ข้ามไปเนื้อหา

ลิ้มจุ้ยฮูหยิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิ้มจุ้ยฮูหยิน
เทวรูป เจ้าแม่ตันเจงก้อ ณ ศาลเจ้าสมาคมไถหนานเซิ่งอันฝอจูฮุ้ย (台南圣恩佛祖会) บนเกาะไต้หวัน
อักษรจีนตัวเต็ม臨水夫人
อักษรจีนตัวย่อ临水夫人

เฉินจิ้งกู ตามสำเนียงแบบภาษาจีนกลาง หรือ ตันเจงก้อ ตามสำเนียงแบบจีนฮกเกี้ยน (จีนตัวย่อ: 陈靖姑; จีนตัวเต็ม: 陳靖姑; พินอิน: Chén Jìnggū) เป็นเจ้าแม่ผู้คุ้มครองอุปถัมถ์รักษาสตรี, เด็ก และดูแลการตั้งครรภ์ในศาสนาชาวบ้านจีน และเป็นนักพรตเต๋าของลัทธิเต๋า[1][2][3] พระนางเป็นที่รู้จักในนาม ลิ้มจุ้ยฮูหยิน (จีนตัวย่อ: 临水夫人; จีนตัวเต็ม: 臨水夫人; พินอิน: Línshuǐ fūrén, หลินฉุ่ยฟูเหริน - ท่านผู้หญิงหลินฉุ่ย)[4]

จ้าวแม่ตันเจงก้อเป็นเซียน (นักสิทธิ์จีน) ที่ได้รับการนิยมระลึกนึกถึงเคารพบูชาอย่างยิ่งในชาวฮกเกี้ยน, ชาวไต้หวัน, ทางภาคใต้ของประเทศจีน, และในหมู่เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำนานการกำเนิดและสร้างสมคุณงามความดีแก่สาธารณชนของเจ้าแม่เริ่มต้นกำเนิดในมณฑลฝูเจี้ยน พระนางเป็นนักพรตเต๋าสตรีของลัทธิเต๋าในสังกัดสำนักเขาลฺหวี (闾山派; 閭山派) เจ้าแม่ประพฤติตนคุณธรรมอันเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนและหลังจากการเกิดอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิตแล้วด้วยคุณูปการคุณงามความดีของเจ้าแม่จึงได้รับการเคารพบูชาในฐานะเจ้าแม่สืบต่อมา พระนางเป็นที่รู้จักคุ้นเคยของบรรดาม้าทรงพระจีน[5]

ที่ไต้หวันมีวัดและศาลเจ้ามากกว่าหนึ่งร้อยสามสิบแห่งซึ่งอุทิศถวายแด่พระนาง และที่มณฑลฝูเจี้ยนมีหอบรรพบุรุษอันซึ่งอุทิศถวายแด่พระนางหลายแห่งเช่นกัน ในปัจจุบันเจ้าแม่เป็นเทพเจ้ายอดนิยมในทำเนียบของลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ[5]

ประวัติ

[แก้]

พระแม่ตันเจ๊งก๊อมีนามเดิม ว่า เฉินจิ้ง (ออกเสียงตามสำเนียงจีนกลาง 陳靖) และมักขนานนามว่า เฉินจิ้งกู (ออกเสียงตามสำเนียงจีนกลาง 陈靖姑) พระนางกำเนิดในเขตเซี่ยตู้ (下渡) เมืองฝูโจว (ปัจจุบันคือเขตชางชาน (仓山区)) เมื่อ 766 ปีก่อนคริสต์ศักราช[6] หลักฐานหนึ่งอ้างว่าเธอเกิดในปีที่ 2 ของรัชสมัยต้าหลี่ในช่วงราชวงศ์ถัง[7] และบางจารึกอ้างว่ากำเนิดในช่วงของราชวงศ์ถังยุคหลัง เมื่อครั้งยังเป็นดรุณีเป็นศิษย์ของสำนักเขาลฺหวี (ว่ากันว่าอยู่ในมณฑลเจียงซีในปัจจุบัน)[8] พร้อมกับเจ้าแม่หลินจินเหนียง และเจ้าแม่หลี่ซานเหนียง ซึ่งได้ศึกษากับอาจารย์สู่สฺวิ่น (许逊)[8] แต่ถึงแม้จะอยู่ที่เขาลฺหวี เฉินจิ้งศึกษาทุกอย่างเกี่ยวกับลัทธิเต๋า ยกเว้นเรื่องการมีครรภ์ตามประเพณี

หลังจากสำเร็จการศึกษาเจ้าแม่ได้กลับสู่นิวาสสถานเดิมและได้สมรสกับ หลิวฉฺหวี่ (劉杞) จากเขตกู่เถียน หนิงเต๋อ เจ้าแม่ทรงยังคงปราบวิญญาณร้ายและช่วยเหลือผู้ขัดสนต่อไป หลังจากมีชันษาได้ยี่สิบสี่ปี ได้มีครรภ์ แต่ยังคงช่วยเหลือผู้คนผ่านฝนหรือภัยแล้ง ด้วยภัยแล้งถล่มทางเหนือของมณฑลฝูเจี้ยน[8] ซึ่งเจ้าแม่ได้ใช้วิชาที่ได้ศึกษาสำเร็จมาจากในลัทธิเต๋าเรียกฝน แต่ได้เกิดอุบัติเหตุกำเนิดเจ้าแม่ขณะปราบปีศาจงูขณะทำการเรียกฝนซึ่งแก่ตกโลหิตและสิ้นชีพตักษัย เจ้าแม่ได้รับการยกย่องนับถือเป็นเทพเจ้าจากชาวบ้านทั่วไปและได้รับการสถาปนาอิสริยยศ เป็นหลินฉุ่ยฟูเหริน เทพีผู้ปกป้องทารกในครรภ์และสตรีมีครรภ์ (順產助生護胎佑民女神)

ว่ากันว่าเจ้าแม่ท้องถิ่นองค์หนึ่ง คือ ยี่เต๋อฮูหยิน (懿德夫人) แห่งหมู่เกาะรีวกีว เป็นศิษย์ของเจ้าแม่เช่นกัน

เฉินจิ้งกู, หลินจินเหนียง, และ หลี่ซานเหนียง ทั้งสามองค์เป็นพี่น้องร่วมสาบาน (義結金蘭) โดยมีเฉิงจิ้งกู เป็นพี่ใหญ่ ขนานนามว่า ต้าไน้ฮูหยิน (大奶夫人) หรือ เฉินไน้ฮูหยิน (陳奶夫人) หลินจินเหนียง ออกนามว่าหลินไน้ฮูหยิน (林奶夫人) หรือ หลินเอ้อไน้ (林二奶 ) หลี่ซานเหนียง ออกนามว่า หลี่ไน้ฮูหยิน (李奶夫人) หรือ หลี่ซานไน้ (李三奶)[9] โดยเจ้าแม่ทั้งสามนี้บางครั้งเรียกว่า ซำไน้ฮูหยิน (三奶夫人; ซานไหน่ฟูเหริน)[10]

เทวรูปเจ้าแม่ตันเจ๊งก๊อ หลี่ฮูหยิน หลินฮูหยิน (三奶夫人) แบบศิลปะประเพณีจีน ณ วัดลู่หยวน (爐源寺 羅東) เมืองหลัวตง เทศมณฑลอี้หลาน ประเทศไต้หวัน[11]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zamperini, Paola (2010-06-28). Lost Bodies: Prostitution and Masculinity in Chinese Fiction (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-474-4408-4.
  2. Foley, Kathy (2019). "Journey of A Goddess: Chen Jinggu Subdues the Snake Demon transed. by Fan Pen Li Chen (review)". Asian Theatre Journal. 36 (2): 502–505. doi:10.1353/atj.2019.0040. ISSN 1527-2109. S2CID 208625681.
  3. Shri Bhagavatananda Guru (2015-10-27). A Brief History Of The Immortals Of Non Hindu Civilizations : [In Association with Aryavart Sanatan Vahini Dharmraj].
  4. Baptandier, Brigitte (2022-01-21). The Lady of Linshui (ภาษาอังกฤษ). Stanford University Press. doi:10.1515/9781503620575. ISBN 978-1-5036-2057-5. S2CID 165469753.
  5. 5.0 5.1 "The Vulgar Culture Consciousness of the Charactor Jinggu Chen in the Folklore of Min Capital--《Journal of Minjiang University》2006年04期". en.cnki.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-30.
  6. Baptandier, Brigitte (1996-08-01). "4. The Lady Linshui: How a Woman Became a Goddess". Unruly Gods (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaii Press. pp. 105–149. doi:10.1515/9780824865429-005. ISBN 978-0-8248-6542-9.
  7. Huang Zhongzhao, Ming dynasty, Bamin Tongzhi (明代黃仲昭《八閩通志》載)
  8. 8.0 8.1 8.2 Pregadio 2008, p. 682
  9. "全國宗教資訊網-三奶夫人". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27. สืบค้นเมื่อ 2022-08-17.
  10. Chen, Fan Pen Li (2019-01-01). "Two scenes from biography of the lady ('goddess Chen Jinggu') : A religious marionette play". The Journal of the Oriental Society of Australia. 51: [178]–217.
  11. https://blog.xuite.net/kuo707727632/twblog/156918897