เหงียน กาว กี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหงียน กาว กี่
กี่ใน ค.ศ. 1966
รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐเวียดนามคนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
21 ตุลาคม ค.ศ. 1967 – 23 สิงหาคม ค.ศ. 1971
ประธานาธิบดีเหงียน วัน เถี่ยว
นายกรัฐมนตรีตนเอง
เหงียน ฟาน ล็อก
ทราน วัน เฮือง
ทราน เทียน เคียม
ก่อนหน้าเหงียน หง็อก เทอ (1963)
ถัดไปทราน วัน เฮือง
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเวียดนามคนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
14 มิถุนายน ค.ศ. 1965 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1967
ประมุขแห่งรัฐเหงียน วัน เถี่ยว
ก่อนหน้าฟาน หุย ดับ
ถัดไปเหงียน ฟาน ล็อก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 กันยายน ค.ศ. 1930(1930-09-08)
เซินเตย์ ตังเกี๋ย อินโดจีนของฝรั่งเศส
เสียชีวิต23 กรกฎาคม ค.ศ. 2011(2011-07-23) (80 ปี)
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
ที่ไว้ศพRose Hills Memorial Park, วิเทียร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
พรรคการเมือง National Social Democratic Front
คู่สมรสดัง ตูเยต ไม
บุตรเหงียน กาว กี ดวย
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สาธารณรัฐเวียดนาม
สังกัด กองทัพอากาศสาธารณรัฐเวียดนาม
ประจำการ1949–1971
ยศ
ผ่านศึก

เหงียน กาว กี่ (เวียดนาม: Nguyễn Cao Kỳ, listen; เกิด 8 กันยายน ค.ศ. 1930 – 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2011)[1][2] ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศสาธารณรัฐเวียดนาม ในคริสต์ทศวรรษ 1960 ก่อนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีเวียดนามใต้ จากเผด็จการทหาร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 ถึง ค.ศ. 1967 แล้วก็เกษียณอายุการเมืองในปี ค.ศ. 1971 เหงียน กาว กี่ เคยเป็นรองประธานาธิบดีของเวียดนามใต้มาก่อน

เหงียน กาว กี่ เกิดเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม เคยเข้าร่วมกองทัพเวียดนามแห่งชาติ ของฝรั่งเศส-รัฐเวียดนาม และเริ่มจากการเป็นทหารราบ ก่อนที่ฝรั่งเศสจะส่งเขาฝึกฝนเป็นนักบิน ภายหลังที่ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากประเทศเวียดนามและชาติอื่นๆ เหงียน กาว กี่ ก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นทหารอากาศแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม และกลายเป็นผู้นำจากการมีส่วนร่วมในการรัฐประหารยึดอำนาจโง ดิ่ญ เสี่ยม ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1963

เครื่องอิสริยาภรณ์[แก้]

ในประเทศ[แก้]

  •  เวียดนามใต้:
    • เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นประถมาภรณ์
    • เหรียญบุญญาภินิหารทหาร
    • เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารบก)
    • เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารอากาศ)
    • เหรียญสรรเสริญราชการ (ทหารอากาศ)
    • เหรียญรับราชการพิเศษ
    • แกลแลนทรี่ครอส
    • เหรียญกล้าหาญทหารอากาศ ประดับปีกทอง
    • เหรียญบาดแผลแห่งเวียดนาม
    • เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
    • เหรียญเสนาธิการทหาร ชั้นที่ 1
    • เหรียญรณรงค์เวียดนาม
    • เหรียญรับราชการทหาร ชั้นที่ 2
    • เหรียญรับราชการทหารอากาศ ชั้นที่ 1

ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Seth Mydans (23 July 2011). "Nguyen Cao Ky, South Vietnam Leader, Dies at 80". The New York Times.
  2. Nguyen, Daisy; Yoong, Sean (23 July 2011). "Former South Vietnam leader Nguyen Cao Ky dies". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]