ข้ามไปเนื้อหา

เพลงซาโลมอน 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลงซาโลมอน 1
ภาพประกอบของวรรคเปิดของหนังสือเพลงซาโลมอน, the Rothschild Mahzor, สำเนาต้นฉบับบนแผ่นหนัง. ฟลอเรนซ์, อิตาลี, ค.ศ. 1492.
หนังสือหนังสือเพลงซาโลมอน
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์22

เพลงซาโลมอน 1 (อังกฤษ: Song of Songs 1) เป็นบทแรกของหนังสือเพลงซาโลมอนในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือเพลงซาโลมอนเป็นหนึ่งในห้าเมกิลล็อต ซึ่งเป็นกลุ่มหนังสือขนาดสั้นร่วมกับหนังสือนางรูธ หนังสือเพลงคร่ำครวญ หนังสือปัญญาจารย์ และหนังสือเอสเธอร์ ภายในเคทูวีมซึ่งเป็นส่วนที่ 3 และส่วนสุดท้ายของคัมภีร์ฮีบรู[3] มุมมองชาวยิวดั้งเดิมถือว่าซาโลมอนเป็นผู้ทรงพระนิพนธ์หนังสือเพลงซาโลมอน (แม้ว่าปัจจุบันจะมีการโต้แย้งอย่างมากก็ตาม) และมุมมองที่ถือว่าเป็นผลงานของซาโลมอนนี้เองทำให้หนังสือเพลงซาโลมอนได้รับการยอมรับให้เป็นหนังสือในสารบบของพระคัมภีร์[3] เพลงซาโลมอน 1 ประกอบด้วยคำนำของหนังสือ บทเพลงของตัวละครหลักหญิง และบทเพลงเปิดของตัวละครหลักชาย[4]

ต้นฉบับ[แก้]

ม้วนภาษาฮีบรูเขียนด้วยมือของหนังสือเพลงซาโลมอนโดยอาลักษณ์ Elihu Shannon แห่ง Kibbutz Saad, ประเทศอิสราเอล (ราว ค.ศ. 2005)

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 17 วรรค (16 วรรคในฉบับวัลเกตที่แปลเป็นภาษาละติน)

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[5] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 6Q6 (6QCant); ค.ศ. 50; วรรคที่หลงเหลือ 1–7).[6][7][8]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[9]

โครงสร้าง[แก้]

คัมภีร์ไบเบิลฉบับ Modern English Version (MEV) แบ่งบทนี้ดังต่อไปนี้:

คัมภีร์ไบเบิลฉบับ New Catholic Bible และ Jerusalem Bible ถือว่าวรรค 2-4 เป็น "บทนำ"[10] Richard Hess ถือว่าวรรค 1:1-2:7 เป็น "บทนำ"[11]

คำนำ (วรรค 1)[แก้]

เจ้าสาว: โหยหาคนรัก (วรรค 2–7)[แก้]

เจ้าบ่าว: ตอบสนองด้วยคำเชิญชวนและคำชมเชย (วรรค 8–11)[แก้]

เจ้าสาว: คนรักดั่งเครื่องหอม (วรรค 12–14)[แก้]

เจ้าบ่าว: ชื่นชมความงดงาม (วรรค 15)[แก้]

เจ้าสาว: รักในสรวงสวรรค์ (1:16-2:1)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Halley 1965, p. 278.
  2. Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
  3. 3.0 3.1 Brenner 2007, p. 429.
  4. Brenner 2007, p. 430.
  5. Würthwein 1995, pp. 36–37.
  6. Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill. p. 739. ISBN 9789004181830. สืบค้นเมื่อ May 15, 2017.
  7. Dead sea scrolls - Song of Songs.
  8. Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. p. 107. ISBN 9780802862419. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
  9. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  10. *เพลงซาโลมอน 1:1 -4: New Catholic Bible; Jerusalem Bible (1966), The Song of Songs, Title and Prologue, verses 1:1-4
  11. Hess 2005, p. 35.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]