จักรพรรดิเจียจิ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Jiajing Emperor)
จักรพรรดิหมิงซื่อจง
จักรพรรดิจีน
จักรพรรดิพระองค์ที่ 12 แห่ง ราชวงศ์หมิง
ครองราชย์27 พฤษภาคม พ.ศ. 2064 - 23 มกราคม พ.ศ. 2110
(45 ปี 241 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิเจิ้งเต๋อ
ถัดไปจักรพรรดิหลงชิ่ง
ประสูติ16 กันยายน พ.ศ. 2050
อันลู่โจว (มณฑลหูเป่ย์), ราชวงศ์หมิง
สวรรคต23 มกราคม พ.ศ. 2110 (59 พรรษา)
พระตำหนักเฉียนชิง พระราชวังต้องห้าม, ปักกิ่ง, ราชวงศ์หมิง
ฝังพระศพหย่งหลิง (永陵), สุสานหลวงราชวงศ์หมิง, ปักกิ่ง
จักรพรรดินีจักรพรรดินีเซี่ยวเจี๋ยซู่
จางชีเจี่ย (จักรพรรดินีจาง) ถูกปลด
จักรพรรดินีเซียวเลี่ย
พระสนมเอกหรงซู่คัง (จักรพรรดินีเสี่ยวเค่อ)
พระราชบุตร
ดูรายพระนาม
  • รัชทายาทอ้ายจง (จูไจ้จี)
    รัชทายาทจ้วงจิง (จูไจ้หยวน)
    จักรพรรดิหมิงมู่จง (จูไจ้ชี่)
    อ๋องจิ่งกง (จูไจ้เจิ้น)
    อ๋องยิ่งช่าง (จูไจ้หลู่)
    อ๋องชีหวย
    อ๋องจีอ้าย (จูไจ้ไคว้)
    อ๋องจุนซื่อ
    เจ้าหญิงฉางอัน (จูโช่วยิง)
    เจ้าหญิงซื่อโหรว (จูฟู่เหยี่ยน)
    เจ้าหญิงหนิงอัน (จูลู่เจิง)
    เจ้าหญิงกุ้ยซาน (จูหรุยหรง)
    เจ้าหญิงเจียชาน (จูซู่เจิน)
พระนามเต็ม
นามสกุล: จู Zhū (朱)
ชื่อแรก: โฮวโชง Houcong (厚熜)
รัชศก
เจียจิ้ง (嘉靖) 28 มกราคม พ.ศ. 2065 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2110
พระสมัญญานาม
จักรพรรดิชีเทียน หลู่เต้า ยิ่งยวี เซิ้งเซิน เซียนเหวิน กวางหวู หงเหริน ต้าเสี้ยวซู่
欽天履道英毅聖神宣文廣武洪仁大孝肅皇帝
พระอารามนาม
หมิงซื่อจง
明世宗
ราชวงศ์ราชสกุลจู
ราชวงศ์ราชวงศ์หมิง
พระราชบิดาอ๋องซิง (จู โหยวหยวน)
興王 (朱祐杬)
(องค์ชาย 4 ในจักรพรรดิเฉิงฮว่า)
พระราชมารดาจักรพรรดินีชีเซี่ยวเซียน (ซิงเซียนหวางเฟย)

จักรพรรดิหมิงเจียจิ้ง (จีน: 嘉靖帝; พินอิน: jiājìng dì) มีพระปรมาภิไธยว่า จักรพรรดิหมิงซื่อจง (จีน: 明世宗; พินอิน: míng shìzōng) (16 กันยายน พ.ศ. 2050 - 23 มกราคม พ.ศ. 2110) เป็นพระราชภาดา[1] ในจักรพรรดิเจิ้งเต๋อเพราะพระบิดาของพระองค์กับจักรพรรดิหงจื้อที่เป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อเป็นพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชบิดาเดียวกัน เมื่อจักรพรรดิเจิ้งเต๋อสวรรคตลงในปี ค.ศ. 1521องค์ชายจูหูคง ชันษา 14 พรรษาจึงขึ้นครองราชย์เป็น "จักรพรรดิเจียจิ้ง"

ตลอดรัชกาลของพระองค์ เป็นยุคแห่งความเจริญด้านศิลปะและศาสนา ทรงเน้นเรื่องศิลปะโดยเฉพาะเครื่องลายคราม และเรื่องศาสนาโดยเฉพาะลัทธิเต๋า โดยโปรดให้สร้างวิหารแห่งพระอาทิตย์ (日坛) ขึ้นทางทิศตะวันออกของปักกิ่ง วิหารแห่งพระจันทร์ (月坛) ขึ้นทางทิศตะวันตก และวิหารแห่งโลก (地坛) ขึ้นทางทิศเหนือ และโปรดให้ทำการต่อเติมหอสักการะแผ่นดินและฟ้า (เทียนตี้ถัน) และให้เปลี่ยนชื่อเป็น "หอสักการะฟ้า" (เทียนถัน) แต่ทรงหลงงมงายอยู่กับพิธีกรรมและเรื่องราวทางไสยศาสตร์มาก จนในช่วงต้นรัชกาลพระองค์แทบไม่ทำอะไร นอกจากเฝ้าอยู่กับการสักการะดวงวิญญาณพระราชบิดา และพระราชมารดา จึงเปิดโอกาสให้พวกหมอผี นักหลอกลวงเข้ามาหาผลประโยชน์จนถึงเข้ามามีบทบาทในการบริหารบ้านเมือง[2]

ในรัชกาลของพระองค์ มีมหาเสนาบดีอยู่ 2 คน คือ เหยียน ซง และเซี่ย หยุน ทั้ง 2 คนนี้แย่งชิงอำนาจกัน เป็นเซี่ย หยุน ที่ได้ครองอำนาจต่อจากเหยียน ซง ที่ทำบ้านเมืองตกต่ำ และพระองค์ไม่ทรงโปรด ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวครั้งที่รุนแรงที่สุดที่มณฑลส่านซี ในปี ค.ศ. 1556 ตรงกับปีที่ 35 ในรัชกาล มีผู้เสียชีวิตกว่า 800,000 คน ทั้งยังเกิดวาตภัยที่ปักกิ่ง และไฟไหม้ที่พระราชวังต้องห้าม เป็นเหตุให้ฮองเฮาสิ้นพระชนม์ พระองค์พิโรธถอดเซี่ย หยุน ออกจากตำแหน่ง และสั่งประหารชีวิต จึงเป็นเหยียน ชง ที่กลับมามีอำนาจอีกครั้ง[2]

จักรพรรดิเจียจิ้งสวรรคตในปี ค.ศ. 1567 ขณะพระชนม์ได้ 60 พรรษา ทรงครองราชย์นานถึง 45 ปี ยาวนานเป็นอันดับสองของราชวงศ์หมิง องค์ชายจูไฉ่หู พระราชโอรสจึงขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิหลงชิ่ง

พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]

  • พระราชบิดา
  • พระราชมารดา
  • พระอัครมเหสี
    • จักรพรรดินีเสี่ยวเจียซู สกุลเฉิน
    • จักรพรรดินีเสี่ยวเลี่ย สกุลฟาง
  • พระมเหสีและพระสนม
    • จวงซุ่นหวงกุ้ยเฟย สกุลเฉิน
    • ตวนเหอหวงกุ้ยเฟย สกุลหวัง
    • หรงอันหวงกุ้ยเฟย สกุลเยวี่ยน
    • ฮุ่ยเฟย สกุลหวัง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชาศัพท์:ลูกพี่ลูกน้อง ว่า พระราชภาดา, พระราชภราดร
  2. 2.0 2.1 "นายกคาถาเขียว". ไทยรัฐ. 3 June 2016. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
ก่อนหน้า จักรพรรดิเจียจิ้ง ถัดไป
จักรพรรดิเจิ้งเต๋อ จักรพรรดิจีน
(ค.ศ. 1521–1567)
จักรพรรดิหลงชิ่ง