แรดดำ
แรดดำ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีน - ปัจจุบัน 3.6–0Ma | |
---|---|
แรดดำใต้-กลาง (Diceros bicornis minor) ใน แอฟริกาใต้ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Perissodactyla |
วงศ์: | Rhinocerotidae |
สกุล: | Diceros Gray, 1821 |
สปีชีส์: | D. bicornis |
ชื่อทวินาม | |
Diceros bicornis Linnaeus, 1758 | |
ชนิดย่อย | |
Diceros bicornis bicornis † | |
การกระจายพันธุ์ของแรดดำ |
แรดดำ เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากแรดขาว (Ceratotherium simum) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diceros bicornis มีรูปร่างทั่วไปคล้ายแรดขาว เพียงแต่สีผิวที่คล้ำกว่า จึงเป็นมาของชื่อ "แรดดำ" ปากของแรดดำจะเป็นติ่งแหลมยื่นออกมาบริเวณริมฝีปากบน เนื่องจากชอบตวัดกินใบไม้มากกว่า และคอของแรดดำจะสั้นกว่าแรดขาว ผิวหนังมีรอยย่นและตุ่มนูนและหนากว่า หูกลมกว่าแรดขาว
ขนาดของแรดดำจะมีขนาดเล็กกว่าแรดขาวพอสมควร คือ ความยาวเต็มที่ประมาณ 140-170 เซนติเมตร ความสูงของไหล่ 3.3-3.6 เมตร น้ำหนักเต็มที่โดยประมาณ 800-1,300 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ ในประเทศเคนยา, แทนซาเนีย, แอฟริกาใต้, แคเมอรูน, นามิเบียและซิมบับเว มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย คือ D. b. michaeli, D. b. longipes, D. b. bicornis, D. b. minor ซึ่งบางครั้งเขตหากินของแรดดำอาจจะเข้าไปอยู่ในถิ่นของแรดขาว แต่สัตว์ทั้งสองชนิดนี้ไม่เคยที่จะต่อสู้แก่งแย่งกัน
แรดดำเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย ฉุนเฉียวง่ายกว่าแรดขาว สามารถวิ่งได้เร็ว 29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่บางครั้งเมื่อตกใจหรือป้องกันตัวอาจวิ่งได้เร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สถานภาพในธรรมชาติของแรดดำปัจจุบันอยู่ในสภาวะ CR (Critically Endangered) คือ มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์จากพื้นที่ธรรมชาติในขณะนี้
อนุกรมวิธานและชื่อ
[แก้]แรดดำมี 4 ชนิดย่อย:[3]
- แรดดำใต้-กลาง (Diceros bicornis minor) มีจำนวนมากที่สุด กระจายพันธุ์ตั้งแต่ใจกลางประเทศแทนซาเนียลงใต้ไปถึงประเทศแซมเบีย, ประเทศซิมบับเว, และ ประเทศโมซัมบิกถึงตอนเหนือและตะวันออกของประเทศแอฟริกาใต้
- แรดดำใต้-ตะวันตก (Diceros bicornis bicornis) ปรับตัวสู้ความแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้งของทุ่งหญ้าสะวันนาได้ดี อยู่ในประเทศนามิเบีย, ตอนใต้ของประเทศแองโกลา, ทางตะวันตกของประเทศบอตสวานา, ตะวันตกของประเทศแอฟริกาใต้
- แรดดำตะวันออก (Diceros bicornis michaeli) กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศซูดาน, ประเทศเอธิโอเปีย, ถึงประเทศเคนยา ถึงตอนเหนือและใจกลางประเทศแทนซาเนีย ปัจจุบันเหลือแค่เพียงในประเทศแทนซาเนีย
- แรดดำตะวันตก (Diceros bicornis longipes) ในอดีตกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนเหนือและตะวันตกของประเทศแคเมอรูน ใน พ.ศ. 2549 การสำรวจอย่างเข้มข้นในประเทศแคเมอรูนไม่พบแรดชนิดนี้แม้แต่ตัวเดียว นำไปสู่ความกลัวว่ามันได้สูญพันธุ์หมดไปจากธรรมชาติแล้ว[4][5] วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 IUCN ประกาศให้แรดดำตะวันตกสูญพันธุ์ไปแล้ว[4]
ลักษณะ
[แก้]แรดดำเมื่อโตเต็มที่สูง 140-170 ซม.จรดไหล่ ยาว 3.3-3.6 ม.[6] หนัก 800-1400 กก. เพศเมียตัวเล็กกว่าเพศผู้ มี 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลังโดยทั่วไปยาว 50-140 ซม. นอยาวสุดที่วัดได้ยาวเกือบ 1.5 ม.[7] ในบางตัวอาจมีนอที่ 3 ซึ่งมีขนาดเล็ก นอใช้ในการป้องกันตัว ข่มขู่ ขุดรากไม้ หักกิ่งไม้เพื่อกิน สีผิวขึ้นกับสีดินในถิ่นอาศัยและพฤติกรรมการแช่ปลักของแรด โดยทั่วไปมักมีสีดำ แรดดำมีขนาดเล็กกว่าแรดขาว ริมฝีปากบนแหลมยาวไว้ใช้เพื่อหยิบจับใบไม้และกิ่งตอนกินอาหาร[7] ซึ่งแรดขาวจะมีปากเหลี่ยมเพื่อใช้สำหรับกินหญ้า เราสามารถแยกแรดดำจากแรดขาวได้เพราะแรดดำมีหูและกะโหลกที่เล็กกว่า
แรดดำมีหนังหนาเพื่อป้องกันหนามและหญ้า ผิวหนังของมันจะเต็มไปด้วยปรสิตภายนอกอย่างไรและเห็บซึ่งจะถูกกินโดยนกกระยางและนกอ็อกซ์เพกเกอร์ที่อาศัยอยู่กับแรด แต่เดิมพฤติกรรมนี้ถูกคิดว่าเป็นตัวอย่างของภาวะพึ่งพาแต่หลักฐานเมื่อเร็วๆนี้พิสูจน์ว่านกอ็อกซ์เพกเกอร์อาจเป็นปรสิตเสียเอง[8]. แรดดำมีสายตาไม่ดี จึงต้องอาศัยการได้ยินและการดมกลิ่น หูของมันช่วงหมุนที่ค่อนข้างกว้างเพื่อใช้ในการตรวจสอบเสียงและมีการดมกลิ่นดีเลิศพร้อมแจ้งให้ทราบเมื่อมีนักล่าเข้าใกล้
การกระจายพันธุ์
[แก้]ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 แรดดำมีจำนวนมากที่ในแรดทุกชนิด ประมาณปี ค.ศ. 1900 อาจมีแรดดำถึง 100,000 ตัว[1]อาศัยอยู่ในแอฟริกา ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 จำนวนแรดดำลดลงอย่างรุนแรงจาก 70,000 ตัว[9] ในตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็น 10,000 ถึง 15,000 ในปี ค.ศ. 1981 ในตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1990 จำนวนแรดดำต่ำกว่า 2500 ตัวและในปี ค.ศ. 2004 มีรายงานว่าเหลือเพียง 2,410 ตัว ตามองค์การกองทุนแรดสากล ประชากรแรดแอฟริกาฟื้นฟูเล็กน้อยเป็น 3,610 ในช่วงปี ค.ศ. 2003[10] ตามรายงานจากสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 จากการสำรวจแรดดำแอฟริกาตะวันตกเมื่อเร็วๆนี้ที่กระจายพันธุ์ในทุ่งหญ้าสะวันนาในทางตะวันตกของแอฟริกาพบว่าลดลงเหลือเพียงแค่ 10 ตัว หรือสรุปได้ว่าชนิดย่อยนี้กำลังจะสูญพันธุ์[11] แรดขาวเหนือก็กำลังจะสูญพันธุ์เหมือนกับแรดดำแอฟริกาตะวันตก จำนวนล่าสุดที่พบเหลือเพียงแค่ 4 ตัว แรดชนิดเดียวที่สามารถฟื้นฟูได้คือแรดขาวใต้ซึ่งมีอยู่มากกว่า 14,500 ตัวในปัจจุบันจากมากกว่า 50 ตัวเล็กน้อยในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20[12]
แรดดำถูกคุกคามให้สูญพันธุ์จากการล่าเอานออย่างผิดกฎหมายและการสูญเสียที่อยู่ นอแรดถูกใช้ในการแพทย์แผนจีน นักสมุนไฟรกล่าวว่าสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยหมดสติ รักษาไข้ และช่วยให้แข็งแรงและความสมบูรณ์ทางเพศในผู้ชาย[13] ประสิทธิภาพของนอแรดในการรักษาโรคต่างๆไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 เอกสารขายยาเอกสารแรกของนอแรดดำในสหรัฐอเมริกา (ยืนยันโดยการทดสอบทางพันธุกรรมของนอที่ยึดมา) เกิดขึ้นที่ร้านจำหน่ายยาแผนจีนในไชน่าทาวน์ในพอร์ตแลนด์[13] มีการใช้นอแรดในตะวันออกกลางเพื่อใช้ด้ามมีดแกะสลักที่หรูหราสำหรับมีดที่ใช้ในพิธีกรรมที่เรียกว่า "jambiya" ความต้องการที่มากมายในคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นสาเหตุให้แรดดำลดลงถึง 96% ระหว่างปี ค.ศ. 1970 ถึง 1992
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 IUCN SSC African Rhino Specialist Group (2008). Diceros bicornis เก็บถาวร 2011-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 28 November 2008.
- ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ Hillman-Smith, A.K. Kes; and Colin P. Groves. (1994). "Diceros bicornis" (PDFemma = Mammalian Species): 1. doi:10.2307/3504292.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|te=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "Diceros bicornis ssp. longipes". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. 2011. สืบค้นเมื่อ November 10, 2011.
- ↑ Andrew Meldrum (July 12, 2006). "West African black rhino feared extinct". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
- ↑ Dollinger, Peter and Silvia Geser. "Black Rhinoceros". World Association of Zoos and Aquariums. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-16. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
- ↑ 7.0 7.1 Ellis, Richard (2004). No Turning Back: The Life and Death of Animal Species. New York: Harper Perennial. pp. 205–208. ISBN 0-06-055804-0.
- ↑ Weeks, P (2000). "Red-billed oxpeckers: vampires or tickbirds?" (PDF). Behavioral Ecology. 11 (2): 154–160.
- ↑ "WWF Factsheet; Black Rhinoceros Diceros Bicornis" (PDF). World Wildlife Fund. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-11-19. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ "Black Rhino Information". International Rhino Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
- ↑ Andrew Meldrum (July 12, 2006). "West African black rhino feared extinct". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
- ↑ Sean Markey (July 12, 2006). "West African Black Rhino Extinct, Group Says". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
- ↑ 13.0 13.1 Michael Milstein (June 27, 2007). "Shop owner pleads guilty to selling black rhino horn". The Oregonian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-06-29.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Diceros bicornis ที่วิกิสปีชีส์