ไฉฮงเฮิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฉฮงเฮิง (蔡红亨)
เจ้าแม่ยี่เต๋อฮูหยิน (懿德夫人)
ไฉม่าเนี้ยเนี้ย (蔡妈娘娘)
เทวรูป เจ้าแม่ไฉฮงเฮิงซึ่งประดิษฐานในซุ้มของเจ้าแม่ตันเจงก้อศาลเจ้าติ้งว่านไคตี้เตี้ยน (鼎灣開帝殿) เผิงหู ในประเทศไต้หวัน
ภาษาจีน蔡红亨
ความหมายตามตัวอักษรฮูหยินตระกูลไฉ
เจ้าแม่ตระกูลไฉ

ไฉฮงเฮิง หรือ ไช่หงเฮิง (จีน: 蔡红亨; พินอิน: Càihónghēng) เป็นเจ้าแม่อันเป็นเทพบรรพชนชาวรีวกีวแห่งอาณาจักรรีวกีว (หมู่เกาะรีวกีว) ซึ่งตรงกับรัชกาลจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิงของจีนและในตำนานท้องถิ่นและมุขปาฐะกล่าวว่านางเป็นศิษย์ของเจ้าแม่ตันเจ๊งก๊อและได้รับการเคารพบูชาในศาสนาชาวบ้านจีน, และทรงเป็นนักพรตเต๋าของลัทธิเต๋าในฐานะเซียน (นักสิทธิ์) ที่นิยมอย่างยิ่งในชาวฮกเกี้ยน, ชาวไต้หวัน, ทางภาคใต้ของประเทศจีน, และในหมู่เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำนานการกำเนิดและสร้างสมคุณงามความดีแก่สาธารณชนของเจ้าแม่เริ่มต้นกำเนิดในหมู่เกาะรีวกีว เจ้าแม่ประพฤติตนคุณธรรมอันเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนและหลังจากการถึงแก่พิราลัยแล้วด้วยคุณูปการคุณงามความดีของเจ้าแม่จึงได้รับการเคารพบูชาในฐานะเจ้าแม่สืบต่อมาในวัดและศาลเจ้าตามคติท้องถิ่นของประเทศไต้หวัน นามอื่น ๆ ของเจ้าแม่คือ ไฉโกวโผว (蔡姑婆; ไช่กูผัว) ไฉฮูหยิน (蔡夫人; ไช่ฟูเหริน) ไฉม่าฮูหยิน (蔡妈夫人; ไช่มาฟูเหริน) ไฉม่าเนี้ยเนี้ย (蔡妈娘娘; ไช่มาเหนียงเหนียง) และไฉไน้ฮูหยิน (蔡奶夫人; ไช่ไหน่ฟูเหริน)

ประวัติ[แก้]

ไม่ปรากฏทำเนียบนามของเจ้าแม่ในประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ แต่ปรากฏในหนังสือ "ตำนานที่ชาวหมิ่นลืมเลือน" (闽都别记; หมิ่นโตวเปี๋ยจี้) ที่เขียนโดย เหอ ฉิว (何求) ในราชวงศ์ชิง บันทึกว่า ไฉฮงเฮิงกำเนิดในตระกูลขุนนางของอาณาจักรรีวกีว[1] บรรพชนของเจ้าแม่คือ ไช่จั๋ว (蔡茁) เดิมซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของเขตฉางเล่อ (长乐) มณฑลฝูเจี้ยน[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 清里人何求《闽都别记》:「长乐蔡氏,世宦于琉球。万历时,耳目大夫蔡金城有女曰红亨,年十六,能神游海上,顷刻千里。真睡常汗出。姊见撼之,醒,曰姊断却数十人性命矣!问其故,曰:某处海船遭风将复,妹与风神战,已获胜,今醒,彼岂饶诸船乎?姊告父,征之信。一日于海上遇临水夫人,遂请执业,天人许之。未几封王之中使至,闻其异,契之朝归。抵长乐,红亭谒蔡氏祖祠,与族人叙昭穆,乃蔡氏之姑也。少倾出至海滨,有(山严)若龛者,红亭遂坐化其中。族人异之,即其肉身塑像。自是行船者,遇风海上,呼“蔡姑婆”,无不获济」
  2. 賈忠偉《你可能不知道的-日本、韓國故事》,靈活文化,ISBN9789867027474