โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (Hypertrophic cardiomyopathy) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Asymmetric septal hypertrophy, idiopathic hypertrophic subaortic stenosis[1] |
สาขาวิชา | หทัยวิทยา |
อาการ | อ่อนเพลีย ขาบวม หอบเหนื่อย เป็นลม[2] |
ภาวะแทรกซ้อน | หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน[3][4] |
สาเหตุ | Genetics, Fabry disease, Friedreich's ataxia, certain medications[5][6] |
วิธีวินิจฉัย | Electrocardiogram, echocardiogram, stress testing, Genetic testing[7] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Hypertensive heart disease, aortic stenosis, athlete's heart[5] |
การรักษา | Medications, implantable cardiac defibrillator, surgery[7] |
ยา | Beta blockers, diuretics, disopyramide[7] |
พยากรณ์โรค | Less than 1% a year risk of death (with treatment)[8] |
ความชุก | 1 in 500 people[9] |
โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (อังกฤษ: hypertrophic cardiomyopathy, HCM) เป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่งที่ทำให้บางส่วนของหัวใจหนาตัวขึ้นผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ทำให้หัวใจมีประสิทธิภาพในการบีบตัวลดลง ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ ไปจนถึงรู้สึกอ่อนเพลีย ขาบวม เหนื่อยหอบได้ อาจทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกหรือหมดสติชั่วครู่ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเสียชีวิตกะทันหันจากหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น
โรคนี้ส่วนใหญ่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มักเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น โรคเฟบรี โรคอ่อนแรงจากสมองน้อยแบบเฟรดริค หรือจากยาบางชนิดเช่นทาโครลิมัส เป็นต้น ถือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดหนึ่ง การวินิจฉัยอาจทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ การตรวจด้วยการออกกำลังกาย หรือการตรวจทางพันธุกรรม ทั้งนี้อาจตรวจไม่พบก็เป็นได้
การรักษาส่วนใหญ่ทำโดยการใช้ยาในกลุ่มยายับยั้งเบต้า ยาขับปัสสาวะ หรือยาแก้ไขการเต้นผิดจังหวะเช่นดิสโอพิราไมด์ เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจต้องใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบฝัง หากการรักษาข้างต้นยังไม่ได้ผลอาจต้องผ่าตัดเอากล้ามเนื้อส่วนผนังหัวใจออกบางส่วน (septal myectomy) หรือผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายหัวใจ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะมีอัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 1 ต่อปี
มีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติประมาณ 1 คนในประชากร 500 คน พบเท่าๆ กันทั้งเพศชายและเพศหญิง และพบได้ในทุกๆ ช่วงอายุ โรคนี้ได้รับการบรรยายด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่เอาไว้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1958 โดยพยาธิแพทย์ชาวอังกฤษ โดนัลด์ เทียร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Other Names for Cardiomyopathy". NHLBI. June 22, 2016. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2016Sym
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2016What
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSCD2011
- ↑ 5.0 5.1 Ferri, Fred F. (2017). Ferri's Clinical Advisor 2018 E-Book: 5 Books in 1 (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 246. ISBN 9780323529570.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2016Ca
- ↑ 7.0 7.1 7.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อJACC2011
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMar2014
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2016Type
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |