ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าจอมมารดาจวน ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าจอมมารดาจวน ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เจ้าจอมมารดา
พระสวามีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)
พระบุตรเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)
ราชวงศ์ธนบุรี
พระบิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู)
พระมารดาหม่อมทองเหนี่ยว
ศาสนาพุทธ


เจ้าจอมมารดาจวน หรือ เจ้าหญิงจวน [1][2] เป็นเจ้าจอมมารดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเป็นท่านผู้หญิงในเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าจอมมารดาจวน หรือ เจ้าหญิงจวน เป็นพระธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) กับ หม่อมทองเหนี่ยว มีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐารวม 6 องค์ ได้แก่

ในปี พ.ศ. 2321 คราวที่เจ้านครเวียงจันทน์ได้ส่งกำลังมารุกรานอาณาเขตไทย สมัยพระวอพระตาหนีมาสร้างเมืองอุบลราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกรีฑาทัพไปปราบเมืองเวียงจันทน์ และทรงมอบหน้าที่สำคัญให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) เป็นกองหน้า ซึ่งการสงครามปราบปรามเวียงจันทน์ครั้งนั้นได้รับชัยชนะ พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากนครเวียงจันทน์มาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีด้วย และในการออกสงครามนั้นเอง ท่านผู้หญิงของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) ก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระเมตตาและสงสารท่าน จึงพระราชทานเจ้าหญิงจวน น้องสาวของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ พระราชธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) ให้แก่ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) ซึ่งขณะนั้นกำลังทรงตั้งพระครรภ์ [4]

พระราชโอรส

[แก้]

เจ้าจอมมารดาจวน มีพระราชโอรส 1 พระองค์ คือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. ISBN 974-222-648-2
  2. เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9687-35-3
  3. ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ประวัติศาสตร์ในสายหมอก เก็บถาวร 2012-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย สุนทร ธานีรัตน์, มกราคม 2546
  4. "เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงจวน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-07-16.