ขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก
(Medial border of scapula)
พื้นผิวด้านหลังของกระดูกสะบักด้านซ้าย (ขอบแนวกลางของกระดูกสะบักอยู่ด้านบนขวาของภาพ)
กายวิภาคพื้นผิวของหลัง (ขอบแนวกลางของกระดูกสะบักเห็นอยู่ใกล้ลูกศรของกล้ามเนื้อทราพีเซียสและรอมบอยด์ เมเจอร์)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินmargo medialis scapulae
FMA23242
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

ขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก หรือ ขอบด้านกระดูกสันหลังของกระดูกสะบัก เป็นขอบที่ยาวที่สุดในบรรดาขอบทั้งสามของกระดูกสะบัก เชื่อมตั้งแต่มุมด้านบน (medial angle) ลงมาถึงมุมด้านล่างของกระดูกสะบัก (inferior angle)

ขอบนี้มีลักษณะโค้ง มีความหนามากกว่าขอบด้านบนแต่บางกว่าขอบด้านข้าง และส่วนของขอบที่อยู่เหนือแนวสันกระดูกสะบัก (spine) ทำมุมป้านกับส่วนด้านล่าง

ขอบนี้ประกอบด้วยแนวด้านหน้า (anterior lip) และแนวด้านหลัง (posterior lip) และมีบริเวณแคบๆ ระหว่างแนวทั้งสอง

แนวด้านหน้า เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อเซอร์ราตัส แอนทีเรียร์ (Serratus anterior) และแนวด้านหลัง แบ่งออกเป็นส่วนที่เหนือแนวสันกระดูกสะบัก เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อซุปปราสไปนาตัส (Supraspinatus) และส่วนใต้แนวสันกระดูกสะบักเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้ออินฟราสไปนาตัส (Infraspinatus)

ส่วนบริเวณระหว่างแนวทั้งสองเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อหลายมัด ส่วนเหนือบริเวณรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นจุดเริ่มของแนวสันกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ สแคปูเล (Levator scapulæ) ที่ขอบของพื้นผิวนั้นเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อรอมบอยด์ ไมเนอร์ (Rhomboideus minor) และส่วนใต้ลงมาเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อรอมบอยด์ เมเจอร์ (Rhomboideus major) ซึ่งมีลักษณะเป็นโค้งพังผืด (fibrous arch) เชื่อมส่วนบนของพื้นผิวรูปสามเหลี่ยมส่วนล่างที่ฐานของแนวสันกระดูกสะบัก และส่วนล่างของบริเวณล่างขอบนี้

ภาพอื่นๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]