เมธา เอื้ออภิญญกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมธา เอื้ออภิญญกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 เมษายน พ.ศ. 2470
จังหวัดแพร่ ประเทศสยาม
เสียชีวิต21 มกราคม พ.ศ. 2560 (89 ปี)
จังหวัดแพร่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2535 - 2539)
คู่สมรสธีรวัลย์ กันทาธรรม

เมธา เอื้ออภิญญกุล เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และเป็นบิดาของ วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล และ ปานหทัย เสรีรักษ์[1] เป็นนักธุรกิจใบยาสูบรายใหญ่ของภาคเหนือ[2]

ประวัติ[แก้]

เมธา เอื้ออภิญญกุล เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2470 เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายสมบูรณ์ นางบุญธรรม เอื้ออภิญญกุล เกิดที่บ้านเด่นชัย ตำบลเด่นชัย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ (ปัจุบันคือ อำเภอเด่นชัย) นายเมธาสมรสกับ นางธีรวัลย์ กันทาธรรม มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ เมธี เอื้ออภิญญกุล ปานหทัย เสรีรักษ์ (สมรสกับนายแพทย์ ทศพร เสรีรักษ์) องอาจ เอื้ออภิญญกุล และ วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล[2] [3]

เมธา จบการศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลเด่นชัย เข้าเรียนชั้นมัธยมจนถึงชั้น ม.2 จากโรงเรียนเจริญราษฎร์ และจบชั้นมัธยมต้น ที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเรียนชั้น ม.4 ที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน เรียนต่อที่โรงเรียนจีนหวังเหวินในกรุงเทพฯ จากนั้นก็เรียนต่อภาษาจีน จนกระทั่งจบ ม.8 ต่อมาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้[2][4]

เมธา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ที่โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่[2]

การทำงาน[แก้]

เมื่อจบการศึกษาแล้ว นายเมธา ได้กลับมาประกอบธุรกิจสาขาของธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับเพื่อนสนิทคือ เกรน ประชาศรัยสรเดช (สามีของเจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช) ทำธุรกิจใบยาสูบซึ่งเป็นกิจการของภรรยา ทำให้เขาเป็นเพื่อนสนิทกับ ณรงค์ วงศ์วรรณ และศานิต ศุภศิริ (บิดาของศิริวรรณ ปราศจากศัตรู)[5] เป็นผู้ริเริ่มนำเอาถ่านหินมาทำการบ่มใบยาแทนฟืน เพื่อทำให้การตัดไม้ทำลายป่าลดลง [4]ต่อมาเมื่อกิจการขยายขึ้น จึงได้มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) [2]

งานการเมือง[แก้]

เมธา เอื้ออภิญญกุล เข้าสู่งานการเมืองโดยการชักชวนของพลอากาศเอก ทวี จุลทรัพย์ หัวหน้าพรรคธรรมสังคม และเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในนามพรรคธรรมสังคม และยังได้รับแต่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช) ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ[2] ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม ของณรงค์ วงศ์วรรณ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ในนามพรรคชาติไทย

เมธา เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[4] เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา) ในปี พ.ศ. 2543

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 แพร่สูญเสียอดีตส.ส.พ่อเลี้ยงเมธา พ่ออดีตส.ส.วรวัจน์ –ปานหทัย ด้วยโรคชรา 89 ปี
  3. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางปานหทัย เสรีรักษ์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  4. 4.0 4.1 4.2 "ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 7 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 2020-05-24.
  5. พัฒนาการกลุ่มทุนการเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย: การเปลี่ยนทุนเศรษฐกิจและวัฒนธรรมให้เป็นทุนการเมือง วารสารพัฒนศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2561
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙