โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น

พิกัด: 39°58′22″N 116°25′13″E / 39.972673°N 116.420274°E / 39.972673; 116.420274
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น
ทางเข้า 1
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเขตเฉาหยาง, ปักกิ่ง, ประเทศจีน
พิกัด39°58′22″N 116°25′13″E / 39.972673°N 116.420274°E / 39.972673; 116.420274
หน่วยงาน
ระบบการบริการโครงการสวัสดิการสังคม
ประเภททั่วไป
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง1,500 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการค.ศ. 1984
ลิงก์
เว็บไซต์www.zryhyy.com.cn
โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ中日友好医院
อักษรจีนตัวเต็ม中日友好醫院
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ中日友好医院
ฮิรางานะちゅうにちゆうこういいん
การถอดเสียง
โรมาจิChūnichi Yūkō Iin

โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น (จีน: 中日友好医院) มีชื่อย่อว่า โรงพยาบาลจีน-ญี่ปุ่น[1] ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของรัฐบาลจีนและญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 โรงพยาบาลนี้ผูกพันโดยตรงกับกระทรวงสาธารณสุขของจีนตั้งแต่เปิดดำเนินการวันแรกเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1984 และตั้งอยู่ที่ถนนอิงฮัวหยวนตะวันออก เขตเฉาหยาง ปักกิ่ง โรงพยาบาลดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ 9.7 เฮกตาร์ (24 เอเคอร์) โดยมีพื้นของสิ่งอำนวยความสะดวกขนาด 180,000 ตารางเมตร (1,900,000 ตารางฟุต) ภายในโรงพยาบาลมี 1,500 เตียง 58 แผนก รวมถึงศูนย์วิจัยและการศึกษาทางคลินิก อีกทั้งมีการดูแลผู้ป่วยหนักและการรักษาโรคที่รุนแรงในฐานะจุดสนใจหลัก ตลอดจนการบำบัดด้วยยาแบบผสมผสานตะวันออก-ตะวันตกในฐานะสาขาเพิ่มเติมของความเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ โรงพยาบาลดังกล่าวมักจะให้การดูแลด้านสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกว่า 100 ประเทศและภูมิภาค[2]

โรงพยาบาลแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง, มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนโบราณแห่งนครปักกิ่ง, มหาวิทยาลัยการแพทย์จีน และมหาวิทยาลัยการแพทย์เทียนจิน เป็นต้น ตลอดจนโรงพยาบาลดังกล่าวดำเนินการด้านเวชบริบาล, การศึกษา, การวิจัยทางวิทยาศาสตร์, เวชศาสตร์ป้องกัน และการฟื้นฟูสมรรถภาพ

ภาพรวม[แก้]

โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น ได้รับการกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ระดับเอ ใน ค.ศ. 1993[3] นอกจากนี้ ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน “โรงพยาบาล 10 อันดับแรกในปักกิ่ง” และเป็นหนึ่งใน “โรงพยาบาล 100 อันดับสูงสุดในประเทศจีน” ครั้นใน ค.ศ. 2001 ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลบริการสุขภาพของรัฐบาลกลาง โดยทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลสำหรับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง กระทั่งใน ค.ศ. 2004 โรงพยาบาลนี้ได้เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ให้บริการการรักษาผู้ป่วยนอกตลอดทั้งปีโดยไม่ปิดทำการในวันหยุด

ใน ค.ศ. 2005 โรงพยาบาลนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า "ศูนย์การแพทย์บูรณาการแห่งชาติสำหรับโรคระบบหัวใจหลอดเลือด" และ "ศูนย์วิจัยความเจ็บปวดทางคลินิกแห่งชาติ" ในนามกระทรวงสุขภาพจีน โรงพยาบาลแห่งนี้รับผิดชอบโครงการวิจัยในสาขาวักกวิทยา, ประสาทวิทยา, หทัยวิทยา, ออร์โธปิดิกส์ และวิทยามะเร็งแพทย์แผนจีน (TCM) ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารแพทย์แผนจีนแห่งชาติ ทั้งนี้ มีสองโครงการที่นำเสนอโดยโรงพยาบาล ได้แก่ เคมีบำบัดด้วยไฟฟ้า และ "การบำบัดของอัน" ในการศึกษาเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยได้รับการจัดอันดับโดยกระทรวงสุขภาพจีนให้เป็นหนึ่งใน 100 โครงการชั้นนำแห่งทศวรรษ ส่วนแผนกต่าง ๆ รวมถึงออร์โธปิดิกส์, วิทยารูมาติกแพทย์แผนจีน และเคมีบำบัดด้วยไฟฟ้า ได้รับผิดชอบโครงการหลักภายใต้กองทุนสนับสนุนทุนพัฒนาการแพทย์

ครั้นใน ค.ศ. 2006 โรงพยาบาลนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นสถาบันทางการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งระดับเอ โดยสามารถให้บริการแก่ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยภายในปักกิ่ง ซึ่งในบรรดาพนักงาน มีพนักงานมากกว่า 450 คนที่มีตำแหน่งขั้นสูงและตำแหน่งทางเทคนิค โดยเกือบ 400 คนมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า โรงพยาบาลเป็นเจ้าของอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เอ็มอาร์ไอ, สไปรอล ซีที, ดีเอสเอ, เอ็มแอลเอ, เครื่องอัลตราซาวด์ชนิดสี, ระบบนำร่องปฏิบัติการ และเครื่องวิเคราะห์ชีวเคมีอัตโนมัติ เป็นต้น

ในฐานะสถาบันทางการแพทย์ขนาดใหญ่ในประเทศจีน โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "โรงพยาบาลที่ดีที่สุดสำหรับชาวต่างชาติในปักกิ่ง" โดยสมาคมเพื่อชาวต่างชาติ รวมถึงมีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือร่วมกับมหาวิทยาลัย, สถานศึกษา และสถาบันทางการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่น, สหรัฐ, ฝรั่งเศส และเกาหลี

รัฐบาลแห่งชาติจีนยกย่องให้โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างของจิตวิญญาณแห่งชาติ ครั้นเมื่อใน ค.ศ. 2003 ได้รับการกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลหลักในการต่อสู้กับโรคซาร์ส ตลอดจนโรงพยาบาลแห่งนี้เป็นศูนย์การแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งสำหรับโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 นอกเหนือจากการคุ้มครองรักษาผู้ชมและผู้เข้าร่วมในสนามกีฬาแห่งชาติ ("สนามรังนก") แล้ว โรงพยาบาลนี้ยังเป็นสถานพยาบาลหลักที่ให้บริการแก่นักกีฬา, ผู้ฝึกสอน, ผู้ตัดสิน และเจ้าหน้าที่[4]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1984 เป็นต้นมา โครงการความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้จัดตั้งขึ้น ซึ่งรวมถึงมหาวิทยาลัยโตเกียว, มหาวิทยาลัยเคโอ, มหาวิทยาลัยโอซากะ, มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์, มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และโรงเรียนสารพัดช่างเฮลซิงกิ

ขอบเขตการให้บริการ[แก้]

บริการทางคลินิก:

ที่ตั้งและการเข้าถึง[แก้]

โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่ถนนอิงฮัว (ซากูระ) ตะวันออก เขตเฉาหยาง 100029 โดยสถานีรถไฟใต้ดินที่ใกล้ที่สุดคือกวงซีเหมินและฉาวเหย้าจูบนสาย 13 และสาย 10 ตลอดจนฮุ่ยซินซีเจียเป่ยโข่วบนสาย 5

อ้างอิง[แก้]

  1. "北京"中日友好医院"不再"友好"引热议". BBC News 中文 (ภาษาจีนตัวย่อ). 14 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-30.
  2. China-Japan Friendship Hospital English homepage-about us[ลิงก์เสีย]
  3. "Beijing China-Japan Friendship Hospital". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-21. สืบค้นเมื่อ 20 April 2014.
  4. "Service Mall website, introduction about the China-Japan Friendship Hospital". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]