บ็อกด์ ข่าน
บ็อกด์ ข่าน | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์บ็อกด์ ข่าน วาดโดยมาร์ซาน ชาราฟ จิตรกรชาวมองโกเลีย | |||||
ข่านแห่งมองโกเลีย | |||||
ครองราชย์ | 29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 – ค.ศ. 1919 (ครั้งที่ 1) ค.ศ. 1921-20 พฤษภาคม ค.ศ. 1924 (ครั้งที่ 2) | ||||
29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 ประกอบพิธีราชาภิเษก | |||||
ก่อนหน้า | เคฟท์ โยส ข่าน (จักรพรรดิปูยี) | ||||
ถัดไป | ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างหลังสวรรคต | ||||
ประสูติ | ราว ค.ศ. 1869 จังหวัดหลี่ถาง, ภูมิภาคคาม, ทิเบต | ||||
สวรรคต | ผิดพลาด: ต้องการวันเกิดที่ถูกต้อง (วันที่สอง): ปี เดือน วัน อูลานบาตาร์, รัฐมองโกเลีย | ||||
ชายา | เซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัม เกอเนอพิล | ||||
| |||||
พระราชบิดา | กอนซิกทเซเรน | ||||
พระราชมารดา | ไม่ปรากฏพระนาม | ||||
ศาสนา | ศาสนาพุทธแบบทิเบต |
บ็อกด์ ข่าน (มองโกเลีย: Богд Живзундамба Агваанлувсанчойжинямданзанванчүг; Bogd Jivzundamba Agvaanluvsanchoijinyamdanzanvanchüg; ค.ศ. 1869-1924) ทรงครองราชย์เป็นข่านแห่งมองโกเลีย องค์สุดท้าย ในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 เมื่อมองโกเลียส่วนนอกประกาศเอกราชจากราชวงศ์ชิง หลังเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ พระองค์ประสูติในทิเบต ในฐานะจอวซันดัมบา โฮทักท์ (Жавзандамба хутагт) องค์ที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่สามในลำดับชั้นทางศาสนาพุทธแบบทิเบต โดยลำดับที่หนึ่งและที่สองคือ ทะไลลามะและแป็นเช็นลามะ ตามลำดับ ทำให้ดังนั้นจึงมีการขนานนามพระองค์ว่า "บ็อกด์ ลามะ" พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของพระพุทธศาสนาสายทิเบตในเขตมองโกเลียส่วนนอก พระมเหสีของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัม ดำรงเป็น "อูล์ซิน เออร์ ฑากิณ" หรือ "พระมารดาแห่งฑากิณีรัฐ" ซึ่งถือว่าเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ตารา
พระราชประวัติ
[แก้]ช่วงต้นพระชนม์ชีพ
[แก้]บ็อกด์ เกเกง องค์ที่ 8 ประสูติในปีค.ศ. 1869[1] ที่ จังหวัดหลี่ถาง ภูมิภาคคาม ในครอบครัวข้าราชการชาวทิเบต[2] ในปีหลังจากบ็อกด์ เกเกงที่ 7 หรือ จอวซันดัมบา โฮทักท์ต์ องค์ที่ 7 สวรรคต ทำให้ทรงถูกเลือกขึ้นเป็นผูสืบทอดตำแหน่งองค์ต่อไป พระบิดาของเด็กหนุ่มคือ กอนชิกทเซเรน เป็นสมุหบัญชีในราชสำนักของทะไลลามะที่ 12 ช่วงปีแรกๆของพระชนม์ชีพ พระองค์ประทับร่วมกับพระมารดาที่ลาซาในพระราชวังโปตาลาของทะไลลามะ[3] เด็กชายได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในฐานะบ็อกด์ เกเกงองค์ใหม่ ที่พระราชวังโปตาลา โดยทะไลลามะที่ 13 และปันเชนลามะ[4] ในปีค.ศ. 1873-1874 มีการจัดขบวนขนาดใหญ่รวมถึงเหล่าลามะ ออกจากกรุงลาซา[5] เพื่อติดตามรับใช้องค์ตูลกู (หมายถึงเด็กชายที่ได้รับยศตำแหน่งทางศาสนา) ไปยังมองโกเลีย ในปี ค.ศ. 1875 บ็อกด์ เกเกงที่ 8 มาถึงอูลานบาตาร์ เมืองหลวงของมองโกเลียส่วนนอกอย่างปลอดภัย
มีบันทึกของพยานในเหตุการณ์ ว่า
"...พระองค์ไม่ได้เป็นหุ่นเชิดของเหล่าลามะ แต่ในทางกลับกัน เหล่าลามะต่างหากที่อยู่ในกำมือของพระองค์ ในช่วงวัยเยาว์ทรงมีพระประสงค์ที่จะฟื้นฟูอาณาจักรชาวมองโกเลียอันยิ่งใหญ่ของเจงกิสข่าน หรืออย่างน้อย คือการปลดปล่อยมองโกเลียออกจากการยึดครองของชาวจีน และสร้างให้มองโกเลียพึ่งพาตนเองได้ เหล่าเจ้าขุนมูลนายในท้องถิ่นหวาดกลัวพระองค์ยิ่งนัก แต่ประชาชนชื่นชอบพระองค์... ทรงเป็นผู้ปกครององค์แรกที่เฉลียวฉลาดและเป็นอิสระ พระองค์ไม่ยอมรับอำนาจใดๆให้มามีเหนือมองโกเลีย ทั้งจากทิเบตและจีน"[6]
การเผชิญหน้ากับคณะบริหารแห่งราชวงศ์ชิงในอูการ์
[แก้]เพียงเวลาห้าปีหลังจากบ็อกด์ เกเกงเสด็จจากทิเบตมาถึงอูการ์ (อูลานบาตาร์) ตอนนั้นมีพระชนมายุเพียง 10 ชันษา บ็อกด์ เกเกงได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการปกครองเมืองหลวงที่นำโดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีน ที่พยายามทำให้ประชาชนเกิดความห่างเหินต่อศาสนาและห่างเหินจากสังคมโลก กลุ่มพ่อค้าชาวจีนได้ยึดครองพระอารามตามศาสนาพุทธเป็นร้านค้าจำหน่ายสินค้า ในปีค.ศ. 1882 พระองค์ได้มีสาส์นถวายรายงานต่อจักรพรรดิกวังซฺวี่แห่งราชวงศ์ชิง โดยทรงชี้แจงว่า ถ้ากลุ่มพ่อค้าชาวจีนไม่ย้ายออกไปจากอูการ์ พระองค์เองจะย้ายเมืองหลวงจากอูการ์ไปประทับที่อารามเออเดอนีซูแทน เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลชิงยินยอมตามข้อเรียกร้องและมีคำสั่งให้พวกพ่อค้าออกไปจากพระอาราม (พ่อค้าชาวรัสเซียยังคงได้รับอนุญาตให้ค้าขายในอาคารเดิมได้)[7]
บ็อกด์ เกเกงทรงท้าทายรัฐบาลราชวงศ์ชิงหลายครั้ง พระองค์ซ่อนตัวพระอาจารย์ชราของพระองค์เองภายในพระราชวัง โดยปฏิเสธที่จะส่งตัวเขาไปขึ้นศาลของคณะบริหารจากราชวงศ์ชิง พระองค์ทรงประกาศต่อต้านนโยบายการขึ้นภาษีอย่างเปิดเผย โดยเป็นนโยบายของข้าราชการจากราชสำนักชิงในท้องถิ่น ที่ชื่อว่า เต๋อหลิง ทรงปฏิเสธที่จะให้เขาเข้าเฝ้า และในที่สุดพระองค์ประสบความสำเร็จในการกดดันให้เขาลาออกจากตำแหน่ง ทั้งๆที่เขาได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงปักกิ่งอย่างแข็งขัน[8] มีหลักฐานว่าบ็อกด์ เกเกงในวัยหนุ่ม ทรงได้รับการกล่าวถึงในฐานะผู้นำรุ่นใหม่ผู้ทรงอำนาจแห่งพุทธศาสนามองโกเลีย ที่พยายามรับมือกับอำนาจของรัฐบาลจักรพรรดิราชวงศ์ชิงที่เข้ามาควบคุมมากขึ้นในปี ค.ศ. 1900[9]
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- ↑ บางแหล่งข้อมูลระบุว่าประสูติในปีค.ศ. 1870 อ้างจากหนังสือ — датировку см. Сонинбаяр Ш., Пунсалдулам Б. 2009. Монголын тусгаар тогтнол оюун санааны их удирдагч VIII Богд Жэвзундамба хутагт. Улаанбаатар. Кроме того, могла быть просто не учтена разница в календарях.
- ↑ Soninbayar, Sh. and Punsaldulam, B. 2009. Mongolyn Tusgaar Togtnol Oyuun Sanaany Ikh Unirdagch VIII Bogd Jevzundamba Khutagt. Ulaanbaatar.
- ↑ По данным А. М. Позднеева; цит. по: Монгуш М. Известный и неизвестный Богдо-гэгэн // Этнографическое обозрение Online. 2006. Сентябрь. С. 3 เก็บถาวร 2021-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Knyazev, N.N. The Legendary Baron. - In: Legendarnyi Baron: Neizvestnye Stranitsy Grazhdanskoi Voiny. Moscow: KMK Sci. Press, 2004, ISBN 5-87317-175-0 p. 67
- ↑ См.: Сазыкин А. Г. В Лхасу за гэгэном // Историография и источниковедение истории стран Азии и Африки. Вып. XIII. — Л., 1990. C. 202—214.
- ↑ Tornovsky, M.G. Events in Mongolia-Khalkha in 1920-1921. - In: Legendarnyi Baron: Neizvestnye Stranitsy Grazhdanskoi Voiny. Moscow: KMK Sci. Press, 2004, ISBN 5-87317-175-0 p. 181
- ↑ Позднеев А. М. Очерки быта буддійскихъ монастырей и буддійскаго духовенства въ Монголии въ связи съ отношеніями вего последняго къ народу. Санкт-Петербург, Типография Императорской Академии наук, 1887. — с. 371
- ↑ АВПРИ, ф. Китайский стол, оп. 491, д. 1454, л. 62 (из донесения российского консула в Урге В. Ф. Любы)
- ↑ Торновский М.Г. События в Монголии-Халхе в 1920-1921 годах // Легендарный барон: неизвестные страницы гражданской войны. М.: КМК, 2004 ISBN 5-87317-175-0 сс. 181
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Palmer, James (2009). The Bloody White Baron. Basic Books. ISBN 978-0-465-01448-4.