โอเลครานอน โพรเซส
โอเลครานอน (olecranon) | |
---|---|
ส่วนต้นของกระดูกอัลนา มุมมองทางด้านข้าง | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D056740 |
TA98 | A02.4.06.002 |
TA2 | 1231 |
FMA | 39795 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก |
โอเลครานอน (อังกฤษ: olecranon) หรือ โอเลครานอน โพรเซส (อังกฤษ: olecranon process) หรือ ปุ่มปลายศอก หรือ ยอดศอก เป็นส่วนยื่นที่มีลักษณะโค้ง ขนาดใหญ่และหนา ตั้งอยู่ที่ด้านบนและด้านหลังของกระดูกอัลนา ที่ยอดมีลักษณะโค้งไปทางด้านหน้าเป็นจะงอยรับเข้ากับแอ่งโอเลครานอน (olecranon fossa) ของกระดูกต้นแขนเมื่อปลายแขนอยู่ในท่าเหยียดตรง ส่วนฐานของโอเลครานอน โพรเซสเป็นคอคอดเชื่อมกับส่วนกลางของกระดูกอัลนา นับว่าเป็นส่วนคอดที่สุดของปลายบนของกระดูกอัลนา
พื้นผิวด้านหลังของโอเลครานอน โพรเซสชี้ไปทางด้านหลัง มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียบ อยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) และถูกปกคลุมด้วยถุงลดเสียดสี (bursa)
พื้นผิวด้านบนมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านหลังมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii) ส่วนด้านหน้าใกล้กับขอบกระดูกมีร่องตื้นๆ ในแนวขวางซึ่งเป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นด้านหลังของข้อศอก
พื้นผิวด้านหน้ามีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนบนของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) ขอบของโอเลครานอน โพรเซสเป็นส่วนต่อของร่องบนขอบของพื้นผิวด้านบนซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นต่างๆ ดังนี้
- ส่วนใกล้กลาง เป็นจุดเกาะของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament)
- ส่วนด้านข้าง เป็นจุดเกาะของเอ็นด้านหลังของข้อศอก (posterior ligament)
ขอบด้านใกล้กลางเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris) ส่วนขอบด้านข้างเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อแอนโคเนียส (Anconæus)
ดูเพิ่ม
[แก้]ภาพอื่นๆ
[แก้]-
มุมมองด้านหน้าของกระดูกปลายแขนข้างซ้าย
-
บริเวณที่เกิดการสร้างกระดูกของกระดูกอัลนา มีศุนย์กลางอยู่ 3 บริเวณ
-
มุมมองด้านหน้าของข้อศอกด้านซ้าย แสดงกระดูกและเอ็นรอบข้อต่อ
-
มุมมองด้านหลังของแคปซูลข้อต่อของข้อศอก
-
กล้ามเนื้อชั้นลึกของปลายแขน มุมมองด้านหลัง
-
กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Olecranon จากเว็บไซต์ eMedicine Dictionary
- Norman/Georgetown radiographsul (xrayelbow)
- Roche Lexicon - illustrated navigator, at Elsevier 02240.008-1 เก็บถาวร 2008-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน