อภิรดี ยิ่งเจริญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อภิรดี ยิ่งเจริญ

เกิดอภิรดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2469
ประเทศสยาม
เสียชีวิต30 กันยายน พ.ศ. 2563 (94 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
คู่สมรสอวยชัย ยิ่งเจริญ
บุตร4 คน
บุพการีพลตรี พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (หม่อมหลวงเล็ก สนิทวงศ์)
ท่านผู้หญิงโพยม เสนีณรงค์ฤทธิ์

พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ (สกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา; 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563) เป็นคุณข้าหลวงผู้ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระพี่เลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ และเป็น “พลเอกหญิง” คนแรกและคนเดียวจนปัจจุบันที่เป็นสามัญชน

ประวัติ[แก้]

พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ (สกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นธิดาคนใหญ่ของพลตรี พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (หม่อมหลวงเล็ก สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงโพยม เสนีณรงค์ฤทธิ์ (สกุลเดิม ณ นคร) มีน้องร่วมบิดามารดาหกคน ได้แก่

  1. อธึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  2. จุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตองคมนตรีไทย
  3. พลโทอุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตราชองครักษ์
  4. นายแพทย์เสนี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  5. ณรงค์ฤทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองเลขาธิการสำนักพระราชวัง
  6. มณีรัตน์ มรรคดวงแก้ว อดีตเลขานุการกรมชลประทาน

การศึกษา[แก้]

ท่านผู้หญิงอภิรดีจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์[1] โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)[2]

ครอบครัว[แก้]

ท่านผู้หญิงอภิรดีสมรสกับอวยชัย ยิ่งเจริญ มีบุตรธิดาสี่คน ได้แก่

  1. กรองใจ บุนนาค
  2. กุลศักดิ์ ยิ่งเจริญ
  3. กุลยา ฉิมคล้าย
  4. ดุลทัศน์ ยิ่งเจริญ[3]

อนิจกรรม[แก้]

ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ ถึงแก่อนิจกรรมเนื่องจากหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกเซาะเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 สิริอายุ 94 ปีวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศไม้สิบสอง ที่ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายย่อมุม ทรงพระศพหักเหลี่ยมทรงไม้สิบสอง ฝายอดทรง มงกุฎปิดทอง ประดับกระจกสี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ ณ ศาลา 100 ปี ปิยมหาราชอนุสรณ์ วัดเบญจมบพิตร วันที่ 1 ตุลาคม 2563

วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนิน ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร พระราชทานเพลิงศพในเวลา 18.31 น.

ยศทางทหาร[แก้]

ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ ได้รับพระราชทานยศทางทหารจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดังนี้

  • พันโทหญิง (20 เมษายน พ.ศ. 2538)[4]
  • ราชองครักษ์พิเศษ (1 มิถุนายน พ.ศ. 2538) อัตราพันโท[5]
  • พลตรีหญิง (28 มีนาคม พ.ศ. 2540)[6]
  • พลโทหญิง (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548)[7]
  • พลเอกหญิง (9 กันยายน พ.ศ. 2549)[8]
อภิรดี ยิ่งเจริญ
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการ9 กันยายน พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563
ชั้นยศ พลเอก

รับใช้เบื้องพระยุคลบาท[แก้]

ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ เป็นพระอภิบาล (พี่เลี้ยง) ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่เสด็จพระราชสมภพระหว่างปี พ.ศ. 2495-2498 และเป็นคุณข้าหลวงผู้ใหญ่ รับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ท่านผู้หญิงอภิรดีดูแลงานภายในของพระองค์ด้วย[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-08. สืบค้นเมื่อ 2007-12-06.
  2. 2.0 2.1 "ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2549 สมาคมศิษย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2007-12-06.
  3. เล่าลือ หลังวัง เก็บถาวร 2007-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก thaimonarchy.com
  4. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ]
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2542" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (20ข): 31. 2 ธันวาคม 2542. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2541" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (23ข): 50. 2 ธันวาคม 2541. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2533" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (74ง ฉบับพิเศษ): 4. 4 พฤษภาคม 2533. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน (พันโทหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (10 ข): 8. 10 กรกฎาคม 2538. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 (พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (28 ข): 1. 6 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]