แกรนด์ดยุก
(เปลี่ยนทางจาก แกรนด์ดัชเชส)
ฐานันดรศักดิ์ยุโรป |
---|
![]() |
จักรพรรดิ / กษัตริย์-จักรพรรดิ / ไคเซอร์ / ซาร์ |
กษัตริย์สูงสุด / มหาราช |
กษัตริย์ / ราชินีนาถ |
อาร์ชดยุก / เซซาเรวิช |
แกรนด์พรินซ์ แกรนด์ดยุก |
เจ้าผู้คัดเลือก / เจ้าชาย / เจ้าหญิง / มกุฏราชกุมาร / อินฟันเต / โดแฟ็ง |
ดยุก |
เฟือสท์ |
มาร์ควิส / มาร์คกราฟ / ลันท์กราฟ / ฟัลทซ์กราฟ |
เคานต์ / เอิร์ล / กราฟ / บวร์คกราฟ |
ไวเคานต์ / วีดาม |
บารอน / ไฟรแฮร์ |
บารอเนต / อัศวินจักรวรรดิ |
อัศวิน / เดม / เซอร์ / แซร์ / มาดาม / ลอร์ด / เลดี |
เอ็สไควร์ / เอดเลอร์ / สุภาพบุรุษ / ยุงเคอร์ |
Ministerialis |
แกรนด์ดยุก หรือแกรนด์ดุ๊ก[1] (อังกฤษ: grand duke) ถ้าเป็นสตรีเรียกว่าแกรนด์ดัชเชส เป็นฐานันดรศักดิ์ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิกเพื่อหมายถึงประมุขในระดับมณฑล มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชาแต่สูงกว่าดยุก แกรนด์ดยุกยังใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เพื่อหมายถึงแกรนด์พรินซ์ เพราะภาษาเหล่านี้ใช้ศัพท์ prince หมายถึงทั้งเจ้าชายราชนิกุลและเจ้าผู้ครองนครเหมือนกัน ขณะที่ภาษาเยอรมันเรียกเจ้าชายราชนิกุลว่า Prinz และเรียกเจ้าชายผู้ครองนครว่า Fürst เขตปกครองของแกรนด์ดยุกเรียกว่าราชรัฐชั้นแกรนด์ดัชชี ในอดีตดินแดนในปกครองของแกรนด์ดยุกหรือแกรนด์ดัชเชสคือ ราชรัฐฟินแลนด์กับแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก คือ ราชรัฐลักเซมเบิร์กซึ่งมีแกรนด์ดยุคอ็องรีที่ 1 เป็นเจ้าผู้ครองราชรัฐ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 435
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |