หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์
หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ | |
---|---|
![]() โปสเตอร์หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ฤดูกาลที่ 7 | |
ญี่ปุ่น | ドクターX〜外科医・大門未知子〜 |
ประเภท | การแพทย์ |
บทโดย |
|
กำกับโดย | นาโอมิ ทามูระ ฮิเดโตโมะ มัตสึดะ ฮายาโตะ ยามาดะ |
แสดงนำ | |
บรรยายโดย | โทโมโรโวะ ทางูจิ |
ธีมปิด |
|
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาญี่ปุ่น |
จำนวนฤดูกาล | 7 ฤดูกาล |
จำนวนตอน | 69 ตอน + 1 ตอนพิเศษ (รายชื่อตอน) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | ซาโตโกะ อูจิยามะ |
ความยาวตอน | 54 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เดอะเวิร์ค |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ทีวีอาซาฮิ |
ระบบเสียง | ระบบเสียงสเตอริโอ |
ออกอากาศ | 18 ตุลาคม ค.ศ. 2012 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 2021 |
ลำดับเหตุการณ์ | |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | หมอซ่าส์พันธุ์วาย |
หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ (ญี่ปุ่น: ドクターX〜外科医・大門未知子〜; โรมาจิ: Dokutā Ekkusu ~Gekai・Daimon Michiko~; อังกฤษ: Doctor X Surgeon Michiko Daimon[a]) เป็นละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นประเภทการแพทย์ ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮิ ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2012 จนถึง 16 ธันวาคม 2021 มีตัวละครหลักคือมิจิโกะ ไดมง นำแสดงโดย เรียวโกะ โยเนกูระ หรือที่รู้จักกันในวงการแพทย์สากลภายใต้นาม "ดอกเตอร์เอ็กซ์" ไดมงได้เดินเข้าไปในห้องประชุมพนักงานระหว่างพวกเขากำลังปรึกษาหารือการผ่าตัดคนไข้อยู่นั้น เธอได้คัดค้านแผนการผ่าตัดดังกล่าวอย่างกล้าหาญและสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ทำให้โรงพยาบาลได้ตัดสินใจจ้างไดมงภายใต้เงื่อนไขที่เธอไม่จำเป็นที่จะต้องสิ่งใดที่ไม่ต้องใช้ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะรวมถึงการเข้าร่วมประชุมสัมมนาหรือการปกปิดชู้สาวของแพทย์อาวุโส[1]
ไดมงต้องประสบพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลที่เธอถูกว่าจ้าง โดยในฤดูกาลที่ 1 สำหรับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทโตที่สาม[2] ฤดูกาลที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลมหาวิทาลัยเทโตสาขาหลัก[3] ฤดูกาลที่ 3 สำหรับศูนย์การแพทย์พัฒนาแห่งชาติ[4] และตั้งแต่ฤดูกาลที่ 4 เป็นต้นไปไดมงได้รับการว่าจ้างโดยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโทเต วลีเด่นของเธอคือ "[ฉัน]ไม่ทำ"[b] และ "เพราะว่าฉันไม่เคยพลาด"[c][5] ไดมงสามารถทำการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูงในขณะที่แพทย์ศัลยกรรมไม่สามารถทำได้ เธอเปรียบเสมอหมาป่าที่ไม่มีฝูงหากมีเพียงแต่ทักษะและใบประกอบโรคศิลปะเท่านั้น แม้ว่าการมีไดมงอยู่ภายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของตนอาจส่งผลดีก็ตาม แต่ไดมงมักเลือกที่จะดำเนินการผ่าตัดที่อันตรายและการแพทย์ทั่วโลกอาจจะยังไม่ยอมรับ วิธีการผ่าตัดของเธอมักได้รับการวิพากย์วิจารณ์โดยเหล่าอาจารย์แพทย์มากฝีมือและสาธารณชนอยู่บ่อยครั้ง แม้ว่าจะเป็นเช่นนี้ไดมงยังมีผู้จัดการจัดหาแพทย์ อากิระ คัมบาระ (อิตโตกุ คิชิเบะ) และวิสัญญีแพทย์ ฮิโรมิ โจโนอูจิ (ยูกิ อูจิดะ) คอยสนับสนุนเธออยู่
ฤดูกาลที่ 1 ของหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ เป็นละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นเชิงพาณิชย์ที่ทำเรตติงตอนสุดท้ายได้สูงที่สุดถึง 24.4%[6] ขณะเดียวกันเรตติงตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 2 อยู่ที่ 26.9% ซึ่งมากที่สุดในบรรดาละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นปี 2013[7] อีกทั้งยังได้รับรางวัลโตเกียวดราม่าอวอร์ด[8] และรางวัลเดอะเทเลวิชันอาคาเดมีในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม[9] แม้ว่าหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ถือได้ว่าเป็นละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2012 ก็ตาม แต่ทั้งโยเนกูระและสังกัดนักแสดงของเธอ โอสกาโปรโมชัน ก็ไม่เห็นด้วยกับการผลิตและจะไม่แสดงนำในฤดูกาลต่อไป ๆ ตามคำร้องขอของสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮิ[10] การตอบรับของผู้ชมที่มีต่อหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ส่วนใหญ่เป็นเชิงบวก โดยแม้ว่ารายการจะดำเนินมาถึงฤดูกาลที่ 4 แล้วแต่ความนิยมยังคงไม่ถอยลง[11][12] เรตติงเฉลี่ยของหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ โดยทั่วไปอยู่ตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แต่ในฤดูกาลที่ 6 และ 7 เรตติงเฉลี่ยกลับค่อย ๆ ตกลง[13][14]
การผลิต[แก้]
การออกแบบตัวละครมิจิโกะ ไดมง[แก้]
หนึ่งในผู้ประพันธ์บทละครหลักของหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ นากาซาโนะ มิโฮะ เป็นผู้ออกแบบตัวละครมิจิโกะ ไดมง ด้วยความรู้สึกนึกคิดที่ว่าหากตนเป็นคนไข้แล้วอยากจะให้แพทย์แบบนี้มาผ่าตัดให้กับเธอ[15] แต่ในขณะเดียวกันก็ "หนักแน่น"[16] "ดุร้าย" และ "อันตราย" มิโฮะยังกล่าวว่าจำนวนของแพทย์อิสระยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการภาวะขาดแคลนแพทย์ประจำโรงพยาบาลในประเทศญี่ปุ่น[17] ขณะที่เรียวโกะ โยเนกูระ ผู้แสดงเป็นมิจิโกะ ไดมงได้กล่าวในงานแถลงข่าวการผลิตและออกอากาศฤดูกาลที่ 2 ของหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ว่าไดมงเป็นคนที่ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ไม่สนใจเรื่องราวในอดีต หากแต่เพียงเป็นคนที่มองไปด้านหน้าและเดินตามเส้นทางของเธอ[6][18]
นพ.ยูตากะ โมริตะ นักข่าวการแพทย์และหนึ่งในผู้ควบคุมเทคนิคการแพทย์ในหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ให้สัมภาษณ์กับโทโยเกไซ ว่าในปัจจุบันศัลยแพทย์ในด้านต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงในการผ่าตัดเพื่อหลีกเลี่ยงการฟ้องร้องคดีในชั้นศาล โมริตะจึงต้องการสร้างตัวละครที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างศัลยแพทย์และคนไข้[19] ชุดแพทย์ของไดมงจะสวมชุดกาวน์เหมือนแพทย์ทั่วไป แต่ด้านในจะสวมกระโปรงสั้นและรองเท้าส้นเข็มซึ่งแตกต่างจากแพทย์ที่ประพฤติตนเรียบร้อยอื่น ๆ[20]
ทีมผลิต[แก้]
ผู้อำนวยการผลิตเพียงคนเดียวของหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 1 ซาโตโกะ อูจิยามะ กล่าวว่าการผ่าตัดที่แสดงในละครโทรทัศน์นั้นอิงมาจากการผ่าตัดจริง ๆ ในโรงพยาบาล โดยมี นพ.นีมูระ คากุ ศัลยแพทย์ประสาทและสมอง วิทยากรเทคนิคการแพทย์ สมาคมโรคหลอดเลือดสมองญี่ปุ่น[21] เป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องของการผ่าตัด[22] อูจิยามะกล่าวเพิ่มว่าละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่เกี่ยวกับการแพทย์มักมีผู้เชี่ยวชาญด้านแพทยศาสตร์ 1 ถึง 2 คนในฐานะผู้ตรวจสอบความถูกต้องของโรค ขั้นตอนการผ่าตัด เทคนิคการผ่าตัด หรือการวินิจฉัยโรค แต่ในหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ นั้นโดยเฉพาะฤดูกาลที่ 7 ซึ่งการระบาดทั่วของโควิด-19 ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินเรื่อง จึงต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการระบาดและด้านเฉพาะทางอื่น ๆ เพิ่มเติมรวม 10 คน[23] หลังการออกอากาศหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ฤดูกาลที่ 2 จบลง อูจิยามะให้สัมภาษณ์กับนิกกังเก็งได เกี่ยวกับผลิตฤดูกาลต่อ ๆ ไปของละครโทรทัศน์และการผลิตเป็นภาพยนตร์ว่า "ฉันไม่ทำ เว้นแต่เบื้องบนจะสั่งให้ทำ ฉันถึงจะทำ"[24]
นพ.ยูตากะ โมริตะ หนึ่งในผู้ควบคุมบทประพันธ์ละครโทรทัศน์หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ กล่าวว่าวงการแพทย์ในญี่ปุ่นนั้นปกครองด้วยระบบฟิวดัล อย่างที่พบเห็นได้ในละครโทรทัศน์เรื่อง ชิโรยเกียวโต (白い巨塔) ซึ่งเป็นโลกที่เหล่าหัวหน้าเป็นผู้อาวุโสสูงสุด ขณะที่ผู้ใต้ปกครองต้องฟังสิ่งที่ศาสตราจารย์พูด นพ.โมริตะ ต้องการตัวละครเอกที่สามารถปฏิรูปการแพทย์ด้วยทักษะฝีมือเป็นอาวุธในการเปลี่ยนแปลง[19][25] นาโอมิ ทามูระ ได้รับหน้าที่ในการกำกับหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 1[26] นอกจากนี้ทามูระยังได้กำกับทนายซ่าท้าคดีโหด ร่วมกับฮิเดโตโมะ มัตสึดะ[27] ที่เคยได้ร่วมกำกับละครโทรทัศน์เรื่องสุดยอดนักเจรจาสาว (交渉人〜THE NEGOTIATOR〜) โดยมีโยเนกูระนำแสดง[28]
สถานที่ถ่ายทำ[แก้]
ขณะไดมงได้รับการว่าจ้างโดยโรงพยาบาลที่ถูกสมมติขึ้นคือ "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทโตที่สาม" (帝都医科大学付属第三病院) ในฤดูกาลที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีชิบาอูระ ถูกเลือกในการถ่ายภาพภายนอกของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเตโทที่สาม[29] สำนักงานราชการตึกโชวะ (昭和庁舎) ตั้งอยู่ทางด้านหลังและเป็นส่วนหนึ่งของตึกราชการจังหวัดกุมมะ (群馬県庁舎) ถูกเลือกใช้แทนโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทโตสาขาหลักในฤดูกาลที่ 2 ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นในปี 1928 ช่วงยุคโชวะตอนต้น ผนังภายนอกของชั้นที่หนึ่งทำด้วยหินเทียม ส่วนชั้นที่สองและสามทำด้วยกระเบื้องลายครูด (scratched tiles)[30] สำหรับตั้งแต่ฤดูกาลที่ 4 จนถึง ฤดูกาลที่ 7 ไดมงถูกว่าจ้างโดยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโทเต ได้มีวิทยาลัยเทคโนโลยีญี่ปุ่น วิทยาเขตคามาตะ เป็นสถานที่แทนโรงพยาบาลที่สมมติขึ้น[31]
ลำดับเปิด[แก้]
ก่อนจะถึงลำดับเปิด เสียงบรรยายโดย โทโมโรโวะ ทางูจิ จะเริ่มขึ้นพร้อมกล่าวว่า "เกลียดการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เกลียดการใช้อำนาจ เกลียดการบังคับ มีแต่เพียงใบประกอบวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางเป็นอาวุธของเธอ ศัลยแพทย์มิจิโกะ ไดมง หรือที่รู้จักกันในนามด็อกเตอร์เอ็กซ์"[d][1] ตามด้วยสัญลักษณ์กากบาทสีแดงเต็มหน้าจอ ช่องว่างทั้ง 4 ที่เกิดขึ้นจากสัญลักษณ์กากบาทแสดงตัวละครหลักของเรื่องหรืออุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ จากนั้นจึงแสดงภาพไดมงนำแขนหรือขาของเธอพาด พิง หรือก่ายสัญลักษณ์กากบาท ขณะที่ภาพพื้นหลังเปิดเผยให้เห็นกระดานอ่านฟิล์มเอ็กซเรย์ที่ถูกแทนที่ด้วยรูปภาพของตัวละครหลัก[e] โคมไฟห้องผ่าตัดและตู้เก็บอุปกรณ์ผ่าตัด จากนั้นจึงเป็นภาพไดมงในระยะที่ใกล้ขึ้นและแสดงข้อความ "Doctor-X 外科医・大門未知子" ด้านล่างข้อความดังกล่าวแสดงข้อความ "ope."[f] แล้วตามด้วยตัวเลขโรมันแทนตัวเลขอาหรับหลังเครื่องหมายมหัพภาค ซึ่งตัวเลขโรมันจะเปลี่ยนไปตามลำดับตอนในฤดูกาล[1] ยกเว้นในกรณีที่เป็นตอนสุดท้ายจะแสดงคำว่า "last ope." แทน[32] โดยในฤดูกาลที่ 4 มีการเพิ่มฉากแสดงอุปกรณ์ในการผ่าตัดต่าง ๆ เช่น มีดผ่าตัด กรรไกรผ่าตัด คีมผ่าตัด หรือกระบอกฉีดยา เป็นต้น[33] ขณะที่ฤดูกาลที่ 7 ได้เพิ่มแมวทั้งสองตัวในสำนักงานจัดหาแพทย์คัมบาระขึ้นมาอยู่ในช่องว่างแสดงตัวละครหลักของลำดับเปิด[34]
การจัดจำหน่าย[แก้]
ก่อนฤดูกาลที่ 5 จะเริ่มออกอากาศ ทีมผู้ผลิตตัดสินใจจัดจำหน่ายฤดูกาลของหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ในราว 200 ประเทศทั่วโลก[35] ในทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาใต้[36] หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ ถือเป็นละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮิเรื่องแรกที่จัดจำหน่ายทุกตอนของละครโทรทัศน์ ขณะที่เรื่องอื่น ๆ ของสถานีมักจัดจำหน่ายเพียงบางส่วนเท่านั้น[37]
ตัวละคร[แก้]
นักแสดง | ตัวละคร | ฤดูกาล | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | พิเศษ | 4 | 5 | 6 | 7 | |||
เรียวโกะ โยเนกูระ | มิจิโกะ ไดมง | นำแสดง | ||||||||
อิตโตกุ คิชิเบะ | อากิระ คัมบาระ | หลัก | ||||||||
ยูกิ อูจิดะ | ฮิโรมิ โจโนอูจิ | หลัก | ||||||||
มาซาโนบุ คัตสึมูระ | ฮิเดกิ คาจิ | หลัก | รับเชิญ | หลัก | ร่วมแสดง | หลัก | รับเชิญ | หลัก | ||
โคซูเกะ ซูซูกิ | มาโมรุ ฮาระ | หลัก | รับเชิญ | ร่วมแสดง | หลัก | |||||
เค ทานากะ | ฮิการุ โมริโมโตะ | หลัก | ร่วมแสดง | รับเชิญ | รับเชิญ | |||||
เค็นอิจิ เอ็นโด | ทากาชิ เอบินะ | ร่วมแสดง | หลัก | ร่วมแสดง | รับเชิญ | หลัก | ||||
โทชิยูกิ นิชิดะ | ชิเงคัตสึ ฮิรูมะ | หลัก | รับเชิญ | ร่วมแสดง | หลัก |
ตัวละครหลัก[แก้]
ตัวละครหลักของหมอซ่าส์พันธ์ุเอ็กซ์ มีการสลับสับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้งตามเนื้อเรื่องที่ผู้ประพันธ์บทละครโทรทัศน์เขียนไว้ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระดับหัวหน้าของ มิจิโกะ ไดมง แสดงโดย เรียวโกะ โยเนกูระ ศัลยแพทย์อิสระที่ไม่อยู่ภายใต้กลุ่มอาจารย์แพทย์ใด ๆ แต่สังกัดอยู่กับบริษัทจัดหาแพทย์ของ อากิระ คัมบาระ (อิตโตกุ คิชิเบะ) ศัลยแพทย์อาวุโสที่พูดจาด้วยน้ำเสียงอันสุขุม[38] ห้วงเวลาการทำงานของไดมงมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน โดย 1 วันเธอจะทำงานเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงไม่รวมเวลาพักกลางวัน 1 ชั่วโมง หากในสถานการณ์ที่ต้องทำงานล่วงเวลา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยจะต้องจ่ายให้แก่ไดมงเพิ่ม 30,000 เยนต่อ 1 ชั่วโมงที่เลยไป[1][39] อีกทั้งยังปฏิเสธการร่วมเดินตรวจคนไข้ประจำวัน[g] การเขียนวิทยานิพนธ์ หรือการเข้าร่วมสังสรรค์ในเวลากลางคืน[38] ที่ไดมงสามารถยื่นขอเสนอเงื่อนไขการทำงานได้เช่นนี้ ก็เพราะว่าทักษะการผ่าตัดของเธอที่ยอดเยี่ยมและความเสี่ยงในการผ่าตัดยาก ๆ ที่เธอต้องแบกรับแทนศัลยแพทย์คนอื่น ๆ ที่มักจะปฏิเสธนำสายงานในอาชีพตนเองเข้าไปเสี่ยงเพื่อช่วยชีวิตคนไข้[40]
การออกอากาศ[แก้]
ในประเทศญี่ปุ่น[แก้]
ตั้งแต่ฤดูกาลแรกเป็นต้นมา หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ จะออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮิ ทุกวันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 21:00 น. ถึง 21:54 น. โดยเริ่มออกอากาศฤดูกาลแรกในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2012 จนถึงฤดูกาลที่ 7 ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2021
ปี | จำนวนตอน | วันที่ออกอากาศ | เรตติงเฉลี่ย (ภูมิภาคคันโต) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
วันแรก | วันสุดท้าย | |||||
1 | 8 | 18 ตุลาคม ค.ศ. 2012 | 13 ธันวาคม ค.ศ. 2012 | 19.1%[41] | ||
2 | 9 | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2013 | 19 ธันวาคม ค.ศ. 2013 | 23.0%[42] | ||
3 | 11 | 9 ตุลาคม ค.ศ. 2014 | 18 ธันวาคม ค.ศ. 2014 | 22.9%[43] | ||
4 | 11 | 13 ตุลาคม ค.ศ. 2016 | 22 ธันวาคม ค.ศ. 2016 | 21.5%[44] | ||
5 | 10 | 12 ตุลาคม ค.ศ. 2017 | 24 ธันวาคม ค.ศ. 2017 | 20.9%[45] | ||
6 | 10 | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2018 | 19 ธันวาคม ค.ศ. 2018 | 18.5%[46] | ||
7 | 10 | 14 ตุลาคม ค.ศ. 2021 | 16 ธันวาคม ค.ศ. 2021 | 16.5%[47] |
การตอบรับ[แก้]
นักวิจารณ์ละครโทรทัศน์ เรอิจิ นารูมะ กล่าวว่าหมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ นั้นมีความนิยมเทียบเท่ากับไอโบ (相棒)[38] ชิเอะ ซาโต จากโตโยเกไซ มองว่าละครโทรทัศน์นี้มีความคล้ายคลึงหรือให้บรรยากาศเหมือนกำลังรับชมภาพยนตร์ตะวันตกอย่าง นักฆ่าเพชรตัดเพชร (A Fistful of Dollars) ที่มีตัวละครเอกของเรื่องเป็นมือปืนที่เปรียบเสมือน "หมาป่าผู้โดดเดี่ยว" เช่นเดียวกับไดมง[48] ออริคอน กล่าวถึงความเหมือนกันระหว่างไดมงและตัวละครเอกในมิตะ แม่บ้านพันธุ์แปลก ที่แต่ละตัวละครต่างมีวลีเด่นเป็นของตนเอง "นี่เป็นสิ่งที่คุณต้องตัดสินใจเอง" ที่ทำให้ละครโทรทัศน์เป็นที่น่าสนใจ[49]
รางวัล[แก้]
ปี | รางวัล | สาขา | ผู้รับ | ผล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2012 | 16th Nikkan Sports Drama GP | ผลงานผลิตดีเด่น | หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Drama of the Year 2012 | ผลงานผลิตยอดเยี่ยม | หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม | เรียวโกะ โยเนกูระ | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
นักแสดงหญิงหน้าใหม่ | มิซูกิ ยามาโมโตะ | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
2013 | Tokyo Drama Awards 2013 | ผลงานละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ | ชนะ | |
31st Mukōda Kuniko Awards | โนโซมิ นากาโซโนะ | ได้รับรางวัล | |||
37th Élan d'or Awards | ให้กำลังใจผู้อำนวยการผลิต | ซาโตโกะ อูจิยามะ | ได้รับรางวัล | ||
75th Television Academy Awards | นักแสดงนำหญิงดีเด่น | เรียวโกะ โยเนกูระ | ชนะ | ||
17th Nikkan Sports Drama GP | ผลงานผลิตดีเด่น | หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
2014 | 18th Nikkan Sports Drama GP | ผลงานผลิตดีเด่น | หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
79th Television Academy Awards | นักแสดงนำหญิงดีเด่น | เรียวโกะ โยเนกูระ | ชนะ | ||
2017 | 20th Nikkan Sports Drama GP | ผลงานผลิตดีเด่น | หมอซ่าส์พันธุ์เอ็กซ์ | เสนอชื่อเข้าชิง |
เชิงอรรถ[แก้]
- ↑ มักย่อเหลือเพียง "Doctor-X"
- ↑ ญี่ปุ่น: 致しません; โรมาจิ: Itashimasen
- ↑ ญี่ปุ่น: 私、失敗しないので; โรมาจิ: Watashi Shippai Shinai Node
- ↑ ในภาษาญี่ปุ่น: 群を嫌い、権威を嫌い、束縛を嫌い、専門医のライセンスとたたき上げのスキルだけが彼女の武器だ。外科医大門未知子。またの名をドクターX
- ↑ เฉพาะฤดูกาลที่ 1
- ↑ มาจากคำว่า オペ (ope) ที่ย่อมาจากคำว่า オペレーション (operēshon, operation) ในภาษาอังกฤษ
- ↑ การราวน์วอร์ด (อังกฤษ: Ward Round)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "โอเปะ.I". บทโดย นากาโซโนะ, มิโฮะ. กำกับโดย นาโอมิ, ทามูระ. ทีวีอาซาฮิ. 2012-10-18. ตอนที่ 1 ฤดูกาลที่ 1.
- ↑ "赤江珠緒アナ:アナウンサー役で「ドクターX」出演 ショーパン姿で米倉に対抗". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "失敗しない女が馬の手術に挑戦…!?米倉涼子主演「ドクターX~外科医・大門未知子」第1話 予告動画-テレビ朝". Navicon (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-10-16. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "米倉涼子:「ドクターX」で岩下志麻と初対決 気迫に「さすが極妻!」". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-10-16. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "『ドクターX~』高視聴率の要因は「アウトロー像」と「決めゼリフ」". ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-12-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 "米倉涼子主演「ドクターX〜外科医・大門美知子〜」 打倒「半沢直樹」なるか!?". Real Life (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "2013年 年間高世帯視聴率番組30(関東地区)". Video Research (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "『あまちゃん』7冠! 東京ドラマアウォード2013授賞式". ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "第75回ザテレビジョンドラマアカデミー賞 主演女優賞". The TV. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「私、もう出演しないので」米倉涼子、『ドクターX』から撤退、テレ朝大混乱!?". Excite (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-11-19. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "『ドクターX』圧倒的な人気誇る理由 "無敵の大門未知子"のマンガ的おもしろさを探る". Real Sound (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-10-27. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "なぜ『ドクターX』は人気シリーズになったのか?". All About (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "『ドクターX』第6シリーズ全10話平均18.5% 最終回は19.3%". ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-12-20. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ドクターX」全10話の平均視聴率が2021年全民放連続ドラマ1位を獲得!米倉涼子『最後まで見てくれてありがとう、楽しんでくれてありがとう!』". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-12-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
- ↑ "女医米倉涼子「頭使ってます」専門用語スラスラ". Eiga (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-10-02. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "P!NK、"So What"がドラマ「ドクターX」の主題歌に起用されることが決定". NME Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-08-18. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "米倉涼子、初の女医役に悪戦苦闘「生あくびが止まらない」". ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-10-01. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "フリーランスつながりで夢の?共演も…米倉涼子「違うなっし~」". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-10-02. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 19.0 19.1 "医療ドラマを下支えする「医療監修」の真髄". Toyokeizai (ภาษาญี่ปุ่น). 2018-08-06. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Doctor-X:米倉"痛快"医療ドラマが快進撃 今期ナンバー1ヒットの裏側を聞く". MANTANWEB (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-11-21. สืบค้นเมื่อ 2022-03-05.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) "大門のキャラクターが具現化されたのが、ミニスカートにピンヒールという、到底、品行方正な医者のイメージとは異なる“破天荒”な白衣姿。" - ↑ "『ドクターX』の外科監修から予防医療まで。手術だけではない脳外科医のキャリア論 ―新村核氏(医療法人社団誠馨会 セコメディック病院)". m3.com (ภาษาญี่ปุ่น). 2018-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ อิมะ, เอมิ (2018-01-29). "ドラマ「ドクターX」を支える「ミスターX」 監修医も納得の米倉涼子の「手さばき」とは". AERA Dot. (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ドクターX」米倉涼子の知られざる努力 番組Pが明かす舞台裏「手術シーンに吹き替え一切無し」". Yahoo! News Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-12-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-19. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
- ↑ "「ドクターX」プロデューサー「続編、映画化いたしません」". นิกกังเก็งได (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "森田豊さんが明かす「ドクターX」モデルの正体 「テレ朝とアイデアを出し合った」". Nikkan Gendai (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-10-18. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "<ドクターX>内田有紀&監督・田村直己スペシャル対談「米ちゃんはすごく『ひろみちこ』を気に入っている」【前編】". Yahoo! News Japan. 2021-12-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.
- ↑ "米倉涼子主演の新ドラマ「リーガルV~元弁護士・小鳥遊翔子~」が10月スタート". Eiga Nataile (ภาษาญี่ปุ่น). 2018-08-29. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「古畑任三郎」「ドクターX」ディレクター松田秀知さん死去 米倉涼子追悼". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-10-18. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ドクターX ロケ地情報". Zenkoku Rokechi Guide (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ドクターX」「ハードナッツ!」…前橋ロケ増加-「そして父になる」は代表作に". Takasaki Keizei (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-11-06. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "日本工学院のキャンパスはTV、映画、CMなどのロケで露出多数!". วิทยาลัยเทคโนโลยีญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ลาสต์ โอเปะ.". บทโดย นากาโซโนะ, มิโฮะ. กำกับโดย นาโอมิ, ทามูระ. ทีวีอาซาฮิ. 2012-12-13. ตอนที่ 8 ฤดูกาลที่ 1.
- ↑ "โอเปะ.I". บทโดย นากาโซโนะ, มิโฮะ. กำกับโดย นาโอมิ, ทามูระ. ทีวีอาซาฮิ. 2016-10-13. ตอนที่ 1 ฤดูกาลที่ 4.
- ↑ "โอเปะ.I". บทโดย นากาโซโนะ, มิโฮะ. กำกับโดย นาโอมิ, ทามูระ. ทีวีอาซาฮิ. 2021-10-14. ตอนที่ 1 ฤดูกาลที่ 7.
- ↑ "ドクターX:第5シリーズ10月放送へ 全シリーズの世界配信も決定". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-07-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "テレ朝の連ドラ史上初!米倉主演「ドクターX」世界200カ国・地域で配信". Iza (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-07-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "テレ朝の連ドラ史上初!米倉主演「ドクターX」世界200カ国・地域で配信". Sanspo (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-07-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ 38.0 38.1 38.2 "米倉涼子ドラマ 視聴率戦「独走」の理由". AERA dot. (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "<ドクターX~外科医・大門未知子~>米倉涼子「破天荒な天才女医」カッコ良さ全開!歯切れいい啖呵、美脚ミニスカ". J-Cast (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "米倉涼子が医師役挑戦 「ドクターX」18・6%の好スタート". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-10-19. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "【週刊テレビ時評】キムタク主演「PRICELESS〜」最終話は18.7% 民放連続ドラマ視聴率年間トップは米倉涼子主演「ドクターX〜」". リアルライブ (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-12-31. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "米倉最終回26・9%に「じぇじぇじぇ」". 日刊スポーツ (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-12-20. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "『ドクターX』最終回27.4%、全11話平均22.9% 今年1番の高視聴率ドラマに". ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "米倉涼子主演『ドクターX』最終回視聴率22.8% 全話平均で今年の民放ドラマ最高". ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-26. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「ドクターX」最終回25・3%!自己最高&今年連ドラ最高で有終の美". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-12-15. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "米倉涼子主演「ドクターX」最終話は19・3%、全話15%超え". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-12-20. สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "米倉涼子「ありがとう」ドクターX最終話17・7% 瞬間最高視聴率21・9% 今年の連ドラ期間平均1位". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-12-17. สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ซาโต, ชิเอะ (2014-10-16). "失敗知らず!「ドクターX」好調のナゼ". Toyokeizai (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "『ドクターX~』高視聴率の要因は「アウトロー像」と「決めゼリフ」". ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2012-12-12. สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "キムタク主演「PRICELESS」が4冠/ドラマGP秋". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ドラマ・オブ・ザ・イヤー2012 秋クール 【10月~12月期 】 結果発表!". TV Navi Web (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "『あまちゃん』7冠! 東京ドラマアウォード2013授賞式". ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "第31回向田邦子賞 mukouda kuniko award". Tokyo News (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "松坂桃李:授賞式でものまね連発 堀北からのムチャぶりにも対応". MANTAN Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-02-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "主演女優賞 受賞結果 1位:米倉涼子 | 第75回 - ザテレビジョンドラマアカデミー賞". The TV (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-12-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "「安堂ロイド」が4冠/ドラマGP秋". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "日刊スポーツ・ドラマグランプリ 「軍師官兵衛」が3冠". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "第79回ザテレビジョンドラマアカデミー賞 主演女優賞". The TV (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "日刊スポーツ・ドラマグランプリ 逃げるは恥だが役に立つが3冠/ドラマGP秋冠". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)