เสียงพากย์โดยไทชิ นากางาวะ และคายะ คิโยฮาระ
ภาพยนตร์ดังกล่าวได้รับการกำกับโดยโคตาโร ทามูระ จากบทภาพยนตร์โดยซายากะ คูวามูระ ด้วยการออกแบบตัวละครดั้งเดิมโดยนาโอะ เอโมโตะ (ผู้สร้างมังงะพ่วงขาย) และการออกแบบตัวละครแอนิเมชันโดยฮารูโกะ ลิซูกะ (ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ดูแลแอนิเมชันเช่นกัน) ตลอดจนการผลิตแอนิเมชันโดยบริษัทโบนส์[1]
ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดตัวโดยได้อยู่ในอันดับที่ 9 ที่บ็อกซ์ออฟฟิศของญี่ปุ่นในสัปดาห์แรกเมื่อเปิดตัว และได้รับการวิจารณ์เชิงบวกอย่างสูงจากนักวิจารณ์[3]
โครงเรื่อง
[แก้]สึซึคาวะ สึเนโอะ เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยอายุ 22 ปีที่กำลังศึกษาชีววิทยาทางทะเล เขาทำงานพาร์ตไทม์ที่ร้านขายอุปกรณ์ดำน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเขาได้สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่ชื่อไมและฮายาโตะ ระหว่างทางกลับบ้านหลังจากการบรรยาย เขาได้ช่วยชีวิตหญิงสาวที่เป็นอัมพาตครึ่งล่างที่ชื่อยามามูระ คุมิโกะ ซึ่งยืนกรานให้เรียกว่า "โจเซ่" หลังจากได้รับเชิญไปทานอาหารค่ำเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ สึเนโอะได้รับข้อเสนองานเพื่อเป็นผู้ดูแลให้โจเซ่จากชิซุผู้เป็นย่าของเธอ
ในตอนแรก โจเซ่เป็นปฏิปักษ์ต่อสึเนโอะ โดยเรียกเขาว่าผู้บุกรุก เธอสั่งให้เขาทำสิ่งที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น คุกเข่าเป็นเวลานาน โดยทำให้มั่นใจน้อยลง สึเนโอะจึงตัดสินใจลาออกจากงานผู้ดูแล อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เขาจะลาออก เขาพบว่าโจเซ่หายตัวไป เมื่อสึเนโอะพบโจเซ่ในที่สุด เขาก็พบว่าเธอต้องการเห็นทะเล ดังนั้น เขาจึงพาเธอไปทะเล และพวกเขาก็สนุกกับช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมร่วมกัน
หลังจากเหตุการณ์นี้ โจเซ่และสึเนโอะได้เดินทางไปที่ต่าง ๆ ร่วมกันมากขึ้น ในการเดินทางไปห้องสมุด โจเซ่พยายามอ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟัง ซึ่งทำให้พวกเด็ก ๆ เบื่อ อย่างไรก็ตาม ภาพวาดของเธอดึงดูดใจพวกเขา จากนั้นเธอก็ค่อย ๆ ตระหนักว่าเธอต้องการเป็นนักวาดภาพประกอบ
น่าเสียดาย ที่คุณย่าของโจเซ่เสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน เมื่อถูกทิ้งให้อยู่ด้วยเงินเพียงเล็กน้อย โจเซ่จึงล้มเลิกความฝันและกลายเป็นพนักงานออฟฟิศ ในขณะเดียวกัน สึเนโอะได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก และจะออกเดินทางในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แม้ว่ามีอนาคตที่สดใสของเขา แต่เขาก็ยังกังวลมากกับสถานการณ์ของโจเซ่ และด้วยความกังวลเกี่ยวกับสึเนโอะ ไม ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของสึเนโอะในร้านดำน้ำ จึงบอกโจเซ่ว่าให้ปล่อยสึเนโอะให้เป็นอิสระ
โจเซ่จึงเรียกสึเนโอะไปทะเลเพื่ออำลา อย่างไรก็ตาม โจเซ่เกิดติดอยู่กลางถนน สึเนโอะจึงรีบวิ่งไปหาเธอเพื่อช่วยเธอ และจบลงด้วยการถูกรถชน
จากนั้น สึเนโอะพบว่าได้รับบาดเจ็บจากกระดูกที่เท้าหัก และได้รับการบอกว่าเขาอาจจะไม่เดินได้เหมือนเมื่อก่อน นับประสาอะไรกับการดำน้ำ สึเนโอะยอมแพ้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพและความฝันที่จะได้เห็นปลาเทวดาในประเทศเม็กซิโก ไมจึงพบโจเซ่ บอกเธอเกี่ยวกับสถานการณ์ของสึเนโอะ และขอให้เธอพิสูจน์ความรู้สึกที่มีต่อสึเนโอะ
จากนั้น โจเซ่ก็ได้สร้างหนังสือภาพประกอบโดยอ้อมที่มีเนื้อเรื่องของสึเนโอะและเรื่องราวของเธอ ซึ่งจบลงด้วยตัวละครที่เป็นตัวแทนของสึเนโอะในการบรรลุความฝันของเขาได้สำเร็จ ต่อมา เธอก็ขอให้ฮายาโตะเพื่อนร่วมงานอีกคนในร้านดำน้ำพาสึเนโอะไปที่ห้องสมุดที่โจเซ่อ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟัง สึเนโอะประทับใจกับเรื่องราวดังกล่าว เขาได้ฟื้นจิตวิญญาณและความฝัน รวมถึงฟื้นฟูสุขภาพอย่างจริงจัง
ในวันที่สึเนโอะออกจากโรงพยาบาล โจเซ่ได้หายตัวไป ด้วยความเป็นห่วง สึเนโอะได้ไปหลายที่ และในที่สุดก็เริ่มวิ่งแม้ว่าเขาจะได้รับบาดเจ็บ หลังจากการค้นหาเป็นเวลานาน เขาพบว่าโจเซ่ตัดสินใจที่จะเผชิญหน้ากับเสือในสวนสัตว์และบนถนนด้วยตัวเธอเอง ซึ่งเคยข่มขู่เธอมาก่อนและประสบความสำเร็จ เมื่อพวกเขาพบกัน สึเนโอะและโจเซ่สารภาพรักต่อกัน และจุ๊บกัน
จากนั้น สึเนโอะก็ไปเรียนที่ประเทศเม็กซิโก เมื่อสึเนโอะกำลังจะหยุดพักฤดูใบไม้ผลิ โจเซ่ได้พบกับสึเนโอะอีกครั้งภายใต้ดอกซากูระที่บานเต็มที่
รายนามผู้ให้เสียงพากย์
[แก้]ตัวละคร | ภาษาญี่ปุ่น | ภาษาอังกฤษ[4] |
---|---|---|
สึซึคาวะ สึเนโอะ | ไทชิ นากางาวะ | ฮาวเวิร์ด หวัง |
โจเซ่ (ยามามูระ คุมิโกะ) | คายะ คิโยฮาระ | ซูซี หยาง |
นิโนมิยะ ไม | ยูเมะ มิยาโมโตะ | แดนี เชมเบอส์ |
มัตสึอุระ ฮายาโตะ | คาซูยูกิ โอกิสึ | ซีโน โรบินสัน |
คิชิโมโตะ คานะ | ลินน์ | เมแกน ชิปแมน |
ยามามูระ ชิซุ | ชิเอมิ มัตสึเตระ | เคซีย์ แคสเปอร์ |
ผู้จัดการนิชิดะ | ชินตาโร โมริยามะ (มิโตริซุ) | แลร์รี แบรนต์ลีย์ |
ผู้ดูแลสถานี | ลิลี (มิโตริซุ) | ไม่ปรากฏ |
ยูกิจิ | เค็งโงะ คาวานิชิ | แอนโทนี โบว์ลิง |
คนโด ซาซูกุ | คันจิ โอบานะ | ฟิลิป วีเบอร์ |
หมอ | มาซากิ เทราโซมะ | ไม่ปรากฏ |
การผลิต
[แก้]แผนเดิม
[แก้]โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา ได้รับการประกาศแผนการผลิตโดยโบนส์เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2019[5] ภายใต้การกำกับของโคตาโร ทามูระ[6] ซึ่งมีประสบการณ์ในการเป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง คู่จี๊ดชีวิตอัศจรรย์ (2012) และเป็นผู้กำกับอนิเมะโทรทัศน์เรื่อง โนรางามิ เทวดาขาจร (2015)[7] และถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทามูระเป็นผู้กำกับอีกด้วย[6] สำหรับนักเขียนบทภาพยนตร์ คือ ซายากะ คูวามูระ นักเขียนบทที่เป็นที่รู้จักจากละครโทรทัศน์แนวความรัก[7] และถือเป็นภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องแรกที่คูวามูระเป็นนักเขียนบทเช่นเดียวกัน ส่วนการออกแบบตัวละครดั้งเดิมของภาพยนตร์เรื่องนี้ดําเนินการโดยนาโอะ เอโมโตะ และการออกแบบและกำกับตัวละครแอนิเมชันโดยฮารูโกะ ลิซูกะ[7]
โจเซ โตะ โทระ โตะ ซากานาทาจิ เป็นเรื่องสั้นที่ประพันธ์โดยเซโกะ ทานาเบะ ผู้ชนะรางวัลอากูตางาวะ (Akutagawa Prize) ใน ค.ศ. 1984[6] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในรวบรวมเรื่องสั้นที่มีชื่อเดียวกัน และได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ไลฟ์แอคชันสองครั้ง เมื่อทามูระได้รับทราบถึงเรื่องการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นครั้งแรก เขายังไม่ได้เลือกต้นฉบับของเรื่องที่จะดัดแปลง[6] ชูโซ คาซาฮาระ ผู้อำนวยการสร้างจากคาโดกาวะคอร์ปอเรชัน จึงได้เตรียมหนังสือให้ทามูระอ่านทีละเล่ม ซึ่งท้ายที่สุดทามูระจึงเลือกเรื่อง โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา ซึ่งเป็นเรื่องที่ตราตรึงใจเขามากที่สุด[6] หลังจากนั้นคาซาฮาระจึงช่วยทามูระติดต่อกับคูวามูระซึ่งเป็นนักเขียนบท[8] เมื่อทามูระเสนอแผนการที่จะดัดแปลง โจเซ โตะ โทระ โตะ ซากานาทาจิ มินามิ มาซาฮิโกะ ตัวแทนของโบนส์ จึงอยากทราบว่าเรื่องนี้จะแสดงออกมาในรูปแบบแอนิเมชันของโบนส์อย่างไร เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้มีแนวที่แตกต่างจากภาพยนตร์แอคชันที่โบนส์มักผลิต[7]
แนวคิด
[แก้]ทามูระกล่าวว่าเรื่องสั้นที่ประพันธ์ใน ค.ศ. 1984 และภาพยนตร์แอคชันใน ค.ศ. 2003 ล้วนมีแต่กลิ่นอายของยุคโชวะและยุคเฮเซ ซึ่งเขาต้องการมุ่งนําเสนอภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับผู้ชมวัยยี่สิบปีเป็นหลัก ดังนั้นเขาจึงละทิ้งความรู้สึกแบบต้นฉบับและนําตัวละครทั้งหมดมาใส่แรงบันดาลใจและความรู้สึกของยุคเรวะ[6] ในแง่ของการพรรณนาตัวละคร ทามูระมองว่าโจเซ่ซึ่งนางเอกในต้นฉบับเป็นตัวละครที่แข็งแกร่ง หากมีการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของเธอ ก็จะทำให้ "โจเซ่" จะไม่เป็น "โจเซ่" อีกต่อไป ดังนั้นภาพลักษณ์ของเธอจึงคล้ายคลึงกับต้นฉบับ ทามูระจึงปรับเปลี่ยนแค่ความนึกคิดเพื่อให้สอดคล้องกับความรู้สึกของยุคสมัยเท่านั้น[6] สำหรับตัวละครสึเนโอะ ทามูระชี้ให้เห็นว่าไม่ว่าสึเนโอะจะต้องการทํางานที่ศาลาว่าการท้องถิ่นแบบในต้นฉบับหรือเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแบบในไลฟ์แอคชัน ซึ่งภาพลักษณ์ของเขามีความเหมือนกับผู้คนธรรมดาในยุคนั้นมากกว่าลักษณะเฉพาะของสึเนโอะ ในทางกลับกัน ทามูระต้องการสึเนโอะมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเองที่ยังคงความเป็นปกติ แทนที่จะเป็นตัวละครที่อิงตามลักษณะโดยเฉลี่ยของผู้คนทั่วไป[6] ทามูระและสมาชิกคณะผู้ผลิตคนอื่น ๆ เริ่มดำเนินการออกแบบตัวละครสึเนโอะด้วยคำถามเกี่ยวกับ "ตัวละครที่น่าประทับใจ" และ "ความรู้สึกของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยในปัจจุบันเป็นอย่างไร" แต่พวกเขากลับไม่สามารถนึกภาพอะไรออกได้เลย ส่วนทางคูวามูระก็ติดปัญหาเกี่ยวกับบทสนทนาและอารมณ์ของตัวละครเช่นกัน ทามูระรับรู้ว่าไม่มีสิ่งใดผิดปกติเกี่ยวกับแผนการออกแบบตัวละครดั้งเดิมและการกําหนดลักษณะนิสัย แต่ก็ยังมีบางอย่างที่เขาไม่สามารถตัดสินใจได้ ซึ่งในที่สุด ไทชิ นากางาวะ นักพากย์เสียง ก็ได้เติมเต็มปัญหาที่ขาดหายไปเกี่ยวกับตัวละครสึเนโอะ[6]
สำหรับการจัดฉาก ทามูระไม่ต้องการใช้ภาพที่หนักหน่วงเพื่อนําเสนอเรื่องราวที่หนักหน่วง สิ่งที่เขาต้องการคือการเริ่มเรื่องอย่างสดใส โดยเขากล่าวว่า "อุปสรรคอาจเริ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของเนื้อเรื่อง ซึ่งเป็นการยากที่จะทําให้เนื้อเรื่องสดใสขึ้นมาท่ามกลางปมขัดแย้ง หลังจากการพากย์เสียงเสร็จสิ้น เราได้บันทึกเสียงอีกครั้งสำหรับบางส่วนของครึ่งแรก รวมถึงยังได้ปรับฉากและการแสดง เสียง และอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเปลี่ยนเรื่องราวที่น่าเบื่อเป็นเรื่องราวที่สดใส"[6]
ทามูระเชิญลาวน์ดรอ (loundraw) มาเป็นผู้ออกแบบคอนเซ็ปต์สําหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังจากทามูระได้เห็นภาพวาดของหญิงสาวนั่งยองริมแม่น้ําในหนังสือ Hello,light ~loundraw art works~[9] ลาวน์ดรอเคยรับหน้าที่ออกแบบตัวละครในอนิเมะเรื่อง จันทร์เจ้าเราสอง และเป็นผู้ร่างคอนเซ็ปต์ ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ลาวน์ดรอได้ร่างคอนเซ็ปต์ของภาพยนตร์อนิเมะ[9] ทามูระได้พบกับลาวน์ดรอเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017[10] เมื่อลาวน์ดรอได้รับคําเชิญให้เข้าร่วมโครงการนี้ การผลิตยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยเขาเริ่มพูดคุยกับทามูระในขณะที่อ่านบทภาพยนตร์[9] หลังจากการพูดคุย ลาวน์ดรอจึงเขียนร่างคอนเซ็ปต์อย่างรวดเร็ว และสร้างภาพที่มีรายละเอียดของฉากนั้นด้วยการทำให้ "ภาพเป็นแบบนี้มากกว่านี้อีกเล็กน้อย"[9] ลาวน์ดรอกล่าวว่าเขาได้รับมอบหมายให้สร้างฉากโรแมนติกที่ต้องการ "บางสิ่ง" มากขึ้น[9]
แอนิเมชัน
[แก้]ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
แผนที่นครโอซากะบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา |
โบนส์มีข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับรายละเอียดในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยสมาชิกของ Co., Ltd. 5 ที่มีส่วนร่วมในการผลิตภาพยนตร์ได้กล่าวว่า ในฉากที่มีฝูงปลาว่ายน้ํา ทิศทางการว่ายน้ํา จํานวนสัตว์น้ำ ตําแหน่งของฝูงปลา การเคลื่อนไหว และพื้นผิวสองมิติ ได้รับการแก้ไขอยู่บ่อยครั้งหรือมีหลายรูปแบบด้วยกัน[11] ของประกอบฉากที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในภาพยนตร์ ได้แก่ รถเข็นคนพิการของโจเซ่ รถยนต์บนท้องถนน ผู้คนที่อยู่ห่างไกล และปลา สมาชิกในคณะผู้ผลิตได้ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในการกําหนดรูปแบบอาหารเช่นเดียวกัน แต่ก็มีการเพิ่มลวดลายศิลปะลงไปด้วย[8]
ฉากของภาพยนตร์เรื่องนี้อิงมาจากนครโอซากะ ซึ่งทามูระได้เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ มากมาย เพื่อนำมาเป็นรากฐานในการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยนอกจากจะไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่จําเป็นแล้ว ทามูระยังได้เดินอย่างช้า ๆ ไปตามทางรถไฟและถนนหนทางต่าง ๆ เพื่อจินตนาการว่าชีวิตของโจเซ่ในโอซากะจะเป็นอย่างไร[12] ในตอนต้นของภาพยนตร์ ทางลาดที่โจเซ่และสึเนโอะพบกันนั้นมีต้นแบบมาจากเนินไอเซ็นซากะ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดทางลาดที่ไปยังศาลเจ้าเท็นโนจิ อีกทั้งหินปูคลื่นของทางลาดก็มีการสะท้อนให้เห็นในภาพยนตร์ด้วย[12] ย่านชายามาจิ เขตคิตะ ที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้ คณะผู้ผลิตได้จําลองถนนที่ซับซ้อนของย่านนี้ขึ้นมาใหม่[12] สำหรับฉากที่สึเนโอะพาโจเซ่ไปที่สวนใบแดงนั้นอิงมาจากภาพของสวนเคมะซากูราโนมิยะ โดยสวนแห่งนี้เป็นที่กล่าวถึงกันว่าเป็นจุดชมซากูระในฤดูใบไม้ผลิ แต่ในภาพยนตร์กลับเลือกช่วงเวลาฤดูใบไม้ร่วงที่ซึ่งซากูระยังคงเป็นใบไม้สีแดง[12][13]
ชายหาดที่สึเนโอะพาโจเซ่ไปเที่ยวชมครั้งแรก คือ สวนสาธารณะชายฝั่งซูมะ นครโคเบะ[12] สวนสัตว์ที่สึเนโอะพาโจเซ่ไป คือ สวนสัตว์เท็นโนจิ[14] ทั้งสองตัวละครมีการเดินทางไปในหลากหลายพื้นที่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ไมอามีที่ย่านอเมริกามูระ ชิงช้าสวรรค์ HEP FIVE ที่มีความสูงมากกว่า 100 เมตร สวนสาธารณะนัมบะ และสวนสาธารณะเท็นโนจิ[14] พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ําที่โจเซ่และสึเนโอะไปเยี่ยมชมด้วยกัน คือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไคยูกัง ซึ่งเปิดบริการตั้งแต่ ค.ศ. 1990[14] นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่คนในท้องถิ่นคุ้นเคยในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย เช่น ย่านการค้าโดตมโบริ ถนนมิโดซูจิ และริมฝั่งแม่น้ําตามากูชิงาวะ เป็นต้น[13] ฤดูกาลแรกของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ ฤดูร้อน[12] ซึ่งฉากที่ตามมาจะแสดงให้เห็นฉากในฤดูกาลต่อ ๆ ไป[13] ส่วนฉากท้องฟ้าและทะเล คณะผู้ผลิตก็ได้ออกแบบให้มีความสอดคล้องตามช่วงเวลานั้น ๆ ที่ภาพยนตร์ได้ดำเนินเรื่อง[12]
การพากย์เสียง
[แก้]เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ได้มีการประกาศรายชื่อนักพากย์เสียงของภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้ โดยมีไทชิ นากางาวะ และคายะ คิโยฮาระ เป็นผู้พากย์เสียงตัวละครหลัก ส่วนนักพากย์เสียงตัวละครรอง ได้แก่ ยูเมะ มิยาโมโตะ (พากย์เสียงนิโนมิยะ ไม) คาซูยูกิ โอกิสึ (พากย์เสียงมัตสึอุระ ฮายาโตะ) ลินน์ (พากย์เสียงคิชิโมโตะ คานะ) และชิเอมิ มัตสึเตระ (พากย์เสียงยามามูระ ชิซุ)[15] ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม คณะอำนวยการสร้างประกาศว่าคู่หูนักพากย์มิโตริซุจะเข้าร่วมการพากย์เสียงด้วย[16] ทามูระให้สัมภาษณ์ถึงเหตุที่เขาเชิญนักแสดงภาพยนตร์ไลฟ์แอคชันอย่างนากางาวะและคิโยฮาระมาร่วมการพากย์เสียงนั้น เพราะว่าเขาต้องการถ่ายทอดความสมจริงของมนุษย์ในภาพยนตร์[6] หากนักพากย์มืออาชีพทำการพากย์เสียงได้ดีจนเกินไปก็จะทําให้ผู้ชมรู้สึกว่านี่เป็นตัวละครที่สวมบทบาท ซึ่งทามูระไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น[6] ทามูระกล่าวว่าสิ่งที่คณะผู้ผลิตต้องการนําเสนอคือ "ความรู้สึกของความเป็นจริงที่เปิดเผยอย่างไม่รู้ตัว" ซึ่งตรงกันข้ามกับอนิเมะทั่วไป แต่สิ่งนั้นคือวิสัยทัศน์ของโครงการนี้[6] ซึ่งการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้สำเร็จ คณะผู้ผลิตจึงได้บันทึกฉากของโจเซ่และสึเนโอะ และนํามุมมองโลกทัศน์กับความเป็นจริงของตัวละครทั้งสองมาเป็นมาตรฐาน จากนั้นจึงบันทึกฉากของตัวละครอื่น ๆ ต่อไป[6] ทามูระยังกล่าวอีกว่าทักษะการแสดงของนากางาวะและคิโยฮาระที่ผู้ชมได้เห็นในภาพยนตร์คือความสมดุลระหว่างความรู้สึกสมจริงกับแอนิเมชัน[6] รวมทั้งความรู้สึกที่แท้จริงก็จะปรากฏบนหน้าจอเช่นเดียวกัน โดยเสื้อผ้าที่ตัวละครสวมใส่ในฉากก่อนหน้าจะถูกสวมใส่อีกครั้งในฉากถัดไป ซึ่งทําให้รู้สึกราวกับว่าตัวละครนี้อาศัยอยู่ที่ไหนสักแห่งในโลกจริง ๆ[6]
เพลง
[แก้]เพลงประกอบภาพยนตร์
[แก้]
| |
---|---|
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย อีวาน คอล | |
วางตลาด | 23 ธันวาคม ค.ศ. 2020[17] |
แนวเพลง | เพลงอนิเมะ |
ค่ายเพลง | TOY'S FACTORY |
เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ประพันธ์ขึ้นโดยอีวาน คอล นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน[18] เขาเป็นผู้แต่งเพลงเปิดชื่อ เทกมีฟาอเวย์ (Take Me Far Away)[19] ด้วยความหวังว่าเพลงนี้จะนำเสนอบรรยากาศองค์รวมของเพลงประกอบทั้งหมด[20] และเพลงที่ยาวที่สุดชื่อ เดอะเมอร์เมดแอนด์เดอะไชนีวิง (The Mermaid and the Shiny Wing) ซึ่งเป็นเพลงที่เปิดในฉากการเล่าเรื่องในสมุดภาพของโจเซ่ มีความยาวมากกว่าห้านาที[20] เพลงประกอบที่ใช้ในฉากชีวิตประจำวันจะบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีประเภทกลอง กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์โปร่ง ส่วนฉากที่มีแก่นเรื่องของทะเลจะใช้อูกูเลเล และดนตรีหนักจะบรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราที่ประกอบด้วยเครื่องสายและเครื่องเป่าลมไม้[20] ทั้งนี้ อัลบั้มเพลงประกอบเป็นการบันทึกระยะไกลจากกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี[20] ซึ่งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 มีการประกาศว่าเพลงประกอบภาพยนตร์จะได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 23 ธันวาคม[17][21] รวมถึงอนิเมะลิมิเต็ดก็ออกมาเปิดเผยว่าจะมีการปล่อยตัวเพลงประกอบฉบับเสียงร้องในสหราชอาณาจักรด้วย[22]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "Take Me Far Away" | 2:00 |
2. | "Part Time Worker" | 1:16 |
3. | "Accidental Fate" | 0:49 |
4. | "A Girl, a Grandma, and a "Weirdo"" | 1:26 |
5. | "Dinner With Josee" | 1:27 |
6. | "Aquatic Fantasy" | 1:37 |
7. | "An Unreasonable Job" | 1:57 |
8. | "If I Could Be Free" | 1:45 |
9. | "Josee's True Passion" | 0:33 |
10. | "Tigers" | 1:19 |
11. | "First Date" | 2:09 |
12. | "Waves of Joy" | 2:53 |
13. | "Josee and Tsuneo" | 3:28 |
14. | "The Origin of the Name" | 1:29 |
15. | "A New Friend" | 1:42 |
16. | "Don't Come Back" | 1:04 |
17. | "A Talent for Drawing" | 1:32 |
18. | "In the Light of the Clarion Angel" | 3:34 |
19. | "Josee's Dream" | 1:51 |
20. | "Under the Heavy Waves of a Harsh Reality" | 2:20 |
21. | "The Waves Keep Crashing" | 2:22 |
22. | "Caretaker's Final Job" | 1:49 |
23. | "The Able-bodied Can Never Understand" | 1:39 |
24. | "Fighting for His Life" | 2:08 |
25. | "Bad News" | 1:09 |
26. | "Fallen Into a Sea of Hopelessness" | 1:02 |
27. | "Mai's Unrequited Feelings" | 2:17 |
28. | "Spark" | 3:05 |
29. | "Dream Chaser" | 1:34 |
30. | "The Mermaid and the Shiny Wing" | 5:31 |
31. | "Wings of the Heart" | 0:57 |
32. | "On This Christmas Night" | 1:31 |
33. | "Facing the Tiger" | 2:14 |
34. | "Closing Time" | 0:44 |
35. | "Following Her Tracks" | 1:15 |
36. | "Spread Your Wings" | 2:39 |
37. | "Coming Home" | 0:50 |
ความยาวทั้งหมด: | 69 นาที |
เพลงหลัก
[แก้]ประมาณเดือนเมษายน ค.ศ. 2019 ทามูระตัดสินใจขอให้อีฟ (Eve) นักร้องชาวญี่ปุ่นเขียนเพลงหลัก[23] ต่อมาเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ตัวแทนจําหน่ายภาพยนตร์ได้ประกาศเพลงหลักชื่อ อาโอะโนะวอลซ์ (Ao no Waltz)[24] จากนั้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม อีฟได้ปล่อยเพลงเสริมชื่อ ชินไก (Shinkai) พร้อมกับตัวอย่าง[25] ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีการประกาศเปิดตัวมินิอัลบั้ม "Kaikai Kitan/Ao no Walzt" (迴奇谭/结のワルツ) โดยวันที่วางจําหน่ายคือ 23 ธันวาคม ปีเดียวกัน[26] เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ผู้จัดจําหน่ายภาพยนตร์ได้เปิดเผยว่า "ชินไก" จะวางจําหน่ายบนอินเทอร์เน็ตในวันที่ 4 ธันวาคม[21] ในวันที่ 7 ธันวาคม อีฟได้ปล่อยมิวสิควิดีโอ "ชินไก" บนช่องยูทูบของเขา[27] มิวสิควิดีโอ "Ao no Waltz" ประกอบด้วยฉากจากภาพยนตร์ที่เผยแพร่ผ่านยูทูบในวันที่ 21 ธันวาคม[28]
แก่นเรื่อง
[แก้]ภาพยนตร์เรื่องนี้มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับ "ความพิการ" และ "การเลือกปฏิบัติ" โดยในการบรรยายถึงชีวิตของคนพิการนั้น ทามูระได้เลือกใช้เก้าอี้รถเข็นเป็นแก่นหลักของภาพยนตร์ แต่เขาไม่คิดว่าเนื้อเรื่องต้นฉบับเป็นเรื่องราวของคนพิการ ซึ่งทามูระกล่าวว่า "จุดสนใจของเรื่องไม่ได้อยู่ที่การไร้อิสระของขา แต่คือการไร้อิสระทางจิตใจ (…) แน่นอนว่าฉันสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีเนื้อหาทางสังคมได้ แต่มันจะเบี่ยงเบนไปจากความเข้าใจของฉัน และสิ่งที่ฉันอยากจะพรรณนาและคิด"[6] MXU จากโชไงชะ กล่าวว่าสิ่งที่น่าแปลกใจที่สุดคือ "ฉากที่สึเนโอะซึ่งคิดว่าตัวเองเป็นคนเข้มแข็งมาโดยตลอด ถูกบังคับให้ใช้รถเข็นหลังจากเกิดอุบัติเหตุ" โดยชมเชยว่า "ห่างไกลจากการใช้ความทุพพลภาพในการสร้างเรื่องราวความรักที่บริสุทธิ์มีชีวิตชีวา พวกเขาต้องเผชิญกับแก่นแท้ของการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยตรง"[29] ดาบูรุ เทโจ กล่าวในนิตยสารบุงเงชุนจุ (Bungei Shunjū) ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ "จับความรู้สึกในเก้าอี้รถเข็นได้อย่างสมบูรณ์แบบ" แม้ว่า "จะเป็นคําที่บอกถึงความสิ้นหวัง แต่ก็สวยงาม" จนต้องกลั้นหายใจ[30] เซ็ลดารุจาก Anime Feminist กล่าวว่าโจเซ่ได้ "เน้นยำอุปสรรคในการเข้าถึงและความยากลําบากอื่น ๆ ที่ผู้ใช้เก้าอี้รถเข็นต้องเผชิญ" การที่เธอไม่สามารถเดินได้ตั้งแต่ยังเด็ก "ทําให้มีมุมมองที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก" ซึ่งโจเซ่ กับเสือและหมู่ปลาได้สรุปให้เห็นถึงวิธีที่ผู้ใช้เก้าอี้รถเข็น ไม่ว่าจะตลอดชีวิตหรือชั่วคราวกล ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคสําคัญในการเข้าถึงเสมอ"[31] วิคตอเรีย เดวิส กล่าวในอนิเมะชันเวิลด์เน็ตเวิร์ค (AWN) ว่าถีงแม้เนื้อเรื่องการรักษาที่น่าอัศจรรย์ในอนิเมะจะสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจแก่ภาพยนตร์ แต่ "นี่ไม่ใช่สิ่งที่ทามูระชื่นชม หรือสิ่งที่เขาอยากจะเลียนแบบในภาพยนตร์ของเขา"[32]
เว็บไซต์ Pia ระบุว่านอกเหนือจากแก่นเรื่องที่เกี่ยวกับ "คนพิการ" และ "การเลือกปฏิบัติ" แล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้บรรยายถึง "ความสัมพันธ์ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน" โดยรู้สึกว่าบริบทที่แสดงถึงความสัมพันธ์นี้ "ในฐานะลูกจ้างนายจ้างมากกว่าการพึ่งพาซึ่งกันและกัน" ซึ่งสะท้อนถึงคุณค่าของยุคใหม่ที่ให้ความสําคัญกับความหลากหลาย[33] ในนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ Phụ nữ Mới ระบุว่าสําหรับสึเนโอะแล้ว "โจเซ่เปรียบเสมือนปลาที่เขาชื่นชมด้วยจิตใจที่เต็มไปด้วยอิสรภาพ" ส่วนในสายตาของโจเซ่มองว่าสึเนโอะเป็น "นักศึกษาหนุ่มที่เป็นแรงผลักดันให้เธอตัดสินใจค้นหาขาของเธอเอง เหมือนกับนางเงือก"[34]
Nonon จาก TheOASG กล่าวว่าคุณยายของโจเซ่เชื่อว่า "เธอกําลังทําสิ่งที่ถูกต้องโดยทําให้เธออยู่ภายใน ปลอดภัยจากความชั่วร้ายของโลกทั้งใหญ่และน่าสะพรึงกลัว" ซึ่งหมายความว่า "แม้โจเซ่จะอายุ 24 ปี แต่เธอก็ยังเด็กอยู่ อารมณ์อ่อนไหว และยังไม่บรรลุนิติภาวะ" คุณยายของเธอยกย่องสิ่งนี้อย่างชื่นใจที่ได้ "เห็นการเปลี่ยนแปลงของเธอเมื่อเวลาผ่านไป" จาก "คนที่กลัวโลกภายนอกอย่างมากกลายเป็นคนที่เติบโตขึ้นมาเพลิดเพลินกับทั้งความสวยงามและอันตราย"[35] Courtney Lanning ในเว็บไซต์ Arkansas Online กล่าวว่าโจเซ่ "ได้รับการคุ้มครองและเก็บไว้ที่บ้านโดยคุณยายผู้คุ้มกัน" เขายกตัวอย่างว่า "เมื่อสึเนโอะพาโจเซ่ไปที่ชายหาดแทนที่จะพาเธอกลับบ้านทันทีตามที่ได้รับคําแนะนํา คุณยายของเธอกลับบอกเขาว่าเธอจะ 'ตัดของเขาออก' ถ้าเขาทําผิดอีกครั้ง"[36]
การตลาด
[แก้]ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2020 ในฐานะภาพยนตร์ปิดเทศกาล[37] ซึ่งต่อมาได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2020 หลังจากถูกเลื่อนฉายจากกลาง ค.ศ. 2020 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[38][39]
บริษัทฟันนิเมชันได้ซื้อภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 (ประเทศแคนาดา และสหรัฐ) โดยมีทั้งการพากย์ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษสำหรับการฉายรอบปฐมทัศน์ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต 2021[4] ส่วนบริษัทอนิเมะลิมิเต็ดเข้าถือสิทธิ์ภาพยนตร์เพื่อฉายในบริติชไอลส์ (สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์)[40] ขณะที่บริษัทแมดแมนเอนเตอร์เทนเมนต์ได้เข้าถือสิทธิ์ภาพยนตร์สำหรับโอเชียเนีย และฉายในประเทศออสเตรเลียกับประเทศนิวซีแลนด์ในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 และ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2021[41] ตลอดจนภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการฉายในการแข่งที่งานเทศกาลภาพยนตร์แอนิเมชันนานาชาติอานซีซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 ถึงวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2021[42]
การตอบรับ
[แก้]ในตัวรวบรวมบทวิจารณ์อย่างเว็บไซต์รอตเทนโทเมโทส์ บทวิจารณ์ของนักวิจารณ์ 13 คนเป็นแง่บวก 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยที่ 7.6 คะแนนเต็ม 10[43]
รางวัล
[แก้]ค.ศ. | รางวัล | สาขา | ผู้รับ | ผล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2021 | รางวัลภาพยนตร์ไมนิจิ ครั้งที่ 75 | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา | เสนอชื่อเข้าชิง | [44] |
รางวัลเจแปนอะแคเดมีฟิล์ม ครั้งที่ 44 | แอนิเมชันแห่งปี | ||||
เทศกาลภาพยนตร์แอนิเมชันนานาชาติอานซี | ภาพยนตร์เรื่องยาวปานกลาง | [42] | |||
โคทัตสึเจแปนนิสแอนิเมชันเฟสติวัล 2021 | ผู้ชนะรางวัลผู้ชม | ชนะ | |||
รางวัลภาพยนตร์โฮจิ ครั้งที่ 46 | ภาพเคลื่อนไหวยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | [45] | ||
2022 | รางวัลอนิเมะครันชีโรล ครั้งที่ 6 | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | [46] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイト" (ภาษาญี่ปุ่น). Seiko Tanabe/Kadokawa/Josee Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-01. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.
- ↑ "映画アニメ ジョゼと虎と魚たち". allcinema (ภาษาญี่ปุ่น). Stingray. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2020. สืบค้นเมื่อ September 11, 2021.
- ↑ Egan, Loo (December 28, 2020). "2020 Pokémon Film Opens at #2, Below Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba's Record Run". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ January 5, 2021.
- ↑ 4.0 4.1 Friedman, Nicholas (June 15, 2021). "Funimation Bringing Josee, the Tiger and the Fish Film to Select Theaters in July, towards Turn-On Dianne and Joyce! based on a short story by Seiko Tanabe". Funimation. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
- ↑ "『ジョゼと虎と魚たち』プロジェクト始動—!公式サイトオープン!". アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイト (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-12-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-03. สืบค้นเมื่อ 2023-01-01.
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 6.14 6.15 6.16 Suzuki Yasudo (2020-12-19). 「ジョゼと虎と魚たち」タムラコータロー監督インタビュー「実写の俳優さんを起用したのは生身の人間の持つ生々しさを伝えたかったから」. WebNewtype (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Minami Masahiko (2020-12-19). 『ジョゼと虎と魚たち』ボンズ代表・南雅彦が語る、愛たっぷりの「アニメの作り方」【CINEMORE ACADEMY Vol.14】. CINEMORE (ภาษาญี่ปุ่น). p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ 8.0 8.1 アニメ映画「ジョゼと虎と魚たち」タムラコータロー監督インタビュー、志高くチーム一丸となった作品作りとは?. GIGAZINE (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-12-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-12-24.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 SYO; Onda, Yuta (2021-01-23). loundrawが肯定した“綺麗“からの脱却 アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』の経験 (ภาษาญี่ปุ่น). KAI-YOU. p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-03.
- ↑ "『ジョゼと虎と魚たち』プロジェクト始動—!公式サイトオープン!". Real Sound (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-12-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-24. สืบค้นเมื่อ 2023-01-01.
- ↑ Tìm kiếm phim (2021-05-19). "24 位「台灣之光」幕後操刀,於動畫電影《喬瑟與虎與魚群動畫版》在日本綻放光芒!". INSIDE (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 Hirao Yoshihiro (2021-01-09). アメリカ村に海遊館、HEP FIVE、なんばパークスも…『ジョゼと虎と魚たち』で大阪を“街ブラ”気分. MOVIE WALKER PRESS (ภาษาญี่ปุ่น). p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 Hirao Yoshihiro (2021-01-09). アメリカ村に海遊館、HEP FIVE、なんばパークスも…『ジョゼと虎と魚たち』で大阪を“街ブラ”気分. MOVIE WALKER PRESS (ภาษาญี่ปุ่น). p. 3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Hirao Yoshihiro (2021-01-09). アメリカ村に海遊館、HEP FIVE、なんばパークスも…『ジョゼと虎と魚たち』で大阪を“街ブラ”気分. MOVIE WALKER PRESS (ภาษาญี่ปุ่น). p. 2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
- ↑ 中川大志&清原果耶がW主演‼主要キャラクターを演じるキャスト情報を一挙公開!. アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイト (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-08-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ ゲスト声優として、お笑いコンビ「見取り図」が参加!!. アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイト (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ 17.0 17.1 "アニメ映画「ジョゼと虎と魚たち」オリジナルサウンドトラック" (ภาษาญี่ปุ่น). TOY'S FACTORY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
- ↑ Pineda, Rafael Antonio. "Josee, the Tiger and the Fish Short Story Inspires 2020 Anime Film by BONES". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-20. สืบค้นเมื่อ 2019-12-02.
- ↑ Ferraro, Pietro (27 กันยายน 2021). "Josée, la Tigre e i Pesci: nuove clip in italiano e tutte le anticipazioni sul film anime". Cineblog (ภาษาอิตาลี).
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 โคตาโร ทามูระ; อีวาน คอล (2020). หนังสือบทสนทนาเกี่ยวกับซาวด์แทร็กภาพยนตร์อนิเมะ "โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา" ระหว่างผู้กำกับ โคตาโร ทามูระ × นักดนตรี อีวาน คอล. ประเทศญี่ปุ่น: คาโดกาวะ.
- ↑ 21.0 21.1 オリジナルサウンドトラック発売決定!. アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイト (ภาษาญี่ปุ่น). 9 พฤศจิกายน 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ "Josee, The Tiger and the Fish Collector's Edition Review • Anime UK News". Anime UK News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 11 มีนาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
- ↑ Eve (24 ธันวาคม 2020). "Eve×loundraw×タムラコータロー監督『ジョゼと虎と魚たち』鼎談 アニメーションと音楽がもたらすクリエイティブの相乗効果". Real Sound (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-05. สืบค้นเมื่อ 2021-11-10.
- ↑ "主題歌がEveの「蒼のワルツ」に決定!". アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイト (ภาษาญี่ปุ่น). 13 สิงหาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ "本予告映像公開!挿入歌、Eve「心海」が初披露!". アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイト (ภาษาญี่ปุ่น). 13 ตุลาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ "主題歌・挿入歌を収録したEve EP発売決定!ジャケットイラスト公開!!". アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイト (ภาษาญี่ปุ่น). 4 พฤศจิกายน 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ "挿入歌・Eve「心海」Music Video公開!". アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイ (ภาษาญี่ปุ่น). 7 ธันวาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ 主題歌・Eve「蒼のワルツ」Music Video公開!. アニメ映画『ジョゼと虎と魚たち』公式サイト (ภาษาญี่ปุ่น). 21 ธันวาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-13. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ MXU (5 กรกฎาคม 2022). "『ジョゼと虎と魚たち』特集". Shohgaisha (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-02. สืบค้นเมื่อ 2023-01-18.
- ↑ ダブル手帳 (26 ธันวาคม 2020). "名作『ジョゼと虎と魚たち』アニメ版は"純愛推し"だが…消された「性被害」の重み". 文春オンライン. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-02. สืบค้นเมื่อ 2023-01-18.
- ↑ Zeldaru (26 สิงหาคม 2022). "Overcoming Barriers: Mobility limitation; "inspirational" disability; and Josee, the Tiger, and the Fish". Anime Feminist (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-20. สืบค้นเมื่อ 2023-01-20.
- ↑ Davis, Victoria (26 มกราคม 2022). "'Josee, the Tiger and the Fish': Embracing People with Disabilities in Anime". Animation World Network (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-20. สืบค้นเมื่อ 2023-01-20.
- ↑ "『ジョゼと虎と魚たち』特集". Pia (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-02. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.
- ↑ "Không khí thanh xuân ngọt ngào với Josse: Khi Nàng Thơ Yêu". Phụ nữ Mới (ภาษาเวียดนาม). 31 มีนาคม 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.
- ↑ Nonon (19 สิงหาคม 2021). "Josee, the Tiger and the Fish Anime Review". TheOASG (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-20. สืบค้นเมื่อ 2023-01-20.
- ↑ Lanning, Courtney (9 กรกฎาคม 2021). "'Josee, the Tiger and the Fish' treat for anime fans". Arkansas Online (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-20. สืบค้นเมื่อ 2023-01-20.
- ↑ Pineda, Rafael Antonio (September 18, 2020). "BONES' Josee, The Tiger and the Fish Anime Selected to Close Busan Int'l Film Fest". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 14, 2021.
- ↑ Loo, Egan (June 11, 2020). "BONES' Josee, the Tiger and the Fish Anime Film Delayed Due to COVID-19". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
- ↑ Mateo, Alex (August 12, 2020). "BONES' Josee, the Tiger and the Fish Anime Film Reveals Cast, Theme Song, Trailer, December 25 Premiere". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ August 12, 2020.
- ↑ Osmond, Andrew (November 23, 2020). "Anime Limited Plans 2021 Cinema Release of Violet Evergarden: The Movie and Others (Updated)". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ November 26, 2020.
- ↑ "Josee, the Tiger and the Fish – In Cinemas June 10". Madman Films. February 26, 2021. สืบค้นเมื่อ April 27, 2021.
- ↑ 42.0 42.1 Pineda, Rafael Antonio (May 21, 2021). "The Deer King, Josee, The Tiger and the Fish, Poupelle Films Compete at Annecy". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ May 22, 2021.
- ↑ "Josee, the Tiger and the Fish (2020)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ January 9, 2022.
- ↑ Pineda, Rafael Antonio (December 23, 2020). "Demon Slayer Film, Violet Evergarden Get Mainichi Film Award Animation Nods". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ January 5, 2021.
- ↑ "第44回報知映画賞ノミネート" (ภาษาญี่ปุ่น). The Hochi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2021. สืบค้นเมื่อ January 9, 2022.
- ↑ Loveridge, Lynzee (January 18, 2022). "Crunchyroll Announces Nominees for 6th Annual Anime Awards". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ January 18, 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา (ภาพยนตร์) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- โจเซ่ กับเสือและหมู่ปลา ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส