พิวดีพาย ปะทะ ที-ซีรีส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิวดีพาย ปะทะ ที-ซีรีส์
พิวดีพายใน ค.ศ. 2015
สัญลักษณ์ของที-ซีรีส์
วันที่29 สิงหาคม ค.ศ. 2018 – 28 เมษายน ค.ศ. 2019
(7 เดือน 4 สัปดาห์ 2 วัน)
ประเภทWord-of-mouth marketing, advertising, website support, slogans, activism, hacking, spamming, minor civil disobedience, more
เหตุจูงใจSupport of PewDiePie or T-Series, public competition/rivalry about being the most subscribed YouTube channel
ผลที-ซีรีส์ได้ขึ้นมานำพิวดีพาย โดยในกลายเป็นช่องยูทูบที่มีผู้ติดตามมากที่สุด และเป็นผู้ใช้คนแรกที่มียอดติดตามถึง 100 ล้านยอดติดตาม

พิวดีพาย ปะทะ ที-ซีรีส์ เป็นการแข่งขันในเชิงเย้ยหยันระหว่างช่องยูทูบสองช่อง อย่างพิวดีพายและที-ซีรีส์ เพื่อสำหรับการครองตำแหน่งช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบ[note 1] บนเว็บไซต์แบ่งปันวีดิทัศน์ นั้นคือยูทูบ พิวดีพาย เป็นช่องยูทูบที่มีผู้ติดตามมากที่สุดมาตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2013 ส่วนที-ซีรีส์เป็นช่องยูทูบที่มีผู้ชมในยูทูบดูภายในช่องมากที่สุด และเป็นรองในช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบ ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2018

มียูทูบเบอร์ที่ชื่อดังหลายคน เช่น มิสเตอร์บีสต์, มากิพิลเลอร์, แจ็กเซปติเซย์ และโลกัน พอล ได้แสดงปฏิกิริยาสนับสนุนช่องยูทูบพิวดีพาย และผู้ติดตามพิวดีพายจำนวนมากได้สนับสนุนกันจนล้นหลาม ในขณะอีกฟากหนึ่ง มียูทูบเบอร์ชื่อดังชาวอินเดีย เช่น CarryMinati, Harsh Beniwal และ Jus Reign ได้ออกเสียงคัดค้านพิวดีพายและให้สนับสนุนที-ซีรีส์แทน

ปฏิกิริยาทางฝั่งพิวดีพาย[แก้]

มียูทูบเบอร์หลายคนได้กล่าวให้ทุกคนไปกดติดตามช่องยูทูบของพิวดีพาย ในส่วนของยูทูบเบอร์ชื่อดังอย่าง มากิพิลเลอร์, แจ็กเซปติเซย์ และโลกัน พอล ได้สร้างวีดิทัศน์/ทวีตบนทวิตเตอร์ ประกาศให้ทุกคนไปกดติดตาม เพื่อสำหรับการครองตำแหน่งผู้ติดตามมากที่สุดในยูทูบ[1][2][3] ส่วนยูทูบเบอร์ มิสเตอร์บีส ได้จ่ายเงินเพื่อซื้อป้ายโฆษณาและสัญญาณวิทยุภายในรัฐนอร์ทแคโรไลนา เพื่อประกาศให้ทุกคนไปกดติดตามช่องพิวดีพาย[4] ยูทูบเบอร์ จัสติน โรเบิรต์ ซึ่งเป็นสมาชิกยูทูบ กลุ่มที่ 10 ได้จ่ายเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาห์สหรัฐ เพื่อซึ้อป้ายโฆษณาในเมืองนิวยอร์ก ที่ไทม์สแควร์[5][6] มากิพิลเลอร์ได้จัดทำวีดิทัศน์ในหัวข้อว่า "ผมจะหุบปากก็ต่อเมื่อคุณไปกดติดตามพิวดีพาย" เพื่อที่จะทำให้ผู้ชมที่ดูวีดิทัศน์ไปกดติดตามช่องยูทูบของพิวดีพาย[2][5][6] แจ็กเซปติเซย์ได้ทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ว่า "กุหลาบสีแดง / กองทัพเด็ก 9 ขวบจงลุกขึ้น / เราจะสยบที ซีรีส์ / แล้วไปกดติดตามพิวดีพาย"[3]

เหล่าผู้ชื่นชอบพิวดีพายทั้งหลายได้เข้าไปแสดงพฤติกรรมหยาบคายและเกรียนใส่ในช่องยูทูบที-ซีรีส์[7] บางวีดิทัศน์ของช่องยูทูบที-ซีรีส์ ได้มีการกล่าวให้ไปสนับสนุนพิวดีพาย พร้อมกับกสดิสไลก์เป็นจำนวนมากต่อวีดิทัศน์ และยังกดรายงานเท็จเป็นจำนวนมาก[8] มีผู้ชื่นชอบพิวดีพายบางกลุ่มได้ทำการต่อต้านประเทศอินเดีย และยังเหยีดเชื้อชาติ ซึ่งนำไปสู่ข้อพิพาทกันภายในประเทศอินเดีย[9][10]

ยูทูบ รีวายด์ 2018: เอฟวีวัน คอนโทรนส์ รีวายด์ เป็นวีดิทัศน์ที่จัดทำโดยยูทูบเพื่อเป็นการประมวลผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมยูทูบประจำปี ค.ศ. 2018 ได้กลายเป็นวีดิทัศน์ที่มีคนกดยอดดิสไลก์มากที่สุดบนเว็บไซต์ เนื่องจากการโจมตีของผู้ที่ไม่เห็นด้วย โดยส่วนหนึ่งให้เหตุผลในการกดดิสไลก์ เนื่องจากการที่ยูทูบไม่นำเหตุการณ์แข่งขันเย้ยหยันพิวดีพายกับที-ซีรีส์[11] อย่างไรก็ตาม ยูทูบเบอร์ ไจเดน แอนิเมชั่น ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมบนวีดิทัศน์ โดยที่ได้สร้างสัญลักษณ์ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงพิวดีพายไว้ในวีดิทัศน์อีกด้วย[12]

การแฮ็ก[แก้]

แฮ็กเกอร์ในนามแฝงว่า "แฮกเกอร์ยีราฟ" ได้เจาะระบบเครื่องพิมพ์จำนวน 50,000 เครื่องในเดือนพฤศจิกายน และยังได้เจาะระบบอีก 80,000 เครื่องในราวเดือนธันวาคม[13][14][15] ข้อความบนกระดาษที่ถูกเจาะเขียนไว้ว่า "พิวดีพายกำลังมีปัญหา เขาต้องการความช่วยเหลือจากตัวคุณ เพื่อที่จะกำจัดทีซีรีส์!" และให้ทุกคนไปกดติดตามพิวดีพาย เลิกติดตามช่องยูทูบที-ซีรีส์ ถึงจะแก้ไขเครื่องพิมพ์ให้กับผู้ใช้งาน แฮกเกอร์ยีราฟได้อ้างว่า เขาเจอเครื่องพิมพ์ที่ระบบบกพร่องจำนวนปนะมาณ 800,000 เครื่อง โดยเขาได้ตรวจเจอเครื่องพิมพ์นี้โดยโปรแกรม โชแดน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เข้าใช้ตรวจพบเครื่องพิมพ์ที่บกพร่อง[6][16] ต่อมา แฮ็กเกอร์ยังได้เจาะระบบของเว็บไซต์ที-ซีรีส์โดยใช้วิธีการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ[15]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 หนึ่งในเครือเว็บไซต์ของเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ได้ถูกเจาะระบบแก้ไขข้อความในเว็บไซต์ ซึ่งมีใจความเนื้อหาเกี่ยวการขอโทษที่พิวดีพายเคยมีข้อครหาในเรื่องการเหยียดชาวยิว[6] ข้อความในเนื้อหานี้ได้ถูกลบลงและได้จัดการสอบสวนในเรื่องการเจาะระบบนี้เป็นเวลาต่อมา[16]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019, อุปกรณ์รับชมถ่ายทอดสดโคลมแคสของกูเกิ้ลจำนวน 65,000 เครื่อง ซึ่งถูกเจาะระบบโดย แฮ็กเกอร์ยีราฟ และ j3ws3r โดยได้ทำให้จอสมาร์ททีวีแสดงข้อความชักชวนไปกดติดตามช่องยูทูบพิวดีพาย พร้อมกับเปลี่ยนการตั้งค่าด้านความปลอดภัย[17][18] อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผลการตอบรับจากการเจาะระบบเป็นเชิงบวก โดยมีหนึ่งในแฮ็กเกอร์โดยไม่ได้ระบุตัวตนให้สัมภาษณ์กับบีบีซี ว่ารู้สึกเป็นกังวล เนื่องจากการกระทำที่อาจพาไปสู่คดีความได้ พร้อมทั้งมีผู้ไม่เห็นด้วยโกรธแค้นใช้ถ้อยคำส่งเสริมว่าให้เสียชีวิตลง แฮกเอร์ทั้งคู่ได้ซ่อนตัวอยู่ นอกจากนี้ กล้องยี่ห้อเนส ได้ถูกเจาระบบโดยนามแฝงว่า "SydeFX" โดยได้แก้ไขในส่วนของระบบปฏิบัตการณ์พูด ให้มีเสียงเชิญชวนไปกดติดตามช่องยูทูบพิวดีพาย[19]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 บ็อบ บักฮอน นายกเทศมนตรีแห่งเมืองแทมปา ได้โพสต์ลงในบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัว ได้กล่าวประมาณว่า การที่เหล่าแฮ็กเกอร์ได้เข้าเจาระบบต่าง ๆ นั้น เพื่อที่จะให้ไปกดติดตามช่องพิวดีพาย ถือเป็นการกระทำที่อันตราย[20]

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2019 ผู้ใช้ที่สามารถเจาะระบบแก้ไขยอดคนติดตามของพิวดีพาย โดยใช้นามแผงว่า PewCrypt ได้ทำการเจาะนำรหัสไฟล์จากเครื่องจักรของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยผู้เจาะระบบได้ทำการนำรหัสผ่านทั้งหมดมาเก็บไว้ โดบจะให้ก็ต่อเมื่อช่องยูทูบมีผู้ติดตามเกินหนึ่งร้อยล้านคน โดยถ้าหากช่องยูทูบที-ซีรีส์สามารถครองตำแหน่งช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบได้สำเร็จ จะส่งผลให้เขาลบข้อมูลไฟล์เอกสารทั้งหมดลงสิ้นสุด[21]

เหตุอาชญากรรม[แก้]

เหล่าผู้สนับสนุนได้ทำลายสาธารณะสมบัติเพื่อที่จะให้กดติดตามพิวดีพาย เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 อนุสรณ์สถานระลึกสงครามบรูคริน ได้ถูกทำลาย ด้วยวิธ๊การพ่นสีลงพร้อมมีข้อความว่า "ไปกดติดตามพิวดีพาย"[22] กรมสวนสาธารณะและสถานที่นันทนาการแห่งเมืองนิวยอร์ก ได้กล่าวว่า จำเป็นที่ต้องนำออก[23] พิวดีพายประณามต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้[24][25] พร้อมกับบริจาคเงินให้กับอนุสรณ์สถาน[26] โดยเขาได้บอกแก่ผู้สนับสนุนของเขาว่าอย่าทำอะไรที่มัน "ผิดกฎหมาย" ในระหว่างการแข่งในครั้งนี้[22] การทำลายทรัพย์สินยังเกิดขึ้นอีกในสองวันถัดมามีการเขียนอักษณเป็นข้อความว่า "ติดตามพิวดีพาย" ซึ่งเขียนอยู่บนโรงเรียนบนเมืองออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร[27]

ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2019 เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช ผู้ก่อเหตุได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า "จำไว้นะหนู อย่าลืมที่ไปกดติดตามพิวดีพาย" ในขณะที่กำลังถ่ายทอดสดก่อนเหตุกราดยิง[28] พิวดีพายได้ทวีตกลับต่อเหตุการณ์: "ผมเพิ่งได้รับข่าวที่เกิดขึ้นในไครสต์เชิร์ชจากประเทศนิวซีแลนด์ ผมรู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่งที่มีชื่อผมถูกเปล่งออกมาจากเขา[ผู้ก่อเหตุ] ในตอนนี้ภายในใจและความคิดของผม ผมรู้สึดสลดใจแทนเหยื่อหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบในเหตุโศกนาฏกรรมครั้งนี้"[24][29]

ปฏิกิริยาทางฝั่งที-ซีรีส์[แก้]

จากการที่มิสเตอร์บีสได้ทำโครงการซื้อป้ายโฆษณา ส่งผลให้ ไซแมนดา วาจแฮร์ ยูทูบเบอร์อิสระชาวอินเดีย ซึ่งมีช่องยูทูบว่า "Saiman Says" ได้ตอบสนองจากการที่มิสเตอร์บีชทำโครงการซื้อป้ายโฆษณาว่าให้ไปสนับสนุนที-ซีรีส์แทน อย่างไรก็ตาม ในภายหลังไซแนดาโพสต์วีดิทัศน์บนยูทูบว่าให้ทุกคนไปกดติดตามพิวดีพายแทน[30]

การแข่งขันเชิงเย้ยหยันในครั้งนี้ ชาวอินเดียได้ให้สนใจมากขึ้น เนื่องจากข้อพิพาทของเพลงแนวเหยียด บิช ลาซานญ่า ซึ่งจัดทำโดย พิวดีพาย พบว่ามีการอ้างถึงชาวอินเดีย ส่งผลให้ชาวอินเดียบางส่วนไม่พอใจเหล่าผู้ชื่นชอบ และผู้สนับสนุนพิวดีพายที่มีการต่อต้านชาวอินเดีย และการเหยียดเชื้อชาติ จากเหตุเหล่านี้ ทำให้ยูทูบเบอร์อิสระภายในประเทศอินเดีย เกิดกระแสต่อต้านพิวดีพายอย่างรุนแรง และให้ผู้ชมไปสนับสนุนช่องยูทูบที-ซีรีส์[10][9] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 นักแสดงตลก และยูทูบเบอร์ชาวอินเดีย-แคนาดา Jus Reign ได้อัปโหลดวีดิทัศน์ว่า "ในการปกป้องที-ซีรีส์" ซึ่งเขาพูดถึงการรับชมเพลงจากช่องที-ซีรีส์ในตอนวัยเยาว์ และการแสดงเพลงสั้นในตอนท้าย พร้อมกับสรรเสริญที-ซีรีส์[31]

ในการตอบสนองต่อเพลงแนวเหยียด "บิช ลาซานญ่า" ยูทูบเบอร์ชาวอินเดียได้เขียนแสดงความคิดเห็นตอบโต้ด้วยภาษาฮินดี ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ ยูทูบเบอร์ Tatva K ได้ปล่อยเพลงเหยียดบนยูทูบว่า "Pew Ki Pie" ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 ตามมาด้วยยูทูบเบอร์ Asif Bantaye ก็ได้ปล่อยเพลงเหยียดอีก โดยใช้ชื่อว่า "PENDUBHAI" ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 ในวันปีใหม่ ค.ศ. 2019 นักเล่นพับจี และหนึ่งในสิบยูทูบเบอร์ชาวอินเดีย CarryMinati ได้ปล่อยเพลงเชิงเหยียด "บาย พิวดีพาย" ซึ่งมียอดชม 5 ล้านครั้ง ภายในแค่ 24 ชั่วโมง[10]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Not counting genre-based pseudo-channels created and maintained by YouTube.

อ้างอิง[แก้]

  1. Sekhose, Marcia (6 December 2018). "PewDiePie vs T-Series: Logan Paul extends help to fellow YouTuber". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  2. 2.0 2.1 Farokhmanesh, Megan (3 December 2018). "PewDiePie urges his fans to donate to charity as T-Series battle rages on". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  3. 3.0 3.1 Tobin, Ben (2019-04-02). "PewDiePie back on top as largest YouTube channel over Indian music label T-Series". USA TODAY (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  4. Cuthbertson, Anthony (29 October 2018). "PewDiePie fans are desperately trying to keep his YouTube channel the site's most popular". The Independent (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2019. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  5. 5.0 5.1 Spangler, Todd (3 December 2018). "PewDiePie Zooms Past 73 Million YouTube Subscribers as Fans Rally to Keep Him Ahead of T-Series". Variety (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Iqbal, Nosheen (23 December 2018). "YouTube king PewDiePie faces a challenger from the streets of Delhi". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 28 December 2018.
  7. "T-Series responds to PewDiePie's fans trolling as it inches towards becoming 'biggest YouTube channel'". Daily News and Analysis (ภาษาอังกฤษ). 1 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
  8. Hernandez, Patricia (30 August 2018). "Pewdiepie's reign as the biggest YouTube channel may soon be over". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  9. 9.0 9.1 "PewDiePie Vs T-Series: Hackers Take Over Google's Chromecast". The Quint. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2019.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Watch: Indian YouTuber CarryMinati attacks PewDiePie as T-Series 'feud' continues". Scroll.in. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2019.
  11. Gerken, Tom (10 December 2018). "YouTube Rewind is second-most disliked video". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 January 2019.
  12. Sekhose, Marcia (14 December 2018). "YouTube Rewind 2018 becomes the most disliked video: Are PewDiePie's fans behind this?". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  13. Kleinman, Zoe (3 December 2018). "PewDiePie battles to keep top YouTube spot". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  14. Tidy, Joe (16 December 2018). "PewDiePie printer hackers strike again". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  15. 15.0 15.1 Stokel-Walker, Chris (13 December 2018). "Inside the printer-hacking army spreading PewDiePie propaganda". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  16. 16.0 16.1 Cuthbertson, Anthony (17 December 2018). "PewDiePie fans hack Wall Street Journal and hijack printers". The Independent (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  17. N.G., Alfred (2 January 2019). "Hackers are forcing smart TVs, Chromecasts to promote PewDiePie". CNET. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2019. สืบค้นเมื่อ 2 January 2019.
  18. Brewster, Thomas. "Hackers Expose 72,000 Smart TVs In Honor Of PewDiePie -- And Terrible Security". Forbes (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 15 January 2019.
  19. Cole, Samantha; Koebler, Jason (23 มกราคม 2019). "Watch a Hacker Access Nest Cameras and Demand People Subscribe to PewDiePie". Motherboard (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2019.
  20. Steer, George (21 February 2019). "A Hacker Took Over the Tampa Mayor's Twitter and Sent a Fake Ballistic Missile Warning and Bomb Threat". Time. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
  21. Cuthbertson, Anthony (25 March 2019). "PewDiePie ransomware forces people to subscribe to his YouTube channel". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  22. 22.0 22.1 Cuthbertson, Anthony (8 มีนาคม 2019). "PewDiePie fans vandalised a war memorial to promote his YouTube channel". The Independent (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2019.
  23. Chinn, Natalie. "Brooklyn WWII Memorial Defaced With Call to 'Subscribe' to Controversial Youtuber PewDiePie". NBC New York. WNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2019.
  24. 24.0 24.1 Cuthbertson, Anthony (15 March 2019). "PewDiePie 'absolutely sickened' after gunman tells people to subscribe to his channel during terror attack". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  25. Radulovic, Petrana (31 March 2019). "PewDiePie officially loses YouTube's top spot to T-Series". Polygon. สืบค้นเมื่อ 31 March 2019.
  26. "T-Series briefly takes the top spot from PewDiePie for the third time". Zee News (ภาษาอังกฤษ). 14 March 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  27. "Boys questioned over swastika graffiti". BBC News. 21 March 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  28. Roose, Kevin (15 March 2019). "A Mass Murder of, and for, the Internet". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  29. Chokshi, Niraj (15 March 2019). "PewDiePie Put in Spotlight by New Zealand Gunman". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
  30. Ramos, Dalreen (11 December 2018). "Say it like Saiman Waghdhare". Mid Day. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2019.
  31. "WATCH: JusReign's In Defense of T-Series video will make you proud". PINKVILLA. 11 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2019. สืบค้นเมื่อ 5 January 2019.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "cnbc" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "SocialbladePDP" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "WapoDethrone" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "indBangladesh" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "indOct" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "TSeries Socialblade" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "biswas" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "BBC3" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Standard" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "VoxBeingGood" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "sekhoseC" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "bloomberg" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "flare" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "overtake5" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "overtake-ToI" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "crackdown" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "masihFeb" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "dethroned1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Alexander2018b" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "econ" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "gachRoblox" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "bbcRoblox" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "sbliii" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "OneSub" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "HongKong" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Batman" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "MetroInterview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Fortnite" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "zeeMinecraft" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "dnaTSeries" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "FinancialExpress" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "dethroned2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "dethroned3" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "varTodd0320" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "cnetFeb" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Tallinn2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "bbcGrats" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "zalgiris" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "quartzMar12" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "cnetD3" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "quillette" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "indShooter3" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "vergeGrats" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "moveOn" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "desperate1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "desperate2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]