เอ็น-ไนโตรโซไดเมทิลามีน
![]() | |||
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
Preferred IUPAC name
N,N-Dimethylnitrous amide | |||
เลขทะเบียน | |||
3D model (JSmol)
|
|||
ChEBI | |||
ChEMBL | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
ECHA InfoCard | 100.000.500 | ||
EC Number |
| ||
KEGG | |||
MeSH | Dimethylnitrosamine | ||
ผับเคม CID
|
|||
RTECS number |
| ||
UNII | |||
UN number | 3382 | ||
CompTox Dashboard (EPA)
|
|||
| |||
| |||
คุณสมบัติ | |||
C2H6N2O | |||
มวลโมเลกุล | 74.083 g·mol−1 | ||
ลักษณะทางกายภาพ | น้ำมันสีเหลือง[1] | ||
กลิ่น | จาง, ลักษณะเฉพาะ[1] | ||
ความหนาแน่น | 1.005 กรัม/มิลลิลิตร | ||
จุดเดือด | 153.1 องศาเซลเซียส; 307.5 องศาฟาเรนไฮต์; 426.2 เคลวิน | ||
290 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร (ที่ 20 °C) | |||
log P | −0.496 | ||
ความดันไอ | 700 Pa (ที่ 20 °C) | ||
ดัชนีหักเหแสง (nD)
|
1.437 | ||
อุณหเคมี | |||
Std enthalpy of
combustion (ΔcH⦵298) |
1.65 MJ/mol | ||
ความอันตราย | |||
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS/OSH): | |||
อันตรายหลัก
|
สารก่อมะเร็ง,[1] เป็นพิษร้ายแรง | ||
GHS labelling: | |||
![]() ![]() ![]() | |||
อันตราย | |||
H301, H330, H350, H372, H411 | |||
P260, P273, P284, P301+P310, P310 | |||
NFPA 704 (fire diamond) | |||
จุดวาบไฟ | 61.0 องศาเซลเซียส (141.8 องศาฟาเรนไฮต์; 334.1 เคลวิน) | ||
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC): | |||
LD50 (median dose)
|
37.0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ทางปาก, หนูทดลอง) | ||
NIOSH (US health exposure limits): | |||
PEL (Permissible)
|
OSHA-Regulated Carcinogen[1] | ||
REL (Recommended)
|
Ca[1] | ||
IDLH (Immediate danger)
|
Ca [N.D.][1] | ||
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |||
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
|
|||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
เอ็น-ไนโตรโซไดเมทิลามีน (N-Nitrosodimethylamine; NDMA) หรือที่เรียกว่า ไดเมทิลไนโตรซามีน (dimethylnitrosamine; DMN) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรทั่วไป (CH3)2NNO เป็นหนึ่งในสารพื้นฐานที่สุดในกลุ่มขนาดใหญ่ของสารประกอบ เอ็น-ไนโตรซามีน ลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองซึ่งระเหยง่าย เอ็นดีเอ็มเอได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากการเป็นพิษต่อตับสูงและเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง[2]
อุบัติการณ์
[แก้]น้ำดื่ม
[แก้]สิ่งที่มากกว่าข้อกังวลทั่วไปคือ เอ็นดีเอ็มเอถูกผลิตขึ้นได้โดยการบำบัดน้ำด้วยกระบวนการเติมคลอรีนหรือด้วยสารฆ่าเชื้อคลอรามีน คำถามคือปริมาณที่เกิดขึ้น ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐ ระดับที่อนุญาตคือ 10 นาโนกรัม/ลิตร ส่วนรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา กำหนดมาตรฐานไว้ที่ 9 นาโนกรัม/ลิตร ปัญหาอาจเกิดมากขึ้นสำหรับน้ำรีไซเคิลที่มีสารไดเมทิลามีน[3] นอกจากนี้เอ็นดีเอ็มเอสามารถก่อตัวหรือถูกกรองระหว่างการบำบัดน้ำโดยใช้เรซินแลกเปลี่ยนประจุลบ[4]
การปนเปื้อนเอ็นดีเอ็มเอในน้ำดื่มเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นพิเศษ จากความเข้มข้นเพียงเล็กน้อยแต่เป็นอันตราย ความยากลำบากในการตรวจจับที่ระดับความเข้มข้นนี้ และความยากลำบากในการกำจัดออกจากน้ำดื่ม ซึ่งไม่สามารถกำจัดออกโดยใช้ถ่านกัมมันต์และปนเปื้อนในดินได้ง่าย
ระดับความเข้มของรังสีเหนือม่วงที่ค่อนข้างสูงในช่วงความยาวคลื่น 200 ถึง 260 นาโนเมตรสามารถทำลายพันธะ N–N ดังนั้นจึงอาจนำมาใช้เพื่อลดระดับของเอ็นดีเอ็มเอได้ นอกจากนี้การกรองระบบรีเวิร์สออสโมซิสสามารถกำจัดเอ็นดีเอ็มเอได้ประมาณร้อยละ 50[5]
เนื้อสัตว์แปรรูปประเภทเนื้อหมัก
[แก้]พบเอ็นดีเอ็มเอในระดับต่ำในอาหารบริโภคของมนุษย์จำนวนมาก รวมทั้งเนื้อสัตว์ที่หมักเกลือ (cured meat) ปลา และเบียร์ เช่นเดียวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบและการสูดดมควันบุหรี่[4][6]
เชื้อเพลิงจรวด
[แก้]ไดเมทิลไฮดราซีนที่ไม่สมมาตร (UDMH) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงจรวด เป็นสารตั้งต้นที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับเอ็นดีเอ็มเอ
- (CH3)2NNH2 + 2O → (CH3)2NNO + H2O
น้ำบาดาลใกล้จุดปล่อยจรวดมักพบมีปริมาณเอ็นดีเอ็มเอในระดับสูง[5]
การควบคุม
[แก้]สหรัฐ
[แก้]สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) ระบุว่าความเข้มข้นสูงสุดที่ยอมรับได้ของเอ็นดีเอ็มเอในน้ำดื่มคือ 7 นาโนกรัม/ลิตร[7] ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 อีพีเอไม่ได้กำหนดระดับสารปนเปื้อนสูงสุดตามกฎระเบียบ (MCL) สำหรับน้ำดื่ม
เอ็นดีเอ็มเอในปริมาณสูง "มีพิษต่อตับซึ่งมีศักยภาพที่อาจทำให้เกิดพังผืดของตับ" ในหนูทดลอง[8] มีการรายงานผลที่ชัดเจนในการเหนี่ยวนำเนื้องอกของตับในหนูทดลองหลังจากได้รับเอ็นดีเอ็มเอในปริมาณต่ำเป็นเวลานาน[9] ผลกระทบที่เป็นพิษต่อมนุษย์นั้นอนุมานได้จากการทดลองกับสัตว์ แต่ยังไม่มีผลการทดลองที่เป็นที่ยอมรับ
เอ็นดีเอ็มเอถูกจัดประเภทเป็นสารอันตรายอย่างยิ่งในสหรัฐ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 302 ของกฎหมายการวางแผนฉุกเฉินและสิทธิชุมชนของสหรัฐ (42 U.S.C. 11002) และอยู่ภายใต้ข้อกำหนดการรายงานที่เข้มงวดโดยโรงงานที่ผลิต จัดเก็บ หรือใช้ในปริมาณมาก[10]
สหภาพยุโรป
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ยาเพื่อการใช้งานของมนุษย์ (CHMP) ขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ได้ออกความเห็นที่ต้องการกำหนดให้บริษัทต่าง ๆ ดำเนินมาตรการเพื่อจำกัดการมีอยู่ของสารกลุ่มไนโตรซามีนในยาของมนุษย์ให้มากที่สุดและเพื่อรับรองระดับของสิ่งเจือปนเหล่านี้จะไม่เกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้[11][12] ไนโตรซามีนจัดอยู่ในประเภทที่น่าจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ขีดจำกัดของไนโตรซามีนในยาถูกกำหนดโดยใช้มาตรฐานที่ตกลงกันในระดับสากล (ICH M7(R1)) โดยพิจารณาจากการสัมผัสตลอดชีวิต[11] โดยทั่วไปผู้คนไม่ควรมีความเสี่ยงตลอดชีวิตของโรคมะเร็งที่เกิน 1 ใน 100,000 จากไนโตรซามีนในยาที่ใช้[11]
หน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปเริ่มตระหนักถึงไนโตรซามีนในยาในช่วงกลางปี พ.ศ. 2561 และดำเนินการด้านกฎระเบียบ รวมถึงการเรียกคืนยาและการหยุดการใช้สารออกฤทธิ์จากผู้ผลิตบางราย[11] ต่อมาการตรวจสอบของคณะกรรมการซีเอชเอ็มพี ของยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่มมีชื่อสามัญลงท้ายว่า "-ซาร์แทน" (-sartan) ในปี พ.ศ. 2562 นำไปสู่ข้อกำหนดใหม่สำหรับการผลิตยากลุ่มซาร์แทน ในขณะที่การทบทวนยาแรนิทิดีนในปี พ.ศ. 2563 แนะนำให้ระงับการใช้ยาแรนิทิดีนทั่วทั้งสหภาพยุโรป[11]
เคมี
[แก้]จากการศึกษาด้วยผลึกวิทยารังสีเอกซ์โมเลกุลแกน C2N2O ของเอ็นดีเอ็มเอเป็นแบบระนาบ ไนโตรเจนอะตอมกลางจับกับกลุ่มเมทิลสองกลุ่มและกลุ่ม NO โดยมีมุมพันธะ 120° ความยาวพันธะ N-N และ N-O คือ 1.32 และ 1.26 อังสตรอมตามลำดับ[13]
เอ็นดีเอ็มเอก่อรูปจากสารประกอบที่มีไดเมทิลามีนหลายชนิด เช่น การไฮโดรไลซิสของไดเมทิลฟอร์มาไมด์ ไดเมทิลลามีนไวต่อการเกิดออกซิเดชันต่อไดเมทิลไฮดราซีนที่ไม่สมมาตร ซึ่งจะออกซิไดซ์ในอากาศเป็นเอ็นดีเอ็มเอ[14]
ในห้องปฏิบัติการเอ็นดีเอ็มเอสามารถสังเคราะห์ได้โดยปฏิกิริยาของกรดไนตรัสกับไดเมทิลามีน
- HONO + (CH3)2NH → (CH3)2NNO + H2O
กลไกการก่อมะเร็งเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการกระตุ้นการเผาผลาญซึ่งส่งผลให้เกิดเมทิลไดอะโซเนียมซึ่งเป็นสารนำอัลคาลอยด์[2]

การใช้เป็นยาพิษ
[แก้]มีหลายเหตุการณ์ที่เอ็นดีเอ็มเอถูกใช้โดยเจตนาเพื่อวางยาพิษบุคคลอื่นซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน ในปี พ.ศ. 2521 ครูในเมืองอุล์ม ประเทศเยอรมนีตะวันตก ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาพยายามฆ่าภรรยาของเขาโดยวางยาพิษโดยใส่เอ็นดีเอ็มเอลงในแยมและป้อนให้เธอ ทั้งภรรยาและครูเสียชีวิตในเวลาต่อมาด้วยภาวะตับวาย[15][16]
ในปี พ.ศ. 2521 สตีเวน รอย ฮาร์เปอร์ได้ฉีดเอ็นดีเอ็มเอลงในขวดน้ำมะนาวที่บ้านของครอบครัวจอห์นสันในเมืองโอมาฮา รัฐเนแบรสกา เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ดูแอน จอห์นสัน อายุ 30 ปีและแชด เชลตัน อายุ 11 เดือนเสียชีวิต ฮาร์เปอร์ถูกตัดสินประหารชีวิตจากอาชญากรรมของเขา แต่เขาได้ฆ่าตัวตายในคุกก่อนที่จะถูกประหาร[17]
ในคดีวางยาพิษฟู่ตั้น ในปี พ.ศ. 2556 หวง หยาง (黄洋) นักศึกษาแพทย์ระดับบัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟู่ตั้นในนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ตกเป็นเหยื่อของการวางยาพิษ ซึ่งหวงถูกวางยาโดยหลิน เซินฮ่าว (林森浩) เพื่อนร่วมห้องของเขา ซึ่งได้ใส่เอ็นดีเอ็มเอลงในเครื่องทำน้ำเย็นในห้องพักของพวกเขา หลินอ้างว่าเขาแค่ต้องการทำเป็นเรื่องตลกของวันเมษาหน้าโง่เท่านั้น เขาได้รับโทษประหารชีวิตและถูกประหารในปี พ.ศ. 2558[18]
ในปี พ.ศ. 2561 เอ็นดีเอ็มเอถูกนำมาใช้ในการพยายามวางยาพิษที่มหาวิทยาลัยควีนในเมืองคิงส์ตัน รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา[19]
การปนเปื้อนของยา
[แก้]ในปี พ.ศ. 2561 และอีกครั้งในปี 2562 มีการเรียกเก็บยาวาลซาร์แทนของหลายบริษัทเนื่องจากการปนเปื้อนด้วยเอ็นดีเอ็มเอ[20][21] ในปี พ.ศ. 2562 มีการเรียกเก็บยาแรนิทิดีนทั่วโลกเนื่องจากการปนเปื้อนเอ็นดีเอ็มเอ[22] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้เริ่มทดสอบตัวอย่างยารักษาโรคเบาหวาน เมตฟอร์มินสำหรับการปนเปื้อนเอ็นดีเอ็มเอ[23] การประกาศของเอฟดีเอเกิดขึ้นหลังจากการเรียกคืนเมตฟอร์มินสามรุ่นในประเทศสิงคโปร์ และคำขอขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรปให้ผู้ผลิตยาทำการทดสอบหาเอ็นดีเอ็มเอ[24][25]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 มีการพบเอ็นดีเอ็มเอในผลิตภัณฑ์ยาแรนิทิดีนจากผู้ผลิตหลายราย ส่งผลให้มีการเรียกเก็บคืน[26][27][28] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 แรนิทิดีนถูกถอนออกจากตลาดในสหรัฐ[27][29] ถูกระงับการจำหน่ายในสหภาพยุโรป[30]และออสเตรเลียเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเอ็นดีเอ็มเอ[31]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 มีการเรียกคืนยาประเภท 2 ตามรัฐบัญญัติสารควบคุม (Controlled Substances Act) สำหรับเมตฟอร์มินไฮโดรคลอไรด์ 500 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร (สารละลายสำหรับรับประทาน) ของบริษัท Rosemont Pharmaceuticals ซึ่งวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 เนื่องจากมีการระบุระดับของเอ็นดีเอ็มเอที่สูงกว่าที่ยอมรับได้[32]
ผลกระทบต่อระบบทางชีวภาพ
[แก้]มีการศึกษาพบว่าเอ็นดีเอ็มเอรบกวนกระบวนการสังเคราะห์อาร์จินีน การดูแลรักษาจีโนมในไมโตคอนเดรีย และการซ่อมแซมความเสียหายของดีเอ็นเอในยีสต์[33]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0461". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Tricker, A.R.; Preussmann, R. (1991). "Carcinogenic N-nitrosamines in the Diet: Occurrence, Formation, Mechanisms and Carcinogenic Potential". Mutation Research/Genetic Toxicology. 259 (3–4): 277–289. doi:10.1016/0165-1218(91)90123-4. PMID 2017213.
- ↑ David L. Sedlak; Rula A. Deeb; และคณะ (มกราคม–กุมภาพันธ์ 2005). "Sources and Fate of Nitrosodimethylamine and Its Precursors in Municipal Wastewater Treatment Plants". Water Environment Research: Emerging Micropollutants in Treatment Systems. 77 (1): 32–39. doi:10.2175/106143005X41591. JSTOR 25045835. PMID 15765933. S2CID 9690388.
- ↑ 4.0 4.1 Najm, I.; Trussell, R. R. (2001). "NDMA Formation in Water and Wastewater". Journal American Water Works Association. 93 (2): 92–99. doi:10.1002/j.1551-8833.2001.tb09129.x. ISSN 0003-150X. S2CID 93202942.
- ↑ 5.0 5.1 Mitch, W. A.; Sharp, J. O.; และคณะ (2003). "N-Nitrosodimethylamine (NDMA) as a Drinking Water Contaminant: A Review". Environmental Engineering Science. 20 (5): 389–404. CiteSeerX 10.1.1.184.204. doi:10.1089/109287503768335896.
- ↑ Hecht, Stephen S. (1998). "Biochemistry, Biology, and Carcinogenicity of Tobacco-Specific N-Nitrosamines†". Chemical Research in Toxicology. 11 (6): 559–603. doi:10.1021/tx980005y. PMID 9625726.
- ↑ Andrzejewski, P.; Kasprzyk-Hordern, B.; Nawrocki, J. (2005). "The hazard of N-nitrosodimethylamine (NDMA) formation during water disinfection with strong oxidants". Desalination. 176 (1–3): 37–45. doi:10.1016/j.desal.2004.11.009.
- ↑ George, J.; Rao, K. R.; Stern, R.; Chandrakasan, G. (2001). "Dimethylnitrosamine-induced liver injury in rats: the early deposition of collagen". Toxicology. 156 (2–3): 129–138. doi:10.1016/S0300-483X(00)00352-8. PMID 11164615.
- ↑ Peto, R.; Gray, R.; Brantom, P.; Grasso, P. (1991). "Dose and Time Relationships for Tumor Induction in the Liver and Esophagus of 4080 Inbred Rats by Chronic Ingestion of N-Nitrosodiethylamine or N-Nitrosodimethylamine" (PDF). Cancer Research. 51 (23 Part 2): 6452–6469. PMID 1933907.
- ↑ "40 C.F.R.: Appendix A to Part 355—The List of Extremely Hazardous Substances and Their Threshold Planning Quantities" (PDF) (July 1, 2008 ed.). Government Printing Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2011.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 "EMA finalises opinion on presence of nitrosamines in medicines". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 9 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2020. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ "Nitrosamine impurities". European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2020. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ Krebs, Bernt; Mandt, Jürgen (1975). "Kristallstruktur des N-Nitrosodimethylamins". Chemische Berichte (ภาษาเยอรมัน). 108 (4): 1130–1137. doi:10.1002/cber.19751080419.
- ↑ Mitch, William A.; Sedlak, David L. (2002). "Formation of N-Nitrosodimethylamine (NDMA) from Dimethylamine during Chlorination". Environmental Science & Technology. 36 (4): 588–595. Bibcode:2002EnST...36..588M. doi:10.1021/es010684q. PMID 11878371.
- ↑ "Ein teuflischer Plan: Tod aus dem Marmeladeglas" (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ Karsten Strey (1 มีนาคม 2015). Die Welt der Gifte (ภาษาเยอรมัน) (2 ed.). Lehmanns Media. p. 193. ISBN 978-3-86541-728-2.
- ↑ Roueché, Berton (25 มกราคม 1982). "The Prognosis for this Patient is Horrible". The New Yorker. pp. 57–71. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "15 days log in hospital". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2013.
- ↑ "Man admits poisoning fellow researcher in Kingston". The Kingston Whig Standard. 1 ธันวาคม 1969. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "FDA Updates and Press Announcements on Angiotensin II Receptor Blocker (ARB) Recalls (Valsartan, Losartan, and Irbesartan)". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 7 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "EMA reviewing medicines containing valsartan from Zhejiang Huahai following detection of an impurity: some being recalled across the EU". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 17 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2019. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ BBC Staff (29 กันยายน 2019). "Sale of heartburn drug suspended over cancer fears". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2019.
- ↑ "FDA Updates and Press Announcements on NDMA in Metformin". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 2 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2020.
- ↑ Lauerman, John (4 ธันวาคม 2019). "Diabetes Drugs Latest to Be Targeted for Carcinogen Scrutiny". Bloomberg Business. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2020.
- ↑ Koenig, D. (6 ธันวาคม 2019). "FDA Investigating Metformin for Possible Carcinogen". Medscape. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2019.
- ↑ "Health Canada assessing NDMA in ranitidine". Health Canada. 13 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2019.
- ↑ 27.0 27.1 "Questions and Answers: NDMA impurities in ranitidine (commonly known as Zantac)". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 11 ตุลาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2019.
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "EMA to review ranitidine medicines following detection of NDMA". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 13 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2019. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ "FDA Requests Removal of All Ranitidine Products (Zantac) from the Market". U.S. Food and Drug Administration (Press release). 1 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2020.
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Suspension of ranitidine medicines in the EU". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 30 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2020. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ "Ranitidine". Therapeutic Goods Administration (TGA). 2 เมษายน 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020.
- ↑ "Class 2 Medicines Recall: Rosemont Pharmaceuticals Limited, Metformin Hydrochloride 500mg/5ml Oral Solution, PL 00427/0139, EL (21)A/20". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2021.
- ↑ Ogbede, J.U.; Giaever, G.; Nislow, C. (2021). "A genome-wide portrait of pervasive drug contaminants". Scientific Reports. 11: 12487. doi:10.1038/s41598-021-91792-1.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Nitrosodimethylamine (NDMA). SF Public Utilities Commission.
- Pocket Guide to Chemical Hazards. ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ, สถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติสหรัฐ.
- Method Development for the Determination of N-Nitrosodimethylamine (NDMA) in Drinking Water. สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ.
- SFPUC NDMA White Paper. Santa Clara Valley Water District.
- Public Health Statement for n-Nitrosodimethylamine. Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR).
- Toxicological Profile for n-Nitrosodimethylamine CAS# 62-75-9. Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR).