โยบ 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยบ 5
หนังสือโยบทั้งเล่มในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008) จากฉบับสำเนาเก่า
หนังสือหนังสือโยบ
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเคทูวีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่Sifrei Emet
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์18

โยบ 5 (อังกฤษ: Job 5) เป็นบทที่ 5 ของหนังสือโยบในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] ไม่ทราบว่าผู้เขียนหนังสือโยบเป็นใคร นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเขียนขึ้นราวศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสกาล[3][4] บทที่ 5 ของหนังสือโยบบันทึกคำกล่าวของเอลีฟัสชาวเทมาน (เพื่อนคนหนึ่งของโยบ) เป็นส่วนหนึ่งของส่วนบทสนทนาของหนังสือที่ประกอบด้วยโยบ 3:1-31:40[5][6]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 27 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[8]

วิเคราะห์[แก้]

โครงสร้างของหนังสือเป็นดังต่อไปนี้:[9]

  • บทนำ (บทที่ 1–2)
  • บทสนทนา (บทที่ 3–31)
  • การตัดสิน (32:1–42:6)
  • บทส่งท้าย (42:7–17)

ในโครงสร้างนี้ บทที่ 5 ถูกรวมอยู่ในส่วนบทสนทนาที่มีโครงสร้างดังต่อไปนี:[10]

  • การแช่งตนเองและการคร่ำครวญให้ตนเองของโยบ (3:1–26)
  • รอบที่หนึ่ง (4:1–14:22)
    • เอลีฟัส (4:1–5:27)
      • คำกล่าวนำ (4:1-6)
      • สรุปเค้าโครงของการลงโทษ (4:7-11)
      • นิมิตของเอลีฟัสและความนัย (4:12-21)
      • ประสบการณ์ของคนโง่ (5:1-7)
      • มอบเรื่องของตนไว้กับพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์ (5:8-16)
      • พระเจ้าจะทรงประทานรางวัลแก่คนชอบธรรม (5:17-27)
    • โยบ (6:1–7:21)
    • บิลดัด (8:1–22)
    • โยบ (9:1–10:22)
    • โศฟาร์ (11:1–20)
    • โยบ (12:1–14:22)
  • รอบที่สอง (15:1–21:34)
  • รอบที่สาม (22:1–27:23)
  • บทคั่น – บทกวีสรรเสริญปัญญา (28:1–28)
  • การสรุปของโยบ (29:1–31:40)

ส่วนบทสนทนาเขียนด้วยรูปแบบบทกวีที่มีวากยสัมพันธ์และไวยากรณ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว[5] คำกล่าวแรกของเอลีฟัสในบทที่ 4 และ 5 สามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนหลัก:[11]

  • โยบ 4:1-11: เอลีฟัสสงสัยว่าโยบตกอยู่ในความสิ้นหวังเช่นนี้ แม้ว่าโยบเคยได้หนุนใจผู้คนที่มีปัญหาจำนวนมาก และโยบเป็นคนที่เชื่อในพระเจ้าอย่างมาก เอลีฟัสจึงกล่าวหาโยบลืมสัจธรรมที่คนชอบธรรมไม่เคยพินาศด้วยความทุกข์ยากและหายนะที่ควรจะทำลายล้างคนชั่วเท่านั้น
  • โยบ 4:12-5:7: เอลีฟัสพยายามเตือนโยบเกี่ยวกับการพร่ำบ่นต่อพระเจ้า เพราะมีเพียงคนอธรรมเท่านั้นที่ไม่พอใจต่อกิจของพระเจ้า และด้วยความไม่อดทนของคนอธรรม พระพิโรธจึงลงมาเหนือพวกเขา
  • โยบ 5:8-27: เอลีฟัสขอให้โยบปฏิบัติในแนวทางอื่นคือการแสวงพระเจ้า เพื่อพระเจ้าจะทรงเพียงตีสอน แล้วทรงรักษาหรือทรงแก้ไข เพื่อให้ทรงดึงผู้คนกลับมาหาโยบและออกห่างจากความชั่วร้าย[12]

เอลีฟัส: ประสบการณ์ของคนโง่ (5:1–7)[แก้]

เอลีฟัสแนะนำให้มอบเรื่องกับตนไว้กับพระเจ้าผู้จะทรงประทานรางวัลแก่คนชอบธรรม (5:8–27)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: โยบ 3, โยบ 42, สดุดี 1
  • อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, pp. 243–244.
    2. Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
    3. Kugler & Hartin 2009, p. 193.
    4. Crenshaw 2007, p. 332.
    5. 5.0 5.1 Crenshaw 2007, p. 335.
    6. Wilson 2015, p. 18.
    7. Würthwein 1995, pp. 36–37.
    8. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    9. Wilson 2015, pp. 17–23.
    10. Wilson 2015, pp. 18–21.
    11. หมายเหตุ [a] ของโยบ 4:1 ใน NET Bible
    12. Fullerton, K. “Double Entendre in the First Speech of Eliphaz,” JBL 49 (1930): 320-74; J. C. L. Gibson, “Eliphaz the Temanite: A Portrait of a Hebrew Philosopher,” SJT 28 (1975): 259-72; and J. Lust, “A Stormy Vision: Some Remarks on Job 4:12-16,” Bijdr 36 (1975): 308-11. Apud' Note [a] on Job 4:1 in NET Bible

    บรรณานุกรม[แก้]

    • Alter, Robert (2010). The Wisdom Books: Job, Proverbs, and Ecclesiastes: A Translation with Commentary. W.W. Norton & Co. ISBN 978-0393080735.
    • Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
    • Crenshaw, James L. (2007). "17. Job". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 331–355. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
    • Estes, Daniel J. (2013). Walton, John H.; Strauss, Mark L. (บ.ก.). Job. Teach the Text Commentary Series. United States: Baker Publishing Group. ISBN 9781441242778.
    • Farmer, Kathleen A. (1998). "The Wisdom Books". ใน McKenzie, Steven L.; Graham, Matt Patrick (บ.ก.). The Hebrew Bible Today: An Introduction to Critical Issues. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-66425652-4.
    • Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
    • Kugler, Robert; Hartin, Patrick J. (2009). An Introduction to the Bible. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-4636-5.
    • Walton, John H. (2012). Job. United States: Zondervan. ISBN 9780310492009.
    • Wilson, Lindsay (2015). Job. United States: Wm. B. Eerdmans Publishing Company. ISBN 9781467443289.
    • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]