เทศกาลล่าปา
เทศกาลล่าปา | |
---|---|
ชามโจ๊กล่าปา | |
ชื่อทางการ | ล่าปาเจี๋ย (臘八節, 腊八节; Làbā Jié) |
จัดขึ้นโดย | ชาวจีน |
ความสำคัญ | การเฉลิมฉลองส่งท้ายปี, การเฉลิมฉลองการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า |
การถือปฏิบัติ | รับประทานโจ๊กล่าปา ฯลฯ |
วันที่ | วันที่ 8 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ |
วันที่ในปี 2023 | 18 มกราคม |
วันที่ในปี 2024 | 18 มกราคม |
วันที่ในปี 2025 | 7 มกราคม |
ส่วนเกี่ยวข้อง | วันโพธิ์ โรฮัตสึ (ในประเทศญี่ปุ่น) เทศกาลอื่นที่เกี่ยวข้อง วันวิสาขบูชา (ในประเทศศรีลังกา พม่า ไทย กัมพูชา ลาว) |
เทศกาลล่าปา | |||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 臘八 | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 腊八 | ||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "แปดแห่งล่า" | ||||||||||||||||
|
เทศกาลล่าปา (จีน: 臘八節) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่จัดขึ้นในวันที่ 8 ของเดือนล่า (หรือล่าเยฺว่ 臘月) คือเดือน 12 ตามปฏิทินจีน ถือเป็นการเริ่มต้นของช่วงเทศกาลตรุษจีน ในวันเทศกาลนี้มีประเพณีรับประทานโจ๊กล่าปา
เทศกาลล่าปาไม่ได้มีการกำหนดวันแน่นอนจนกระทั่งในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้เมื่อได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ จึงมีการกำหนดให้วันที่ 8 ของเดือน 12 เป็นวันเทศกาล ซึ่งถือเป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าด้วย ดังนั้นธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างของเทศกาลล่าปาจึงมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ เทศกาลนี้เทียบได้โดยตรงกับเทศกาลโรฮัตสึของญี่ปุ่นและวันโพธิ์ของเอเชียใต้
ประวัติ
[แก้]ชื่อของเทศกาลล่าปาบ่งบอกถึงวันที่บนปฏิทินจีน ล่าเป็นชื่อของเดือน 12 และเดือนสุดท้าย ส่วนปามีความหมายว่า "แปด"[1] ในจีนยุคโบราณ เลข "แปด" สื่อถึงการบวงสรวงถึงเทพเจ้า 8 องค์ในช่วงท้ายปี[2]
เทศกาลในรูปแบบดั้งเดิมมีการเฉลิมฉลองโดยการบวงสรวงแก่เทพเจ้าและบรรพบุรุษเพื่อขอพรให้มีโชคลาภ สุขภาพ ความปลอดภัย และการเก็บเกี่ยวได้ผลดีในปีใหม่[3][2] คำว่าล่าเดิมหมายถึงการบวงสรวงเหล่านี้[3]
หลังจากศาสนาพุทธแพร่หลายในจีนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 เทศกาลล่าปาได้ถูกใช้เพื่อเป็นที่รำลึกถึงการตรัสรู้ของพระโคตมพุทธเจ้า[2] และมีการกำหนดวันที่ที่แน่นอน (วันที่ 8 ของเดือน 12) ในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้[3]
ในยุคราชวงศ์ชิง พิธีกรรมของเทศกาลล่าปาจัดขึ้นในวัดยงเหอในกรุงปักกิ่ง[4]
ประเพณี
[แก้]เทศกาลล่าปาถือเป็นการเป็นเริ่มต้นของเทศกาลตรุษจีนซึ่งจะอยู่ในช่วงอีกประมาณ 3 สัปดาห์ให้หลัง[3][5]
ประเพณีเก่าแก่คือการตีกลองเพื่อขับไล่โรคภัยไข้เจ็บ การปฏิบัติเช่นนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีโบราณของการใช้เวทมนตร์ และยังคงมีการปฏิบัติในสถานที่ต่าง ๆ เช่นในอำเภอซิน-ฮฺว่า มณฑลหูหนาน[6]
โจ๊กล่าปา
[แก้]ตามธรรมเนียมแล้ว การรับประทานโจ๊กล่าปาเป็นองค์ประกอบสำคัญของเทศกาลนี้ มีเรื่องเล่าในตำนานจำนวนมากที่เล่าถึงต้นกำเนิดของโจ๊กล่าปา[7] เรื่องเล่าหนึ่งกล่าวว่าโจ๊กล่าป่ามีต้นกำเนิดในยุคราชวงศ์ซ่ง โดยมีอารามพุทธที่แจกจ่ายโจ๊กให้กับผู้คนเพื่อเป็นเกียรติแก่เรื่องราวที่ศากยมุนี (พระโคตมพุทธเจ้า) ตรัสรู้ในวันที่ 8 เดือน 12 หลังพระองค์เสวยปายาส[2]
โจ๊กล่าปาหรือล่าปาโจว (臘八粥; Làbāzhōu) เป็นที่นิยมอย่างมากในหลายสถานที่ในประเทศจีน ใช้ข้าว ถั่ว ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว และผลไม้แห้งหลายชนิดเป็นส่วนผสมหลัก ผู้คนเชื่อว่าโจ๊กล่าปาดีต่อสุขภาพในฤดูหนาว[1]
โจ๊กล่าป่ายังเป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า "โจ๊กแปดสมบัติ" หรือ "ปาเป่าโจว" (八宝粥; Bā bǎo zhōu)[8] และมักทำด้วยส่วนผสมตั้งแต่ 8 อย่างขึ้นไปที่สื่อถึงโชคดี[1] แปดเป็นเลขมงคลในประเทศจีน[9] และคำว่าปาในล่าปาก็มีความหมายถึงเลขแปด[1]
โจ๊กล่าปามีหลากหลายรูปแบบในภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน[7] ส่วนผสมมีตั้งแต่ธัญพืชผสม เช่น ข้าว ข้างฟ่าง และข้าวบาร์เลย์, ถั่วและผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว เช่น ถั่วเขียว ถั่วอาซูกิ เมล็ดบัว ถั่วลิสง วอลนัต และเกาลัด, ผลไม้แห้ง เช่น พุทราจีน ลำไย ลูกเกด และเก๋ากี้, ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ผักและเนื้อสัตว์[8][10][6][7]
กระเทียมล่าปา
[แก้]อาหารในเทศกาลล่าป่าอีกอย่างหนึ่งคือกระเทียมล่าปาซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในภาคเหนือของจีน[11] คำว่ากระเทียมในภาษาจีนคือซฺว่าน (蒜; suàn) ซึ่งพ้องเสียงคำว่าซฺว่าน (算; suàn) ที่มีความหมายว่า "คำนวณ" และกล่าวกันว่าในเทศกาลล่าปา ธุรกิจต่าง ๆ ควรจัดทำงบดุลและคำนวนรายรับรายจ่ายของปีนั้น ๆ[8] กระเทียมล่าปาทำโดยการแช่กระเทียมในน้ำส้มสายชู[6] กระเทียมล่าปาจะแช่ในน้ำส้มสายชูตั้งแต่เทศกาลล่าปาจนถึงเทศกาลตรุษจีน จากนั้นกระเทียมและน้ำส้มสายชูก็จะถูกใช้ร่วมกับเกี๊ยวเจี่ยวจึ (餃子) ในช่วงเทศกาลตรุษจีน[5]
ในวัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]เทศกาลล่ามีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องนวนิยายเรื่องมังกรทลายฟ้าของกิมย้ง
ในปี ค.ศ. 2011 กูเกิลเผยแพร่กูเกิล ดูเดิลเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลล่าป่า[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "'Eight treasure congee' shines during Laba Festival". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Guang, Xing (November 2013). "Buddhist Impact on Chinese Culture". Asian Philosophy. 23 (4): 305–322. doi:10.1080/09552367.2013.831606. S2CID 145072418. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "The Laba Festival". www.magzter.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "新年纳余庆 嘉节启新芳——古诗词里的春节习俗". guoqing.china.com.cn. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ 5.0 5.1 Gong, Wen (2007). Lifestyle in China (ภาษาอังกฤษ). 五洲传播出版社. p. 14. ISBN 978-7-5085-1102-3. สืบค้นเมื่อ 23 November 2022.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "腊八节的传说和习俗(图)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-14.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Stepanchuk, Carol (1991). Mooncakes and Hungry Ghosts: Festivals of China. San Francisco: China Books & Periodicals. pp. 3–6. ISBN 0-8351-2481-9.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "农历腊八节:有悠久传统和历史 喝腊八粥腌腊八蒜". 中新网. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ Hoon Ang, Swee (1 January 1997). "Chinese consumers' perception of alpha-numeric brand names". Journal of Consumer Marketing. 14 (3): 220–233. doi:10.1108/07363769710166800. ISSN 0736-3761. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "7 Chinese dishes that are completely plant-based". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 5 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ Block, E. (2010). Garlic and Other Alliums: The Lore and the Science. Royal Society of Chemistry. ISBN 978-0-85404-190-9.
- ↑ "Laba Rice Porridge Festival 2011". สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "腊八节". Netor网同纪念 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-08.
- "沖縄エコツアー-沖縄の風習編". のんびりゆっくり沖縄自然体験エコツアー (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-14.