น้ำประสานทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำประสานทอง/บอแรกซ์
Borax crystals
Ball-and-stick model of the unit cell of borax decahydrate
ชื่อตาม IUPAC Sodium tetraborate

decahydrate

เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [1303-96-4][CAS]
EC number 215-540-4
ATC code S01AX07
SMILES
 
InChI
 
ChemSpider ID 17339255
คุณสมบัติ
สูตรเคมี Na2B4O7·10H2O or Na2[B4O5 (OH) 4]·8H2O
มวลต่อหนึ่งโมล 381.38 (decahydrate)
201.22 (anhydrate)
ลักษณะทางกายภาพ white solid
ความหนาแน่น 1.73 g/cm3 (solid)
จุดหลอมเหลว

743 °C, 1016 K, 1369 °F (anhydrate[1])

จุดเดือด

1575 °C, 1848 K, 2867 °F

ความอันตราย
NFPA 704
NFPA 704.svg
0
1
0
 
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนที่เกี่ยวข้อง
แคทไอออนที่เกี่ยวข้อง
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

น้ำประสานทอง หรือ บอแรกซ์ เป็นสารประกอบที่สำคัญของโบรอน ชื่อทางเคมี โซเดียมโบเรท ชื่อสามัญ น้ำประสานทอง หรือผงเนื้อกรอบ หรือเพ่งแซ เมื่อถ้าอยู่ในรูปผลึกบริสุทธิ์จะไม่มีสี ถ้านำไปเผาต่อจนไม่มีน้ำอยู่ในโมเลกุลจะเรียกน้ำประสานทองสะตุ เป็นผงมีสีขาว ละลายน้ำได้ง่าย มีรสขมเล็กน้อย

การใช้งาน[แก้]

บอแรกซ์เป็นสารสีขาวเป็นผงหรือที่เรียกว่าโซเดียมบอเรต โซเดียมเตตระบอเรตหรือไดโซเดียมเตตระบอเรต มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะน้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือนและสารเพิ่มคุณภาพสำหรับน้ำยาซักผ้า เป็นส่วนผสมของโบรอน โซเดียม และออกซิเจน และมีการใช้ในการเชื่อมทองตามชื่อน้ำประสานทองและมีการใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณและปัจจุปัน[2][3]

การใช้งานและแพทย์แผนโบราณ[3]

"น้ำประสานทอง" เป็นเกลือรูปแบบหนึ่ง ที่พบได้ในธรรมชาติ

มีมากในประเทศอินเดีย เนปาล ทิเบต และจีน

ส่วนที่ใช้ในไทย นำเข้ามาจาก 2 แหล่ง คือ จากอินเดีย เรียก น้ำประสานทองเทศ

และ จากจีน เรียก น้ำประสานทองจีน

ซึ่งในการทำทองรูปพรรณ

จะมีการใช้คุณสมบัติของสารเคมีชนิดหนึ่ง

มาทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมทองคำบริสุทธิ์ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

สารเคมีตัวนั้น ก็คือ น้ำประสานทอง นั่นเอง

ผงผลึกสีขาวใส ทำไมเรียก "น้ำ"[4]

น้ำประสานทอง มีลักษณะเป็นผลึกใสหรือเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น รสหวาน

ถ้านำไปผ่านความร้อนแบบรวดเร็วที่อุณหภูมิประมาณ 75 องศาเซลเซียส

จะละลายกลายเป็นน้ำ

แต่ถ้าเผาที่ความร้อน 350 องศาเซลเซียส

จะไม่มีน้ำอยู่ในโมเลกุล เรียกว่า "น้ำประสานทองสะตุ"

การนำน้ำประสานทองไปสะตุในอุณหภูมิที่สูง

โดยตั้งเตาด้วยแกลบ จุดไฟ และเผาผ่านหม้อดิน

การก่อไฟด้วยแกลบ จะให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงมาก

แต่หากสะดวกจะใช้ถ่าน หรือเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ก็สามารถใข้ได้

สรรพคุณทางยา

น้ำประสานทองใช้ภายนอก จะช่วยแก้ร้อนใน ถอนพิษ กันบูด บำบัดแผลในช่องปากและลิ้น เจ็บคอ หูมีน้ำหนอง

กลากเกลื้อนตามมือ รากฟันอักเสบ ปากมดลูกเป็นแผลเน่า ช่องคลอดอักเสบ โดยสามารถใช้ร่วมกับพิมเสนได้

น้ำประสานทองใช้กิน จะช่วยแก้ร้อนใน ละลายเสมหะ บำบัดอาการไอ ไอร้อยวัน[5]

น้ำประสานทองเทศ

รสเย็น ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงที่เกิดในลำคอ แก้ไข้ผอมเหลือง แก้ริดสีดวงทวาร

แก้ฟกบวมแก้หืด

น้ำประสานทองสะตุ

(ได้จากการนำน้ำประสานทองเทศมาสะตุ)

รสปร่าชา แก้ละอองซาง ลอกลิ้นเด็ก กัดเม็ดยอดในปากคอ กัดเม็ดฝี

บอแรกซ์ถูกใช้เป็นส่วนผสมในอาหารมาตั้งแต่ยุคโบราณ [6]โดยเฉพาะใช้ในการถนอมอาหาร บอแรกซ์สามารถใช้แทนเกลือแกงในกรณีที่ไม่ต้องการให้มีรสเค็ม เช่นใช้ดองไข่ปลาคาร์เวียร์เป็นต้น ชาวเอเชียบางประเทศนิยมใส่ในแป้งให้เหนียวกรุบ ใส่ในลูกชิ้นทำให้เนื้อเหนียวเด้ง ประวัติการใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ยาวนานนับพันปี


การใช้ารบอแรกซ์ในครัวเรือน[แก้]

สารบอแรกซ์มีประโยชน์หลายอย่างในตัวมันเอง แถมยังเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย ต่อไปนี้คือการใช้ผงบอแรกซ์และบอแรกซ์บริสุทธิ์ในน้ำ
  • ยาฆ่าแมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงสาบและป้องกันมอด (สารละลาย 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับผ้าขนสัตว์)
  • ยาฆ่าเชื้อรา
  • สารกำจัดวัชพืช
  • สารดูดความชื้น
  • น้ำยาซักผ้า
  • น้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือน
  • น้ำยาปรับสภาพน้ำ
  • วัตถุเจือปนอาหารเป็นสารกันบูด (ห้ามในบางประเทศ)

บอแรกซ์เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกหลายอย่าง ได้แก่:

  • บัฟเฟอร์โซลูชั่น
  • สารหน่วงไฟ
  • ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน
  • แก้ว เซรามิก และเครื่องปั้นดินเผา
  • เคลือบอีนาเมล
  • สารตั้งต้นของกรดบอริก
  • โครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น ไฟสีเขียวเมือกและผลึกบอแรกซ์
  • เคมีวิเคราะห์  บอแรกซ์บีดทดสอบ
  • ฟลักซ์สำหรับเชื่อมเหล็กและเหล็กกล้า
  • เชื่อมทองคำ
    • เชื่อมทองคำ
ความเป็นพิษ (toxicity) บอแรกซ์ไม่มีความเป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่อร่างกายคล้ายการได้รับเกลือแกง (NaCl) โดยร่างกายสามารถใช้ประโยชน์จากโซเดียมในบอแรกซ์ได้เช่นเดียวกับเกลือแกง
 สารบอแรกซ์ในรูปแบบปกติของโซเดียม เตตระบอเรต ดีคาไฮเดรตไม่มีพิษรุนแรง ซึ่งหมายความว่าจำเป็นต้องสูดดมหรือกินเข้าไปในปริมาณมากเพื่อสร้างผลกระทบต่อสุขภาพ ยาฆ่าแมลงเป็นหนึ่งในสารเคมีที่ปลอดภัยที่สุดที่มีอยู่ การประเมินสารเคมีในปี 2549 โดย EPA ของสหรัฐอเมริกา ไม่พบสัญญาณของความเป็นพิษจากการสัมผัสและไม่มีหลักฐานของความเป็นพิษต่อเซลล์ในมนุษย์ ข้อมูลจากผลการศึกษาหนึ่งระบุว่า บอแรกซ์หรือ sodium tetraborate decahydrate ไม่มีผลพิษฉับพลัน (acutely toxic) ค่า LD50 (ขนานอันตรายถึงชีวิตโดยเฉลี่ย; median lethal dose) ของบอแรกซ์อยู่ที่ 2.66 กรัม/กิโลกรัม จากข้อมูลการทดลองในหนู การกินบอแรกซ์ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม[7]

บอแรกซ์มีการใช้ในยาฆ่าแมลงในสหรัฐภายใต้การควบคุมมาตั้งแต่ปี 1946 กระทั่งในปี 1986 ได้มีการยกเลิกการควบคุมเนื่องจากภาวะพิษที่ไม่สูงของบอแรกซ์ ในรายงานของ EPA สองฉบับ[8][9]

การได้รับบอแรกซ์ต่อเนื่องอาจก่อการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ การทานบอแรกซ์อาจก่ออาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน, ปวดท้อง และ ท้องเสีย ผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและสมองได้แก่อาการปวดศีรษะและความเฉื่อยชา ในกรณีที่รุนแรงอาจพบผื่นแดงได้[10]

ข้อมูลจากศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคอินโดนีเซีย (Indonesian Directorate of Consumer Protection) ระบุเตือนว่าบอแรกซ์อาจก่อมะเร็งตับได้หากมีการรับประทานบอแรกซ์ต่อเนื่องยาวนาน 5–10 ปี[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lide, D. R., บ.ก. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. p. 88. ISBN 0-8493-0486-5.
  2. "6 Final Report on the Safety Assessment of Sodium Borate and Boric Acid". Journal of the American College of Toxicology. 2 (7): 87–125. 1983-12. doi:10.3109/10915818309142004. ISSN 0730-0913. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. 3.0 3.1 Vorawut Wongumpornpinit (2019-03-21). "ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางช…". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. "[อัฏฐเวชคลินิกการแพทย์แผนไทย] #น้ำประสานทอง". www.blockdit.com.
  5. "น้ำประสานทอง". www.doohealthy.com.
  6. "Boric Acid and Borax in Food". www.cfs.gov.hk.
  7. Helmenstine, แอนน์ มารี, Ph.D. "สารบอแรกซ์คืออะไรและใช้อย่างไร" ThoughtCo, 7 กันยายน 2021, thoughtco.com/what-is-borax-where-to-get-608509
  8. "Pesticide Reregistration Status | Pesticides | US EPA" (PDF). Epa.gov. สืบค้นเมื่อ August 7, 2016.
  9. "Pesticides | US EPA" (PDF). Epa.gov. August 20, 2015. สืบค้นเมื่อ August 7, 2016.
  10. Reigart, J. Routt (2009). Recognition and Management of Pesticide Poisonings (5th Ed. ) (ภาษาอังกฤษ). DIANE Publishing. p. 76. ISBN 978-1-4379-1452-8. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ IndonesiaDCP