ข้ามไปเนื้อหา

เสกสรร จันทร์จิรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสกสรร จันทร์จิรา
(Saekson Janjira)
เกิดเสกสรร แสงจันทร์[1]
16 เมษายน พ.ศ. 2504 (63 ปี)[1]
ไทย ประเทศไทย[2]
ชื่ออื่นจอมเด็ดหัว[1]
นักล่าฆ่าหัว (The Head Hunter)[1]
รุ่นเฟเธอร์เวท
รูปแบบมวยไทย
ผู้ฝึกสอนร.ต.อ.ไพรัช เศรษฐกิจ[1]
อาชีพผู้ฝึกสอนมวยไทย[3]
นักเรียนเด่นเออร์นี เรเยส จูเนียร์ (Ernie Reyes Jr.)[4]
แอนโทนี นโจกุนี (Anthony Njokuani)[4][5]
ไชดี นโจกุนี (Chidi Njokuani)[6]
ชาส มัลกี (Chaz Mulkey)
ฟรีเดีย กิบส์ (Fredia Gibbs)
มอริส สมิธ (Maurice Smith)[2]
ริก โรวฟัส (Rick Roufus)[2]
แดนนี สตีล (Danny Steele)[2]
ไรอัน เบนวา (Ryan Benoit)[6]
แอนดี เซอร์เกอร์ (Andy Zerger)[7]
เดวิด ริกเคลส์ (David Rickels)[8]
โคดี คาร์ริลโล (Cody Carrillo)
พีท สแปรตต์ (Pete Spratt)[5][9]
เอ็ดวิน ฟิเกอรัว (Edwin Figueroa)[9][10]
รีการ์โด เปเรซ (Ricardo Perez)[11][12]

เสกสรร จันทร์จิรา (16 เมษายน พ.ศ. 2504 – ) เป็นนักมวยไทยผู้ครองเข็มขัดแชมป์มวยไทยของสหรัฐอเมริกา 7 เส้น และเป็นเพียงคนเดียว ที่ได้รับประกาศเกียรติคุณฮอลล์ออฟเฟม จากสมาคมมวยไทยในสหรัฐ[1]

ประวัติ

[แก้]

เสกสรร จันทร์จิรา มีชื่อจริงคือ เสกสรร แสงจันทร์ เป็นชาวอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เขาเริ่มหัดมวยไทยจาก ร.ต.อ.ไพรัช เศรษฐกิจ ก่อนแข่งกับนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงทางภาคตะวันออกหลายราย ซึ่งรวมถึงสามารถ พยัคฆ์อรุณ ที่ทั้งคู่ชิงชัยกัน 2 ครั้ง โดยเสกสรรเป็นฝ่ายแพ้ทั้ง 2 ครั้ง[1]

ครั้นเมื่ออายุ 18 ปี เสกสรรสร้างชื่อเสียงได้อย่างไม่เป็นรอง เขาได้รับการส่งมาร่วมแข่งขันที่สนามมวยเวทีลุมพินี และไต่เต้าสู่การชกคู่เอกในที่สุด โดยเขาแพ้เริงชัย ไทยรุ่งเรือง ก่อนที่จะเป็นฝ่ายชนะสกายแล็บ ศิษย์สหพันธ์, ฟ้าลิขิต ศิษย์มานะเทพ, สายฟ้า ศักดิ์ประสงค์, ดอยตุง พะเนียงทอง, เต่าทอง เดชบวร, ดาราเดช เกียรติเมืองตรัง, ตะเคียนหิน จ้าววนา, เงาพยัคฆ์ ศิษย์มอดินแดง, ยุทธการ เพชรยินดี, ราชบุรี เพชรยินดี, ไท ลูกเสม็ด และสุดท้ายเป็นฝ่ายแพ้น็อกให้กับจำปาทอง ณ นนทชัย ที่สนามมวยราชดำเนิน หลังจากนั้น เขาก็ตัดสินใจแขวนนวมจากการแข่งในกรุงเทพ[1] ด้วยสถิติการแข่งในประเทศไทยมากกว่า 100 แมตช์[2]

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2531 เขาได้รับการทาบทามเข้าร่วมการแข่งที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เพื่อแข่งกับนักมวยไทยชาวต่างชาติ โดยเสกสรรสามารถครองเข็มขัดแชมป์มวยไทยได้ถึง 7 เส้น ส่งผลให้เขาได้รับประกาศเกียรติคุณฮอลล์ออฟเฟม จากสมาคมมวยไทยในสหรัฐ และทำให้เขามีชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักสำหรับวงการมวยไทยในสหรัฐมากยิ่งขึ้น[1]

หลังจากประสบความสำเร็จ เขาก็ได้เปิดค่ายมวยไทยในสหรัฐ โดยมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก จนถึงปัจจุบัน[1]

กรณีตะลุมบอน

[แก้]

ครั้งหนึ่ง ได้เกิดกรณีความขัดแย้งที่ครึกโครม ถึงกรณีการแข่งขันระหว่างนักมวยไทยกับคิกบ็อกเซอร์ในสหรัฐ ซึ่งเสกสรรเข้าแข่งขันรายการดังกล่าวโดยใช้ชื่อ เสกสรร ศิษย์มวยไทย (Saeksan Sithmuaythai) เขาพบกับคู่ชกที่เป็นแชมป์คิกบ็อกซิงชาวอเมริกัน ผู้มีนามว่าร็อด คีย์ (Rod Kei) โดยมีชาวไทยและชาวลาวเดินทางมาร่วมเชียร์เสกสรรเป็นจำนวนมาก[13]

เสกสรร มีสถิติในสหรัฐก่อนขึ้นชกแมตช์นี้ ด้วยผล ชนะ 25 แพ้ 7 ชนะน็อก 18 เสมอ 2 ส่วนร็อด คีย์ มีสถิติก่อนขึ้นชก ด้วยผล ชนะ 21 แพ้ 9 ชนะน็อก 15

การต่อสู้ในครั้งนี้ ได้รับการกล่าวว่า มีกติกาและการตัดสินที่ค่อนข้างลำเอียง โดยมีการสังเกตถึงกรณีที่คู่ชกของเสกสรรกอดขาเพื่อถ่วงเวลา[13] และจากผลการตัดสินในยกที่ 3 ส่งผลให้ชาวไทยและชาวลาวที่เชียร์เสกสรรแสดงความไม่พอใจด้วยการขว้างปาเก้าอี้ เหตุการณ์ดังกล่าวกลับกลายเป็นว่าฝ่ายของเสกสรรถูกโจมตีจนเสียหาย และน่าเห็นใจเมื่อทราบถึงเบื้องหลัง[14]

โปรโมเตอร์มวยไทย

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการจัดการแข่งขันมวยไทยในลอสแอนเจลิส โดยโปรโมเตอร์ชาวฟิลิปปินส์ ผู้เป็นตัวแทนพุชคิกโปรโมชันส์ (Push Kick Promotions) ได้มอบหมายให้เสกสรร จันทร์จิรา ทำหน้าที่ประกบคู่มวยระหว่างสมรักษ์ คำสิงห์ (เจ้าของฉายา โม้อมตะ) เข้าทำศึกกับนักมวยไทยชาวอเมริกัน ผู้มีนามว่าชิเก ลินด์ซีย์ (Chike Lindsay; เจ้าของฉายา จระเข้ดุ) ซึ่งรายการนี้จัดขึ้น ณ โปโมนา รัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันที่ 2 มีนาคม ของปีดังกล่าว[15]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เสกสรรเข้าสู่วงการมวยไทยโดยไม่ได้มีใจรักมาก่อน หากแต่ครอบครัวของเขาไม่ร่ำรวยและมีเงินเพียงน้อยนิด เขาจึงเรียนรู้มวยไทยเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง โดยเริ่มแข่งมวยไทยระดับอาชีพตั้งแต่อายุ 8 ปี[5][9] และมีบุคคลต้นแบบคือมูฮัมหมัด อาลี ซึ่งในช่วงวัยรุ่น เขาได้ศึกษาจากเทปทุกม้วนเพื่อเรียนรู้การเคลื่อนไหวและรูปแบบจากอาลี[2]

เสกสรรเป็นบุตรของนายเตียง และนางช่อ แสงจันทร์ เขามีแฟนสาวชื่อโมชีนา ซึ่งเป็นลูกครึ่งอเมริกา-บังกลาเทศ และมีลูกชายด้วยกัน 1 คน[1]

นอกจากนี้ เสกสรรยังเป็นเพื่อนรักของสามารถ พยัคฆ์อรุณ โดยในแต่ละปี เขาจะเดินทางมาที่ค่ายมวยปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง ครั้งละเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อร่วมสอนมวยไทยให้แก่ชาวต่างชาติทั้งในสหรัฐ และแคนาดา เป็นเวลากว่า 10 ปี[1]

กระแสตอบรับ

[แก้]

ปัจจุบัน เสกสรรได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักสู้ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกเมื่อเทียบปอนด์ต่อปอนด์ ด้วยผลการแข่งในสหรัฐ ชนะ 36 ครั้ง โดยสามารถชนะน็อกได้ถึง 28 ครั้ง[2]

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • เข็มขัดแชมป์มวยไทยของสหรัฐ 7 เส้น[1]
  • รางวัลฮอลล์ออฟเฟม จากสมาคมมวยไทยในสหรัฐ[1]

มรดกสืบทอด

[แก้]

เสกสรร จันทร์จิรา เป็นผู้ทำการสอนวิชามวยไทยให้แก่นักมวยไทย, นักแสดง, นักต่อสู้แบบผสม และคิกบ็อกเซอร์ที่มีชื่อเสียงหลายราย ไม่ว่าจะเป็น เออร์นี เรเยส จูเนียร์[4], แอนโทนี นโจกุนี[4][5], ไชดี นโจกุนี[6], ชาส มัลกี, ฟรีเดีย กิบส์, มอริส สมิธ[2], ริก โรวฟัส[2], แดนนี สตีล[2], ไรอัน เบนวา[6], แอนดี เซอร์เกอร์[7], เดวิด ริกเคลส์[8], โคดี คาร์ริลโล, พีท สแปรตต์[5][9], เอ็ดวิน ฟิเกอรัว[9][10] และรีการ์โด เปเรซ[11][12]

นอกจากนี้ เสกสรรยังเป็นผู้ให้การช่วยเหลือในการเดินสายให้แก่สด จิตรลดา เมื่อครั้งที่สด เดินทางมาสอนมวยไทยในสหรัฐ[16]

กลยุทธ์การต่อสู้

[แก้]

เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ เสกสรรจึงเรียนรู้ที่จะจบการต่อสู้แต่โดยเร็ว นั่นคือการใช้ลูกเตะเพื่อโจมตี "ขา, ขา, คอ, คอ, ขา, คอ" ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เรียบง่าย และเป็นสิ่งหนึ่งที่เขาทำการถ่ายทอดแก่ศิษย์จนถึงปัจจุบัน[5]

สถิติการแข่งขัน

[แก้]
วันที่ ผล คู่ชก รายการ สถานที่จัด วิธีชนะ ยก
6 กันยายน พ.ศ. 2532 สหรัฐ ร็อด คีย์ สหรัฐอเมริกา เกิดกรณีตะลุมบอน 3
ไม่ทราบปี แพ้ ไทย จำปาทอง ณ นนทชัย สนามมวยราชดำเนิน แพ้น็อก (เตะก้านคอ) 4[1]
ไม่ทราบปี ไทย เรือนเพชร (ทนง พุ่มพานิช)[17]
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ไท ลูกเสม็ด
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ราชบุรี เพชรยินดี
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ยุทธการ เพชรยินดี
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย เงาพยัคฆ์ ศิษย์มอดินแดง
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ตะเคียนหิน จ้าววนา
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ดาราเดช เกียรติเมืองตรัง
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย เต่าทอง เดชบวร
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ดอยตุง พะเนียงทอง
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย สายฟ้า ศักดิ์ประสงค์
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย ฟ้าลิขิต ศิษย์มานะเทพ
ไม่ทราบปี ชนะ ไทย สกายแล็บ ศิษย์สหพันธ์
ไม่ทราบปี แพ้ ไทย เริงชัย ไทยรุ่งเรือง
ไม่ทราบปี แพ้ ไทย สามารถ พยัคฆ์อรุณ ภาคตะวันออก
ไม่ทราบปี แพ้ ไทย สามารถ พยัคฆ์อรุณ ภาคตะวันออก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 แสงเทียนน้อย ส.รุ่งโรจน์. ย้อนอดีตสู่ปัจจุบัน. มวยสยาม. พ.ศ. 2555. หน้า 6–7 [ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 Saekson Janjira - USAdojo.com
  3. "Saekson Janjira Muay Thai Seminar Hosted by Pete Spratt - Inochi MMA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-22. สืบค้นเมื่อ 2017-10-31.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Ernie Reyes Jr. Interview Pt. 2 - MMA Disputed - ChicagoNow". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-18. สืบค้นเมื่อ 2017-10-31.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Saekson raises the MMA bar in DFW - ESPN.com
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Ryan Benoit Fighting for Fun - Bleacher Report
  7. 7.0 7.1 Q & A with David "the Caveman" Rickels ⋆ MMA TakeOver[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 Bellator 63: Welterweight Tournament Dissection - Bloody Elbow
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 The Life and Times of Saekson Janjira – A Real Muay Thai Experience!
  10. 10.0 10.1 Edwin Figueroa Scheduled for ‘UFC on Versus 5’ in August!
  11. 11.0 11.1 Ricardo Perez « Team Toro Janjira Muay Thai Chicago[ลิงก์เสีย]
  12. 12.0 12.1 Put Me In Coach – Podcast Episode 3 – TEEP THIS
  13. 13.0 13.1 มวยไทย ปะทะ คิกบ็อกซิง แต่สุดท้ายคนดูถล่มเวทีพังซะงั้น!?! – yaklai[ลิงก์เสีย]
  14. ฮู้ย่า!! “มหาอำนาจ” สหรัฐแล้วไง?? ย้อนรอย กองเชียร์มวยไทย “ถล่มเวที มวยสหรัฐ” พังพินาศ!! ยับจนหนีแทบไม่ทัน? เพราะสาเหตุนี้?!! เก็บถาวร 2016-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
  15. ชุมชนไทยในต่างแดน : 27 ม.ค. 56 - คมชัดลึก
  16. รอยอดีตยอดมวยดัง.. *สด จิตรลดา*.. - มวยสากล มวยโลก มวยไทย
  17. "นาย ทนง พุ่มพานิช - Muaythai 2000 Site :: กรรมการมวย เวทีลุมพินี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-16. สืบค้นเมื่อ 2017-10-31.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]