ข้ามไปเนื้อหา

แผนกฉุกเฉิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผนกฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency department) หรือเรียก แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (อังกฤษ: accident & emergency department), ห้องฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency room), หอผู้ป่วยฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency ward) หรือแผนกอุบัติเหตุ (อังกฤษ: casualty department) เป็นสถานบริการทางการแพทย์ที่มีความชำนาญพิเศษด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หมายถึง การบริบาลแบบฉับพลันซึ่งผู้ป่วยที่มาโดยมิได้นัดล่วงหน้า ผู้ป่วยอาจเดินทางมาเองหรือโดยรถพยาบาล ปกติแผนกฉุกเฉินตั้งอยู่ในโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการปฐมภูมิ

เนื่องจากผู้ป่วยมาโดยมิได้วางแผน แผนกฉุกเฉินจึงต้องจัดการรักษาเบื้องต้นแก่การเจ็บป่วยและการบาดเจ็บหลากหลายสาขา ซึ่งบางอย่างอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตและต้องการความใส่ใจทันที ในบางประเทศ แผนกฉุกเฉินเป็นจุดเข้าสำคัญแก่ผู้ที่หมดทางเข้าถึงเวชบริบาลทางอื่น

แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลส่วนใหญ่เปิดทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน แม้ระดับเจ้าหน้าที่อาจแตกต่างกันเพื่อพยายามสะท้อนปริมาณผู้ป่วย

การใช้แบบไม่ฉุกเฉิน

[แก้]

ในสหรัฐและอีกหลายประเทศ โรงพยาบาลเริ่มสร้างพื้นที่รองรับผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อยในห้องฉุกเฉิน พื้นที่เหล่านี้โดยทั่วไปเรียก หน่วย "ร่องด่วน" (Fast Track) หรือ "บริบาลเล็กน้อย" (Minor Care) ซึ่งไว้สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไม่อันตรายแก่ชีวิต การใช้หน่วยดังกล่าวในห้องฉุกเฉินได้แสดงว่าพัฒนาการไหลของผู้ป่วยผ่านแผนกและลดเวลารออย่างสำคัญ คลินิกบริบาลเร่งด่วน (Urgent care clinic) เป็นอีกทางหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยสามารถไปเพื่อรับการบริบาลทันทีสำหรับภาวะที่ไม่อันตรายแก่ชีวิต เพื่อลดภาระแก่ทรัพยากรห้องฉุกเฉินที่จำกัด American Medical Response จัดทำรายการตรวจสอบให้ EMT ระบุตัวผู้ป่วยได้รับสารพิษให้สามารถส่งตัวไปยังศูนย์บำบัดแทนอย่างปลอดภัย[1]

ความแออัด

[แก้]

ความแออัดของแผนกฉุกเฉินเกิดขึ้นเมื่อการทำงานของแผนกถูกจำกัดเพราะไม่สามารถรักษาผู้ป่วยทุกคนอย่างเพียงพอได้ เป็นปัญหาที่เกิดในแผนกฉุกเฉินทั่วโลก ความแออัดทำให้การดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอซึ่งทำให้ผลลัพธ์ต่อผู้ป่วยเลวลง

ผู้มาบ่อย

[แก้]

ผู้มาบ่อย (frequent presenter) หมายถึง ผู้ที่มาโรงพยาบาลหลายครั้ง ปกติเป็นผู้ที่มีความต้องการทางการแพทย์ซับซ้อนหรือมีปัญหาทางจิตใจที่รบกวนการจัดการทางการแพทย์[2] บุคคลเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดความแออัดและตรงแบบต้องการทรัพยากรโรงพยาบาลมากขึ้นแม้มิได้มาบ่อย[3] เพื่อป้องกันการใช้แผนกฉุกเฉินที่ไม่เหมาะสมและการกลับมาพบแพทย์ โรงพยาบาลบางแห่งเสนอการประสานงานบริบาลและบริการช่วยเหลือ เช่น การบริบาลปฐมภูมิที่บ้านและในสถานสงเคราะห์สำหรับผู้มาบ่อยและการจัดหาที่อยู่ชั่วคราวแก่ผู้ป่วยไร้บ้านที่กำลังพักฟื้นหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล[4][5]

ความรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

[แก้]

ตามการสำรวจในศูนย์บริบาลตติยภูมิในเมืองในแวนคูเวอร์แห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 57% ถูกทำร้ายร่างกายในปี 2539 ในจำนวนนี้ 73% กลัวผู้ป่วยอันเนื่องจากความรุนแรง 49% ซ่อนการระบุตัวตนจากผู้ป่วย 74% มีความพึงพอใจในอาชีพลดลง กว่าหนึ่งในสี่ของผู้ตอบแบบสำรวจพักงานหลายวันอันเนื่องจากความรุนแรง ในผู้ตอบแบบสำรวจที่เลิกทำงานในแผนกฉุกเฉิน 67% รายงานว่าพวกตนออกจากงานบางส่วนเนื่องจากความรุนแรง ผู้ตอบแบบสำรวจรู้สึกว่ารักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมงและการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องยุทธศาสตร์การป้องกันความรุนแรงเป็นทางแก้ไขที่อาจเป็นประโยชน์มากที่สุด การออกกำลังกาย การหลับและการอยู่กับครอบครัวและเพื่อนเป็นยุทธศาสตร์การรับมือที่ใช้บ่อยที่สุด[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Emergency Medical Technicians Use Checklist To Identify Intoxicated Individuals who Can Safely Go to Detoxification Facility Rather Than Emergency Department". Agency for Healthcare Research and Quality. 2013-03-13. สืบค้นเมื่อ 2013-05-10.
  2. Markham D, Graudins A (2011). "Characteristics of frequent emergency department presenters to an Australian emergency medicine network". BMC Emergency Medicine. 11: 21. doi:10.1186/1471-227X-11-21. PMC 3267650. PMID 22171720. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
  3. Mandelberg JH, Kuhn RE, Kohn MA (June 2000). "Epidemiologic analysis of an urban, public emergency department's frequent users". Academic Emergency Medicine. 7 (6): 637–46. doi:10.1111/j.1553-2712.2000.tb02037.x. PMID 10905642. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
  4. "Provider Team Offers Services and Referrals to Frequent Emergency Department Users in Inner City, Leading to Anecdotal Reports of Lower Utilization". Agency for Healthcare Research and Quality. 2013-05-27. สืบค้นเมื่อ 2013-10-17.
  5. "Short-Term Housing and Care for Homeless Individuals After Discharge Leads to Improvements in Medical and Housing Status, Fewer Emergency Department Visits, and Significant Cost Savings". Agency for Healthcare Research and Quality. 2013-10-23. สืบค้นเมื่อ 2013-10-23.
  6. Fernandes CM, Bouthillette F, Raboud JM, และคณะ (November 1999). "Violence in the emergency department: a survey of health care workers". CMAJ. 161 (10): 1245–8. PMC 1230785. PMID 10584084.