แป้งสาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แป้งสาลี เต็มเมล็ด
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน1,418 กิโลจูล (339 กิโลแคลอรี)
72.57 ก.
น้ำตาล0.41 ก.
ใยอาหาร12.2 ก.
1.87 ก.
13.70 ก.
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(25%)
0.29 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(18%)
0.215 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(42%)
6.365 มก.
(20%)
1.008 มก.
วิตามินบี6
(26%)
0.341 มก.
โฟเลต (บี9)
(11%)
44 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(3%)
34 มก.
เหล็ก
(30%)
3.88 มก.
แมกนีเซียม
(39%)
138 มก.
แมงกานีส
(181%)
3.8 มก.
ฟอสฟอรัส
(49%)
346 มก.
โพแทสเซียม
(9%)
405 มก.
โซเดียม
(0%)
5 มก.
สังกะสี
(31%)
2.93 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

แป้งสาลี เป็นผงที่มนุษย์ใช้บริโภค ทำจากการบดข้าวสาลี แป้งสาลีเป็นแป้งประกอบอาหารที่ผลิตมากที่สุด ข้าวสาลีมีหลายประเภทตามปริมาณกลูเตน ข้าวสาลีแข็งหรือข้าวสาลีขนมปัง มีปริมาณกลูเตนสูง ระหว่าง 12% ถึง 14% และมีความเหนียวยืดหยุ่นที่รักษารูปทรงได้ดีเมื่ออบ แป้งอ่อนมีกลูเตนค่อนข้างต่ำ จึงให้เนื้อที่ละเอียดหรือร่วนกว่า[1] แป้งอ่อนตามปกติแบ่งได้เป็นแป้งเค้ก ซึ่งมีปริมาณกลูเตนต่ำสุด และแป้งพาสต้า ซึ่งมีกลูเตนมากกว่าแป้งเค้กเล็กน้อย

ในศัพท์ส่วนประกอบของธัญพืชที่ใช้ในแป้ง เอนโดสเปิร์ม หรือส่วนโปรตีน/แป้ง จมูก (germ) หรือส่วนที่อุดมด้วยโปรตีน/ไขมัน/วิตามิน และส่วนรำข้าวหรือเส้นใย เป็นแป้งสามประเภททั่วไป แป้งขาวผลิตจากเอนโดสเปิร์มอย่างเดียว ธัญพืชเต็มเมล็ดผลิตจากธัญพืชทั้งเมล็ด ทั้งรำข้าว เอนโดสเปิร์ม และจมูก แป้งเมล็ดผลิตจากเอนโดสเปิร์มและจมูก

อ้างอิง[แก้]

  1. Chu, Michael (2004-10-20). "Wheat Flour". Cooking for Engineers. สืบค้นเมื่อ 2009-08-14.