เส้นเวลาของอนาคตอันใกล้
หน้าตา
เส้นเวลาของอนาคตอันใกล้ นี้เป็นการคาดเดาหรือคำนวณไว้จากปัจจุบันจนถึงสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 23
คริสต์ศตวรรษที่ 21
[แก้]คริสต์ทศวรรษ 2020
[แก้]- 2021:
- บรูดเอ็กซ์ กลุ่มของจักจั่นรอบสิบเจ็ดปีที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐจะปรากฏออกมา[1]
- สายสีแดงของรถไฟรางเบาเทลอาวีฟจะสร้างเสร็จ[2]
- กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะได้รับการปล่อยตัวตามกำหนดการปัจจุบันในเดือนมีนาคม[3]
- จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน พ.ศ. 2564
- สถานีอวกาศโมดูลขนาดใหญ่ของจีนจะได้รับการปล่อยตัว[4]
- 2022:
- โอลิมปิกฤดูหนาว 2022 จะจัดขึ้นที่ปักกิ่ง ประเทศจีน[5]
- องค์การอวกาศยุโรปมีกำหนดการจะปล่อยตัวยานอวกาศ JUICE สำหรับสำรวจดาวบริวารน้ำแข็งของดาวพฤหัสบดี[6]
- ฟุตบอลโลก 2022 จะจัดขึ้นที่ประเทศกาตาร์[7]
- โครงการรถไฟความเร็วสูงแรกของประเทศอินเดียระหว่างอะห์มดาบาดกับมุมไบจะสร้างเสร็จ
- สถานีอวกาศสถานีแรกของจีนจะสร้างเสร็จ[8]
- 2023:
- ท่อระบายน้ำยักษ์แห่งใหม่ของลอนดอนจะสร้างเสร็จ[9]
- สัญญาความสัมพันธ์เสรีระหว่างสหรัฐกับสหพันธรัฐไมโครนีเซียและหมู่เกาะมาร์แชลล์จะหมดอายุ
- ลิขสิทธิ์ของการ์ตูนมิกกี้ เมาส์ในสหรัฐอเมริกา จะสิ้นสุดลงในปีนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ฉบับปัจจุบัน[10]
- สเปซเอ็กซ์วางกำหนดการส่งพลเมืองเอกชน (และกลุ่มศิลปินที่สรรหา) ไปในภารกิจการท่องเที่ยวดวงจันทร์แบบขากลับฟรี[11]
- 2024:
- ทางเชื่อมต่อถาวรเฟห์มาร์นเบลท์ระหว่างประเทศเดนมาร์กกับประเทศเยอรมนีจะเปิดใช้งานได้[12]
- สเปซเอ็กซ์วางกำหนดการส่งมนุษย์ไปดาวอังคาร และถึงใน ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568)[13]
- โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 จะจัดขึ้นที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- 2025:
- กล้องโทรทรรศน์ไจแอนท์มาเจลลันจะสร้างเสร็จ[14]
- Square Kilometre Array มีกำหนดการสร้างเสร็จ[15]
- 2026:
- การก่อสร้างซากราดาฟามีเลียจะเสร็จสิ้น[16]
- ฟุตบอลโลก 2026 จะจัดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดาและประเทศเม็กซิโก
- 2028: โอลิมปิกฤดูร้อน 2028 จะจัดขึ้นที่ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
- 2029:
- สัญญาณแมสเซจฟรอมเอิร์ทจะไปถึงระบบดาวเคราะห์กลีเซอ 581
- 13 เมษายน: จะเห็นดาวเคราะห์น้อย 99942 อะโพฟิสได้ด้วยตาเปล่าภายในเขตวงโคจรดวงจันทร์
- 2032:
- โอลิมปิกฤดูร้อน 2032 จะจัดขึ้นที่บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย
คริสต์ทศวรรษ 2030
[แก้]- 2038: ปัญหาปี ค.ศ. 2038 จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 มกราคมของปีนี้
คริสต์ทศวรรษ 2060
[แก้]- 2061: ดาวหางฮัลเลย์จะโคจรเข้าสู่ระบบสุริยะชั้นใน ซี่งจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 28 กรกฎาคม ในปีนี้
- 2069: ครบรอบ 100 ปียานอะพอลโล 11
คริสต์ทศวรรษ 2070
[แก้]- 2076: ดาวเคราะห์แคระ 90377 เซดนา จะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
- 2077: เริ่มศตวรรษที่ 16 ในปฏิทินอิสลาม
คริสต์ศตวรรษที่ 22
[แก้]คริสต์ทศวรรษ 2100
[แก้]- 2100:
- 14 มีนาคม (หรือ 29 กุมภาพันธ์ในปฏิทินจูเลียน): วันในปฏิทินจูเลียนและปฏิทินเกรกอเรียนจะต่างกันแค่ 14 วัน เนื่องจาก 7 หาร 14 ลงตัว ทำให้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ปฏิทินเกรกอเรียนมีวันในสัปดาห์ตรงกับปฏิทินจูเลียนและจะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2200
- 24 มีนาคม: โพแลริสจะอยู่ในตำแหน่งเหนือที่สุด โดยจะมีเดคลิเนชันปรากฏสูงสุดอยู่ที่ 0.4526° จากขั้วฟ้าเหนือ (เมื่อนำนิวเทชันและความคลาดเคลื่อนมาคำนวณด้วยแล้ว)[17]
- 2103: เสื้อแจ็กเก็ตที่แจ็กเกอลีน เคนเนดีใส่ในวันที่จอห์น เอฟ. เคนเนดีถูกลอบสังหารจะนำมาแสดงต่อสาธารณชนไม่ได้จนกระทั่งถึงปีนี้ สืบเนื่องจากความตกลงระหว่างองค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติกับแคโรไลน์ เคนเนดี[18]
คริสต์ทศวรรษ 2110
[แก้]- 2110: ตามข้อมูลจากเอ็กซ์ตรีมเอนจิเนียริงของดิสคัฟเวอรีแชนแนล พีระมิดมหานครชิมิซุของประเทศญี่ปุ่นตามที่เสนอจะก่อสร้างเสร็จได้ในปีนี้
- 2113: ดาวพลูโตจะโคจรถึงตำแหน่งที่ไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุดนับตั้งแต่การค้นพบ
- 2114: เซดนาจะแซงดาวเอริสกลายเป็นวัตถุอวกาศที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ไกลที่สุด
คริสต์ทศวรรษ 2130
[แก้]- 2134: ดาวหางฮัลเลย์จะโคจรกลับเข้ามาที่ระบบสุริยะชั้นใน
คริสต์ทศวรรษ 2170
[แก้]- 2177: ดาวพลูโตจะโคจรกลับมาที่เดิม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มันถูกค้นพบใน ค.ศ. 1930
คริสต์ทศวรรษ 2180
[แก้]- 16 กรกฎาคม 2186: จะเกิดสุริยุปราคา[19] ที่ยาวนานถึง 7 นาที 29 วินาที (ใกล้เคียงกับระยะเวลามากที่สุดตามทฤษฎี) คาดว่าจะเป็นสุริยุปราคาที่ยาวนานที่สุดในคาบ 10,000 ปี จาก 4000 ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ. 6000[20]
ศตวรรษที่ 23
[แก้]2200
[แก้]- 2209: ดาวหางฮัลเลย์โคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน
2240
[แก้]- 2240: เริ่มสหัสวรรษที่ 7 ในปฏิทินฮีบรู
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hale, Frank. "Periodical Cicadas". ag.tennessee.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Tel Aviv light rail Red Line won't open next year". en.globes.co.il (ภาษาฮิบรู). 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
- ↑ "NASA sets March 2021 Launch Date for James Webb Space Telescope". Sky & Telescope. 27 June 2018.
- ↑ Jones, Andrew. "This Is China's New Spacecraft to Take Astronauts to the Moon (Photos)". Space.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Beijing to host 2022 Winter Olympics and Paralympics". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-07-31. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
- ↑ Amos, Jonathan (2012-05-02). "ESA selects 1bn-euro Juice probe to Jupiter". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Amir: 2022 World Cup Qatar a tournament for all Arabs". Gulf-Times (ภาษาอาหรับ). 2018-07-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
- ↑ "2022 timeline contents". FutureTimeline.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Better roads, rail travel and new river crossings in spending boost for London". London Evening Standard. 10 April 2012. สืบค้นเมื่อ 12 November 2015.
- ↑ Doctorow, Cory (2016-01-19). "We'll Probably Never Free Mickey, But That's Beside the Point". Electronic Frontier Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
- ↑ https://www.cnbc.com/2018/09/18/spacex-japan-billionaire-yusaku-maezawa-first-tourist-to-fly-to-moon.html
- ↑ "Denmark-Germany undersea Fehmarn tunnel gets go-ahead". BBC News. 25 July 2015. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
- ↑ Taylor, Harriet (2016-06-02). "Musk: We intend to launch people to Mars in 2024, arrival in 2025". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2016-06-04.
- ↑ "Magellan super-scope gets green light for construction". BBC News. 3 June 2015. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
- ↑ "Square-kilometre radio telescope wins millions in UK funding". Theregister.co.uk. 13 March 2014. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
- ↑ "Así será la Sagrada Família en 2026". ABC [digital version]. 26 September 2013.
- ↑ Meeus, Jean (1997). Mathematical Astronomy Morsels Ch.50. Willmann-Bell.
- ↑ Kaye, Randi. "Jackie Kennedy's pink suit locked away from public view". CNN. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
- ↑ "Eclipse of July 16, 2186". NASA Eclipse Web Site. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (GIF)เมื่อ June 28, 2012.
- ↑ "NASA Eclipse Web Site". NASA Eclipse Web Site. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-28.