โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ (อังกฤษ: Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (อังกฤษ: atherosclerotic heart disease[13] หรือ atherosclerotic cardiovascular disease[14] หรือ coronary heart disease[15]) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (อังกฤษ: ischemic heart disease (IHD))[16] เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว[17]. โรคนี้มีสาเหตุมาจากการสร้างคราบตะกอน (อังกฤษ: plaque) ขึ้นตามผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงและลดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ.
สาเหตุ
[แก้]เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
ความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงตีบเพิ่มขึ้นตามอายุ, การสูบบุหรี่, คอเลสเตอรอลในเลือดสูง, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, และพบมากในผู้ชายและผู้ที่มีญาติใกล้ชิดกับ CAD. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ หลอดเลือดหัวใจหดเกร็ง (อังกฤษ: coronary vasospasm)[18], อาการกระตุกของเส้นเลือดของหัวใจ, ปกติมักจะเรียกมันว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของ Prinzmetal (อังกฤษ: Prinzmetal's angina)[19].
การวินิจฉัยของโรคหัวใจขาดเลือดสามารถทำได้โดยการวัดหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้า, การทดสอบเลือด (cardiac marker), การทดสอบความเครียดหัวใจหรือภาพรังสีหลอดเลือด (อังกฤษ: coronary angiogram). ขึ้นอยู่กับอาการและความเสี่ยง, การรักษาอาจจะใช้ยา, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (อังกฤษ: percutaneous coronary intervention) (ศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด (อังกฤษ: angioplasty)) หรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (อังกฤษ: coronary artery bypass surgery (CABG)).
ณ ปี 2012 โรคนี้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการตายในโลก[20] และเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล[21]. มีหลักฐานที่จำกัดสำหรับการตรวจคัดกรองประชากร แต่การป้องกัน (ด้วยอาหารสุขภาพและบางครั้งยาสำหรับโรคเบาหวาน, คอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง) ถูกนำมาใช้ทั้งในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน
อาการ
[แก้]ในขณะที่อาการและสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจแสดงออกในสภาวะที่ก้าวหน้าแล้วของโรค, บุคคลส่วนใหญ่ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงหลักฐานการเป็นโรคเป็นเวลาหลายสิบปีขณะที่โรคก้าวหน้าไปก่อนที่จะเริ่มมีอาการครั้งแรก, ซึ่งมักจะเป็นโรคหัวใจแบบ "ฉับพลัน" เสียแล้ว. อาการของโรคหัวใจขาดเลือดคงที่จะรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อังกฤษ: angina) (อาการเจ็บหน้าอกขณะออกแรง) และความอดทนกับการออกกำลังกายลดลง.
โรคหัวใจขาดเลือด (IHD) ที่ไม่เสถียรจะมีอาการเจ็บหน้าอกหรืออาการอื่นๆในขณะอยู่เฉยๆ, หรือเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เลวลงอย่างรวดเร็ว. มักแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่น คล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้
อาการเจ็บมักลามไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้ายมักเป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทำงาน เป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที อาการจะดีขึ้นถ้าได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนอาจมีอาการใจสั่น หอบเหนื่อย ร่วมด้วย
การรักษา
[แก้]การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
ที่ได้รับนิยม มักจะใช้วิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่รู้จักกันว่า “การทำบายพาส”
โดยแพทย์จะใช้เส้นเลือดภายในทรวงอกด้านซ้าย และเส้นเลือดแดงบริเวณแขนซ้าย หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา ตั้งแต่ข้อเท้าด้านในจนถึงโคนขาด้านใน มาเย็บต่อเส้นเลือดเพื่อนำเลือดแดงจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดโดยข้ามผ่านเส้นเลือดส่วนที่ตีบ
“กรณีแพทย์ตัดสินใจทำการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะทำเมื่อเส้นเลือดตีบและอุดตันแล้วประมาณ 70% ขึ้นไป แต่หากมีไขมันมาเกาะโดยไม่มีหินปูน และมีอายุ 30-40 ปี อาจรักษาด้วยการทานยาอาจช่วยให้ไขมันลดลง หรือกรณีที่อุดตันเส้นเดียว ก็ทานยา หรือ ใส่ขดลวดบอลลูนได้”
สำหรับการทำผ่าตัดบายพาสโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันในปัจจุบัน มี 2 วิธี คือ
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) หรือ แบบ “ไม่ต้องหยุดหัวใจ” การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On Pump CABG) เพื่อ “หยุด” การทำงานของหัวใจทั้งหมด [22]
เมื่อมีการตรวจโดยแน่ชัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การตรวจโดยการเดินออกกำลังกายบนสายพานหรือโดยวิธีการใส่สายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ และฉีดดูตำแหน่งการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เป็นต้น แพทย์จะประเมินภาวะความรุนแรงของโรคและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น
- 1. การใช้ยาขยายหลอดเลือด มีทั้งชนิดอมใต้ลิ้น, ยารับประทาน และให้ทางหลอดเลือดดำ
- 2. การให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดแข็งตัว เช่น แอสไพริน
- 3. การให้ยาลดการบีบตัวของหัวใจ เพื่อลดการทำงานของหัวใจ และลดการใช้ออกซิเจน
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการรักษาทางยาส่วนใหญ่มักได้ผลดี แต่ในภาวะรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ หรือผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด เพื่อให้เลือดเดินทางผ่านจุดที่อุดตัน โดยใช้เส้นเลือดที่บริเวณแขนหรือขา
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
[แก้]- 1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
- 2. รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
- 3. รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
- 4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือการเดิน เริ่มโดยการเดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
- 5. ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ
- 6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
- 7. งดดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- 8. หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้ำได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ได้ทันที
- 10. การมีเพศสัมพันธ์ไม่ควนหักโหม ควรอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์
การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
[แก้]- 1. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวผ่านกรรมวิธี - ทำให้มีการสะสมไขมันในหลอดเลือด ก่อให้เกิดแผ่นคราบไขมันตามมา
- 2. ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากมาก ๆ เช่น รำข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ
- 3. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 20 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาและเพิ่มความถี่ในการออกกำลังกาย
- 4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินและสารอื่น ๆ ที่จะทำอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด การสูบบุหรี่ ยังทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว
- 5. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดกับงานควรทำสมาธิหรือฟังเพลงเบา ๆ
- 6. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน โดยใช้วิธีออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เช่น งดขนมหวาน , ผลไม้รสหวานจัด เพราะหัวใจของคนอ้วนต้องทำงานมากกว่าปกติ
- 7. ตรวจเช็คสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาแพทย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Coronary heart disease – causes, symptoms, prevention". Southern Cross Healthcare Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2014. สืบค้นเมื่อ 15 September 2013.
- ↑ Faxon DP, Creager MA, Smith SC, Pasternak RC, Olin JW, Bettmann MA, และคณะ (June 2004). "Atherosclerotic Vascular Disease Conference: Executive summary: Atherosclerotic Vascular Disease Conference proceeding for healthcare professionals from a special writing group of the American Heart Association". Circulation. 109 (21): 2595–604. doi:10.1161/01.CIR.0000128517.52533.DB. PMID 15173041.
- ↑ MedlinePlus Encyclopedia Coronary heart disease
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHLB2014
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2013
- ↑ 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWHO2011
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMeh2014
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2014Diag
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHLB2013P
- ↑ 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHLB2013Tr
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015Pre
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015De
- ↑ "Coronary heart disease - causes, symptoms, prevention". Southern Cross Healthcare Group. สืบค้นเมื่อ 15 September 2013.
- ↑ Faxon, D. P. (1 June 2004). "Atherosclerotic Vascular Disease Conference: Executive Summary: Atherosclerotic Vascular Disease Conference Proceeding for Healthcare Professionals From a Special Writing Group of the American Heart Association". Circulation. 109 (21): 2595–2604. doi:10.1161/01.CIR.0000128517.52533.DB.
- ↑ "Coronary heart disease". ADAM. สืบค้นเมื่อ 15 September 2013.
- ↑ Bhatia, Sujata K. (2010). Biomaterials for clinical applications (Online-Ausg. ed.). New York: Springer. p. 23. ISBN 9781441969200.
- ↑ "Heart attack/coronary artery disease". Mount Sinai Hospital, New York.
- ↑ Williams MJ, Restieaux NJ, Low CJ (February 1998). "Myocardial infarction in young people with normal coronary arteries". Heart. 79 (2): 191–4. doi:10.1136/hrt.79.2.191. PMC 1728590. PMID 9538315.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Rezkalla SH, Kloner RA (October 2007). "Cocaine-induced acute myocardial infarction". Clin Med Res. 5 (3): 172–6. doi:10.3121/cmr.2007.759. PMC 2111405. PMID 18056026.
- ↑ Finegold JA, Asaria P, Francis DP (4 December 2012). "Mortality from ischaemic heart disease by country, region, and age: Statistics from World Health Organisation and United Nations". International journal of cardiology. 168 (2): 934–45. doi:10.1016/j.ijcard.2012.10.046. PMID 23218570.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ World Health Organization Department of Health Statistics and Informatics in the Information, Evidence and Research Cluster (2004). The global burden of disease 2004 update. Geneva: WHO. ISBN 92-4-156371-0.
- ↑ [1][ลิงก์เสีย] โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน รพ.กรุงเทพ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- Risk Assessment of having a heart attack or dying of coronary artery disease, from the American Heart Association.
- "Coronary Artery Disease". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine.