เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช

พิกัด: 43°31′58″S 172°36′42″E / 43.5329°S 172.6118°E / -43.5329; 172.6118
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช
เป็นส่วนหนึ่งของการก่อการร้ายในประเทศนิวซีแลนด์และการเมืองฝ่ายขวาจัดในประเทศออสเตรเลีย
มัสยิดอันนูร (Al Noor Mosque) ในปี 2019
แผนที่
สถานที่ตั้งมัสยิดอันนูรและศูนย์อิสลามลินวุด
สถานที่ไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์
พิกัด43°31′58″S 172°36′42″E / 43.5329°S 172.6118°E / -43.5329; 172.6118
วันที่15 มีนาคม พ.ศ. 2562
13:40 น. - 13:59 น. (ตามเวลาออมแสงนิวซีแลนด์)
ประเภทเหตุกราดยิง[1], การก่อการร้าย[2] ฆาตกรฆ่าสนุก, อาชญากรรมจากความเกลียดชัง
อาวุธ
  • ปืนเล็กยาวอัตโนมัติสองกระบอก
  • ปืนลูกซองสองกระบอก
  • ปืนเล็กยาวโจมตีระดับหนึ่งหนึ่งกระบอก
  • ระเบิดแสวงเครื่องที่ไม่ทำงาน
ตาย51 คน[3]
เจ็บ40 คน
ผู้ต้องสงสัยเบรนตัน ทาร์แรนต์
เหตุจูงใจ

เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช เป็นการก่อการร้ายของกลุ่มขวาจัดหัวรุนแรงมัสยิดอันนูรและศูนย์อิสลามลินวุด ในเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างการละหมาด เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 มีผู้เสียชีวิตจากการกราดยิง 51 คน และบาดเจ็บ 49 คน ผู้ต้องสงสัยทั้งสามคนได้ถูกตั้งข้อหาแล้วหนึ่งคดี การโจมตีในครั้งนี้ได้ถูกเรียกว่าการก่อการร้ายโดยจาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ และรัฐบาลอีกหลายประเทศ

การโจมตีในครั้งนี้ถือว่ารุนแรงกว่าทุกเหตุถือเกิดขึ้นในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเกิดขึ้นครั้งล่าสุดในการจลาจลของนักโทษเฟเทอร์สตันในค่ายกักกัน พ.ศ. 2486 ที่มีผู้เสียชีวิตรวม 49 คน[7] นับเป็นครั้งแรกของเหตุกราดยิงในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งครั้งล่าสุดเกิดเหตุขึ้นในการสังหารหมู่เรารีมู ปี พ.ศ. 2540[8][9][10]

เหตุโจมตี[แก้]

เหตุโจมตีได้เริ่มต้นขึ้นที่มัสยิดอันนูรในย่านริกคาร์ตัน และศูนย์อิสลามลินวุด เมื่อเวลา 13:40 น. ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตามเวลาออมแสงกลางนิวซีแลนด์ (00:40 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด)[11][12][13]

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พบระเบิดติดรถของผู้ก่อเหตุจำนวนสองคัน[14] กองทัพนิวซีแลนด์ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้[14][15][14]

มัสยิดอันนูร[แก้]

มือปืนติดอาวุธหนักได้เดินทางมายังมัสยิดอันนูรในย่านริกคาร์ตัน เมื่อเวลาประมาณ 13:40 น.[16] มือปืนกราดยิงมัสยิดอันนูรได้ถ่ายทอดสดการโจมตีของตนเป็นเวลา 17 นาที ผ่านทางสื่อเฟซบุ๊กไลฟ์ เริ่มตั้งแต่ตอนที่ขับรถไปที่มัสยิดจนถึงขับหนีไป[17] โดยได้อธิบายตนเองว่าเป็นคนผิวขาวหัวรุนแรงชาวออสเตรเลีย อายุ 28 ปี[18][19] ในช่วงต้นของการถ่ายทอดสด มือปืนได้ขับรถของตนไปยังเป้าหมาย โดยในระหว่างทางได้เปิดเพลงภาษาเซอร์เบีย ซึ่งมีเนื้อหาสรรเสริญราดอวาน คาราจิช ผู้ที่ถูกตัดสินว่าเป็นผู้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมบอสเนีย[20][21] ในเหตุกราดยิงครั้งนี้ ผู้ก่อเหตุได้มีการอ้างถึงวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต และมีมที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ โดยได้กล่าวไว้ว่า "จำไว้นะหนู อย่าลืมที่จะไปกดติดตามพิวดีพาย" ระหว่างที่กำลังถ่ายทอดสดก่อนที่จะบุกเข้าไปก่อเหตุ ซึ่งเป็นการอ้างถึง การแข่งขันครองตำแหน่งผู้กดติดตามสูงสุดบนสื่อวิดีทัศน์อย่าง ยูทูบ ซึ่งเรียกกันว่า พิวดีพาย ปะทะ ที-ซีรีส์ [22] ก่อนเหตุการณ์กราดยิง มือปืนได้ถูกผู้ที่มาประกอบพิธีกรรมทักทายด้วยคำว่า "สวัสดี พี่ชาย" และคนนั้นก็ได้ถูกสังหารเป็นกลุ่มคนแรกเริ่ม[23][24]

ปืนที่ใช้ในการโจมตีของมือปืน ถูกสลักด้วยอักษรสีขาว โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับชื่อของบุคคลในอดีตที่สำคัญ รวมถึงชื่อคนสำคัญในสงครามครูเสด ซึ่งเป็นการสู้รบของชาวมุสลิมกับชาวคริสต์[18][25] มีการสันนิษฐานว่า อาจมีคนประมาณสามร้อยถึงห้าร้อยคนอยู่ในมัสยิดได้เข้าร่วมพิธีกรรมละหมาดประจำวันศุกร์ระหว่างที่โดยกราดยิง[26] ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับมัสยิดได้เล่าเหตุการณ์ต่อผู้สื่อข่าวว่า มือปืนได้รีบหนีออกจากมัสยิดแล้วขับรถ ระหว่างนั้นได้ทิ้งปืนที่ใช้ในการก่อเหตุลงระหว่างข้างทาง[27]

ศูนย์อิสลามลินวุด[แก้]

เหตุกราดยิงที่สองเกิดขึ้นเวลาประมาณ 13:55 น.[28]ที่ศูนย์อิสลามลินวุด[29][30] รายงานในช่วงต้นเหตุการณ์ ได้รายงานว่า "มีการโจมตีเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน"[31] มีหนึ่งคนที่ถูกตั้งข้อหาว่าเป็น "ผู้วางแผน" ในการกราดยิงบริเวณที่เกิดเหตุ[32] มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 7 คนภายในมัสยิด ในนั้นมีผู้เสียชีวิตภายนอกทั้งหมด 3 คน[33]

ระเบิด[แก้]

ตำรวจได้พบระเบิดแสวงเครื่องสองอันติดอยู่ที่รถ และถูกกู้โดยกองทัพนิวซีแลนด์ในเวลาต่อมา[34] ไม่มีวัตถุระเบิดถูกพบบนตัวมือปืน[35]

หลังเหตุโจมตี[แก้]

ภาคการบริการฉุกเฉิน[แก้]

อธิบดีตำรวจ ไมค์ บุช ได้กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปยังที่เกิดเหตุที่มัสยิดแห่งแรกหลังจากเกิดเหตุ เมื่อเวลา 13:42 นาฬิกา[36] ในการวิพากย์วิจารณ์ การตอบสนองเหตุต่อเหตุครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ถือว่าปฏิบัติหน้าที่ได้ช้าจนเกินไป โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมทาร์แรนต์ภายในระยะเวลา 21 นาที ผู้บัญชาการตำรวจประจำเขต จอห์น ไพซ์ ได้กล่าวว่า "นี่ถือว่าเป็นการตอบสนองที่ถือว่าเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเขาคืออาชญากรมือถือที่กำลังจะข้ามเมืองใหญ่"[37]

ศูนย์รถพยาบาลเซนต์จอห์น ได้ส่งรถพยาบาลจำนวน 20 คัน และพาหนะอื่นที่เกี่ยวข้องมายังมัสยิด[38] ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังโรงพยาบาลไครสต์เชิรช์ โดยมีผู้บาดเจ็บจากกระสุนปืนจำนวนสี่สิบแปดคน และเด็กเล็กถูกรักษาที่โรงพยาบาล[39][40] บางคนถูกส่งไปยังโรงพยาบาลอื่นภายในเมืองไครสต์เชิรช์และภายในประเทศ[41] คณะทำงานสุขภาพเขตแคนเทอร์บูลี่จำเป็นต้องจ่ายแผนประกันการสูญเสียเป็นจำนวนมาก[39] แพทย์สนามได้อธิบายมัสยิดว่าเป็นแม่น้ำสายเลือดไหลออกมากจายภายในมัสยิด[42] และต้องก้าวข้ามผ่านศพเพื่อไปช่วยเหลือผู้ที่บาดเจ็บอยู่[43]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น ได้เรียกเหตุการณ์โจมตีครั้งนี้ว่า "เป็นการกระทำที่บ้าคลั่ง อย่างที่ไม่มีเคยเกิดขึ้นมาก่อน" และยังกล่าวอีกว่า "เป็นวันที่มืดมิดที่สุดของนิวซีแลนด์"[44][45][46] และยังได้อธิบายว่าเป็นการก่อร้ายที่วางแผนได้เฉียบขาด[41] นายกเทศมนตรีเมืองไครสต์เชิรช์ เลียน์ ดาลซีน อธิบายว่า ไม่เคยนึกว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในประเทศนิวซีแลนด์ ยังกล่าวอีกว่า "ทุกคนอยู่ในความรู้สึกตกใจมาก"[41] สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร, ราชินีแห่งนิวซีแลนด์ พระองค์ได้รู้สึก "เศร้าใจ" ต่อเหตุการณ์โจมตีครั้งนี้ว่า "เจ้าชายฟิลิปและฉัน ได้ส่งสาส์นแสดงความเสียใจไปยังครอบครัว และเพื่อนของผู้ที่สูญเสียชีวิต"[47] ผู้นำระดับโลกและนักการเมืองหลายคงได้ออกมาโจมตีต่อผู้ที่เป็นอิสลามโมโฟเบียที่มีอัตราสูงขึ้น[48][49][50][51]

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เทเรซา เมย์ ได้อธิบายความรู้สึกต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ "เป็นการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่น่ากลัว" และยังกล่าวอีกว่า "ความคิดของฉันคือผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้จากการโจมตีที่น่ารังเกียจ[เป็นอย่างไร]"[52]

นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด ได้แสดง"ความเสียใจอย่างสุดซึ้ง" และได้เล่าว่า "แคนาดายังจำได้ถึงความเศร้าโศกเสียใจ ที่พวกเราได้รู้สึกจากเหตุการณ์โจมตีที่ไร้สติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามแห่งเมืองเกแบ็ก ได้พรากชีวิตผู้บริสุทธิ์หลายคนที่กำลังสวดภาวนาอยู่" ในส่วนนี้เป็นการอ้างถึงเหตุการณ์เหตุกราดยิงมัสยิดในเมืองเกแบ็ก ใน พ.ศ. 2560[53]

ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้แสดงความรู้สึกของตน "เข้าใจหัวอก และขอแสดงความปรารถนาดีแด่ประชาชนนิวซีแลนด์ทุกคน" และยังให้หน่วยงานอย่างเอฟบีไอเข้าร่วมสอบสวน[54][55][56][57] อดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ได้แสดงความเสียใจ และอยากให้มัสยิดทั่วสหรัฐรักษาความปลอดภัยเข้มงวดมากขึ้น[58][59]

ยูทูบเบอร์ชาวสวีเดน เฟลิกซ์ เชลล์แบรย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกอ้างถึงโดยผู้ก่อเหตุ ซึ่งได้โพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์มีใจความว่า "ผมรู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่งที่มีชื่อผมถูกเปล่งออกมาจากเขา[ผู้ก่อเหตุ]" และได้แสดงความเสียใจต่อผู้ที่มีส่วนต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้[22][60]

ผู้ต้องสงสัย[แก้]

เบรนตัน ทาร์แรนต์
เกิดเบรนตัน แฮริสัน ทาร์แรนต์
พ.ศ. 2533/2534 (อายุ 28-29 ปี)
เกฟตัน, รัฐนิวเซาท์เวลส์, ประเทศออสเตรเลีย
อาชีพครูฝึกสอนส่วนตัว
มีชื่อเสียงจากเหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช
ข้อหาฆาตกรรม

เบรนตัน ทาร์แรนต์ (อังกฤษ: Brenton Tarrant) ผู้ต้องสงสัยชาวออสเตรเลีย อายุ 28 ปี เชื่อว่าเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ รายงานแรกกล่าวถึงการโจมตีหลายครั้งติดต่อกัน[61] แต่ภายหลังมีผู้ต้องสงสัยเพียงคนเดียว[62][63] เขาถูกจับที่ถนนบราวแฮม[64] โดยตำรวจ 36 นาทีหลังการโทรฉุกเฉิน[65][66] จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่านายทาร์แรนต์วางแผนจะโจมตีที่อื่นอีก[65]

อ้างอิง[แก้]

  1. Roy, Eleanor Ainge; Sherwood, Harriet; Parveen, Nazia (15 March 2019). "Christchurch attack: suspect had white-supremacist symbols on weapons". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019. A bomb disposal team was called in to dismantle explosive devices found in a stopped car.
  2. "'There Will Be Changes' to Gun Laws, New Zealand Prime Minister Says". The New York Times. 17 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
  3. "Turkish citizen hurt in Christchurch attacks dies, NZ death toll at 51: Minister". Channel News Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
  4. Welby, Peter (16 March 2019). "Ranting 'manifesto' exposes the mixed-up mind of a terrorist". Arab News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
  5. Perrigo, Billy. "The New Zealand Attack Exposed How White Supremacy Has Long Flourished Online". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2019. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
  6. Achenbach, Joel (18 August 2019). "Two mass killings a world apart share a common theme: 'ecofascism'". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2020.
  7. "Christchurch mosque shootings: New Zealand's worst since 1943". 15 March 2019 – โดยทาง www.nzherald.co.nz.
  8. Leask, Anna (3 February 2017). "Raurimu 20 years on: the madman, the massacre and the memories". The New Zealand Herald (ภาษาอังกฤษ). ISSN 1170-0777. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  9. Graham-McLay, Charlotte; Ramzy, Austin (14 March 2019). "New Zealand Police Say Multiple Deaths in 2 Mosque Shootings in Christchurch". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  10. "Mass shootings at New Zealand mosques". CNN. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  11. "New Zealand mosque shootings kill 49". 15 March 2019 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
  12. "Christchurch shootings: Death toll rises to 49 following terrorist attack - live updates". Stuff.co.nz. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  13. "Christchurch shootings see 49 people killed in attacks on mosques". ABC Online. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  14. 14.0 14.1 14.2 "Watch: Christchurch mosque shooting - Four in custody". Radio New Zealand. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  15. Casiano, Louis (14 March 2019). "40 killed and more than 20 seriously injured in New Zealand mass shooting targeting mosques". Fox News.
  16. Sharman, Jon (15 March 2019). "Armed police deployed after shots fired at New Zealand mosque" (ภาษาอังกฤษ). The Independent. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  17. "Christchurch mosque shootings: Gunman livestreamed 17 minutes of shooting terror". The New Zealand Herald. 15 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019.
  18. 18.0 18.1 "Mosque shooting: Christchurch gunman livestreamed shooting". The New Zealand Herald (ภาษาอังกฤษ). 15 March 2019. ISSN 1170-0777. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WeillSommer
  20. Koziol, Michael. "Christchurch shooter's manifesto reveals an obsession with white supremacy over Muslims". www.smh.com.au. Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019. "Music was playing in the car in the background of the video of Tarrant's attack, one in the Serbian language, and one in German. The Serbian song references the "butcher of Bosnia", Radovan Karadzic, a convicted war criminal and the political leader of Bosnian Serbs."Wolves are on the move from Krajina. Fascists and Turks, beware. Karadzic, lead your Serbs, let them see they fear no one," the lyrics say."
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Zivanovic
  22. 22.0 22.1 Paton, Callum (15 March 2019). "PewDiePie 'Sickened' by New Zealand Mosque Shooter Telling Worshippers to Follow Him Before Opening Fire". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  23. "'Hello brother': Muslim worshipper's 'last words' to gunman". Al Jazzera. 15 March 2019.
  24. "'Hello brother,' first Christchurch mosque victim said to shooter". Toronto City News. 15 March 2019.
  25. "Christchurch shooting: Gunman's chilling live stream of the mosque attack". www.smh.com.au. Sydney Morning Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-15. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  26. "LIVE: Mass shooting at Christchurch mosque as police respond to 'active shooter' situation". 1 News NOW. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  27. "Reports of multiple casualties in Christchurch mosque shooting" (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). ABC News. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  28. "Man who scared away gunman at Christchurch mosque hailed a hero". Stuff. 17 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
  29. "Christchurch gets its second mosque". Indian Weekender (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  30. Barraclough, Breanna (15 March 2019). "Christchurch mosque shooting: Footage emerges of alleged gunman" (ภาษาอังกฤษ). Newshub. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  31. Molyneux, Vita (15 March 2019). "Live updates: Six people have reportedly been killed in Christchurch shootings near mosque". Newshub. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  32. Mackintosh, Eliza; Mezzofiore, Gianluca (15 March 2019). "Suspect in New Zealand mass shooting charged with murder" (ภาษาอังกฤษ). CNN. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  33. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  34. "Christchurch mosque shooting kills 49, gun laws will change PM says". Stuff. 16 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019.
  35. "49 People Have Been Killed After Mass Shootings At Mosques In New Zealand". BuzzFeed. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  36. "One shooter in twin mosque attacks, police". Port Stephens Examiner. 16 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
  37. "One shooter in twin mosque attacks, police". Newcastle Herald. 16 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
  38. "Police confirm 49 people dead in Christchurch mosque terror attacks, man charged with murder". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019 – โดยทาง TVNZ.
  39. 39.0 39.1 "Deadly mass shooting at New Zealand mosques". BBC. 15 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  40. "Four arrested after mass shooting at mosque, Islamic centre". www.9news.com.au. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  41. 41.0 41.1 41.2 "Three in custody after 49 killed in Christchurch mosque shootings". Stuff (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  42. "'A river of blood coming out the door' - emergency services' harrowing tales of Christchurch attacks" – โดยทาง TVNZ.
  43. "Paramedics had to step over bodies to collect the wounded at Christchurch mosque" – โดยทาง Stuff NZ.
  44. "Live stream: 1 News at 6pm". 15 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-30. สืบค้นเมื่อ 2019-03-16.
  45. "PM on mosque shooting: 'One of New Zealand's darkest days'". Newstalk ZB. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  46. "Christchurch mosque shootings: 'This can only be described as a terrorist attack' – PM Jacinda Ardern". Radio New Zealand. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  47. "The Queen and Prince Charles send condolences following heartless mosque attacks in New Zealand". Hello. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  48. "World leaders condemn Christchurch mosque terrorism attack". Stuff (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  49. Morrison, Scott. "I'm horrified by the reports I'm following of the serious shooting in Christchurch, New Zealand. The situation is still unfolding but our thoughts and prayers are with our Kiwi cousins". Twitter. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  50. "'We're not just allies': Scott Morrison says Australia grieves with New Zealand". YouTube. ABC News. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  51. Shield, Bevan (15 March 2019). "Scott Morrison confirms Australian taken into custody after 'vicious, murderous' terrorist attack". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  52. "Christchurch shootings: Outpouring of UK support to Muslim community". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019.
  53. "Statement by the Prime Minister on terrorist attack on two mosques in New Zealand" (Press release). PMO. 15 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-15. สืบค้นเมื่อ 2019-03-16.
  54. "49 dead in terror attack at New Zealand mosques". CNN. CNN.
  55. "Christchurch shootings: 49 dead in New Zealand mosque attacks". BBC. BBC.
  56. "Dozens killed as gunman livestreams New Zealand mosque shootings". Reuters. Reuters. 14 March 2019.
  57. Trump, Donald J. (15 March 2019). "My warmest sympathy and best wishes goes out to the people of New Zealand after the horrible massacre in the Mosques. 49 innocent people have so senselessly died, with so many more seriously injured. The U.S. stands by New Zealand for anything we can do. God bless all!". @realDonaldTrump (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  58. "Live reaction to NZ mosque attack". BBC. BBC.
  59. "Security Increased at American Mosques After New Zealand Attack". NYT. NYT. 15 March 2019.
  60. "49 killed in terrorist attack at mosques in Christchurch, New Zealand". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 March 2019. Further afield, Felix Kjellberg, a YouTube celebrity from Sweden who goes by “PewDiePie” and flirts openly with Nazi symbolism, distanced himself from the violence after the man who live-streamed his rampage asked viewers to “subscribe to PewDiePie.”
  61. Molyneux, Vita (15 March 2019). "Live updates: Six people have reportedly been killed in Christchurch shootings near mosque". Newshub. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  62. Mackintosh, Eliza; Mezzofiore, Gianluca (15 March 2019). "Suspect in New Zealand mass shooting charged with murder". CNN. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  63. Saldiva, Gabriela. "Number Of Dead Rises To 50 In New Zealand Mass Shooting". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
  64. "49 shot dead in attack on two Christchurch mosques". Guardian. 15 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019.
  65. 65.0 65.1 "Christchurch shooting: gunman intended to continue attack, says PM". Guardian. 16 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019.
  66. "Two rural police officers 'took down Christchurch massacre suspect'". Agence France Presse. 16 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.