โกโกริโกะ เกมส์กึ๋ย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
โกโกริโกะ เกมกึ๋ย | |
---|---|
いきなり!黄金伝説。 (อิกินาริ!โอกงเด็นเซ็ตสึ) | |
ประเภท | เกมโชว์ วาไรตี้โชว์ |
พัฒนาโดย | ทีวีอาซาฮิ |
เสนอโดย | เอ็นโด โซโช (คู่หูโกโกริโกะ) ทานากะ นาโอกิ (คู่หูโกโกริโกะ) ฮามากูจิ มาซารุ (โยอิโกะ) ทากาฮิโระ ซูซูกิ (ทาเกะ & โทชิ) โทชิกาซุ มิอูระ (ทาเกะ & โทชิ) ยามาซากิ ฮิโรนาริ (อันทอชเอเบิล) วากาบายาชิ มาซายารุ (โอโดริ) คาซูกะ โทชิอากิ (โอโดริ) อิกูเอะ ซากากิบาระ ฮิซาโมโตะ มาซามิ และอื่น ๆ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ญี่ปุ่น |
ภาษาต้นฉบับ | ญี่ปุ่น |
จำนวนฤดูกาล | 3 |
จำนวนตอน | 866 ตอน |
การผลิต | |
ความยาวตอน | 30 นาที (2541-2543) 1 ชั่วโมง (2543-2559) |
บริษัทผู้ผลิต | ทีวีอาซาฮิ |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ทีวีอาซาฮิ (ญี่ปุ่น) ทรูเอ็กไซต์ (ไทย) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ไทย) |
ออกอากาศ | 6 ตุลาคม 2541 – 22 กันยายน 2559 |
โกโกริโกะ เกมกึ๋ย (ญี่ปุ่น: いきなり!黄金伝説。; ทันใดนั้น!ตำนานทองคำ) เป็นรายการเกมโชว์กึ่งวาไรตี้จากทีวีอาซาฮิของประเทศญี่ปุ่นที่จะให้เหล่าคนดังในวงการบันเทิงของญี่ปุ่นได้ทำภารกิจสร้างตำนานแปลก ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2541 โดยออกอากาศยาวนานถึง 18 ปี และยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559 สำหรับในประเทศไทย ได้นำเทปของรายการนี้มาออกอากาศทางช่องทรูเอ็กไซต์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.00 จนถึง 22.00 น. พร้อมพากย์เสียงภาษาไทย นอกจากนี้ ยังเคยถูกนำมาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2550 - 2551 ในชื่อ โกโกริโกะ เกมสร้างตำนาน โดยออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 00.00-00.30 น. ซึ่งก็พากย์เสียงภาษาไทยเช่นกัน
ประวัติ
[แก้]ผู้ดำเนินรายการคือ เอ็นโด โซโช และ ทานากะ นาโอกิ คู่หูตลกโกโกริโกะ พร้อมทั้งแขกรับเชิญและผู้ร่วมสร้างตำนานในสตูดิโอ ได้แก่ ฮามากูจิ มาซารุ, ทากาฮิโระ ซูซูกิ, โทชิกาซุ มิอุระ, ยามาซากิ ฮิโรนาริ, วากาบายาชิ มาซายารุ, คาซูกะ โทชิอากิ, อิกูเอะ ซากากิบาระ, ฮิซาโมโตะ มาซามิ, เรียว ฟูกาวะ และ เชลลี่ รวมไปถึงดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นอีกมากมายที่หมุนเวียนกันมาร่วมรายการ
ในช่วงแรกที่ โกโกริโกะ เกมกึ๋ย รายการออกอากาศ จะมีความยาวของแต่ละเทปเพียงแค่ 30 นาที โดยจะออกอากาศในวันอังคาร เวลา 01.00 จนถึง 01.30 น. (ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น) ในชื่อ โกโกริโกะ ตำนานทองคำ (ญี่ปุ่น: ココリコ黄金伝説 อังกฤษ: Cocorico Golden Legend) จนถึงเดือน เมษายน พ.ศ. 2542 ได้ปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็นทุกวันจันทร์ เวลา 23.25 จนถึง 23.55 น. รวมถึงเปลี่ยนชื่อรายการเป็น โกโกริโกะ คลาสเอ(ญี่ปุ่น: ココリコA級伝説 อังกฤษ: Cocorico Class A Legend) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 ได้มีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็น โกโกริโกะ เกมกึ๋ย/ทันใดนั้น!ตำนานทองคำ (ญี่ปุ่น: いきなり!黄金伝説。 อังกฤษ: Ikinari!Ougon Densetsu) รวมถึงปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็นทุกวันอังคาร เวลา 19.00 จนถึง 20.00 น. โดยการปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศในครั้งนี้ ได้มีการขยายเวลาการออกอากาศเป็น 1 ชั่วโมงเต็ม (ยกเว้นในกรณีที่เป็นเทปตอนพิเศษ จะมีการออกอากาศมากกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งบางเทปอาจออกอากาศนานถึง 5 ชั่วโมง) ก่อนที่ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 จะมีการปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศอีกครั้งเป็นทุกวันพฤหัสบดี เวลา 19.00 จนถึง20.00 น. และออกอากาศเวลานี้จนกระทั่งยุติการออกอากาศ แต่การปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศในครั้งหลังนี้ ก็ยังคงใช้ชื่อรายการเช่นเดิมโดยไม่ได้เปลี่ยนชื่อรายการแต่อย่างใด
รูปแบบการแข่งขัน
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
การอยู่บนเกาะร้างด้วยเงิน 0 เยน
[แก้]มาซารุ ฮามากูจิ และ ชินยะ อารีโนะ จากคู่หูตลกโยอิโกะ (รวมทั้งไก่ชากูเระ) จะต้องใช้ชีวิตอยู่กลางเกาะร้างที่ไร้ซึ่งผู้คน อาคารบ้านเรือน และสิ่งอำนวยความสะดวก มีอุปกรณ์ติดตัวมาได้ ได้แก่ หม้อ กระทะ เครื่องปรุงอาหาร และเครื่องมือช่างต่าง ๆ โดยจะต้องหาวัตถุดิบ (เนื้อสัตว์ ปลา ผัก ผลไม้ป่า) มาประกอบอาหารเอง รวมทั้งในบางครั้งรายการจะกำหนดให้มีการสำรวจเกาะด้วย ปกติแล้ว ฮามากุจิ จะมีหน้าที่หาสัตว์ทะเลมาประกอบอาหาร เนื่องจากมีความชำนาญในการใช้ฉมวกสามง่ามเป็นเครื่องมือในการจับปลาเป็นพิเศษ รวมทั้งการสำรวจสภาพแวดล้อมรอบ ๆ เกาะ และอาริโนะ จะมีหน้าที่ผลิตเครื่องใช้สอย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตาย่าง หรือสร้างที่พักอาศัย หาฟืนก่อไฟ และนำสัตว์ทะเลที่ฮามากุจูจับได้มาประกอบอาหารอีกด้วย
การใช้ชีวิตในธรรมชาติด้วยเงิน 0 เยน พร้อมกับหาวัตถุดิบปริศนา
[แก้]การแข่งขันในภารกิจนี้จะมีการแบ่งเป็นทีม ทุกทีมจะถูกแยกออกไปรับภารกิจในพื้นที่ที่แตกต่างกันไปทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยทางรายการจะให้แต่ละทีมหาวัตถุดิบปริศนาที่รายการกำหนดให้ และทุกทีมสามารถเลือกหาวัตถุดิบที่ตัวเองอยากได้ตามใจชอบ ซึ่งถ้าหาวัตถุดิบปริศนาเจอก็ถือว่าทำภารกิจสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีการโหวตคะแนนรายบุคคลและรายทีมจากหญิงสาว 100 คนในห้องแพร่ภาพ หากว่าทีมไหนได้คะแนนมากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ
กินอยู่อย่างประหยัดด้วยเงิน 10,000 เยนเป็นเวลา 1 เดือน
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเงินสดจำนวน 10,000 เยน เมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน และจะต้องใช้เงินจำนวนนี้ในการซื้อของอุปโภค บริโภค ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม โดยจะต้องใช้ในวงเงิน 10,000 เยน ถ้าใช้เกินวงเงินจะถูกปรับแพ้ทันที โดยแต่ละการแข่งขันจะมีรูปแบบแตกต่างกันดังนี้:
- การแข่งขันกินอยู่อย่างประหยัด 1 เดือน 10,000 เยน
- จะมีผู้เข้าแข่งขัน 2 คนแข่งขันกัน ผู้เข้าแข่งขันที่มีเงินเหลือมากที่สุดหลังหักค่าเช่าห้องออกแล้วจะถือเป็นผู้ชนะ
- การแข่งขันกินอยู่อย่างประหยัด 1 เดือน 10,000 เยน เพื่อชิงความเป็นเจ้าแห่งความประหยัด (ประเภท 4 คน) - จะมีผู้เข้าแข่งขัน 4 คน และผู้เข้าแข่งขันที่มีเงินเหลือน้อยที่สุดในวันที่ 20 และ 25 จะถูกคัดออกจากการแข่งขันทันที ในวันสุดท้าย (วันที่ 30) ผู้ใดมีเงินเหลือมากที่สุดเมื่อหักค่าเช่าห้องออกแล้วจะเป็นผู้ชนะ
- การแข่งขันกินอยู่อย่างประหยัด 1 เดือน 10,000 เยน (ประเภท 3 คน) - จะมีผู้เข้าแข่งขัน 3 คน และผู้เข้าแข่งขันที่มีเงินเหลือมากที่สุดในวันสุดท้าย (วันที่ 30) เมื่อหักค่าเช่าห้องออกแล้วจะเป็นผู้ชนะ โดยไม่มีการคัดผู้ที่เหลือเงินน้อยที่สุดออกจากการแข่งขัน
- การกินอยู่อย่างประหยัดแบบชีวิตคู่หนุ่มสาว - จะมีคู่หนุ่มสาว 1 คู่มาใช้ชีวิตร่วมกันเป็นเวลา 1 เดือน โดยจะต้องใช้ห้องร่วมกัน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็รวมกัน ถ้าคู่หนุ่มสาวสามารถอยู่ได้ด้วยเงิน 10,000 เยนได้ตามระยเวลาที่กำหนดโดยเงินไม่หมดก่อนถือว่าทำภารกิจสำเร็จ
- การแข่งขันกินอยู่อย่างประหยัดของคู่หู - ลักษณะการแข่งขันคล้ายกับข้อ 1 แต่จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีม ทีมละ 2 คน โดยจะได้เงินสดทีมละ 20,000 เยน
- การแข่งขันกินอยู่อย่างประหยัดของคู่สามีภรรยา - ลักษณะการแข่งขันคล้ายกับ ข้อ 4 แต่ทีมเข้าแข่งขันจะเป็นสามี ภรรยา และแต่ละทีมจะอยู่คนละจังหวัดกัน
- การแข่งขันกินอยู่อย่างประหยัดพร้อมกับรีโนเวทบ้าน - ลักษณะการแข่งขันต่างจากข้อที่ผ่านๆมา โดยจะมีผู้เข้าแข่งขันเพียงคนเดียว ซึ่งทางรายการจะเลือกบ้านที่มีสภาพเก่าให้ผู้เข้าแข่งขันอาศัยอยู่ และจะมอบเงินให้เป็นจำนวน 20,000 เยน ซึ่งจะแยกเป็นเงินสำหรับค่ากินและค่าสาธรณูปโภค 10,000 เยน และเงินสำหรับค่าอุปกรณ์รีโนเวทบ้านอีก 10,000 เยน หากในวันสุดท้าย (วันที่ 30) ยังคงมีเงินเหลือจะถือว่าทำภารกิจสำเร็จ
กินให้หมด
[แก้]เป็นการให้ผู้เข้าร่วมรายการรับประทานวัตถุดิบ/อาหารที่ทางรายการกำหนดให้หมด และห้ามรับประทานอย่างอื่นนอกจากเครื่องดื่มต่างๆ โดยจะมีรูปแบบแตกต่างกันดังนี้
- กินปลาทูน่าให้หมด - ผู้เข้าร่วมรายการ 2 คนจะต้องรับประทานอาหารที่มีปลามากูโร่ (ปลาทูน่า) ที่มีขนาดใหญ่ทั้งตัว เป็นส่วนประกอบหลัก โดยจะมีพ่อครัวประกอบอาหารที่ให้เมื่อต้องการ และสามารถเลือกชนิดของอาหารได้ ถ้ารับประทานปลาหมดทั้งตัวแล้ว จะถือว่าการแข่งขันสิ้นสุด
- กินกระเทียม - ผู้เข้าร่วมรายการ 2 คนจะต้องรับประทานอาหารที่มีกระเทียมชนิดต่างๆ เป็นส่วนประกอบหลัก โดยจะมีพ่อครัวประกอบอาหารให้เมื่อต้องการ แต่เมนูอาหารจะต้องเลือกจากตู้ไขไข่ในห้อง เมื่อแคปซูลเมนูหมดถือว่าการแข่งขันสิ้นสุด
- กินอาหารเพียงอย่างเดียวให้หมดภายใน 1 สัปดาห์ - ผู้เข้าร่วมรายการ 2 คน จะต้องกินอาหารเพียงอย่างเดียวตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีการกำหนดอาหารที่ผู้เข้าร่วมรายการจะต้องกิน เช่น ขนมเซเบ้ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดจำนวนของอาหารที่ผู้เข้าร่วมรายการต้องกินให้หมดภายใน 1 สัปดาห์ หากสามารถกินได้หมดภายใน 1 สัปดาห์จะถือว่าทำภารกิจสำเร็จ
- 100 อันดับเค้กที่นิยมมากที่สุดในญี่ปุ่น - ผู้เข้าร่วมรายการ 2 คนจะต้องรับประทานเค้กเป็นอาหาร โดยจะต้องรับประทานเค้กตามลำดับที่ถูกโหวตจัดอันดับทางเว็บไซต์ของรายการ ถ้าผู้เข้าร่วมรายการรับประทานเค้กหมดครบ 100 อันดับถือว่าการแข่งขันเป็นอันสิ้นสุด
- 100 อันดับของหวานที่นิยมมากที่สุดในญี่ปุ่น - ลักษณะการแข่งขันคล้ายกับ ข้อ 3 แต่เปลี่ยนจากเค้กเป็นของหวานทุกชนิดที่ถูกโหวตจัดอันดับทางเว็บไซต์ของรายการ
- กินอาหารในร้านเนื้อย่างทุกอย่าง - ผู้เข้าร่วมรายการ 3 คนจะต้องรับประทานอาหารตามลำดับในรายการอาหารทุกอย่าง จนกว่าจะครบทุกเมนู (ไม่เว้นแม้กระทั่ง ผักสด หรือ ข้าวเปล่าขนาดต่างๆ)
- กินเจลาตินผัก - ผู้เข้าร่วมรายการที่เป็นผู้หญิง 3 คน (กลุ่มโมริซังจู) ซึ่งมีน้ำหนักตัวมาก จะต้องรับประทานอาหารที่มีเจลาตินผักเป็นส่วนประกอบตามเวลาที่กำหนดให้ แต่สามารถเลือกวัตถุดิบหลักได้ โดยก่อนและหลังการแข่งขันจะมีการชั่งน้ำหนักเพื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังการบริโภคเจลาตินผัก ว่ามีน้ำหนักลดมาก/น้อยเพียงใด
- กินซูชิ - ผู้เข้าร่วมรายการ 2 คนจะต้องรับประทานซูชิให้ครบทั้ง 110 จาน โดยจะเพิ่มขนาดของคำตามราคาที่กำหนด ตั้งแต่ 105 เยน จนถึง 1,000 เยน!
- ตะลุยกิน - แกลโซเนะ สาวน้อยผู้กินจุ จะต้องตะลุยกินอาหารตามร้านที่รายการกำหนดให้ โดยเธอจะต้องกินให้ครบทุกร้าน หากกินได้ครบจะถือว่าทำภารกิจสำเร็จ
- ร้านอาหารที่ต้องต่อแถวซื้อ - 2 ตลกคู่หู ยูจิ-โคจิ จะต้องตะลุยไปตามร้านอาหารชื่อดังต่างๆที่มีลูกค้าต่อแถวรอซื้อกันยาวเหยียด โดยแต่ละร้านทางรายการจะจัดอันดับให้ และจะต้องไปให้ครบทุกร้านตามเวลาที่กำหนด หากไปได้ครบทุกร้านภายในเวลาที่กำหนด จะถือว่าทำภารกิจสำเร็จ
การใช้ชีวิตอยู่กับสัตว์เป็นเวลา 1 สัปดาห์
[แก้]คู่หูโกโกริโกะ (เอ็นโด้และทานากะ) พิธีกรของรายการ จะต้องทำภารกิจใช้ชีวิตอยู่กับสัตว์ต่างๆ เช่น หมู วัว แพะ ไก่ นก หรือสัตว์อื่นๆเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งสัตว์ที่จะให้พวกเขาใช้ชีวิตอยู่กับพวกมันตลอดทั้งสัปดาห์จะต่างชนิดกันไปในแต่ละครั้ง โดยในบางครั้งพวกเขาจะต้องอาศัยผลผลิตจากสัตว์เหล่านั้นเพื่อกินเป็นอาหาร เช่น ไข่ไก่ นมวัว เป็นต้น และพวกเขาจะต้องอยู่ให้ได้ครบ 1 สัปดาห์ หากสามารถอยู่ได้ครบ 1 สัปดาห์จะถือว่าทำภารกิจสำเร็จ