ข้ามไปเนื้อหา

1 พงศาวดาร 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1 พงศาวดาร 1
หน้าของหนังสือพงศาวดาร (1 และ 2 พงศาวดาร) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศาวดาร
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์13

1 พงศาวดาร 1 (อังกฤษ: 1 Chronicles 1) เป็นบทแรกของหนังสือพงศาวดารในคัมภีร์ฮีบรู หรือหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 1 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือพงศาวดารรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เรียกว่าเป็น "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร" (the Chronicler) และมีรูปร่างสุดท้ายที่ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล[3] เนื้อหาของบทที่ 1 ของ 1 พงศาวดาร เป็นรายการลำดับพงศ์พันธุ์ตั้งแต่อาดัมถึงอิสราเอล (=ยาโคบ) โดยมีโครงสร้างดังนี้: อาดัมถึงโนอาห์ (วรรค 1–4); เชื้อสายของโนอาห์ตั้งแต่บุตร 3 คนของโนอาห์คือ เชม, ฮาม และยาเฟท: ชาวยาเฟท (วรรค 5–7), ชาวฮาม (วรรค 8–23), ชาวเชม (วรรค 24–27); บุตรของอับราฮัม (วรรค 28–34a); บุตรของอิสอัค (34b–54; ต่อด้วย 2:2 สำหนับบุตรของอิสราเอล)[4] บทนี้เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่รายการลำดับพงศ์พันธุ์ตั้งแต่อาดัมจนถึงรายนามของผู้คนที่กลับจากการไปเป็นเชลยในบาบิโลน (1 พงศาวดาร 1:1 ถึง 1 พงศาวดาร 9:34)[1]

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 54 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[5]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[6][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม

[แก้]

จากอาดัมถึงอับราฮัม (1:1–27)

[แก้]

รายนามนำมาจากหนังสือปฐมกาลโดยเฉพาะและย่อให้เหลือเพียง 'โครงร่างหลัก' โดยละเว้นบางชื่อ 'ที่เชื้อสายสิ้นสุดด้วยความตาย' อย่างผู้สืบเชื้อสายของคาอินและพี่น้องของอับราฮัม[4] เชื่อมโยงจุดกำเนิดของอิสราเอลเข้ากับจุดกำเนิดของผู้คนทั้งหมด – ความเป็นบรรพบุรุษของอับราฮัมในอาดัมและโนอาห์ – จึงอยู่ภายในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ทั้งหมด[11] วรรค 1–4 (จากอาดัมถึงโนอาห์) ตรงกันอย่างมากกับลำดับพงศ์พันธุ์ในปฐมกาล 5:1 -–32 วรรค 5–12 (ลำดับพงศ์พันธุ์ของบุตรโนอาห์) ตรงกันกับในปฐมกาล 10:1 -32 วรรค 13–27 (ผู้สืบเชื้อสายของเชมจนถึงอับราฮัม) คู่ขนานกับลำดับพงศ์พันธุ์ในปฐมกาล 11:10 -26[11] วรรค 27 มีึความหมาย "อับรามคืออับราฮัม" (ชื่อแรกที่พระเจ้าประทานให้ใน ปฐมกาล 17:1 ) แสดงถึงการกระโดดจากปฐมกาล 11 ไปยังปฐมกาล 17[12]

ววรค 1

[แก้]
อาดัม เสท เอโนช[13]

โนอาห์เป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงของเสท จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงคาอินและอาเบลหรือบุตรคนอื่น ๆ ของอาดัม[14]

วรรค 4

[แก้]
โนอาห์ เชม ฮาม ยาเฟท[15]

วรรค 6

[แก้]
บุตรของโกเมอร์ชื่ออัชเคนัส ดีฟัท และโทการมาห์[17] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) หรือ
บุตรของโกเมอร์ ได้แก่ อัชเคนัส รีฟาท และโทการมาห์[18] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
  • "รีฟาท": เหมือนกับในปฐมกาล 10:3 (רִיפַ֖ת) ตามสำเนาต้นฉบับภาษาฮีบรูในยุคกลางหลายเล่ม เซปทัวจินต์ และวัลเกต และใช้ในฉบับแปลภาษาอังกฤษบางฉบับ (NAB, NIV, NLT ฯลฯ ฉบับแปลภาษาไทยใช้ใน TNCV, thaKJV, NTV) ในขณะที่ฉบับอื่น ๆ (ASV, NASB, NRSV ฯลฯ ฉบับแปลภาษาไทยใช้ใน THSV11, TH1971, THA-ERV) ใช้ว่า "ดีฟัท" (דִיפַ֖ת) ตาม Masoretic Text[19]

เชื้อสายของอับราฮัม (1:28–54)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ปฐมกล 5, ปฐมกาล 10, ปฐมกาล 11, ปฐมกาล 22, ปฐมกาล 25, ปฐมกาล 36, มัทธิว 1, ลูกา 3
  • หมายเหตุ

    [แก้]
    1. ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่มีเพียงเนื้อหาใน 1 พงศาวดาร 9:27-19:17[7][8][9]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. 1.0 1.1 Ackroyd 1993, p. 113.
    2. Mathys 2007, p. 268.
    3. Ackroyd 1993, pp. 113–114.
    4. 4.0 4.1 4.2 Mathys 2007, p. 269.
    5. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    6. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    7. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
    8. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
    9. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 Gilbert 1897, p. 280.
    11. 11.0 11.1 Endres 2012, p. 8.
    12. Endres 2012, pp. 8–9.
    13. 1 พงศาวดาร 1:1 THSV11
    14. Clarke, Adam (1832) "Commentary on 1 Chronicles 1:1". "The Adam Clarke Commentary". Study Light.
    15. 1 พงศาวดาร 1:4 THSV11
    16. หมายเหตุของ 1 พงศาวดาร 1:4 ใน NKJV
    17. 1 พงศาวดาร 1:6 THSV11
    18. 1 พงศาวดาร 1:6 TNCV
    19. หมายเหตุของ 1 พงศาวดาร 1:6 ใน NET Bible

    บรรณานุกรม

    [แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]