ข้ามไปเนื้อหา

โบรอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบรอน, 00B
boron (β-rhombohedral)[1]
โบรอน
การอ่านออกเสียง/ˈbɔːrɒn/ (bor-on)
อัญรูปα-, β-rhombohedral, β-tetragonal (and more)
รูปลักษณ์น้ำตาลดำ
Standard atomic weight Ar°(B)
  • [10.80610.821]
  • 10.81±0.02 (abridged)[2]
โบรอนในตารางธาตุ
Hydrogen Helium
Lithium Beryllium Boron Carbon Nitrogen Oxygen Fluorine Neon
Sodium Magnesium Aluminium Silicon Phosphorus Sulfur Chlorine Argon
Potassium Calcium Scandium Titanium Vanadium Chromium Manganese Iron Cobalt Nickel Copper Zinc Gallium Germanium Arsenic Selenium Bromine Krypton
Rubidium Strontium Yttrium Zirconium Niobium Molybdenum Technetium Ruthenium Rhodium Palladium Silver Cadmium Indium Tin Antimony Tellurium Iodine Xenon
Caesium Barium Lanthanum Cerium Praseodymium Neodymium Promethium Samarium Europium Gadolinium Terbium Dysprosium Holmium Erbium Thulium Ytterbium Lutetium Hafnium Tantalum Tungsten Rhenium Osmium Iridium Platinum Gold Mercury (element) Thallium Lead Bismuth Polonium Astatine Radon
Francium Radium Actinium Thorium Protactinium Uranium Neptunium Plutonium Americium Curium Berkelium Californium Einsteinium Fermium Mendelevium Nobelium Lawrencium Rutherfordium Dubnium Seaborgium Bohrium Hassium Meitnerium Darmstadtium Roentgenium Copernicium Nihonium Flerovium Moscovium Livermorium Tennessine Oganesson
-

B

Al
เบริลเลียมโบรอนคาร์บอน
หมู่group 13 (boron group)
คาบคาบที่ 2
บล็อก  บล็อก-p
การจัดเรียงอิเล็กตรอน[He] 2s2 2p1
จำนวนอิเล็กตรอนต่อชั้น2, 3
สมบัติทางกายภาพ
วัฏภาค ณ STPของแข็ง
จุดหลอมเหลว2349 K ​(2076 °C, ​3769 °F)
จุดเดือด4200 K ​(3927 °C, ​7101 °F)
Density เมื่อเป็นของเหลว (ณ m.p.)2.08 g/cm3
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว50.2 kJ/mol
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ480 kJ/mol
ความจุความร้อนโมลาร์11.087 J/(mol·K)
ความดันไอ
P (Pa) 1 10 100 1 k 10 k 100 k
at T (K) 2348 2562 2822 3141 3545 4072
สมบัติเชิงอะตอม
เลขออกซิเดชัน−5, −1, 0,[3] +1, +2, +3[4][5] (ออกไซด์เป็นกรดเล็กน้อย)
อิเล็กโตรเนกาทิวิตีPauling scale: 2.04
รัศมีอะตอมempirical: 90 pm
รัศมีโคเวเลนต์84±3 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์192 pm
Color lines in a spectral range
Color lines in a spectral range
เส้นสเปกตรัมของโบรอน
สมบัติอื่น
โครงสร้างผลึก ​รอมโบฮีดรัล
การขยายตัวจากความร้อน(β form) 5–7[6] µm/(m⋅K) (ณ 25 °C)
การนำความร้อน27.4 W/(m⋅K)
สภาพต้านทานไฟฟ้า~106  Ω⋅m (ณ 20 °C)
ความเป็นแม่เหล็กไดอะแมกเนติก[7]
Speed of sound thin rod16,200 m/s (ณ 20 °C)
Mohs hardness~9.5
เลขทะเบียน CAS7440-42-8
ประวัติศาสตร์
การค้นพบโฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก, หลุยส์ ฌัก เธนาด์[8] (30 มิถุนายน 1808)
การแยกให้บริสุทธิ์เป็นครั้งแรกฮัมฟรี เดวี[9] (9 กรกฎาคม 1808)
ไอโซโทปของโบรอน
ไม่มีหน้า แม่แบบ:กล่องข้อมูลไอโซโทปของโบรอน
หมวดหมู่ หมวดหมู่: โบรอน
| แหล่งอ้างอิง

โบรอน (อังกฤษ: Boron) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ B และเลขอะตอม 5 เป็นธาตุที่มี 3 วาเลนซ์อิเล็กตรอน และเป็นกึ่งโลหะ

รากศัพท์

[แก้]

ชื่อโบรอนมีรากศัพท์จากภาษาอาหรับ بورق (buraq) หรือ ภาษาเปอร์เซีย بوره (burah) ทั้งคู่นี้มีความหมายว่าบอแรกซ์[13]

ลักษณะ

[แก้]

โบรอนบริสุทธิ์เป็นของแข็งที่มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง แข็งและเปราะ เป็นธาตุกึ่งโลหะที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่างธาตุโลหะและธาตุอโลหะ โบรอนถูกค้นพบในปีค.ศ. 1808 โดยความร่วมมือกันของ โฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก และ หลุยส์ ฌัก เธนาด์, และ ฮัมฟรี เดวี ค้นพบเองในปีเดียวกัน

ธาตุโบรอนมีสมบัติคล้ายกับธาตุหมู่ 14 อย่างคาร์บอนและซิลิคอน มากกว่าธาตุหมู่ 13 ที่เป็นหมู่เดียวกันอย่างอะลูมิเนียม ผลึกโบรอนไม่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาและทนทานต่อกรดสูง ไม่ถูกกัดกร่อนโดยกรดไฮโดรฟลูออริก โดยทั่วไปแล้วสารประกอบโบรอนมีค่าออกซิเดชัน +3 อย่างเช่น สารประกอบเฮไลด์ที่มีความสมบัติเป็นกรดลิวอิส, สารประกอบโบเรตที่พบในแร่โบเรต โบเรนที่มีพันธะพิเศษเรียก 3c–2e bond โบรอนมีไอโซโทป 13 ไอโซโทปและในธรรมชาติมี 11B 80.1% และ 10B 19.9%

โบรอนมีปริมาณในเปลือกโลกค่อนข้างต่ำ แต่มีการรวมตัวเป็นแร่ขนาดใหญ่ ง่ายต่อการขุดมาใช้จึงมีประวัติการใช้มาตั้งแต่นาน อดีตใช้เป็นสารเคลือบเครื่องปั้นดินเผา ปัจจุบันนิยมใช้ในการผลิตแก้วถึงร้อยละ 60 ในปริมาณบริโภคปี 2011 อื่น ๆ ใช้เป็นสารผสมในคอนดักเตอร์ อุปกรณ์เครื่องเสียงและยาฆ่าแมลง

โบรอนเป็นธาตุที่ต้องการสำหรับพืชเพื่อรักษาผนังเซลล์ เมื่อขาดแคลนจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต โบรอนคาดว่าเป็นธาตุที่ต้องการสำหรับสัตว์เหมือนกันแต่ยังไม่ทราบหน้าที่อย่างชัดเจน สำหรับมนุษย์และสัตว์ โบรอนไม่เป็นพิษเหมือนเกลือแกงแต่สำหรับพืชเมื่อปลูกบนดินที่มีโบรอนสูงจะเกิดการตายเฉพาะส่วนบริเวณใบ และเป็นพิษต่อแมลง

ประวัติ

[แก้]

มนุษย์รู้จักสารประกอบโบรอนตั้งแต่เมื่อหลายพันปีก่อน บอแรกซ์ที่พบในทะเลทรายบริเวณทิเบตตะวันตกเรียกว่า tincal ในภาษาสันสกฤต ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่จีนใช้บอแรกซ์เป็นสารเคลื่อบเครื่องปั้นดินเผา ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มาร์โก โปโลนำเครื่องปั้นดินเผาที่มีบอแรกซ์เคลือบอยู่กลับประเทศอิตาลี ประมาณปี ค.ศ. 1600 ใช้เป็นสารเร่งการหลอมในโลหวิทยาโดย Agricola

Sassolite เป็นหนึ่งในแร่โบเรต

ปี ค.ศ. 1774 พบโบเรตในไอน้ำใต้พิภพที่ Larderello ใกล้ ฟลอเรนซ์ แคว้นตอสกานา ประเทศอิตาลี จึงมีโรงงานผลิตโบแรตและเป็นแหล่งผลิตโบแรตสำคัญ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พบบริเวณแร่บอแรกซ์ขนากใหญ่ที่สหรัฐอเมริกาและเป็นแหล่งผลิตบอแรกซ์แทน หลังผลิตบอแรกซ์จบแล้วที่ Larderello มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานใต้พิภพแทน แร่ที่มีโบรอนเป็นองค์ประกอบมีแร่ Sassolite พบที่ Sasso Pisano ประเทศอิตาลี Sassolite เป็นใช้เป็นแหล่งผลิตบอแรกซ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1827 จนถึงปี ค.ศ. 1872 แต่หลังจากนั้นใช้ของสหรัฐอเมริกาแทนเช่นกัน[14] สารประกอบโบรอนไม่นิยมมีการใช้จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่เมื่อบริษัท Pacific Coast Borax Company ของ Francis Marion Smith ผลิตสารประกอบโบรอนในราคาถูกและจำนวนมาก และเมื่อมีการผลิตแก้วในปริมาณมากแล้วบอแรกซ์ถูกบริโภคจำนวนมากในอุตสาหกรรมแก้ว[15]

รายงานวิจัยในสมัยแรกมีรายงานผลิตโบเรตจากปฏิกิริยาระหว่างบอแรกซ์และกรดซัลฟูริกในปี ค.ศ. 1702, รายงานปฏิกิริยาเปลวไฟเป็นสีเขียวในปี ค.ศ. 1741, รายงานผลิตบอแรกซ์จากปฏิกิริยาระหว่างโบเรตและโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทีม โฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก และ หลุยส์ ฌัก เธนาด์ 2 คน[16]และ ฮัมฟรี เดวี[17] สามารถแยกโบรอนบริสุทธิ์ แต่ก่อนหน้านี้ไม่ยอมรับว่าเป็นธาตุบริสุทธิ์ ใน ค.ศ. 1808 ฮัมฟรี เดวี รายงานว่าเมื่อนำสารละลายโบเรตแยกด้วยไฟฟ้า เกิดตะกอนสีน้ำตาลบริเวณขั้วไฟฟ้า หลังจากนั้น ฮัมฟรี เดวี ใช้วิธีรีดิวซ์โบรอนด้วยโพแทสเซียมแทนการแยกด้วยไฟฟ้าและแยกโบรอนจำนวนพอสมควรที่จะตรวจสอบว่าเป็นธาตุ ฮัมฟรี เดวี ตั้งชื่อธาตุนี้ว่า "boracium"[17] โฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก และ หลุยส์ ฌัก เธนาด์ ใช้วิธีรีดิวซ์โบรอนด้วยเหล็กในอุณหภูมิสูงและพวกเขานำโบรอนออกซิไดซ์ด้วยออกซิเจน ได้โบเรตเพื่อแสดงว่าโบเรตเป็นสารประกอบของโบรอน[16] ในปีค.ศ.1824 Jöns Jacob Berzelius ได้ตรวจสอบสมบัติเป็นธาตุของโบรอน[18] หลังจากนั้นมีหลายนักเคมีพยายามแยกโบรอนบริสุทธิ์แต่ส่วนใหญ่มีความบริสุทธิ์ต่ำกว่า 85% คนที่แยกโบรอนบริสุทธิ์คือนักเคมีชาวสหรัฐอเมริกา Ezekiel Weintraub ด้วยวิธีนำโบรอนไตรคลอไรด์รีดิวซ์ด้วยไฮโดรเจนบนอาร์คไฟฟ้าในปี ค.ศ. 1909[19][20][21]

สมบัติ

[แก้]

สมบัติทางกายภาพและทางเคมี

[แก้]

โบรอนมีหลายอัญรูป สมบัติละเอียดจะแตกต่างกันในแต่ละอัญรูป แต่โดยรวมแล้วเป็นของแข็งที่แข็งและเปราะ จุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง ตัวอย่างเช่น จุดหลอมเหลวของโบรอนอสัณฐานคือ 2,300℃[22] และ β–รอมโบฮีดรัลโบรอนคือ 2,180℃[23] จุดเดือดของ β–รอมโบฮีดรัลโบรอนคือ 3,650℃[23] โบรอนอสัณฐานจะระเหิดที่ 2,550℃[22] ความแข็งของ β–รอมโบฮีดรัลโบรอนอยู่ระดับ 9.3 บนมาตราโมส ความถ่วงจำเพาะของα-รอมโบฮีดรัลโบรอนและ β–รอมโบฮีดรัลโบรอนมีค่า 2.46 และ 2.35 ตามลำดับ[22]

โบรอนบริสุทธิ์เป็นกึงโลหะที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่างธาตุโลหะและธาตุอโลหะ โบรอนมีสมบัติพันธะโคเวเลนต์ที่เสถียรคล้ายกับคาร์บอนและซิลิคอนที่อยู่ในธาตุหมู่ 14 มากกว่า อะลูมิเนียมและแกลเลียมที่อยู่หมู่ 13 เดียวกันกับโบรอน เนื่องจากพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่งของโบรอนมีค่าสูงถึง 8.296eV จึงเป็นไอออนได้ยากและไฮบริดออร์บิทัล sp2 มีพลังงานต่ำกว่าออร์บิทัล 2s22p1[24]โบรอนบริสุทธิ์มีพันธะโคเวเลนต์ที่แข็งแรงระหว่างโบรอนจึงขาดอิเล็กตรอนอิสระเพื่อแสดงสมบัติการนำไฟฟ้า เป็นเหตุผลอธิบายสมบัติกึ่งโลหะของโบรอนที่นำไฟไฟ้าแต่นำได้น้อย และเนื่องจากเหตุผลดังกล่าวโบรอนมีสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ[25]

ผลึกโบรอนไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยา ทนต่อการต้มด้วยไฮโดรฟลูออริกและไฮโดรคลอริก ผงโบรอนสามารถถูกกัดกร่อนโดยการต้มด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เข้มข้น กรดไนตริกเข้มข้น กรดซัลฟูริก หรือโครมิค[26] เลขออกซิเดชันของโบรอนขึ้นอยู่กับผลึก รัศมีผลึก ความบริสุทธิ์ และอุณหภูมิ โบรอนไม่ปฏิกิริยากับออกซิเจนในอุณหภูมิห้อง แต่ปฏิกิริยาในอุณหภูมิสูงได้ผลิตภัณฑ์คือโบรอนออกไซด์[27]

เมื่อโบรอนปฏิกิริยาฮาโลจิเนชันได้สารประกอบไตรเฮไลด์

โดยทั่วไปแล้วโบรอนไตรคลอไรด์จะผลิตจากโบรอนออกไซด์[27]

สารประกอบ

[แก้]
โครงสร้างสามมิติของเตตระโบเรตไอออน โบรอน (สีชมพู) สร้างพันธะกับออกซิเจน (สีแดง) และปลายมี 4 ไฮโดรเจน (สีขาว) เป็นหมู่ไฮดรอกไซด์ในโบรอน 4 อะตอมมี 2 อะตอมขวาบนและซ้ายล่างเกิดไฮบริดออร์บิทัลsp2เป็นรูปทรงสามเหลี่ยมแบนราบและเป็นกลางทางไฟฟ้าแต่อีก 2 อะตอมเกิดไฮบริดออร์บิทัล sp3 เป็นรูปทรงทรงสี่หน้าและมีประจุ -1 ทุกโบรอนมีค่าออกซิเดชัน +3 เป็นลักษณะพิเศษของโบรอนที่มีจำนวนพันธะกับเลขออกซิเดชันมีค่าต่างกัน

โดยปกติแล้วสารประกอบโบรอนมีเลขออกซิเดชัน +3 เช่น สารประกอบออกไซด์ สารประกอบซัลไฟด์, สารประกอบไนไตรด์,และสารประกอบเฮไลด์[27] สารประกอบไตรเฮไลด์มีโครสร้างสามเหลี่ยมแบนราบ และสารประกอบประเภทนี้มีอิเล็กตรอนบนโบรอนแค่ 6 อิเล็กตรอนจึงไม่เป็นไปตามก็ออกเตตจึงมีสมบัติเป็นกรดลิวอิสและปฏิกิริยาทันทีกับสารให้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอย่างเบสลิวอิส ยกตัวอย่างเช่น โบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF3) ปฏิกิริยากับฟลูออไรด์ไอออน(F) ได้เตตระฟลูออโรโบเรตไอออน (BF4) โบรอนไตรฟลูออไรด์ใช้เป็นสารเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สารประกอบไตรเฮไลด์สามารถปฏิกิริยากับน้ำได้กรดโบริก[24][27]

โบรอนสามารถพบเป็นสารประกอบออกไซด์ที่มีเลขออกซิเดชัน +3 ในธรรมชาติ บางครั้งเกิดพันธะกับธาตุอื่น ๆ ในแร่โบเรตกว่า 100 ชนิดโบรอนมีเลขออกซิเดชัน +3 แร่โบแรตมีส่วนคล้ายกับแร่ซิลิเกตหลายประการแต่โครงสร้างของแร่ซิลิเกตมีหน่วยย่อยเป็น SiO4 ที่มีรูปร่างทรงสี่หน้า ต่างจากโบเรตที่มี BO4 และ BO3 ที่มีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้าและสามเหลี่ยมแบนราบตามลำดับ ยกตัวอย่าง บอแรกซ์ที่เป็นหนึ่งในแร่โบแรตนั้นมีเตตระโบเรตไอออน ในเตตระโบเรตไออนโบรอนมีรูปร่างสองชนิตคือทรงสี่หน้าและสามเหลี่ยมแบนราบ โบรอนที่มีรูปร่างทรงสี่หน้ามีประจุติดลบ ประจุลบนี้จะดุลกับไอออนบวกอื่น ๆ เช่น โซเดียมไอออน(Na+)ที่อยู่ในแร่[27]

โบเรน

[แก้]

โบเรนเป็นสารประกอบระหว่างโบรอนกับไฮโดรเจน สามารถเขียนสูตรโครงสร้างเป็น BxHy ในโบเรนมีพันธะสะพานไฮโดรเจนอย่าง B-H-B จึงไม่สามารถอธิบายพันธะด้วยวิธีคิดเลขออกซิเดชัน แต่เกิดเป็นพันธะพิเศษเรียก 3c–2e bond โครงสร้างโบเรนสามารถมีหน่อยย่อยเป็นทรงยี่สิบหน้าและเมื่อโบเรนมีโบรอนลดลง หากโครงสร้างโดยลบโบรอนออก โบรอนมีหลายไอโซเมอร์เช่น ไดไฮโดรเดคะโบเรนประกอบจากกลุ่มโบรอน 5 อะตอม 2 กลุ่ม และสามารถมีไอโซเมอร์ได้ 3 แบบเนื่องจากวิธีเกิดพันธะระหว่าง 2 กลุ่ม[28]

โบเรนที่เล็กที่สุดคือBH3แต่ไม่สามารถแยกออกได้ ใช้ไดโบเรน(B2H6)เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โบเรนต่าง ๆ แทน โบเรนทีร่มีจำนวนโบรอนน้อยว่องไวต่ออากาศและสามารถเกิดเปฏิกิริยาเผาไหม้แต่ตั้งแต่โบเรนที่มีโบรอน 5 อะตอมขึ้นไปจะเสถียรต่ออากาศ มีโบเรนที่สำคัญมีเพนตะโบเรน B5H9 และเดคะโบเรน B10H14 ทั้งสองนี้สามารถสังเคราะห์จากการสลายตัวด้วยความร้อนของไดโบเรนB2H6 มีหลายโบเรนไอออนที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น เตตระไฮโดรโบเรตไอออนและอนุพันธ์นิยมใช้เป็นเกลือรีดิวซ์ และไอออนที่มีจำนวนโบรอนมากอย่าง [B12H12]2−นิยมใช้ในการวิจัย[24]

อนุพันธ์ของโบเรนมีคาร์บาโบเรน (carbaborane) ที่มีหมู่ CH แทนที่ BH ในโบเรนที่เป็นไอโซอิเล็กทรอนิกกัน สังเคราะห์ด้วยการปฏิกิริยาระหว่างโบเรนและอะเซทิลีน นอกจากนั้นยังสามารถเกิดอนุพันธ์เฮเทโรโบเรนกับกำมะถัน, ฟอสฟอรัส, อาร์เซนิกแทนที่โบรอนเหมือนคาร์บอนเช่นกัน คาร์บาโบเรนปฏิกิริยากับเบสแก่ได้คาร์บาโบเรนแอนไอออนเช่น B9C2H112− มีโครงสร้างคล้าย cyclopentadienyl anion([C5H5])[24]และเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับโลหะทรานซิชัน ธาตุฮาโลเจน เอมีน และหมู่แอลคิลต่าง ๆ สามารถแทนที่ไฮโดรเจนได้ผลิตภัณฑ์เป็นอนุพันธ์ของโบเรน

โบรอนไนไตรด์

[แก้]

โบรอนไนไตรด์มีโครงสร้างหลายรูปแบบคล้ายอัญรูปของคาร์บอนอย่าง เพชรและคาร์บอนนาโนทูป โบรอนไนไตรด์ที่มีโครงสร้างเดียวกับเพชรเรียกว่าคิวบิกโบรอนไนไตรด์หรือโบราโซน โบรอนอยู่ต่ำแหน่งเดียวกับคาร์บอนบนทรงสี่หน้าในเพชร ใน 4 B-N พันธะมี 1 พันธะเป็นพันธะโคออร์ดิเนต หมายความว่า โบรอนสร้างพันธะโคเวเลนต์กับไนโตรเจน 3 อะตอม และเกิดออร์บิทัลว่าง 1 อร์บิทัล จากนั้นอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของไนโตรเจนทำงานเป็นเบสลิวอิส สร้างพันธะกับออร์บิทัลว่างของโบรอนได้พัทธะที่ 4 ของพันธะ B-N คิวบิกโบรอนไนไตรด์มีความแข็งใกล้กับเพชรจึงนิยมใช้เป็นสารบดวาว[29][30]

สารประกอบระว่างโลหะและโบรอน

[แก้]

โบรอนสามารถเกิดสารประกอบกับธาตุหลายชนิต โดยเฉพาะสารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนส่วนใหญ่มีสัมบัติทางโลหะจึงนิยมใช้เป็นโลหะผสมโบรอน ถึงแม้โบรอนไม่ใช้ธาตุโลหะ สารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนทั่วไปมีสมบัติแข็งแรง จุดหลอมเหลวสูง ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยา สารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์ได้โดยหลอมละลายโบรอนกับโลหะด้วยกัน อย่างเหล็กโบไรด์และโครเมียมโบไรด์ใช้วิธีริดิวซ์เช่นวิธีเทอร์ไมท์ที่สามารถสังเคราะห์ได้ปริมาณมากแต่มีสิ่งเจือปนผสม สารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนจะไม่พบปริมาณสารสัมพันธ์ระหว่างอะตอมโบรอนและอะตอมโลหะเนื่องจากเกิดโครงสร้างที่โบรอนเข้าไปในช่องว่างของโครงสร้างโลหะ หรือโลหะเข้าไปในช่องว่างของโครงสร้างโบรอน[24] สารประกอบระหว่างธาตุโลหะกับโบรอนที่สำคัญมีเหล็กโบไรด์ ( Ferroboron ) เช่น Fe2BやFeB、Fe2B5 เหล็กโบไรด์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเหล็ก, การหลอมเหล็กและการเชื่อมเหล็ก โบรอนยังสามารถเกิดสารประกอบกับโลหะหลายชนิดนอกจากสารประกอบไบนารี อย่างเช่น Nd2Fe14B เป็นสารประกอบระหว่างนีโอดิเมียม เหล็กและโบรอน ใช้เป็นแม่เหล็กนิโอดิเมียมที่มีสนามแม่เหล็กแรง

อัญรูป

[แก้]

โบรอนทึ 7 อัญรูปและมีโครงสร้างเป็นผลึกหรืออสันฐาน อัญรูปหลัก ๆ มี α-รอมโบฮีดรัลโบรอน β-รอมโบฮีดรัลโบรอน β-เตตร้าโกนัลโบรอน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมพิเศษเกิดอัญรูปอื่นเช่น α-เตตร้าโกนัลโบรอนและ γ-ออร์โธรอมบิกโบรอน อัญรูปแบบอสันฐานรู้ว่ามีรูปคล้ายแก้วและรูปผงละเอียด[31] อัญรูปที่มีความเสถียรมากที่สุดในสภาวะมาตรฐานคือ β-รอมโบฮีดรัลโบรอน และอัญรูปอื่นมีความเสถียรเช่นกัน มีรายงานอย่างน้อย 14 อัญรูปแต่นอกจาก 7 อัญรูปที่กล่าวข้างต้นไม่มีหลักฐานชัดเจนหรือมีหลักฐานไม่เพียงพอ คาดว่าอัญรูปเหล่านั้นไม่ได้เป็นอัญรูปเดียวแต่เป็นโครงสร้างที่เกิดจากหลายอัญรูปผสมกันหรือมีสิ่งเจือปน[32][33][34]

เฟส α-R β-R γ β-T
ระบบผลึก รอมโบฮีดรัล รอมโบฮีดรัล ออร์โธรอมบิก เตตราโกนั่ล
จำนวนอะตอมต่อหน่วยเซลล์[34] 12 ~105 28 192
ความหนาแน่น[35][36][37][38] 2.46 2.35 2.52 2.36
ความแข็ง Vickers[39][40] 42 45 50-58
Bulk modulus[40][41] 224 185 227
ช่องว่างพลังาน[40] 2 1.6 2.1 ~2.6[42]

ไอโซโทป

[แก้]

โบรอนในธรรมชาติมา 2 ไอโซโทปที่เสถียรคือ 11B 80.1% และ 10B 19.9% ผลต่างระหว่างอัตราส่วนพบในธรรมชาติ 11B/10B และ อัตราส่วนวัดได้จริง 11B/10B ถูกนิยามว่า δ11B มีหน่วยเป็น ‰ ( ในพันส่วน ) มีค่ากว้างตั้งแต่ -16 ถึง +59 จากธรรมชาติ ปัจจุบันทราบไอโซโทปโบรอน 13 ไอโซโทป 7B มีเวลาครึ่งชีวิตน้อยที่สุดมีครึ่งชีวิต 3.5×10−22 วินาทีสลายโดยเกิดการปล่อยโปรตอนหรือการสลายให้อนุภาคแอลฟา การแยกไอโซโทปของโบรอนใช้วิธีควบคุมปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนระหว่าง B(OH)3 และ [B(OH)4]- หรือไอโซโทปยังสามารถแยกกันได้ในผลึกแร่จากบริเวณระบบไฮโดรเทอร์มอลและหินแปรไฮโดรเทอร์มอล อย่างเช่น ดินเหนียวบนหินแปรไฮโดรเทอร์มอลพบไอออน[B(OH)4]- มากแสดงถึงมีการกำจัดไอออนออกจากน้ำทะเล ทำให้มีความเข้มข้นของ B(OH)3 มากกว่าเมื่อเทียบกับน้ำทะเลบริเวณเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรและเปลือกโลกภาคพื้นทวีป[43] ไอโซโทป 17B เป็นเอ็กโซติกไอโซโทปที่มีฮาโลนิวตรอน ดังนั้น มีรัศมีนิวเคลียสใหญ่กว่าคาดการณ์โดยโมเดลหยดน้ำ[44]

10B เหมาะสำหรับเป็นวัสดุดูดรังสีนิวตรอน 10B ในธรรมชาติมีเพียงประมาณร้อยละ 20 ของโบรอนทั้งหมด ดังนั้นในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์นำโบรอนธรรมชาติแยกไอโซโทปและใช้ 10B บริสุทธิ์ที่ได้ ส่วนเกิดผลพลอยได้เป็น 11B บริสุทธิ์ที่มีคุณค่าต่ำ

อุตสาหกรรมการผลิต

[แก้]

ในการผลิตสารประกอบโบรอนจะไม่ผ่านโบรอนบริสุทธิ์เนื่องจากใช้โบเรตที่หาได้ง่ายกว่าแทน

วิธีสังเคราะห์ธาตุโบรอนในอดีด ใช้วิธีนำโบเรตรีดิวซ์ด้วยโลหะแมกนีเซียมและอะลูมิเนียม แต่วิธีนี้ไม่สามารถเก็บโบรอนบริสุทธิ์มีสารประกอบโลหะโบรอนผสมอยู่ โบรอนบริสุทธ์นั้นสามารถสังเคราะห์ได้โดยวิธีใช้โบรอนเฮไลด์ที่ระเหิยได้ง่ายรีดิวซ์ด้วยแก๊สไฮโดรเจนในอุณหภูมิสูง โบรอนความบริสุทธิ์สูงที่ใช้ในอุตสาหกรรมสารกึงตัวนำสังเคราะห์จากการสลายตัวของไดโบเรนในอุณหภูมิสูง จากนั้นนำไปบริสุทธิ์ด้วยวิธี Zone melting หรือ Czochralski method[45]

10B ที่เป็นไอโซโทปของโบรอนมีความสามารถในการดูดนิวตรอนแต่มีอัตราส่วนโบรอนในธรรมชาติแค่ประมานร้อยละ 20 ของโบรอนทั้งหมดจึงต้องแยกไอโซโทปให้ 10B เข้มข้นมากขึ้น มีวิธีต่างๆเช่น วิธีกลั่นและวิธีแลกเปลี่ยน ในวิธีกลั่นใช้กลั่นอุณหภูมิต่ำโดยใช้โบรอนเฮไลด์ที่มีจุดเดือดต่ำ ในวิธีแลกเปลี่ยนใช้การแลกเปลี่ยนระหว่างของเหลวและแก๊สของออร์เกโนโบโรฟลูออไรด์ และมีการคิดค้นวิธี 2 วิธีนี้รวมกันเป็นวิธีกลั่นแลกเปลี่ยน ปัจจุบันการผลิตโบรอนเข้มข้นนั้นส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้

แนวโน้มการตลาด

[แก้]

ค.ศ.2014มีปริมาณการผลิตแร่ทั่วโลก 3.72ล้านตันและ1.77ล้านตันผลิตที่ประเทศตุรกี[46] ปีค.ศ.2008 ปริมาณการผลิตของโบเรตทั่วโลกต่ำกว่า 2.00 ล้านตันต่อปี แต่ปีค.ศ.2012 เพิ่มขึ้นถึง 2.20 ล้านตันต่อปี[47] ปีค.ศ.2015 กรมสำรวจธรณีของU.S. รายงาน Mineral Commodity Summaries คาดว่าปริมาณอุปสงค์ของโบเรตจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในเอเชียและอเมริกาใต้ และในยุโรป เกณฑืการก่อสร้างเข้มงวดขึ้นเพื่อประหยัดพลังงานและแก้ไขปํญหาโลกร้อน จึงอุปสงค์ของโบรอนเพื่อผลิตกระจกกันร้อนจะเพิ่มขึ้น อุปสงค์เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ทำให้การผลิตโบเรตทั้วโลกเพิ่มขึ้นตามด้วย[46]

แร่ธาตุหลักๆที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมคือ แร่ Colemanite, แร่ Ulexite, แร่ Kernite, และบอแรกซ์ 4แร่นี้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโบรอนถึงร้อยละ 90 ของทั้งหมด แร่ธาตุเหล่านี้แยกหน้าที่การผลิตโดยปริมาณโซเดียมในแร่ อย่างเช่น แร่ Ulexite, บอแรกซ์ เป็นสารตั้งต้นของโบเรต, โซเดียมเตตระโบเรตตามลำดับ[46] หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากโบรอนมีแก้ว โบรอนที่นำไปในต้องมีปริมาณโซเดียมต่ำจึงนิยมใช้แร่ Colemanite ที่เป็นเกลือแคลเซียม อีก 3 แร่เป็นเกลือโซเดียม แต่แร่ Colemanite มีสารเจือปนเป็น อาร์เซนิก ปริมาณมากจึงปัจจุบันมีปัญหากำจัดเนื่องจากเกณฑ์เข้มงวดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริเวณเมือง Magdalena รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกามีแร่ Colemanite คุณภาพสูงแต่ด้วยปัญหาอาร์เซนิกจึงมีการเลื่อนก่อสร้างเหมืองแร่หลายครั้ง ปัญหาอาร์เซนิกนี้เป็นหนึ่งในสาเหตูทำให้อุปทานการผลิตลดลง[47]

ผู้ผลิตรายใหญ่ของโบรอนมี 2 บริษัทคือ บริษัท Rio Tinto Group ในสหรัฐอเมริกา และ รัฐวิสาหกิจ Eti Mine Works ของตุรกี Rio Tinto ผลิตบอแรกซ์และแร่ Kerniteจากเหมืองที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปีค.ศ.2012 ผลิตโบรอนร้อยละ 25 ของทั่วโลกจากเหมืองนี้ Eti มีสิทธิ์ขุดแร่โบรอนทั้วประเทศตุรกีและปีค.ศ.2012 ผลิตโบรอนประมาณร้อยละ 50 ของทั่วโลก[47] ในประเทศจีนคาดว่ามีแร่โบรอนอยู่ 32.00ล้านตัน[46] แต่แร่ที่พบในอเมริกาและตุรกีมี B2O3 อยู่ร้อยละ 25-30 ส่วนแร่ที่พบในประเทศจีน้ป็นแร่ที่ด้อยคุณภาพ มี B2O3 อยู่ร้อยละ 8.4 [48]ประเทศจีนจึงเพิ่มปริมาณโซเดียมเตตระโบเรตนำเข้า100เท่าในระหว่างปี 2000 ถึง 2005 เพื่อตอบสนองความต้องการโบเรตที่มีคุณภาพสูง ในช่วงเวลาเดียวกันปริมาณโบเรตนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 [49]ต่อปี Mineral Commodity Summaries (2015) ที่กรมสำรวจธรณีของU.S. รายงาน คาดว่า ประเทศจีนเพิ่มปริมาณนำเข้าอย่างต่อเนื่องหลังปี 2015[46]

การนำไปใช้ประโยชน์

[แก้]

ไม่ค่อยนิยมใช้ธาตุโบรอนอย่างเดียวแต่นิยมใช้เป็นรูปสารประกอบและโลหะผสมต่าง ๆ

กรณีใช้ในชีวิตประจำวันนิยมใช้ในรูป โบเรตและบอแรกซ์ บอแรกซ์ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตแก้ว วัตถุกันเสีย ตัวรีดิวซ์ของโลหะ สารการเชื่อม สารบดวาว และสารควบคุมไฟต่าง ๆ ในการโรงเรียนบางครังมีการทดลองสร้างสไลม์ด้วยบอแรกซ์และผงซักฟอก เกลือโบเรตและเกลือเปอร์โบเรตใช้เป็นสารล้างตา ยาบริเวณช่องปาก สารกำจัดแมลงสาบต่าง ๆ [50]

แก้วและเซรามิก

[แก้]

แก้วเป็นผลิตภัณฑ์หลักของโบรอน ร้อยละ 60 ของปริมาณบริโภคในปี 2011 ใช้เพื่อการผลิตแก้วรวมเส้นใยแก้ว แก้วโบโรซิลิเกตทั่วไปมีส่วนผสมของโบรอนออกไซด์อยู่ร้อยละ 5–30 มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวจากความร้อนต่ำจึงทนทานต่อความร้อน อีกทั้งเมื่อผสมโบรอนในแก้วจะเพิ่มสภาพคล่องของเหลวดังนั้นพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตแก้ว เครื่องหมายการค้าหลักของแก้วโบโรซิลิเกตมี Pyrex และ Duran จากความสมารถทนทานต่อความร้อนนิยมใช้เป็นอุปกรณ์การทดลอง อุปกรณ์ทำอาหาร จานทนความร้อน[51]

เส้นใยโบรอนมีน้ำหนักเบาและแข็งแรงจึงใช้เป็นสารเพิ่มความแข็งแรงของวัสดุผสมอย่างพลาสติกผสมเส้นใย นิยมใช้เป็นโครงสร้างในด้านการบินและอวกาศ ในชีวิตประจำวันใช้ในด้านกีฬาอย่างไม้กอล์ฟ เบ็ดตกปลา ยังใช้เป็นวัสดุฉนวนและวัสดุทนไฟ ร้อยละ 45 ของปริมาณบริโภคโบรอนใช้เพื่อผลิตเส้นใยแก้ว เส้นใยแก้วนี้ผลิตโดยนำโบรอนทับซ้อนบนเส้นใยทังสเตนด้วยวิธี chemical vapor deposition[52]

เครื่องเสียง

[แก้]

มีความหนาแน่นต่ำ ค่ามอดูลัสของยังสูง และความเร็วเสียงเร็วถึง 16,200 m/s ซึ่งเป็น 2.6 เท่าของอะลูมิเนียมจึงเหมาะสำหรับวัสดุเครื่องเสียงมากกว่าเบริลเลียมแต่มีจุดเดือดสูงและมีความยืดหยุนต่ำมากจึงเป็นวัสดุที่แปรยาก เริ่มมีการใช้หลังทศวรรษที่ 1980

  • เข็มเครื่องเล่นจานเสียงของ Denon, Audio-Technica
  • Diatone ใช้โบรอนคาร์ไบด์เป็นแผ่นสั่นในลำโพงเสียงสูง-กลาง

สารกึ่งตัวนำ

[แก้]

โบรอนใช้เป็นสารเร่งสารกึ่งตัวนำอย่างซิลิคอน เจอร์เมเนียม ซิลิคอนคาร์ไบด์ โบรอนมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ 3 จึงเป็นโฮลในการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนจากธาตุโฮสท์ที่มี 4 อิเล็กตรอนอย่างซิลิคอนดังนั้นสร้างสารกึ่งตัวนำประเภทพี วิธีเร่งด้วยโบรอน เดิมใช้กระจายอะตอมในอุณหภูมิสูง วิธีนี้สามารถใช้สารตั้งต้นเป็นโบรอนออกไซด์ที่เป็นของแข็ง โบรอนไตรโบรไมด์ที่เป็นของเหลว,และโบรอนไตรฟลูออไรด์หรือไดโบเรนที่เป็นแก๊สได้ แต่หลังทศวรรษที่1970นิยมใช้วิธีฉีดไอออนที่ใช้โบรอนไตรฟลูออไรด์[53] โบรอนไตรคลอไรด์เป็นสารประกอบที่สำคัญในการผลิตการกึ่งตัวนำแต่ไม่ได้ใช้เป็นสารเร่ง แต่ใช้ในการสลักด้วยพลาสมาของโลหะและโลหะออกไซด์ [54]

แม่เหล็ก

[แก้]

โบรอนเป็นหนึ่งในธาตุที่ประกอบแม่เหล็กนิโอดิเมียมซึ่งเป็นแม่เหล็กถาวรที่แรงที่สุด มีโบรอนอยู่ประมาณร้อยละ 1 ในแม่เหล็กนิโอดิเมียม แม่เหล็กนิโอดิเมียมนิยมใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบกราฟิกส์ในการแพทย์เช่นการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก มอเตอร์และตัวกระตุ้นให้ทำงานขนาดเล็กเช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดีใช้แม่เหล็กนิโอดิเมียมเพื่อให้ระบบอ่านข้อมูลเล็กลง และใช้แม่เหล็กนิโอดิเมียมในลำโพงให้ขนาดเล็กลงกับโทรศัพท์มือถือ[55]

พลังงานนิวเคลียร์

[แก้]

ในไอโซโทปของโบรอน 10B มีพื้นที่ดูดกลืนนิวตรอนขนาดใหญ่ ใช้สมบัตินี้เป็นแท่งควบคุมในเตาปฏิกรณ์เพื่อดูดนิวตรอน[56] โบเรตที่เป็นสารประกอบใช้ผสมลงในน้ำหล่อเย็นปฐมภูมิของเตาปฏิกรณ์แบบเพิ่มความดันเพื่อควบคุมปฏิกิริยา ใช้โลหะผสมโบรอนในภาชนะเก็บสารกัมมันตรังสี[57]

สิ่งมีชีวิต

[แก้]

เป็นหนึ่งในธาตุต้องการของพืชและร้อยละ 98 อยู่ในผนังเซลล์จึงคาดว่าเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ผนังเซลล์ การรักษาผนังเซลล์ การส่งออกน้ำตาลผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ การสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก เป็นโคเอนไซม์ แต่ยังไม่ชัดเจน สารที่นำพาโบรอนถูกระบุครั้งแรกในปี 2002

ส่วนโบรอนเข้มข้นสูงจะยับยั้งการเจริญของพืช[58]จึงเนื้อดินที่มีโบรอนสูงอย่างออสเตรเลียตอนใต้ยากต่อทำการเกษตร กำลังวิจัยการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อทนต่อโบรอน[59]

หน้าที่ทางชีววิทยา

[แก้]

โบรอนเป็นแร่ธาตุที่สังคัญต่อผนังเซลล์ ถ้าเนื้อดินขาดโบรอนจะก่อภาวะเลี้ยงไม่โตทั่วพืช แต่ความเข้นข้นโบรอนในเนื้อดินเกิน 1 ppm ก็เกิดอาการตายเฉพาะส่วนของใบและปลายยิ่งพืชที่อ่อนไหวต่อโบรอนจะเกิดอาการเมื่อเกิน 0.8 ppm ถ้าเกิน 1.8 ppm จะเกิดอาการทุกพืชรวมพืชทนโบรอนและเมื่อเกิน 2.0 ppm เกือบจะไม่มีพืชไหนเจริญได้อย่างปกติและบางส่วนไม่สามารถมีชีวิตได้ เมื่อโบรอนในเนื้อเยื่อเกิน 200 ppm จะเริ่มมีอาการดังกล่าว[60][61]

โบรอนคาดว่าเป็นธาตุที่จำเป็นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่ไม่ทราบหน้าที่ของโบรอนอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นหนูที่ก่อให้เกิดโรคขาดโบรอนโดยการให้อาหารสกัดโบรอนออกและกรองฝุ่นในอากาศออกมีผลกระทบต่อขนตัวโบรอนจึงเป็นธาตุจำเป็นต่อรักษาร่างการของหนูและปริมาณต้องการคาดว่าน้อยมาก[62]

หลังปี ค.ศ. 1989 มีการโต้เถียงกันว่าโบรอนเป็นแร่ธาตุที่มีหน้าที่ทางชีววิทยาในสัตว์รวมมนุษย์ กระทรวงการเกษตรของสหรัฐอเมริกาทดลงให้โบรอน 3 mg ต่อวันกับผู้หญิงวัยทอง ผลที่ออกมาคือลดการถ่ายเทแคลเซียมร้อยละ 44 กระตุ้นเอสโตรเจนและวิตามิน D และมีโอกาสสามารถควบคุมโรคกระดูกพรุนแต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าผลกระทบดังกล่าวเป็นเพราะหน้าที่ทางแร่ธาตุ หรือหน้าที่ทางยา สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกากล่าวว่า "มนุษย์ปกติควรรับโบรอนระหว่าง 2.1 ถึง 4.3 mg ต่อวัน"[63]

ปัญหาสุขภาพและความเป็นพิษ

[แก้]

ธาตุโบรอน โบรอนออกไซด์ โบเรต เกลือโบเรตและออร์เกโนโบรอนส่วนใหญ่ ไม่เป็นพิษฉับพลันต่อมนุษย์เหมือนเกลือแกง LD50 ต่อสัตว์มีค่า ประมาณ 6 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมและสารที่มี LD50 สูงกว่า 2 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมเป็นไม่เป็นพิษ ยังไม่ทราบปริมาณต่ำที่สุดถึงแก่กรรม มีรายงานว่ารับโบรอน 4 กรัมต่อวันคาดว่าเกินปริมาณนั้นจะเป็นพิษต่อร่างกาย ถ้ารับ 0.5 กรัมต่อวันติดต่อกัน 50 วัน เกิดอาการท้องผูกและปัญหาทางระบบย่อยอาหาร [64]ในการบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอนจะได้รับโบเรต 20 กรัมโดยไม่เกิดอาการอื่น ๆ สัตว์ประเภทปลาสามารถดำรงชีวิตในสาละลายโบเรตอิ่มตัว 30 นาทีและสามารถมีชีวิตได้นานกว่าเมื่ออยู่ในสารละลายโซเดียมโบเรต [65]โบเรตมีความเป็นพิษต่อแมลงสูงกว่าสัตว์จึงนิยมใช้เป็นยาฆ่าแมลง[66]

โบรอนไฮไดรด์อย่างโบเรนและแก๊สที่คล้ายกันมีความเป็นพิษ โบรอนนั้นไม่เป็นพิษเหมือนโบรอนและสารประกอบอื่น ๆ แต่เกิดจากโครงสร้างทางเคมี[67]

โบเรนเป็นสารไวไฟและเป็นพิษจึงต้องระมัดระวังในการใช้ โซเดียมโบรอนไฮไดรด์เป็นสารริดิวซ์ที่แรง สามารถปฏิกิริยากับน้ำ กรด สารออกซิไดซ์อย่างรุนแรงและเสี่ยงต่อไฟไหม้และระเบิด โบรอนเฮไรด์มีฤทธิ์กัดกร่อน[68]

รายการอ้างอิง

[แก้]
  1. Van Setten et al. 2007, pp. 2460–1
  2. "Standard Atomic Weights: Boron". CIAAW. 2009.
  3. Braunschweig, H.; Dewhurst, R. D.; Hammond, K.; Mies, J.; Radacki, K.; Vargas, A. (2012). "Ambient-Temperature Isolation of a Compound with a Boron-Boron Triple Bond". Science. 336 (6087): 1420–2. Bibcode:2012Sci...336.1420B. doi:10.1126/science.1221138. PMID 22700924. S2CID 206540959.
  4. Zhang, K.Q.; Guo, B.; Braun, V.; Dulick, M.; Bernath, P.F. (1995). "Infrared Emission Spectroscopy of BF and AIF" (PDF). J. Molecular Spectroscopy. 170 (1): 82. Bibcode:1995JMoSp.170...82Z. doi:10.1006/jmsp.1995.1058.
  5. Schroeder, Melanie. Eigenschaften von borreichen Boriden und Scandium-Aluminium-Oxid-Carbiden (PDF) (ภาษาเยอรมัน). p. 139.
  6. Holcombe Jr., C. E.; Smith, D. D.; Lorc, J. D.; Duerlesen, W. K.; Carpenter; D. A. (October 1973). "Physical-Chemical Properties of beta-Rhombohedral Boron". High Temp. Sci. 5 (5): 349–57.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Lide, David R. (2000). Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Handbook of Chemistry and Physics (PDF). CRC press. ISBN 0849304814.
  8. Gay Lussac, J.L. and Thenard, L.J. (1808) "Sur la décomposition et la recomposition de l'acide boracique," Annales de chimie [later: Annales de chemie et de physique], vol. 68, pp. 169–174.
  9. Davy H (1809). "An account of some new analytical researches on the nature of certain bodies, particularly the alkalies, phosphorus, sulphur, carbonaceous matter, and the acids hitherto undecomposed: with some general observations on chemical theory". Philosophical Transactions of the Royal Society of London. 99: 33–104.
  10. Zhang, K.Q.; Guo, B.; Braun, V.; Dulick, M.; Bernath, P.F. (1995). "Infrared Emission Spectroscopy of BF and AIF" (PDF). J. Molecular Spectroscopy. 170: 82. Bibcode:1995JMoSp.170...82Z. doi:10.1006/jmsp.1995.1058.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 "Atomic Weights and Isotopic Compositions for All Elements". National Institute of Standards and Technology. สืบค้นเมื่อ 2008-09-21.
  12. Szegedi, S.; Váradi, M.; Buczkó, Cs. M.; Várnagy, M.; Sztaricskai, T. (1990). "Determination of boron in glass by neutron transmission method". Journal of Radioanalytical and Nuclear Chemistry Letters. 146 (3): 177. doi:10.1007/BF02165219.
  13. Shipley, Joseph T. (1984). The origins of English words : a discursive dictionary of Indo-European roots. Baltimore: Johns Hopkins University Press. ISBN 0-8018-3004-4. OCLC 9465124.
  14. Garrett, Donald E. (1998). Borates : handbook of deposits, processing, properties, and use. San Diego: Academic Press. ISBN 978-0-08-050021-8. OCLC 162128920.
  15. Hildebrand, George Herbert (1982). Borax pioneer : Francis Marion Smith (1st ed.). San Diego, Calif.: Howell-North Books. ISBN 0-8310-7148-6. OCLC 7552779.
  16. 16.0 16.1 Gay Lussac, J.L. & Thenard, L.J. (1808). "Sur la décomposition et la recomposition de l'acide boracique". Annales de chimie. 68: 169–174.
  17. 17.0 17.1 "III. The Bakerian Lecture. An account of some new analytical researches on the nature of certain bodies, particularly the alkalies, phosphorus, sulphur, carbonaceous matter, and the acids hitherto undecompounded; with some general observations on chemical theory". Philosophical Transactions of the Royal Society of London (ภาษาอังกฤษ). 99: 39–104. 1809-12-31. doi:10.1098/rstl.1809.0005. ISSN 0261-0523.
  18. Berzelius produced boron by reducing a borofluoride salt; specifically, by heating potassium borofluoride with potassium metal. See: Berzelius, J. (1824) "Undersökning af flusspatssyran och dess märkvärdigaste föreningar" (Part 2) (Investigation of hydrofluoric acid and of its most noteworthy compounds), Kongliga Vetenskaps-Academiens Handlingar(Proceedings of the Royal Science Academy), vol. 12, pp. 46–98; see especially pp. 88ff. Reprinted in German as: Berzelius, J. J. (1824) "Untersuchungen über die Flußspathsäure und deren merkwürdigste Verbindungen", Poggendorff's Annalen der Physik und Chemie, vol. 78, pages 113–150.
  19. Laubengayer, A. W.; Hurd, D. T.; Newkirk, A. E.; Hoard, J. L. (October 1943). "Boron. I. Preparation and Properties of Pure Crystalline Boron". Journal of the American Chemical Society (ภาษาอังกฤษ). 65 (10): 1924–1931. doi:10.1021/ja01250a036. ISSN 0002-7863.
  20. Borchert, W.; Dietz, W.; Koelker, H. (1970). "Crystal Growth of Beta–Rhombohedrical Boron". Zeitschrift für Angewandte Physik. 29: 277. OSTI 4098583.
  21. Weintraub, Ezekiel (1910). "Preparation and properties of pure boron". Transactions of the American Electrochemical Society. 16: 165–184.
  22. 22.0 22.1 22.2 SYNTHESIS AND CHARACTERIZATION OF MgB2 SUPERCONDUCTING WIRES เก็บถาวร 2021-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน”. p. 3 (2008). สืบค้นเมื่อ 08 เมษายน ค.ศ.2021
  23. 23.0 23.1 Boron, B เก็บถาวร 2014-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน”. Testbourne Ltd.. สืบค้นเมื่อ 08 เมษายน ค.ศ.2021
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 Muki kagaku. 1. Frank Albert Cotton, Geoffrey Wilkinson, Masayoshi Nakahara, 勝儼 中原. 培風館. 1987.9. ISBN 4-563-04192-0. OCLC 674632672. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: others (ลิงก์)
  25. Hōso hōkabutsu oyobi kanren busshitsu no kiso to ōyō. Hōso hōkabutsu oyobi kanren busshitsu kokusai kaigi soshiki iinkai, ホウ素・ホウ化物および関連物質国際会議組織委員会. Tōkyō: Shīemushīshuppan. 2008. ISBN 978-4-88231-955-9. OCLC 232342544.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  26. Laubengayer, A. W.; Hurd, D. T.; Newkirk, A. E.; Hoard, J. L. (October 1943). "Boron. I. Preparation and Properties of Pure Crystalline Boron". Journal of the American Chemical Society (ภาษาอังกฤษ). 65 (10): 1924–1931. doi:10.1021/ja01250a036. ISSN 0002-7863.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 Holleman, A. F. (1985). Lehrbuch der anorganischen Chemie. Egon Wiberg, Nils Wiberg (91.-100., verb. und stark erw. Aufl. / von Nils Wiberg ed.). Berlin: De Gruyter. ISBN 3-11-007511-3. OCLC 14949442.
  28. Greenwood, N. N. (1997). Chemistry of the elements. A. Earnshaw (2nd ed.). Boston, Mass. ISBN 0-585-37339-6. OCLC 48138330.
  29. Engler, M. (2007). “Hexagonal Boron Nitride (hBN) - Applications from Metallurgy to Cosmetics เก็บถาวร 2013-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน”. Cfi/Ber. DKG 84: D25. ISSN 0173-9913.
  30. Greim, Jochen; Schwetz, Karl A. (2006-12-15), Wiley-VCH Verlag GmbH & Co. KGaA (บ.ก.), "Boron Carbide, Boron Nitride, and Metal Borides", Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry (ภาษาอังกฤษ), Wiley-VCH Verlag GmbH & Co. KGaA, pp. a04_295.pub2, doi:10.1002/14356007.a04_295.pub2, ISBN 978-3-527-30673-2, สืบค้นเมื่อ 2021-04-09
  31. Wiberg, Egon (2001). Inorganic chemistry. Nils Wiberg, A. F. Holleman (1st English ed.). San Diego: Academic Press. ISBN 0-12-352651-5. OCLC 48056955.
  32. Donohue, Jerry (1982). The structures of the elements. Malabar, Fla.: R.E. Krieger Pub. Co. ISBN 0-89874-230-7. OCLC 6356072.
  33. The formation of bonds to group-I, -II, and -IIIB elements. A. P. Hagen, J. J. Zuckerman. New York: VCH Publishers. 1991. ISBN 978-0-470-14549-4. OCLC 472612839.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  34. 34.0 34.1 Oganov, Artem R.; Chen, Jiuhua; Gatti, Carlo; Ma, Yanzhang; Ma, Yanming; Glass, Colin W.; Liu, Zhenxian; Yu, Tony; Kurakevych, Oleksandr O.; Solozhenko, Vladimir L. (2009-02-12). "Ionic high-pressure form of elemental boron". Nature (ภาษาอังกฤษ). 457 (7231): 863–867. doi:10.1038/nature07736. ISSN 0028-0836.
  35. Wentorf, R. H. (1965-01-01). "Boron: Another Form". Science (ภาษาอังกฤษ). 147 (3653): 49–50. doi:10.1126/science.147.3653.49. ISSN 0036-8075.
  36. Hoard, J.L.; Sullenger, D.B.; Kennard, C.H.L.; Hughes, R.E. (1970-01-XX). "The structure analysis of β-rhombohedral boron". Journal of Solid State Chemistry (ภาษาอังกฤษ). 1 (2): 268–277. doi:10.1016/0022-4596(70)90022-8. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  37. Will, Georg; Kiefer, Bodo (2001). "Electron Deformation Density in Rhombohedral α-Boron". Zeitschrift für anorganische und allgemeine Chemie (ภาษาอังกฤษ). 627 (9): 2100–2104. doi:10.1002/1521-3749(200109)627:93.0.CO;2-G. ISSN 1521-3749.
  38. Talley, C. P.; La Placa, S.; Post, B. (1960-03-01). "A new polymorph of boron". Acta Crystallographica. 13 (3): 271–272. doi:10.1107/S0365110X60000613. ISSN 0365-110X.
  39. Solozhenko, V. L.; Kurakevych, O. O.; Oganov, A. R. (2008-12-25). "On the hardness of a new boron phase, orthorhombic γ-B28". Journal of Superhard Materials (ภาษาอังกฤษ). 30 (6): 428–429. doi:10.3103/S1063457608060117. ISSN 1063-4576.
  40. 40.0 40.1 40.2 Zarechnaya, E. Yu.; Dubrovinsky, L.; Dubrovinskaia, N.; Filinchuk, Y.; Chernyshov, D.; Dmitriev, V.; Miyajima, N.; El Goresy, A.; Braun, H. F.; Van Smaalen, S.; Kantor, I. (2009-05-07). "Superhard Semiconducting Optically Transparent High Pressure Phase of Boron". Physical Review Letters (ภาษาอังกฤษ). 102 (18): 185501. doi:10.1103/PhysRevLett.102.185501. ISSN 0031-9007.
  41. Nelmes, R. J.; Loveday, J. S.; Allan, D. R.; Besson, J. M.; Hamel, G.; Grima, P.; Hull, S. (1993-04-01). "Neutron- and x-ray-diffraction measurements of the bulk modulus of boron". Physical Review B (ภาษาอังกฤษ). 47 (13): 7668–7673. doi:10.1103/PhysRevB.47.7668. ISSN 0163-1829.
  42. Electric refractory materials. Yukinobu Kumashiro. New York: Marcel Dekker. 2000. ISBN 0-8247-4160-9. OCLC 559223826.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  43. Barth, Susanne (1997-12-XX). "Boron isotopic analysis of natural fresh and saline waters by negative thermal ionization mass spectrometry". Chemical Geology (ภาษาอังกฤษ). 143 (3–4): 255–261. doi:10.1016/S0009-2541(97)00107-1. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  44. Liu, Zuhua (2003). "Two-body and three-body halo nuclei". Science in China Series G (ภาษาอังกฤษ). 46 (4): 441. doi:10.1360/03yw0027. ISSN 1672-1799.[ลิงก์เสีย]
  45. Berger, Lev I. (1997). Semiconductor materials. Boca Raton: CRC Press. ISBN 0-8493-8912-7. OCLC 35548907.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 46.4 Mineral Commodity Summaries 2015 Boron”. กรมสำรวจธรณีสหรัฐอเมริกา. สืบค้นเมื่อ 09 เมษายน ค.ศ.2021
  47. 47.0 47.1 47.2 INDUSTRY REPORT //Borates เก็บถาวร 2021-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน”. STORMCROW CAPITAL LTD.. สืบค้นเมื่อ 09 เมษายน ค.ศ.2021
  48. Minerals Yearbook 2012 Boron”. アメリカ地質調査所. p. 4. สืบค้นเมื่อ 09 เมษายน ค.ศ.2021
  49. The economics of boron. Roskill Information Services (11th ed.). London. 2006. ISBN 0-86214-516-3. OCLC 71163465.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  50. Bēshikku muki kagaku. Shin'ichirō Suzuki, Yasuo Nakao, Takeshi Sakurai, 晋一郎 鈴木, 安男 中尾, 武 櫻井. Kyōto: Kagaku Dōjin. 2004. ISBN 4-7598-0903-1. OCLC 675932053.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  51. Pfaender, Heinz G. (1996). Schott guide to glass (2nd ed.). London: Chapman & Hall. ISBN 0-412-71960-6. OCLC 34116748.
  52. Cooke, Theodore F. (1991-12-XX). "Inorganic Fibers-A Literature Review". Journal of the American Ceramic Society (ภาษาอังกฤษ). 74 (12): 2959–2978. doi:10.1111/j.1151-2916.1991.tb04289.x. ISSN 0002-7820. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  53. May, Gary S. (2006). Fundamentals of semiconductor manufacturing and process control. Costas J. Spanos. [Piscataway]: IEEE. ISBN 0-471-78406-0. OCLC 70162615.
  54. Sherer, J. Michael (2005). Semiconductor industry : wafer fab exhaust management. Boca Raton: CRC/Taylor & Francis. ISBN 1-57444-720-3. OCLC 71714848.
  55. Campbell, Peter (1994). Permanent magnet materials and their application. Cambridge [England]: Cambridge University Press. ISBN 0-521-24996-1. OCLC 29428197.
  56. Martin, James E. (2006). Physics for radiation protection : a handbook (2nd ed., rev. and enl ed.). Weinheim: Wiley-VCH. ISBN 978-3-527-61879-8. OCLC 212141067.
  57. Pastina, B.; Isabey, J.; Hickel, B. (1999-01-XX). "The influence of water chemistry on the radiolysis of the primary coolant water in pressurized water reactors". Journal of Nuclear Materials (ภาษาอังกฤษ). 264 (3): 309–318. doi:10.1016/S0022-3115(98)00494-2. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  58. Nable, Ross O.; Bañuelos, Gary S.; Paull, Jeffrey G. (1997). "[No title found]". Plant and Soil. 193 (2): 181–198. doi:10.1023/A:1004272227886.
  59. Miwa, Kyoko; Takano, Junpei; Omori, Hiroyuki; Seki, Motoaki; Shinozaki, Kazuo; Fujiwara, Toru (2007-11-30). "Plants Tolerant of High Boron Levels". Science (ภาษาอังกฤษ). 318 (5855): 1417–1417. doi:10.1126/science.1146634. ISSN 0036-8075. PMID 18048682.
  60. Blevins, Dale G.; Lukaszewski, Krystyna M. (1998-06-XX). "BORON IN PLANT STRUCTURE AND FUNCTION". Annual Review of Plant Physiology and Plant Molecular Biology (ภาษาอังกฤษ). 49 (1): 481–500. doi:10.1146/annurev.arplant.49.1.481. ISSN 1040-2519. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  61. "Functions of Boron in Plant Nutrition" (PDF). U.S. Borax Inc. Archived from the original (PDF) สืบค้นเมื่อ 09 เมษายน ค.ศ. 2021
  62. Nielsen, Forrest H. (1998). "Ultratrace elements in nutrition: Current knowledge and speculation". The Journal of Trace Elements in Experimental Medicine (ภาษาอังกฤษ). 11 (2–3): 251–274. doi:10.1002/(SICI)1520-670X(1998)11:2/33.0.CO;2-Q. ISSN 1520-670X.
  63. Health advisories for drinking water contaminants : United States Environmental Protection Agency Office of Water health advisories. United States. Environmental Protection Agency. Office of Water. Boca Raton: Lewis Publishers. 1993. ISBN 0-87371-931-X. OCLC 27011788.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  64. Nielsen, Forrest H. (1997). "[No title found]". Plant and Soil. 193 (2): 199–208. doi:10.1023/A:1004276311956.
  65. Garrett, Donald E. (1998). Borates : handbook of deposits, processing, properties, and use. San Diego: Academic Press. ISBN 978-0-08-050021-8. OCLC 162128920.
  66. Klotz, J. H.; Moss, J. I.; Zhao, R.; Davis, L. R.; Patterson, R. S. (1994-12-XX). "Oral toxicity of boric acid and other boron compounds to immature cat fleas (Siphonaptera: Pulicidae)". Journal of Economic Entomology. 87 (6): 1534–1536. doi:10.1093/jee/87.6.1534. ISSN 0022-0493. PMID 7836612. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  67. Garrett, Donald E. (1998). Borates : handbook of deposits, processing, properties, and use. San Diego: Academic Press. ISBN 978-0-08-050021-8. OCLC 162128920.
  68. "Environmental Health Criteria 204: Boron". the IPCS. 1998. สืบค้นเมื่อ 09 เมษายน ค.ศ. 2021