คินาโกะ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 1,883 กิโลจูล (450 กิโลแคลอรี) |
28.5 g | |
ใยอาหาร | 18.1 g |
25.7 g | |
อิ่มตัว | 3.59 g |
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว | 5.92 g |
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | 14.08 g |
36.7 g | |
วิตามิน | |
ไทอามีน (บี1) | (6%) 0.07 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (20%) 0.24 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (15%) 2.2 มก. |
(20%) 1.01 มก. | |
วิตามินบี6 | (40%) 0.52 มก. |
โฟเลต (บี9) | (55%) 220 μg |
วิตามินอี | (153%) 23.0 มก. |
วิตามินเค | (26%) 27 μg |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (19%) 190 มก. |
เหล็ก | (62%) 8.0 มก. |
แมกนีเซียม | (73%) 260 มก. |
แมงกานีส | (131%) 2.75 มก. |
ฟอสฟอรัส | (94%) 660 มก. |
โพแทสเซียม | (43%) 2000 มก. |
โซเดียม | (0%) 1 มก. |
สังกะสี | (43%) 4.1 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 4.0 g |
ทองแดง | 1.12 mg |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ |
คินาโกะ (ญี่ปุ่น: きな粉, 黄粉, 黄な粉; โรมาจิ: kinako) หรือ แป้งถั่วเหลือง เป็นแป้งประกอบอาหาร ที่ได้จากการคั่ว ปอกเปลือก และบดถั่วเหลือง ความร้อนช่วยขจัดกลิ่นเฉพาะของถั่วเหลืองและสร้างกลิ่นหอม
ที่มาของคำว่า "คินาโกะ" มาจากคำว่า "คินารุโคนะ" (黄なる粉) โดย "คิ" (黄) หมายถึงสีเหลือง และ "โคนะ" (粉) หมายถึงผงแป้ง มาจากการที่ผงแป้งที่ได้จากถั่วเหลืองนี้มีสีเหลือง[2]
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วแป้งไม่ได้เป็นสีเหลืองเสมอไป คินาโกะที่ทำจากถั่วเหลืองสีเหลืองจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง ในขณะที่คินาโกะที่ทำจาก ถั่วเหลืองสีเขียวจะมีสีเขียวอ่อน บางทีจึงถูกเรียกว่า "อาโอกินะโคนะ" (青きな粉) หรือ "อุงุอิสึ คินาโกะ" (うぐいすきな粉) โดยคำว่า "อุงุอิสึ" หมายถึง นกกระจ้อยญี่ปุ่น
อาหารที่ใช้คินาโกะ
[แก้]คินาโกะสามารถรับประทานกับโมจิ หรือใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับวางาชิ บางครั้งก็รับประทานโดยผสมกับน้ำตาลแล้วโรยบนข้าว ตัวอย่างขนมญี่ปุ่นที่ใช้คินาโกะทำเช่น วาราบิโมจิ, โบตาโมจิ, สุฮามะ, คินาโกะเนจิริ ฯลฯ บางครั้งก็ผสมกับนมวัว หรือ น้ำเต้าหู้ และยังอาจใช้เป็นส่วนผสมในไอศกรีม