ข้ามไปเนื้อหา

แนวสันกระดูกสะบัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนวสันกระดูกสะบัก
(Spine of scapula)
กระดูกสะบักข้างซ้าย มองจากด้านข้าง (แนวสันกระดูกสะบักอยู่ทางขวาบน)
พื้นผิวด้านหลังของกระดูกสะบักด้านซ้าย (แนวสันกระดูกสะบักอยู่กลางภาพด้านบน ยื่นออกมาจากระนาบภาพ)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินspina scapulae
TA98A02.4.01.005
TA21147
FMA13453
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

แนวสันกระดูกสะบัก (อังกฤษ: Spine of scapula) เป็นแผ่นกระดูกที่ยื่นออกมา วางตัวเป็นแนวเฉียง ใกล้กลางลำตัว 4 ใน 5 (medial four-fifths) ของพื้นผิวด้านหลังของกระดูกสะบักส่วนบน แบ่งระหว่างแอ่งเหนือแนวสันกระดูกสะบัก (Supraspinatous fossa) และแอ่งใต้แนวสันกระดูกสะบัก (infraspinatous fossa)

แนวนี้เริ่มจากขอบแนวตั้ง เป็นบริเวณเรียบรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีเอ็นของจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนล่างคลุม และค่อยๆ ยกตัวขึ้นจนมาสุดที่อโครเมียน (acromion) ซึ่งยื่นออกมาเป็นข้อต่อไหล่

แนวสันกระดูกสะบักเป็นรูปสามเหลี่ยม และแบนลงจากด้านบนลงมา ยอดสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปในขอบแนวกลาง (vertebral border)

พื้นผิวและขอบ

[แก้]
แนวสันกระดูกสะบัก (แสดงด้วยสีแดง) แสดงกล้ามเนื้อที่มายึดเกาะ

แนวสันกระดูกสะบักมี 2 พื้นผิวและ 3 ขอบ

ในบรรดาขอบทั้งสามของแนวสันกระดูกสะบัก ขอบด้านบน (anterior border) ยึดเกาะกับพื้นผิวด้านหลังของกระดูก ขอบด้านหลัง (posterior border) หรือสันของกระดูกสะบัก (crest of the spine) มีลักษณะกว้าง แบ่งออกเป็น 2 แนว (lips) และช่องระหว่างแนว

  • กล้ามเนื้อทราพีเซียส ยึดเกาะกับ แนวด้านบน (superior lip) และเห็นปุ่มกระดูกขรุขระซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นของจุดเกาะปลายของส่วนล่างของกล้ามเนื้อนี้
  • กล้ามเนื้อเดลทอยด์ ยึดเกาะกับตลอดความยาวของ แนวด้านล่าง (inferior lip)
  • ช่องระหว่างแนว อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง และบางส่วนคลุมด้วยใยของเอ็นของกล้ามเนื้อเหล่านี้

และ ขอบด้านข้าง (lateral border) หรือฐาน เป็นขอบที่สั้นที่สุด มีลักษณะเว้าเล็กน้อย ขอบของมันหนาและกลม ด้านบนเชื่อมต่อกับพื้นผิวด้านล่างของอโครเมียน และด้านล่างเชื่อมต่อกับคอกระดูกสะบัก (neck of the scapula) เกิดเป็นขอบเขตด้านใกล้กลางของรอยเว้าใหญ่ของกระดูกสะบัก (great scapular notch) ซึ่งเชื่อมระหว่างแอ่งเหนือและใต้แนวสันกระดูกสะบัก

ภาพอื่นๆ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]