ข้ามไปเนื้อหา

สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

พิกัด: 39°59′30″N 116°23′26″E / 39.99167°N 116.39056°E / 39.99167; 116.39056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Beijing National Stadium)
สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง
สนามกีฬารังนก
สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ใน พ.ศ. 2554
แผนที่
ชื่อเต็มสนามกีฬาแห่งชาติ
ที่ตั้ง1 National Stadium South Road, ปักกิ่ง, จีน
ขนส่งมวลชนรถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 8 และรถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 15 สถานี Olympic Park
รถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 8 สถานี Olympic Sports Center
ที่นั่งพิเศษ140
ความจุ80,000 (ตั้งแต่โอลิมปิก 2008)[1]
สถิติผู้ชม89,102 (NigeriaArgentina Olympic football match, 23 August 2008)
พื้นผิวGrass, All-weather running track
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็ม24 ธันวาคม 2003; 21 ปีก่อน (2003-12-24)
ก่อสร้างกันยายน 2007; 17 ปีที่แล้ว (2007-09)
เปิดใช้สนาม28 มิถุนายน 2008; 16 ปีก่อน (2008-06-28)
งบประมาณในการก่อสร้างCN¥2.3 พันล้าน
สถาปนิกHerzog & de Meuron
ArupSport
China Architectural Design & Research Group
Ai Weiwei (Artistic consultant)
วิศวกรโครงสร้างArup
การใช้งาน
China national football team (selected matches)
China national basketball team (2009–2010)
สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง
อักษรจีนตัวย่อ北京国家体育场
อักษรจีนตัวเต็ม北京國家體育場
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวย่อ鸟巢
อักษรจีนตัวเต็ม鳥巢
ความหมายตามตัวอักษรBird's Nest

สนามกีฬาแห่งชาติกรุงปักกิ่ง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนามกีฬาแห่งชาติ[2] (จีน: 国家体育场; พินอิน: Guójiā Tǐyùchǎng; แปลตรงตัว: "National Stadium"; เป่ย์จิงกั๋วเจียถี่ยู่ฉาง) หรือที่เรียกว่า รังนก (鸟巢; Niǎocháo; "Bird's Nest") เป็นสนามกีฬาหลักที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และใช้ในพิธีเปิด/พิธีปิด โอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ซึ่งทั้งสองรายการจัดขึ้นที่ปักกิ่ง ประเทศจีน สนามเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2550 ได้รับการออกแบบโดย Herzog & DeMeuron (สวิสเซอร์แลนด์) และสถาบันออกแบบสถาปัตยกรรมจีน (China Architecture Design Institute) ครอบคลุมพื้นที่ 258,000 ตารางเมตร และมีขนาดความจุ 100,000 ที่นั่ง ใช้งบประมาณถึง 3.5 พันล้านเหรินหมินปี้ โดยสนามกีฬาแห่งนี้จะถูกใช้เป็นสนามแข่งขันกรีฑาและฟุตบอล

สนามกีฬาดังกล่าวตั้งอยู่ทิศใต้ของสวนโอลิมปิกในปักกิ่ง โดยเป็นสเตเดียมแบบเปิด รวมพื้นที่ 23.7 เฮกเตอร์ เพื่อใช้ในพิธีเปิด – ปิด และการแข่งขันกรีฑาประเภทลู่และลานของกีฬาโอลิมปิก 2008 โดยสามารถจุผู้ชมได้มากถึง 100,000 คน แบ่งเป็นที่นั่งแบบถาวร 80,000 ที่ และที่นั่งเสริม 20,000 ที่(รื้อออกเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน) ทั้งนี้ ภายหลักการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 แล้ว สนามแห่งนี้จะใช้เป็นสนามแข่งขันระหว่างประเทศ หรือกิจกรรมทางกีฬาอื่น ๆ

การคัดเลือก

[แก้]

มีร่างการออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติจีน 3 ชุด ได้รับเลือกเข้าสู่สนามพิจารณารอบสุดท้าย ซึ่งเจ้าของแบบทั้งสามที่เข้ารอบตัดสินสุดท้ายนี้ได้แก่

  • กลุ่มบริษัทข้ามชาติเฮอร์ซอจ & เดอ มูรอนแห่งสวิสเซอร์แลนด์ และสถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งจีน
  • สถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งปักกิ่ง และ
  • กลุ่มบริษัทข้ามชาติเอเอ็กซ์เอสแห่งญี่ปุ่นและสถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว

สำหรับคณะกรรมการพิจารณาการออกแบบครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มสถาปนิก 13 คน จากประเทศต่างๆ 5 ชาติ จีนได้เปิดเวทีประกวดการออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา และมีกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการออกแบบงานก่อสร้างที่ช่ำชองการออกแบบสนามกีฬาทั้งในประเทศและต่าง

ประเทศ 13 กลุ่ม รวมทั้งกลุ่มความร่วมมือระหว่างบริษัทต่างๆ เข้าร่วมการแข่งขัน ในจำนวนนี้ ประกอบด้วยบริษัทสัญชาติจีน 2 แห่ง บริษัทจากต่างประเทศ 8 แห่ง และกลุ่มความร่วมมือระหว่างบริษัทจีนและต่างประเทศ 3 แห่ง

ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการฯได้ประกาศการตัดสินร่างแบบฯของกลุ่มบริษัท 3 กลุ่ม เข้ารอบการพิจารณาสุดท้าย พร้อมทั้งมีการนำร่างการออกแบบสนามกีฬาของกลุ่มบริษัททั้ง 13 แห่ง มาแสดงนิทรรศการที่ศูนย์การประชุมนานาชาติในปักกิ่ง ให้สาธารณชนชม ร่างแบบทั้ง 13 ชุดนี้ เป็นของกลุ่มบริษัทจากทั่วโลกได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี รวมทั้งกลุ่มความร่วมมือของบริษัทจีน-ฮ่องกง เป็นต้น

ในงานนิทรรศการแสดงร่างการออกแบบสนามกีฬาดังกล่าว เปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรีไปถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 ทั้งยังมีการเปิดโอกาสแก่ประชาชนให้คะแนนร่างแบบที่พวกเขาชื่นชอบด้วย ซึ่งคะแนนเหล่านี้ จะมีผลต่อการตัดสินของคณะกรรมการฯ

หลังจากตัดสินแบบสนามกีฬาแล้ว ปักกิ่งจะเริ่มลงมือก่อสร้างในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สนามกีฬาใหม่นี้ ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นในบริเวณตอนใต้ของสวนโอลิมปิกในปักกิ่ง สามารถรองรับผู้ชมการแข่งขันได้ถึง 80,000 คน และจะเป็นสถานที่ดำเนินพิธีเปิดและปิดมหกรรมกีฬาโลก 2008 ตลอดจนเป็นสถานที่จัดแสดงงานกลางแจ้งต่างๆระหว่างการแข่งขันด้วย

ผลการตัดสิน

[แก้]

จีนได้ตัดสินแบบสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ ซึ่งจะใช้เป็นสนามแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกปี 2008 การออกแบบที่ชนะการประกวดนี้ มีชื่อแบบว่า ‘รังนก’ (Bird's Nest) ซึ่งเป็นผลงานร่วมของสถาปนิกสวิสและจีน

ปักกิ่ง ซึ่งเป็นจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปี 2008 เปิดเวทีการประกวดแบบสนามกีฬาโอลิมปิกเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2002 และในเดือนมีนาคม คณะกรรมการได้ตัดสินแบบ 13 ชุด เข้ารอบสุดท้าย พร้อมได้นำออกแสดงในนิทรรศการและให้ประชาชนให้คะแนนแบบที่ตนเห็นว่าดีที่สุด

ในที่สุด แบบ ‘รังนก’ ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ร่วมของสถาปนิกชื่อดังของบริษัทออกแบบเฮอร์ซอจ & เดอ มูรอนแห่งสวิสเซอร์แลนด์ และสถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งจีน ก็ชนะใจกรรมการและประชาชน

สนามกีฬาแห่งนี้ มีรูปทรงรังนกที่มีโครงตาข่ายเหล็กสีเทาๆเหมือนกิ่งไม้ ห่อหุ้มเพดานและผนังอาคารที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใส อัฒจันทร์มีลักษณะรูปทรงชามสีแดง ซึ่งดูคล้ายกับพระราชวังโบราณ ‘กู้กง’ ของจีน ภาพโครงสร้างของสนามกีฬาแห่งนี้ จึงดูคล้ายพระราชวังสีแดง ที่อยู่ภายในรั้วกำแพงสีเทาเขียว ซึ่งให้กลิ่นอายงดงามแบบตะวันออก

สำหรับบันไดภายในสนามกีฬาถูกสร้างให้กลมกลืนกับโครงตาข่าย ซึ่งให้ภาพลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเอกภาพ

สนามกีฬาโอลิมปิกนี้ มีกำหนดเริ่มก่อสร้างในวันที่ 24 ธันวาคม 2003 ตอน 10 โมงเช้า

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Beijing National Stadium, Olympic Green". East Asia. Arup. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มิถุนายน 2008. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2008.
  2. "The National Stadium". Competition Venues. The Official Website of the Beijing 2008 Olympic Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 สิงหาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2008.

39°59′30″N 116°23′26″E / 39.99167°N 116.39056°E / 39.99167; 116.39056