ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ)
ตำแหน่งสมุหนายก
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนพระยาราชสงคราม (ปาน)
ผู้สืบตำแหน่งเจ้าพระยาอภัยมนตรี
ภรรยาเอกแฉ่ง
นาก
บุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (เซน)
เจ้าพระยามหาเสนา (เสน)
บิดามารดา

เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ) เป็นสมุหนายกในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนโตของเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) สมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเพทราชา สืบเชื้อสายมาจากของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) จุฬาราชมนตรีคนแรกในสมัยอยุธยา

ประวัติ

[แก้]

เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ) เป็นบุตรคนโตของเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เมื่อโตขึ้นเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) บิดาได้นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต พระเพทราชา จางวางกรมพระคชบาล ได้เป็นพระมหากษัตริย์ ได้โปรดเกล้าตั้งให้นายจิตร บุตรเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) เป็นที่พระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจฝ่ายพระราชวังบวร และได้ถึงแก่กรรมในต้นแผ่นดินพระเพทราชา ส่วนนายใจ พี่ชายหาได้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้นไม่

จนต่อมาครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงโปรดเกล้าตั้งนายใจ บุตรเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) เป็นพระยาเพชรพิไชย จางวางกรมล้อมพระราชวังหลวง ต่อมาพระยาเพชรพิไชย (ใจ) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาในนามเดิม ส่วนตำแหน่งราชการได้เป็นสมุหนายก อรรคมหาเสนาบดีกรมมหาดไทย[1]

บุตร-ธิดา

[แก้]

เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ) สมรสกับ แฉ่ง บุตรีเจ้าพระยารัตนาธิเบศ (ขุนเณร) สมุหพระกลาโหมในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ[2]มีบุตรธิดา 3 คนได้แก่

  1. เป็นหญิงชื่อ แก้ว เป็นท่านผู้หญิงในเจ้าพระยากลาโหม บ้านคลองแกลบ
  2. เป็นชายชื่อ เชน ต่อมาเป็น พระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) เจ้ากรมท่าขวา
  3. เป็นชายชื่อ เสน ต่อมาเป็น เจ้าพระยามหาเสนา (เสน) สมุหพระกลาโหม

และมีบุตรกับ นาก เป็นภรรยาพระราชทานอีก 1 คนคือ

  1. เป็นชายชื่อ หนู ต่อมาเป็น จมื่นไวยวรนารถ (หนู)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พ่อค้าเปอร์เซียแล่นสำเภาเข้ามาเป็นสมุหนายกไทย ผูกขาดหลายชั่วคน สืบเชื้อสายเป็นราชินีกุล "บุนนาค"!!!". ผู้จัดการ. 2 มีนาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-13. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "วงศ์เฉกอะหมัด". ชมรมสายสกุลบุนนาค. 2 มีนาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-22. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)