แคว้นกาลิเซีย
กาลิเซีย Galicia (กาลิเซีย) (สเปน) | |
---|---|
เพลง: โอสปิโนส | |
แผนที่ประเทศสเปนแสดงที่ตั้งแคว้นกาลิเซีย | |
พิกัด: 42°45′N 7°53′W / 42.750°N 7.883°W | |
ประเทศ | สเปน |
ธรรมนูญการปกครองตนเอง | 2479 2524 |
เมืองหลัก | ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา |
เมืองใหญ่สุด | บีโก |
จังหวัด | โปนเตแบดรา, ลูโก, อาโกรุญญา, โอว์แรนเซ |
การปกครอง | |
• ประเภท | รัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจปกครองตนเองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
• องค์กร | สภาบริหารกาลิเซีย |
• ประธาน | อัลเบร์โต นุญเญซ เฟย์โฆ (พรรคประชาชนกาลิเซีย) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 29,575 ตร.กม. (11,419 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 7 |
ประชากร (2559) | |
• ทั้งหมด | 2,718,525 คน |
• ความหนาแน่น | 92 คน/ตร.กม. (240 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับประชากร | ที่ 5 |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
รหัส ISO 3166 | ES-GA |
ภาษาราชการ | ภาษากาลิเซียและภาษาสเปน |
นักบุญองค์อุปถัมภ์ | นักบุญยากอบ |
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติกาลิเซีย |
ที่นั่ง ส.ส. | 25 คน (จากทั้งหมด 350 คน) |
ที่นั่ง ส.ว. | 19 คน (จากทั้งหมด 264 คน) |
เว็บไซต์ | สภาบริหารกาลิเซีย |
กาลิเซีย (กาลิเซียและสเปน: Galicia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศสเปนที่มีฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย มีพรมแดนร่วมกับประเทศโปรตุเกสทางทิศใต้ และมีพรมแดนร่วมกับแคว้นกัสติยาและเลออนและแคว้นอัสตูเรียสทางทิศตะวันออก
ที่มาของชื่อแคว้น
[แก้]คำว่า กาลิเซีย ในภาษาไทยนั้น มาภาษาคำว่า Galicia ซึ่งมีรากศัพท์จากคำว่า Callaecia ในภาษาละติน ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็น Gallaecia เป็นชื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับชนเผ่าเชื้อชาติเคลต์โบราณ ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำโดรู ซึ่งมีชื่อว่า Gallaeci (กัลไลกี) ในภาษาละติน หรือ Καλλαϊκoί (Kallaïkoí) ในภาษากรีกโบราณ[1] ชาวกัลไลกีเป็นกลุ่มผู้คนกลุ่มแรก ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแม่น้ำโดรู ที่ช่วยเหลือชาวลูซิตาเนียสู้รบกับชาวโรมันที่กำลังบุกรุกบริเวณแม่น้ำโดรู ชาวโรมันจึงใช้คำว่า กัลไลกี เป็นชื่อเรียกชนเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำโดรู ซึ่งพูดภาษากัลไลกี และมีวัฒนธรรมและประเพณีที่คล้ายคลึงกัน[2][3]
ในศตวรรษที่ 7 นักวิชาการหลายคน ได้แก่ นักวิชาการอิซิโดโรแห่งเซบิยา ได้บันทึกไว้ว่า ชื่อชาวกาลิเซียนั้น มีชื่อที่มีรากศัพท์เดียวกับชาวกอล ซึ่งเป็นชื่อที่แปลว่า น้ำนม ในภาษากรีก เนื่องจากเหตุที่ว่าชาวกาลิเซียมีผิวที่ขาวเหมือนชาวกอล แต่อย่างใดก็ตาม นักวิชาการปัจจุบันเสนอว่าคำว่ากาลิเซียนั้น เป็นชื่อโบราณของชาวกัลไลกี ซึ่งอาจเพี้ยนมาจากคำว่า *kal-n-eH ซึ่งแปลว่า เนินเขา ในภาษาอินโดยุโรเปียนโบราณ หรือ *kallī- ซึ่งแปลว่า ป่าไม้ หรือ ชาวป่าไม้ ในภาษาเคลต์โบราณ [1][4]
ในช่วงยุคกลาง คำว่า กาลิเซีย นั้นได้เพี้ยนมาจากคำว่า Gallaecia หรือบางครั้งเขียน Galletia หรือ Gallicia ในศตวรรษที่ 13 การสะกดที่ใช้บ่อยที่สุดคือ Galiza จนมาถึงศตวรรษที่ 15 และ 16 ซึ่งเปลี่ยนมานิยมเขียนว่า Galicia ซึ่งตรงกับภาษากัสเตยาโน (ภาษาสเปน) ปัจจุบัน ในศตวรรษที่ 19 ตอนปลายและศตวรรษที่ 20 ตอนต้น การสะกด Galiza ก็กลับมาเป็นการสะกดนิยมอีกครั้งสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณแคว้นกาลิเซียปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ ราชบัณฑิตยสถานกาลิเซีย (Real Academia Galega) ซึ่งเป็นสถาบันที่กำหนดมาตรฐานในการเขียนภาษากาลิเซีย ได้กำหนดว่าชื่ออย่างเป็นทางการของแคว้นกาลิเซีย ต้องเขียนว่า Galicia[5]
ประเพณี
[แก้]วันหยุดสาธารณะ
[แก้]- Día de San Xosé (วันนักบุญโยเซฟ) วันที่ 19 มีนาคม (วันหยุดทางศาสนา)
- Día do Traballo (วันทำงาน) วันที่ 1 พฤษภาคม
- Día das Letras Galegas (วันวรรณคดีกาลิเซีย) วันที่ 17 พฤษภาคม
- Día da Patria Galega (วันชาติแห่งกาลิเซีย) วันที่ 25 กรกฎาคม
- Día da Nosa Señora (วันพระแม่) วันที่ 15 สิงหาคม (วันหยุดทางศาสนา)
สื่อ
[แก้]โทรทัศน์
[แก้]เตเลบิซิออนเดกาลิเซีย เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะของแคว้นกาลิเซีย ซึ่งเริ่มเปิดบริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1985 เป็นสถานีโทรทัศน์เครือข่ายเดียวกับบริษัทวิทยุโทรทัศน์กาลิเซีย (CRTVG) นอกจากนี้ ช่องเตเลบิซิออนเดกาลิเซียยังมีอีกสองช่องที่ฉายนอกประเทศสเปน คือ Galicia Televisión Europa ซึ่งฉายในประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรป และ Galicia Televisión América ซึ่งฉายในทวีปอเมริกา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Moralejo, Juan J. (2008). Callaica nomina : estudios de onomástica gallega (PDF). A Coruña: Fundación Pedro Barrié de la Maza. pp. 113–148. ISBN 978-84-95892-68-3.
- ↑ Luján, Eugenio R. (2000): "Ptolemy's 'Callaecia' and the language(s) of the 'Callaeci', in Ptolemy: towards a linguistic atlas of the earliest Celtic place-names of Europe : papers from a workshop sponsored by the British Academy, Dept. of Welsh, University of Wales, Aberystwyth, 11–12 April 1999, pp. 55-72. Parsons and Patrick Sims-Williams editors.
- ↑ Paredes, Xoán (2000): "Curiosities across the Atlantic: a brief summary of some of the Irish-Galician classical folkloric similarities nowadays. Galician singularities for the Irish", in Chimera, Dept. of Geography, University College Cork, Ireland
- ↑ Curchin, Leonard A. (2008) Estudios GallegosThe toponyms of the Roman Galicia: New Study. CUADERNOS DE ESTUDIOS GALLEGOS LV (121): 111.
- ↑ Fraga, Xesús (8 June 2008). "La Academia contesta a la Xunta que el único topónimo oficial es Galicia" [The Academy responds to the Xunta saying that the only official toponym is Galicia]. La Voz de Galicia.