เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)
สมุหนายก
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2406 – พ.ศ. 2421
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2351
เสียชีวิต15 พฤษภาคม พ.ศ. 2421 (70 ปี)
บุตรเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก บุณยรัตพันธุ์)
พระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม)
เจ้าจอมมารดาตลับ
ท้าวสมศักดิ์ (โหมด)
บุพการี

เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) เป็นสมุหนายกในสมัยรัชกาลที่ 4–5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) เกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2351 นามเดิมชื่อ นุช เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) ในรัชกาลที่ 3 เป็นนายสนิทหุ้มแพร แล้วเป็น หลวงศักดิ์นายเวร แล้วเลื่อนเป็น พระยาสุริยภักดี เมื่อปลายรัชกาลถูกถอด ในรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เป็น พระยามหามนตรี แล้วเลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช ครั้นเจ้าพระยานิกรบดินทร ถึงอสัญกรรม จึงโปรดฯให้เป็น เจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก[1] ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2418 เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) เป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อทางเมืองหลวงพระบางทัพหนึ่ง[2] และเป็นทัพหน้าในสงครามเชียงตุง ด้านศาสนา ได้ปฏิสังขรณ์วัดเครือวัลย์วรวิหาร และสร้างเจดีย์ 2 องค์ สำหรับบรรจุอัฐิคนในตระกูลบุณยรัตพันธุ์ หรือผู้เกี่ยวเนื่องทางตระกูล[3] และปฏิสังขรณ์วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม[4]

บุตรธิดาของท่าน คือ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก บุณยรัตพันธุ์) พระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม) เจ้าจอมมารดาตลับ ของพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ และ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ ในรัชกาลที่ 4 และท้าวสมศักดิ์ (โหมด)

เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2421 อายุ 71 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์". สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร. p. 26.
  2. "ประวัติหลวงพัฒนพงศ์ภักดี". วชิรญาณ.
  3. "วัดเครือวัลย์วรวิหาร". สำนักงานเขตบางกอกใหญ่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-21. สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
  4. "วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม (วัดเขาดิน)". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.