3 มกราคม
หน้าตา
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 3 มกราคม เป็นวันที่ 3 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 362 วันในปีนั้น (363 วันในปีอธิกสุรทิน)
เหตุการณ์
[แก้]- พ.ศ. 612 (ค.ศ. 69) - กองทหารโรมันที่แม่น้ำไรน์ปฏิเสธที่จะประกาศความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิกัลบา โดยประกาศให้เอาลุส วิแต็ลลิอุส เป็นจักรพรรดิแทน[1]
- พ.ศ. 793 (ค.ศ. 250) - จักรพรรดิเดซิอัสมีพระราชโองการให้ทุกคนในจักรวรรดิโรมัน (ยกเว้นชาวยิว) บูชาบวงสรวงเทพเจ้าโรมัน[2]
- พ.ศ. 2064 (ค.ศ. 1521) - สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ทรงคว่ำบาตร มาร์ติน ลูเทอร์ ในสารตราพระสันตะปาปาชื่อ "Decet Romanum Pontificem"[3]
- พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) - สงครามปฏิวัติอเมริกา: จอร์จ วอชิงตัน นายพลชาวอเมริกันเอาชนะลอร์ดคอร์นวอลลิสนายพลชาวอังกฤษในยุทธการที่พรินซ์ตัน[4]
- พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) - ออสเตรีย สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสจัดตั้งพันธมิตรแบบลับ ๆ เพื่อต่อต้านปรัสเซียและรัสเซีย[5]
- พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) - สงครามกลางเมืองอเมริกา: มลรัฐเดลาแวร์โหวตไม่แยกตัวออกจากสหรัฐ[6]
- พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) - การฟื้นฟูเมจิ: รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกยกเลิก แคว้นศักดินาซัตสึมะ และแคว้นศักดินาโชชูเข้ายึดอำนาจการปกครอง[7]
- พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) - เริ่มงานก่อสร้างสะพานบรูคลิน[8]
- พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) - กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาด 91 เซนติเมตร ในหอดูดาวลิก ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานั้น เปิดใช้งานเป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) - การดวลปืนในลอนดอนตะวันออกทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย มันจุดชนวนให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองกับวินสตัน เชอร์ชิลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น[9]
- พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1914) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปัจจุบันคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - อดีตอาณานิคมของอังกฤษในทะเลแคริบเบียน ร่วมกันก่อตั้งชาติเอกราชใหม่ภายใต้ชื่อ สหพันธรัฐเวสต์อินดิส (West Indies Federation)
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - สหรัฐอเมริกาสถาปนาอะแลสกาเป็นรัฐที่ 49
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้ง พรรคสามัคคีธรรม พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุน คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
วันเกิด
[แก้]- พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) - วิลเฮล์ม พีเอิค นักการเมืองและนักลัทธิคอมมิวนิสต์ชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 7 กันยายน พ.ศ. 2503)
- พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) - เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์ (ถึงแก่กรรม 2 กันยายน พ.ศ. 2516)
- พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - โดโรธี มอร์ริสัน นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) ประจำปี พ.ศ. 2531 (ถึงแก่กรรม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550)
- พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - ชิโฮะ ฟุจิมุระ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - ทูช นล นักมวยสากลสมัครเล่นชาวกัมพูชา
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - จอร์จีน่า ริสก์ นางแบบ นางงามชาวเลบานอน
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - เมล กิบสัน นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - คิม ยง-คัง นักมวยชายชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - มิคาเอล ชูมัคเกอร์ นักแข่งรถสูตรหนึ่งชาวเยอรมัน
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - เจย์มา เมส์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - เลอาห์ กิบสัน นักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ชาวแคนาดา
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) -
- อาเดรียน (นักฟุตบอล) นักฟุตบอลอาชีพชาวสเปน
- เอ็ดการ์ บรูโน ดา ซิลวา นักฟุตบอลอาชีพชาวบราซิล
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ฌอร์ดี มาซิป นักฟุตบอลชาวสเปน
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - โยะอิชิโระ คะคิทะนิ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เมแกน วิลเลียมส์ นางแบบชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - คิม จี-ซู นักร้องชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) -
- กมลวรรณ จันทร์ยิ้ม นักกีฬาเรือใบชาวไทย
- ซ็อล อิน-อา นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- ฟลอเรนซ์ พิวจ์ นักแสดงหญิงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - นิโก กอนซาเลซ นักฟุตบอลอาชีพชาวสเปน
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - เกรียตา ทืนแบร์ย นักกิจกรรมภูมิอากาศชาวสวีเดน
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ซาเบร นอร์ริส ยูทูปเบอร์ชาวออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - อากิฮิซะ ชิโอโนะ นักแสดงชายชาวญี่ปุ่น
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- พ.ศ. 778 (ค.ศ. 235) - สมเด็จพระสันตะปาปาแอนเทรุส
- พ.ศ. 866 (ค.ศ. 323) - จักรพรรดิจิ้นหยวน (พระราชสมภพ ค.ศ. 276)
- พ.ศ. 1641 (ค.ศ. 1098) - วัลเคลิน บิชอปแห่งวินเชสเตอร์
- พ.ศ. 1865 (ค.ศ. 1322) - พระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งฝรั่งเศส (พระราชสมภพ ค.ศ. 1293)
- พ.ศ. 1980 (ค.ศ. 1437) - แคทเธอรินแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ประสูติ ค.ศ. 1401)
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก (เกิด 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2429)
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกคนแรกของประเทศไทย (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2434)
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - แพต ฮินเกิล นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2467)
- พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - กอเซม โซเลย์มอนี นายพลชาวอิหร่าน (เกิด 11 มีนาคม พ.ศ. 2500)
- พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ทันย่า โรเบิร์ตส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2498)
- พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - เจิ้ง หมิ่น นักวิชาการและกวีชาวจีน (เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2463)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
[แก้]- ทางดาราศาสตร์ เป็นวันที่โลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (โดยประมาณ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Legrand, Jacques (1989). Chronicle of the World. Ecam Publication. p. 218. ISBN 0-13-133463-8.
- ↑ Frend, W. H. C. (1984). The Rise of Christianity. Fortress Press, Philadelphia. p. 319. ISBN 978-0-8006-1931-2.
- ↑ Tavuzzi, Michael M. (1997). Prierias: The Life and Works of Silvestro Mazzolini Da Prierio, 1456-1527. Duke University Press. p. 80. ISBN 0-8223-1976-4.
- ↑ Maloy, Mark (12 March 2018). Victory Or Death: The Battles of Trenton and Princeton, December 25, 1776 – January 3 1777. Savas Beatie. ISBN 978-1-61121-381-2.
- ↑ Lists and Indexes. H.M. Stationery Office. 1914. p. 138.
- ↑ Essah, Patience (1996). A House Divided: Slavery and Emancipation in Delaware, 1638-1865. University of Virginia Press. p. 161. ISBN 978-0-8139-1681-1.
- ↑ Satow, Sir Ernest (2007). A Diplomat In Japan. p. 353. ISBN 978-1-933330-16-7.
- ↑ McCullough, David (1982). The Great Bridge: The Epic Story of the Building of the Brooklyn Bridge. Simon and Schuster. pp. 564. ISBN 978-0-671-45711-2.
- ↑ Wrigley, Chris (2002). Winston Churchill: A Biographical Companion. ABC-CLIO. p. 305. ISBN 978-0-87436-990-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- BBC: On This Day
- Today in History: January 3 เก็บถาวร 2005-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ 3 มกราคม