โคโรนอยด์ โพรเซส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โคโรนอยด์ โพรเซสของกระดูกอัลนา
(Coronoid process of the ulna)
ส่วนต้นของกระดูกอัลนา มุมมองทางด้านข้าง
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินprocessus coronoideus ulnae
TA98A02.4.06.003
TA21232
FMA23616
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

โคโรนอยด์ โพรเซส (อังกฤษ: Coronoid process; ละติน: processus coronoideus) เป็นสันนูนรูปสามเหลี่ยมชี้ไปทางด้านหน้า อยู่บริเวณด้านบนและด้านหน้าของกระดูกอัลนา

ฐานของโคโรนอยด์ โพรเซสต่อเนื่องกับส่วนกลางของกระดูกอัลนาและมีความแข็งแรงมาก

ยอดมีลักษณะแหลมค่อนข้างโค้งไปทางด้านบน และเมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน ส่วนของโคโรนอยด์ โพรเซสนี้จะรับกับแอ่งโคโรนอยด์ (coronoid fossa) ของกระดูกต้นแขน

พื้นผิวด้านบนของโคโรนอยด์ โพรเซสมีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนล่างของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch)

พื้นผิวด้านหน้าและด้านล่างมีลักษณะเว้า และมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis) ที่รอยต่อของพื้นผิวด้านนี้และส่วนหน้าของตัวกระดูกอัลนาเป็นส่วนยื่นขรุขระ เรียกว่า ปุ่มนูนอัลนา (tuberosity of the ulna) ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส และมีออบลีก คอร์ด (oblique cord) มายึดเกาะที่ขอบด้านข้างของปุ่มนูนอัลนา

พื้นผิวด้านข้างมีลักษณะคอด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรอยเว้าซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกอื่น เรียกว่า รอยเว้าเรเดียส (radial notch)

พื้นผิวด้านใกล้กลางเป็นขอบอิสระซึ่งให้เป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ส่วนหน้าของพื้นผิวด้านนี้เป็นส่วนยื่นรูปกลมขนาดเล็กซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum sublimis) ด้านหลังของส่วนยื่นเป็นรอยเว้าสำหรับส่วนของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus) ส่วนล่างของส่วนยื่นนี้เป็นสันซึ่งให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres)

บ่อยครั้งที่จะพบใยกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus) เกาะกับส่วนล่างของโคโรนอยด์ โพรเซส

ภาพอื่นๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]