ข้ามไปเนื้อหา

อูกูเลเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อูกูเลเล
อูกูเลเล Martin 3K
เครื่องสาย
ประเภท เครื่องสาย (ดีด)
Hornbostel–Sachs classification321.322
(Composite chordophone)
คิดค้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง
กีตาร์

อูกูเลเล (ฮาวาย: ʻukulele, [ˈʔukuˈlɛlɛ]; อังกฤษ: ukelele (BrE) หรือ ukulele (AmE), ออกเสียง: /juːkəˈleɪliː/ ยูเคอเลลี) หรือ กีตาร์ฮาวาย เป็นเครื่องดีด (chordophone) ซึ่งจัดเข้าพวกเป็นกระจับปี่ (plucked lute) อย่างหนึ่ง และเป็นรูปแบบย่อยรูปแบบหนึ่งของวงศ์กีตาร์ มีรูปลักษณ์คล้ายกีตาร์อันเล็ก ต่างกันตรงที่กีตาร์จะขึงสายสำหรับดีดทั้งหมด 6 สาย ส่วนอูกูเลเลขึงสายทั้งหมดเพียง 4 สาย ทำจากไนลอนหรือเชือกอย่างอื่น[1]

อูกูเลเลมีกำเนิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาวฮาวายซึ่งนำเอากีตาร์น้อย ประเภทกาวากิญญู (cavaquinho) กับราเฌา (rajão) มาประสมกัน ชาวโปรตุเกสที่อพยพเข้ามาในสหรัฐอเมริกาได้นำกีตาร์น้อยทั้งสองนี้เข้าสู่ฮาวาย[2] ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อูกูเลเลได้รับความนิยมเป็นอย่างมากภายนอกสหรัฐอเมริกา และนับจากนั้นก็แพร่หลายทั่วไป

แนวและระดับเสียงของอูกูเลเลขึ้นอยู่ขนาดและโครงสร้างของมัน อูกูเลเลที่นิยมเล่นมี 3 ขนาด คือ โซปราโน, คอนเสิร์ด และเทอเนอร์

คอร์ด

[แก้]

ใช้คอร์ดเดียวกับเครื่องดนตรีทั่วไป (เช่น กีตาร์, คีย์บอร์ด) แต่วิธีการจับต่างกัน เพราะมีแค่ 4 สาย การตั้งสายแบบโซปาโน ซี[3] สายที่ 1 คือเส้นล่างสุดจะให้เสียง A สายที่ 2 ให้เสียง E สายที่ 3 ให้เสียง C และสายที่ 4 คือเส้นบนสุด ให้เสียง G

อ้างอิง

[แก้]
  1. Erich M. von Hornbostel & Curt Sachs, "Classification of Musical Instruments: Translated from the Original German by Anthony Baines and Klaus P. Wachsmann." The Galpin Society Journal 14, 1961: 3-29.
  2. Norden, Ernest E. "Portuguese Americans". Multicultural America. สืบค้นเมื่อ 2009-02-23.
  3. Nitisupakul, Yuttapol. "Ukulele Chord Finder". Ukulele Lover. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-03-06.