วัดยงเหอ

พิกัด: 39°56′49″N 116°24′40″E / 39.94694°N 116.41111°E / 39.94694; 116.41111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดยงเหอ
雍和宫
ไผฟาง ซุ้มทางเข้สของวัดยงเหอ
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
นิกายเกอลุก, พุทธแบบทิเบต
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอำเภอตงเชิง ปักกิ่ง ประเทศจีน
วัดยงเหอตั้งอยู่ในปักกิ่ง
วัดยงเหอ
ที่ตั้งในปักกิ่ง
พิกัดภูมิศาสตร์39°56′49″N 116°24′40″E / 39.94694°N 116.41111°E / 39.94694; 116.41111
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมจีน
ผู้ก่อตั้งจักรพรรดิยงเจิ้ง
เริ่มก่อตั้ง1694
วัดยงเหอ
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน
ชื่อภาษาทิเบต
อักษรทิเบต དགའ་ལྡན་བྱིན་ཆགས་གླིང་
ชื่อภาษามองโกเลีย
ภาษามองโกเลียНайралт Найрамдyy Сүм
ชื่อภาษาแมนจู
อักษรแมนจู ᡥᡡᠸᠠᠯᡳᠶᠠᠰᡠᠨ
ᡥᡡᠸᠠᠯᡳᠶᠠᡴᠠ
ᡤᡠᠩ
อักษรโรมันhūwaliyasun hūwaliyaka gung

วัดยงเหอ (จีน: 雍和宫, "วังแห่งสันติภาพและความกลมเกลียว") เป็นวัดและอารามในศาสนาพุทธแบบทิเบต นิกายเกอลุกปะ ตั้งอยู่บนถนนยงเหอกง อำเภอตงเชิง ปักกิ่ง ประเทศจีน รูปแบบอาคารและศิลปกรรมของวัดเป็นการผสมผสานองค์ประกอบศิลปะแบบจีนฮั่นและทิเบต รวมถึงเป็นวัดพุทธแบบทิเบตที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศจีน เจ้าอาวาสคนปัจจุบันคือ หู เฉว่เฟิง[1]

วัดยงเหอเริ่มสร้างขึ้นในปี 1694 ในสมัยราชวงศ์ชิง ตรงที่ในอดีตเป็นที่พำนักของขันทีประจำราชสำนักในสมัยราชวงศ์หมิง[2] วัดยงเหอเป็นสถานที่ประสูติของจักรพรรดิเฉียนหลง และในสมัยราชวงศ์ชิงตอนกลางและตอนปลาย วัดยงเหอถือเป็นวัดพุทธที่มีระดับสูงที่สุดในจักรวรรดิ[3]

เนื่องด้วยวัดยงเหอเป็นวัดพุทธแบบทิเบต จึงมีการประกอบศาสนพิธีแบบทิเบต ซึ่งรวมถึงการร่ายรัม “ชัม” (Cham Dance) ซึ่งมีบันทึกว่ามีประกอบครั้งแรกในปี 1746 จัดโดยจักรพรรดิเฉียนหลง[4] การร่ายรำนี้จัดขึ้นทุกวันที่ 28 ของเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ และวันที่สี่ของเดือนแรก ในช่วงแรกของการตั้งวัดขึ้น[5] ในระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรม วัดถูกปิด การร่ายรำนี้จึงหยุดไปก่อนที่จะกลับมาปฏิบัติอีกครั้งในปี 1987

อ้างอิง[แก้]

  1. 宋家丽 (5 มีนาคม 2018). 两会连线:雍和宫住持胡雪峰称藏传佛教要坚持中国化方向 [Two Sessions Online: Hu Xuefeng, abbot of Yonghe Temple, said that Tibetan Buddhism must adhere to the direction of Sinicization]. 中国西藏网. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2021.
  2. Co-edited by Zhong Guo Di Yi Li Shi Dang An Guan and Yong He Gong Guan Li Chu, Qing Dai Yong He Gong Dang An Shi Liao (24 vol), Publish: Zhong Guo Min Zu She Ying Yi Shu Chu Ban She, Beijing, 2004
  3. "Lama Temple (Yonghe Temple) Facts, Maps, Buddha, Transportation". www.chinadiscovery.com. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2021.
  4. Zhao, Ling Zhi; และคณะ (2016). YONGHE GONG MANWEN DANG AN YIBIAN. Beijing: Beijing Publisher. p. 5. ISBN 978-7-200-11967-1.
  5. Bao, Hongfei (2013). Yonghegong Jingang Qumo Shenwu. Beijing: Zhongguo Minzu Sheying Yishu Chubanshe. p. 6. ISBN 978-7-5122-0415-7.