ข้ามไปเนื้อหา

ซัลบูทามอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซัลบูทามอล
Salbutamol (บน),
(R)-(−)-salbutamol (กลาง) และ
(S)-(+)-salbutamol (ล่าง)
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าVentolin, Proventil, และอื่น ๆ[3]
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa607004
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
ช่องทางการรับยาทางปาก, ทางการหายใจ, IV
ประเภทยายารักษาโรคหอบหืด
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
[4]
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงยาตับ
ระยะเริ่มออกฤทธิ์<15 นาที (แบบฉีด), <30 นาที (แบบเม็ด)[6]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ3.8–6 ชั่วโมง
ระยะเวลาออกฤทธิ์2–6 ชั่วโมง[6]
การขับออกไต
ตัวบ่งชี้
  • (RS)-4-[2-(tert-Butylamino)-1-hydroxyethyl]-2-(hydroxymethyl)phenol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.038.552
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC13H21NO3
มวลต่อโมล239.311 กรัม/โมล g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
ไครัลลิตีสารผสมราซีมิก
  • OCc1cc(ccc1O)C(O)CNC(C)(C)C
  • InChI=1S/C13H21NO3/c1-13(2,3)14-7-12(17)9-4-5-11(16)10(6-9)8-15/h4-6,12,14-17H,7-8H2,1-3H3 checkY
  • Key:NDAUXUAQIAJITI-UHFFFAOYSA-N checkY
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ซัลบูทามอล (Salbutamol) หรือ อัลบูเทอรอล (Albuterol) หรือชื่อทางการค้าคือ เว็นโทลิน (Ventolin) เป็นยาประเภทสารขยายหลอดลม[6] ใช้เพื่อรักษาโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) นอกจากนี้ยังอาจใช้เพื่อรักษาภาวะระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง[7] ยาประเภทนี้มักใช้โดยวิธีการสูดดมหรือฉีดพ่นละออง แต่ก็มีแบบที่เป็นเม็ดสำหรับทานและแบบที่ฉีดเข้าหลอดเลือดดำเช่นกัน[6][8] โดยแบบสูดดมจะออกฤทธิ์ภายใน 15 นาทีและคงฤทธิ์ได้ตั้งแต่ 2 ถึง 6 ชั่วโมง[6]

การใช้ซัลบูทามอลอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง อาการข้างเคียงทั่วไปได้แก่ เวียนศีรษะ, ปวดศีรษะ, อัตราชีพจรเร็ว และรู้สึกกระวนกระวาย ส่วนอาการข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ การบีบเกร็งของหลอดลมเฉียบพลัน, อัตราชีพจรไม่สม่ำเสมอ และระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ[6] ยาชนิดนี้สามารถใช้ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรได้ แต่เพื่อความปลอดภัยควรงดใช้หรือใช้ในปริมาณน้อย[6][9] ราคาขายส่งยาชนิดนี้ในประเทศกำลังพัฒนา ณ ปี ค.ศ. 2014 อยู่ที่ 1.12–2.64 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 200 โดส[10]

การใช้ทางการแพทย์

[แก้]

โดยทั่วไปแล้วซัลบูทามอล จะใช้ในการรักษาภาวะหลอดลมหดเกร็ง (เนื่องจากสาเหตุใด ๆ เช่นอาการหอบหืดจากภูมิแพ้ หรืออาการที่เกิดจากการออกกำลังกาย) และใช้ในการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง[6] นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในยาสามัญที่สุดที่ใช้ในการช่วยหายใจ (ยาขยายหลอดลมระยะสั้นเพื่อบรรเทาอาการหอบหืด)[11]

ในฐานะที่เป็นยากลุ่มเบตาทูอะโกนิสต์2 agonist) ซัลบูทามอลยังใช้ในทางสูติศาสตร์อีกด้วย การให้ซัลบูทามอลทางหลอดเลือดดำสามารถใช้เป็นยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก (tocolytic) เพื่อชะลอการคลอดก่อนกำหนด แม้ว่าจะเป็นที่นิยมใช้แทนยา เช่น อะโทซิบาน (atosiban) และริโทดรีน (ritodrine) แต่ต่อมาได้ถูกแทนที่เป็นส่วนใหญ่ด้วยไนเฟดิปีน (nifedipine) ที่เป็นแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าและออกฤทธิ์ยับยั้งได้ดีกว่า[12]

มีการใช้ซัลบูทามอล ในการรักษาภาวะโพแทสเซียมสูงเฉียบพลัน จากการช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์ ทำให้โพแทสเซียมในเลือดลดลง[7]

การใช้ในสัตว์

[แก้]

ความเป็นพิษต่ำของซัลบูทามอล ทำให้ปลอดภัยสำหรับสัตว์อื่น ๆ จึงเป็นทางเลือกในการรักษาภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นเฉียบพลันในสายพันธุ์ส่วนใหญ่[13] โดยมักใช้รักษาอาการหดเกร็งของหลอดลมหรืออาการไอในแมวและสุนัข และใช้เป็นยาขยายหลอดลมในม้าที่มีอาการกำเริบของภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเรื้อรัง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในกรณีฉุกเฉินเพื่อรักษาแมวที่มีอาการของโรคหืดได้[14][15]

ผลกระทบที่เป็นพิษต้องใช้ในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งการใช้ยาเกินขนาดส่วนใหญ่เกิดจากการที่สุนัขแทะและเจาะขวดยาสูดพ่นหรือยาพ่นฝอยละออง[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thereaputic Goods Administration (19 December 2018). "Prescribing medicines in pregnancy database". Australian Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
  2. "Albuterol Use During Pregnancy". Drugs.com. 8 March 2019. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
  3. "Salbutamol". Drugs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2016.
  4. Thereaputic Goods Administration. "Poisons Standard October 2017". Australian Government.
  5. "Prescription Drug List". Government of Canada. 23 October 2014.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 "Albuterol". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2015.
  7. 7.0 7.1 Mahoney, BA; Smith, WA; Lo, DS; Tsoi, K; Tonelli, M; Clase, CM (18 เมษายน 2005). "Emergency interventions for hyperkalaemia". The Cochrane database of systematic reviews (2): CD003235. doi:10.1002/14651858.CD003235.pub2. PMID 15846652.
  8. Starkey, ES; Mulla, H; Sammons, HM; Pandya, HC (กันยายน 2014). "Intravenous salbutamol for childhood asthma: evidence-based medicine?". Archives of Disease in Childhood. 99 (9): 873–7. doi:10.1136/archdischild-2013-304467. PMID 24938536.
  9. Yaffe, Sumner J. (2011). Drugs in pregnancy and lactation : a reference guide to fetal and neonatal risk (9th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 32. ISBN 9781608317080.
  10. "Salbutamol". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2015.
  11. Hatfield, Heather. "Asthma: The Rescue Inhaler -- Now a Cornerstone of Asthma Treatment". WebMD. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2017.
  12. Rossi S (2004). Australian Medicines Handbook. AMH. ISBN 978-0-9578521-4-3.
  13. "Inhalation Therapy of Airway Disease". Merck Veterinary Manual. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2017.
  14. Plumb, Donald C. (2011). "Albuterol Sulfate". Plumb's Veterinary Drug Handbook (7th ed.). Stockholm, Wisconsin; Ames, Iowa: Wiley. pp. 24–25. ISBN 9780470959640.
  15. Clarke, Kathy W.; Trim, Cynthia M. (28 มิถุนายน 2013). Veterinary Anaesthesia E-Book. Elsevier Health Sciences. p. 612. ISBN 9780702054235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.
  16. Cote, Etienne (9 ธันวาคม 2014). "Albuterol Toxicosis". Clinical Veterinary Advisor - E-Book: Dogs and Cats. Elsevier Health Sciences. pp. 45–46. ISBN 9780323240741. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.