ข้ามไปเนื้อหา

แรดดำตะวันตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แรดดำตะวันตก
ตัวอย่างต้นแบบแรก เป็นเพศเมียถูกยิงเมื่อ ค.ศ. 1911
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Perissodactyla
วงศ์: Rhinocerotidae
สกุล: Diceros
สปีชีส์: D.  bicornis
สปีชีส์ย่อย: D.  b. longipes
Trinomial name
Diceros bicornis longipes
Zukowsky, 1949

แรดดำตะวันตก หรือ แรดดำแอฟริกันตะวันตก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diceros bicornis longipes) เป็นสปีชีส์ย่อยหายากของแรดดำ การสำรวจล่าสุดไม่พบแม้แต่เพียงตัวเดียว และใน ค.ศ. 2011 มันถูกประกาศว่าสูญพันธุ์โดย IUCN[1][2] ครั้งหนึ่งมันเคยอาศัยอยู่กระจัดกระจายในทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งแอฟริกากลางตะวันตก แต่ถูกบุกรุกล่า

รายละเอียด

[แก้]

แรดดำตะวันตกลำตัวยาว 3-3.8 เมตร สูง 1.4-1.7 เมตร น้ำหนัก 800-1,300 กิโลกรัม มีสองเขา เขาแรกวัดความยาวได้ 0.5-1.3 เมตร และเขาที่สองวัดได้ 2-55 เซนติเมตร

ประชากรและการลดจำนวน

[แก้]

แรดดำตะวันตกถูกล่าอย่างหนักในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ประชากรเพิ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1930 หลังมีมาตรการอนุรักษ์ออกมา แต่ด้วยความพยายามคุ้มครองได้ลดลงเป็นเวลาหลายปี ทำให้ประชากรแรดดำตะวันตกลดลง จนถึง ค.ศ. 1980 ประชากรลดลงเหลือเพียงหลักร้อย การบุกรุกล่าสัตว์ดำเนินต่อไปและจนถึง ค.ศ. 2000 มีการประเมินว่ามีแรดดำตะวันตกหลงเหลืออยู่เพียง 10 ตัว ต้น ค.ศ. 2006 การสำรวจอย่างเข้มข้นทางแคเมอรูนเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ของแรดดังกล่าว ไม่พบแม้แต่ตัวเดียว แต่ความพยายามค้นหาตัวที่ยังหลงเหลืออยู่ดำเนินต่อไป[3] ไม่มีแรดดำตะวันตกที่ทราบกันว่ามีการเลี้ยงไว้ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 สปีชีส์ย่อยดังกล่าวถูกประกาศว่าสูญพันธุ์โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Diceros bicornis ssp. longipes". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. 2011. สืบค้นเมื่อ November 10, 2011.
  2. Boettcher, Daniel. "BBC News - Western black rhino declared extinct". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-11-10.
  3. Times Online (2006). West African black rhino 'is extinct'. เก็บถาวร 2008-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 13 May, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Diceros bicornis longipes ที่วิกิสปีชีส์